การประชุมกาซาบล็องกา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แฟรงคลิน ดี. โรเซอเวลต์ ประธานาธิบดีแห่งสหรัฐ วินสตัน เชอร์ชิล นายกรัฐมนตรีแห่งสหราชอาณาจักร และผู้เข้าร่วมการประชุมในกาซาบล็องกา ค.ศ. 1943

การประชุมกาซาบล็องกา(รหัสนามว่า ซิมโบล) จัดขึ้นที่โรงแรม Anfa ในกาซาบล็องกา ฝรั่งเศสโมร็อกโก ตั้งแต่วันที่ 14 ถึง 24 มกราคม ค.ศ. 1943 เพื่อวางแผนทางยุทธศาสตร์ของฝ่ายสัมพันธมิตรในทวีปยุโรปในช่วงขั้นต่อไปของสงครามโลกครั้งที่สอง ผู้ที่ได้เข้าร่วมประชุมในครั้งนี้ได้แก่ แฟรงคลิน ดี. โรเซอเวลต์ ประธานาธิบดีแห่งสหรัฐ และวินสตัน เชอร์ชิล นายกรัฐมนตรีแห่งสหราชอาณาจักร นอกจากนี้ยังได้มีผู้เข้าร่วมการประชุมที่เป็นตัวแทนของกองกำลังฝรั่งเศสเสรี ได้แก่ นายพล ชาร์ล เดอ โกล และอ็องรี ฌีโรด์ แม้ว่าพวกเขาจะมีบทบาทที่เล็กน้อยและไม่ใช่ส่วนหนึ่งของการวางแผนทางทหาร โจเซฟ สตาลิน ได้ปฏิเสธที่จะเข้าร่วมประชุม เนื่องจากการสู้รบอย่างต่อเนื่องในยุทธการที่สตาลินกราด ซึ่งเขาเป็นที่ความต้องการที่จะอยู่ในสหภาพโซเวียต

วาระการประชุมในครั้งนี้ได้กล่าวถึงรายละเอียกของขั้นตอนทางยุทธวิธี การจัดสรรทรัพยากรและเปิดประเด็นที่กว้างขวางของนโยบายทางการทูต การถกเถียงและการเจรจาต่อรองได้ก่อให้เกิดสิ่งที่เป็นรู้จักกันคือ คำแถลงการณ์กาซาบล็องกา และอาจเป็นคำยั่วยุมากที่สุดในประวัติศาสตร์ของวัตถุประสงค์คือ "การยอมจำนนโดยไร้เงื่อนไข" หลักการของ"การยอมจำนนโดยไร้เงื่อนไข"มาเพื่อเป็นตัวแทนของเสียงเป็นหนึ่งเดียวของฝ่ายสัมพันธมิตรที่ไม่ยอมโอนอ่อน—ตัดสินใจอย่างแน่วแน่ว่าฝ่ายอักษะจะต้องสู้รบจนต้องพบความปราชัยอย่างถึงที่สุด