การประชุมเตหะราน
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
![]() "สามผู้ยิ่งใหญ่" ที่การประชุมเตหะราน จากซ้ายไปขวา: โจเซฟ สตาลิน, แฟรงกลิน ดี. โรสเวลต์ และวินสตัน เชอร์ชิล. | |
วันที่ | 28 พฤศจิกายน ค.ศ. 1943 ถึง 1 ธันวาคม ค.ศ. 1943 |
---|---|
ที่ตั้ง | สถานทูตโซเวียต, เตหะราน, อิหร่าน |
ชื่ออื่น | "การประชุมสุดยอดเตหะราน" (Tehran Summit) |
ผู้เข้าร่วม | วินสตัน เชอร์ชิล (นายกรัฐมนตรี: สหราชอาณาจักร), แฟรงกลิน ดี. โรสเวลต์ (ประธานาธิบดี: สหรัฐอเมริกา) โจเซฟ สตาลิน (ผู้นำ: สหภาพโซเวียต) |
ผล | ฉันทามติเพื่อเปิดแนวรบที่สองในการสู้รบกับนาซีเยอรมนี เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม ค.ศ. 1944 |
การประชุมเตหะราน (รหัสนามว่า ยูเรก้า) เป็นการประชุมทางยุทธศาสตร์ของโจเซฟ สตาลิน, แฟรงกลิน ดี. โรสเวลต์ และวินสตัน เชอร์ชิล ตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม ค.ศ. 1943 ภายหลังจากอังกฤษ-โซเวียตได้บุกเข้ายึดครองอิหร่าน ถูกจัดตั้งขึ้นในสถานทูตของสหภาพโซเวียตในเตหะราน, อิหร่าน เป็นครั้งแรกของการประชุมสงครามโลกครั้งที่สองของ "สามผู้ยิ่งใหญ่" ผู้นำฝ่ายสัมพันธมิตร (สหภาพโซเวียต, สหรัฐอเมริกา และสหราชอาณาจักร) เป็นความต่อเนื่องของการประชุมไคโรซึ่งเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 22-26 พฤศจิกายน ค.ศ. 1943 และก่อนที่การประชุมครั้งสำคัญในปี ค.ศ. 1945 ที่การประชุมยัลตาและพ็อทซ์ดัม ซึ่งแม้ผู้นำทั้งสามจะได้มาเข้าร่วมด้วยเป้าหมายวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกัน แต่ผลลัพธ์หลักของการประชุมเตหะรานก็คือความมุ่งมั่นของฝ่ายสัมพันธมิตรตะวันตกเพื่อเปิดแนวรบที่สองในการสู้รบกับนาซีเยอรมนี การประชุมครั้งนี้ยังได้กล่าวถึง "สามผู้ยิ่งใหญ่แห่งฝ่ายสัมพันธมิตร" เกี่ยวกับความสัมพันธ์กับตุรกีและอิหร่าน ปฏิบัติการในยูโกสลาเวียและต่อกรกับญี่ปุ่น และการคาดการณ์ถึงการตั้งถิ่นฐานภายหลังสงคราม พิธีสารได้ถูกแบ่งแยกต่างหากที่ได้ลงนามในที่ประชุมได้ให้คำปฏิญาณของสามผู้ยิ่งใหญ่ว่าจะยอมรับอิสรภาพของอิหร่าน