วูดโรว์ วิลสัน
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
บทความนี้ได้รับแจ้งให้ปรับปรุงหลายข้อ กรุณาช่วยปรับปรุงบทความ หรืออภิปรายปัญหาที่หน้าอภิปราย
|
วูดโรว์ วิลสัน | |
---|---|
Woodrow Wilson | |
วิลสันในปีค.ศ. 1919 | |
ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา | |
ดำรงตำแหน่ง 4 มีนาคม ค.ศ. 1913 – 4 มีนาคม ค.ศ. 1921 (8 ปี 0 วัน) | |
รองประธานาธิบดี | โทมัส อาร์. มาร์แชลล์ |
ก่อนหน้า | วิลเลียม เอช. ทัฟต์ |
ถัดไป | วาร์เรน จี. ฮาร์ดิง |
ผู้ว่าการรัฐนิวเจอร์ซีย์ | |
ดำรงตำแหน่ง 17 มกราคม ค.ศ. 1911 – 1 มีนาคม ค.ศ. 1913 (2 ปี 43 วัน) | |
ก่อนหน้า | จอห์น แฟรงกลิน ฟอร์ต |
ถัดไป | เจมส์ ไฟรแมน ฟีเอเดอร์ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 28 ธันวาคม ค.ศ. 1856 สทอนทัน รัฐเวอร์จิเนีย สหรัฐ |
เสียชีวิต | 3 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1924 (67 ปี) วอชิงตัน ดี.ซี. สหรัฐ |
ศาสนา | เพรสไบทีเรียน |
พรรคการเมือง | พรรคเดโมแครต |
คู่สมรส | เอลเลน แอ็กซัน (1885-1914) เอดิท บอลลิง เกลต์ (1915-1924) |
วิชาชีพ | นักการเมือง อาจารย์มหาวิทยาลัย |
ลายมือชื่อ | |
โทมัส วูดโรว์ วิลสัน (อังกฤษ: Thomas Woodrow Wilson) (28 ธันวาคม ค.ศ. 1856 – 3 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1924) เป็นรัฐบุรุษ นักกฎหมาย และนักวิชาการชาวอเมริกันผู้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐ คนที่ 28 ระหว่าง ค.ศ. 1913 ถึง 1921 สังกัดพรรคเดโมแครต วิลสันได้ดำรงตำแหน่งเป็นอธิการบดีมหาวิทยาลัยพรินซตัน และเป็นผู้ว่าการรัฐนิวเจอร์ซีย์คนที่ 34 ก่อนชนะการเลือกตั้งประธานาธิบดีใน ค.ศ. 1912 ขณะดำรงตำแหน่ง เขาได้ตรวจสอบกระบวนการความก้าวหน้าของนโยบายทางนิติบัญญัติที่หาตัวจับได้ยากจนกระทั่งโครงการสัญญาใหม่ใน ค.ศ. 1933 เขายังได้เป็นผู้นำพาประเทศเข้าสู่สงครามโลกครั้งที่หนึ่งใน ค.ศ. 1917 มีการก่อตั้งกลุ่มเคลื่อนไหวในนโยบายต่างประเทศชื่อ "นักลัทธิวิลสัน"
เขาเกิดในสทอนตัน รัฐเวอร์จิเนีย และใช้ชีวิตช่วงปฐมวัยในออกัสตา รัฐจอร์เจีย และโคลัมเบีย รัฐเซาท์แคโรไลนา ภายหลังสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกในสาขารัฐศาสตร์จากมหาวิทยาลัยจอนส์ฮอปกินส์ วิลสันประกอบอาชีพสอนที่โรงเรียนต่าง ๆ ก่อนเข้ารับตำแหน่งอธิการบดีมหาวิทยาลัยพรินซตัน ขณะดำรงตำแหน่งผู้ว่าการรัฐนิวเจอร์ซีย์ระหว่าง ค.ศ. 1911 ถึง 1913 วิลสันแตกหักกับหัวหน้าพรรคและเอาชนะกระบวนการการปฏิรูปก้าวหน้าหลายครั้ง ความสำเร็จของเขาในรัฐนิวเจอร์ซียทำให้เขามีชื่อเสียงระดับชาติในฐานะนักปฏิรูปหัวก้าวหน้า และเขาชนะการเสนอชื่อรับเลือกตั้งประธานาธิบดีที่การประชุมพรรคเดโมแครตแห่งชาติ ค.ศ. 1912 วิลสันชนะประธานาธิบดีวิลเลียม ฮาวเวิร์ด แทฟต์จากพรรคริพับลิกันในขณะนั้น และผู้รับสมัครอีกคนจากพรรคก้าวหน้าคือ ธีโอดอร์ โรสเวลต์ จนกลายเป็นชาวภาคใต้คนแรกที่ได้รับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีนับตั้งแต่สมัยสงครามกลางเมืองอเมริกา วิลสัน อนุญาตให้มีการแบ่งแยกอย่างกว้างขวางภายใน ระบบราชการของรัฐบาลกลาง เขาขับไล่ชาวแอฟริกันอเมริกันจำนวนมากออกจากตำแหน่งของรัฐบาลกลาง และการคัดค้านการอธิษฐานของสตรีทำให้เกิดการประท้วง วาระแรกของเขามุ่งเน้นไปที่การผ่านวาระภายใน ในตำแหน่งประธานาธิบดีวาระแรก วิลสันอุทิศให้แก่การผลักดันวาระเสรีภาพใหม่ (New Freedom) ที่เป็นความคิดก้าวหน้า เขาจัดความสำคัญอันดับแรกให้กับการผ่านรัฐบัญญัติรัษฎากร ค.ศ. 1913 ซึ่งลดพิกัดอัตราศุลกากรและริเริ่มภาษีเงินได้ของรัฐบาลกลาง ต่อมากฎหมายภาษีซึ่งดำเนินการในการเก็บภาษีอสังหาริมทรัพย์ของรัฐบาลกลาง และเพิ่มอัตราภาษีรายได้สูงสุดถึงร้อยละ 77 วิลสันยังควบคุมการผ่านรัฐบัญญัติธนาคารกลาง ซึ่งก่อตั้งระบบธนาคารกลางสหรัฐ เขาผ่านสองกฎหมายที่สำคัญคือ รัฐบัญญํติคณะกรรมาธิการการค้ากลาง (Federal Trade Commission Act) และรัฐบัญญัติป้องกันการผูกขาดเคลย์ตัน เพื่อวางระเบียบผลประโยชน์ธุรกิจขนาดใหญ่หรือทรัสต์ (trust)
เมื่อสงครามโลกครั้งที่หนึ่งอุบัติขึ้นใน ค.ศ. 1914 เขาดำเนินนโยบายเป็นกลาง เขาชนะการเลือกตั้งอีกสมัยอย่างเฉียดฉิวใน ค.ศ. 1916 โดยชนะ Charles Evans Hughes ผู้สมัครจากพรรครีพับลิกัน ในเดือนเมษายน ค.ศ. 1917 วิลสันขออนุมัติรัฐสภาเพื่อประกาศสงครามต่อจักรวรรดิเยอรมันเพื่อตอบโต้นโยบายการสงครามเรือดำน้ำแบบไม่จำกัด ซึ่งรัฐสภายินยอม วิลสันให้มีการระดมพลยามสงครามแต่เขาอุทิศความพยายามส่วนใหญ่ให้แก่การต่างประเทศ โดยพัฒนาหลักการสิบสี่ข้อเป็นพื้นฐานสำหรับสันติภาพหลังสงคราม หลังจากฝ่ายสัมพันธมิตรชนะในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1918 วิลสันและผู้นำฝ่ายสัมพันธมิตรคนอื่น ๆ เข้าร่วมการประชุมสันติภาพปารีส ค.ศ. 1919 ที่วิลสันสนับสนุนการก่อตั้งองค์การระหว่างประเทศ ต่อมาสนธิสัญญาแวร์ซายได้นำเอาแนวคิดดังกล่าวก่อตั้งสันนิบาติชาติ แต่วิลสันไม่สามารถโน้มน้าววุฒิสภาสหรัฐให้ยอมให้สัตยาบันสนธิสัญญาหรืออนุญาตให้สหรัฐเข้าร่วมกับองค์การดังกล่าว วิลสันตั้งใจลงสมัครรับเลือกตั้งประธานาธิบดีสมัยที่สามแต่เกิดโรคหลอดเลือดสมองรุนแรงเสียก่อนในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1919 ทำให้เขาทุพพลภาพเสียเกือบตลอดวาระที่เหลือ เขาวางมือจากตำแหน่งทางการเมืองใน ค.ศ. 1921 และเสียชีวิตใน ค.ศ. 1924 ด้วยวัย 67 ปี นักวิชาการส่วนใหญ่ได้ให้อันดับแก่วิลสันว่าเป็นหนึ่งในประธานาธิบดีแห่งสหรัฐที่ดีกว่าค่าเฉลี่ย[1][2] แม้ว่าเขาจะได้รับคำวิจารณ์อย่างรุนแรงสำหรับการกระทำของเขาเกี่ยวกับการแบ่งแยกทางเชื้อชาติ[3]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Arthur M. Schlesinger, Jr., "Rating the Presidents: From Washington to Clinton". Political Science Quarterly (1997). 112#2: 179–90.
- ↑ Schuessler, Jennifer (November 29, 2015). "Woodrow Wilson's Legacy Gets Complicated". The New York Times. สืบค้นเมื่อ August 29, 2016.
- ↑ Kazin, Michael (June 22, 2018). "Woodrow Wilson Achieved a Lot. So Why Is He So Scorned?". The New York Times. สืบค้นเมื่อ January 27, 2019.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Official White House biography เก็บถาวร 2006-05-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Woodrow Wilson: A Resource Guide from the Library of Congress
- Presidential Biography by Stanley L. Klos เก็บถาวร 2010-03-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Woodrow Wilson Presidential Library at His Birthplace Staunton, Virginia
- Boyhood Home of President Woodrow Wilson Augusta, GA
- Woodrow Wilson House Washington,DC
ก่อนหน้า | วูดโรว์ วิลสัน | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
วิลเลียม เอช. ทัฟต์ | ประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกา คนที่ 28 (4 มีนาคม ค.ศ. 1913 - 4 มีนาคม ค.ศ. 1921) |
วาร์เรน จี. ฮาร์ดิง |
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2399
- บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2467
- วูดโรว์ วิลสัน
- ประธานาธิบดีสหรัฐ
- ชาวอเมริกันเชื้อสายสกอตแลนด์
- ชาวอเมริกันเชื้อสายไอริช
- พรรคเดโมแครต (สหรัฐ)
- นักการเมืองอเมริกัน
- ผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ
- ชาวอเมริกันผู้ได้รับรางวัลโนเบล
- บุคคลจากรัฐจอร์เจีย
- บุคคลจากรัฐเวอร์จิเนีย
- บุคคลจากมหาวิทยาลัยพรินซ์ตัน
- บทความเกี่ยวกับ ชีวประวัติ ที่ยังไม่สมบูรณ์