หลักการสิบสี่ข้อ
หลักการสิบสี่ข้อของประธานาธิบดีวิลสัน เป็นการรวบรวมเอาเนื้อหาของสุนทรพจน์ของประธานาธิบดีวิลสัน เมื่อวันที่ 8 มกราคม ค.ศ. 1918 เกี่ยวกับสันติภาพของโลกหลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ต่อมา หลักการสิบสี่ข้อนี้ได้กลายเป็นหลักการของสนธิสัญญาแวร์ซาย เมื่อเยอรมนียอมแพ้สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
เบื้องหลัง
[แก้]นับตั้งแต่สหรัฐอเมริกาเข้าสู่สงครามโลกครั้งที่หนึ่งเมื่อเดือนเมษายนปี 1917 ชาวอเมริกันจำนวนมากมีความรู้สึกร้อนรนที่จะปลดตัวเองออกจากปัญหาที่เกิดขึ้นในทวีปยุโรปอย่างรวดเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ สหรัฐอเมริกานั้นได้รับมุมมองผูกไมตรีมากขึ้นจากผลที่เกิดขึ้นของค่าปฏิกรรมสงครามเยอรมนี นอกจากนั้นชาวอเมริกันยังต้องการที่จะทำให้แน่ใจว่าโอกาสทางการค้าและรอการชำระหนี้สินคืนจากประเทศในยุโรป
ก่อนสงครามจะสิ้นสุด ประธานาธิบดีวูดโรว์ วิลสัน พร้อมกับข้าราชการระดับสูงคนอื่นๆ ซึ่งรวมไปถึง เอ็ดเวริ์ด แมนเดล เฮ้าส์ ได้ผลักดันให้ข้อเสนอสิบสี่ประการซึ่งมีความรุนแรงน้อยกว่าข้อเสนอของอังกฤษและฝรั่งเศสซึ่งมหาชนชาวเยอรมันคิดว่าสนธิสัญญาดังกล่าวควรจะออกมาประมาณนี้ ซึ่งทำให้พวกเขามีความหวัง แต่ทว่ามันผิด วิลสันนั้นไม่ต้องการการทูตที่เป็นความลับมากกว่านี้ ยกตัวอย่างเช่น พันธมิตรลับ สนธิสัญญาอื่นๆ เป็นต้น เขายังต้องการให้เยอรมนีควรจะลดขนาดของอาวุธยุทธภัณฑ์ ซึ่งทำให้ขนาดของกองทัพลดขนาดเล็กลงไปและทำให้ปราศจากข้อสงสัยว่าในอนาคตจะไม่เกิดสงครามขึ้นอีก นอกจากนั้น เขายังต้องการให้ประเทศอื่นๆ ได้กระทำแบบเดียวกัน ซึ่งจะเป็นการจำกัดความเสี่ยงที่จะก่อให้เกิดสงคราม ซึ่งเขากล่าวไว้ชัดเจนในข้อเสนอข้อที่ 4
หลักการสิบสี่ข้อ
[แก้]- สร้างข้อตกลงแห่งสันติภาพที่ไม่ปิดบัง ตรงไปตรงมา ซึ่งจะทำให้ปราศจากความเข้าใจส่วนตัวนานาชาติ แต่ควรจะเป็นการทูตที่เปิดเผยและอยู่ในสายตาของสาธารณชน
- เปิดเสรีในการเดินทางทางทะเล ซึ่งเป็นเขตน่านน้ำสากล ทั้งในยามสงบและยามสงคราม ยกเว้นแต่ว่าจะถูกปิดกั้นจากการกระทำของนานาชาติเพื่อการดำรงไว้ซึ่งข้อตกลงนานาชาติ
- การยกเลิกการกีดกันทางการค้า และการสร้างความเท่าเทียมกันทางการค้าระหว่างประเทศซึ่งได้ยินยอมในสันติภาพและมีส่วนร่วมในการดำรงรักษามันไว้
- ให้ความมั่นใจว่าจะมีการอาวุธยุทธภัณฑ์ของกองทัพนานาชาติลงจนถึงจุดที่มีความปลอดภัย ต่ำกว่าความเสี่ยงของสงคราม และสามารถป้องกันประเทศของตนเองเท่านั้น
- ให้ความยุติธรรมอย่างทั่วถึงในการจัดการกับอาณานิคมโพ้นทะเลของทุกประเทศ รวมไปถึงให้โอกาสและความสำคัญแก่การประกาศเอกราชของชนพื้นเมืองภายในอาณานิคม ให้มีน้ำหนักเท่ากับประเทศแม่
- การถอนเอาอาณาเขตปรัสเซียออกไป และรวมไปถึงรกรากของสหภาพโซเวียตนั้นเป็นการปลอดภัยและเสรีในความร่วมมือของนานาชาติที่จะเสนอโอกาสซึ่งไม่ขัดขวางและไม่อยู่ในฐานะที่อับอายในการที่มีสิทธิ์เต็มที่ในการใช้อำนาจปกครองตัวเอง เพื่อการพัฒนาทางการเมืองและนโยบายแห่งชาติของตัวเอง รวมไปถึงการให้ความรับรองแก่สหภาพโซเวียตที่จะเข้าสู่เวทีนานาชาติภายใต้สถาบันที่ได้จัดตั้งขึ้นมาเอง และนอกจากนั้น ให้ความช่วยเหลือแก่สหภาพโซเวียตในทุกวิถีทาง การปฏิบัติต่อสหภาพโซเวียตโดยประเทศอื่นๆ ในช่วงเวลาต่อมานั้นก็7เป็นการทดสอบสำหรับจุดประสงค์ของแต่ละประเทศ และเปิดโอกาสให้สหภาพโซเวียตมีความสนใจของตน ด้วยความใจกว้างและด้วยปัญญา
- เบลเยี่ยมควรจะถูกกำหนดให้ได้รับการฟื้นฟูจากนานาชาติ โดยปราศจากความพยายามที่จะจำกัดเอกราชให้เท่าเทียมกับประเทศเสรีอื่นๆ โดยการกระทำดังกล่าวนั้นจะเป็นการฟื้นฟูความไว้วางใจระหว่างประเทศในกฎหมายซึ่งพวกเขาได้จัดตั้งเองและตั้งใจแน่วแน่ที่จะสร้างความสัมพันธ์กับชาติอื่นๆ ผลจากการกระทำดังกล่าวจะเป็นการรักษาความมั่นคงของกฎหมายนานาชาติอีกด้วย
- ดินแดนของฝรั่งเศสทั้งหมดควรจะได้รับอิสระและฟื้นฟูส่วนที่เสียหายจากสงคราม และความผิดของปรัสเซียต่อฝรั่งเศสในปี 1871 เกี่ยวกับมณฑลแอลซาซ-ลอเรน ซึ่งไม่ได้ชำระสะสางสันติภาพของโลกมาเป็นเวลากว่าครึ่งศตวรรษ ควรจะถูกทำให้ถูกต้อง เพื่อให้สันติภาพได้รับการดูแลรักษาอย่างมั่นคง
- ควรจะมีการปรับแนวเขตแดนของประเทศอิตาลีควรจะตั้งอยู่บนแนวเขตแดนของชาติที่สามารถจำได้
- ประชาชนของจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีเดิม ควรจะได้รับการป้องกันและช่วยเหลือ รวมไปถึงได้รับโอกาสอย่างเสรีที่จะพัฒนาตนเอง
- โรมาเนีย เซอร์เบียและมอนเตเนโกรควรจะได้รับการฟื้นฟูจากความเสียหายของสงคราม เซอร์เบียมีอาณาเขตทางออกสู่ทะเล และความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบอลข่าลต่อกันนั้นตั้งอยู่บนคำแนะนำของชาติพันธมิตรตามประวัติศาสตร์บนเส้นของความจงรักภักดีและความรักชาติ และนานาชาติสมควรที่จะรับรองความเป็นอิสระทางการเมืองและทางเศรษฐกิจรวมไปถึงความมั่นคงในดินแดนของตน
- ส่วนแบ่งของตุรกีจากจักรวรรดิออตโตมานเดิมควรจะได้รับความช่วยเหลือให้มีเอกราช แต่เชื้อชาติอื่นๆ ซึ่งตอนนี้อยู่ภายใต้การปกครองของตุรกีควรจะได้รับการรับรองถึงความปลอดภัยในชีวิต และโอกาสอย่างเสรีที่จะได้รับการพัฒนาตนเอง และช่องแคบดาร์ดาแนลส์ควรจะถูกเปิดเป็นเส้นทางเดินเรือเสรีแก่ทุกประเทศ
- รัฐอิสระของโปแลนด์ควรจะถูกสถาปนาขึ้นซึ่งรวมไปถึงดินแดนที่ประชาชนโปแลนด์อาศัยอยู่ ซึ่งควรจะถูกรับรองทางออกสู่ทะเลเป็นของตัวเอง รวมไปถึงความเป็นอิสระทางการเมืองและเศรษฐกิจ และความมั่นคงในดินแดนของตนตามข้อตกลงของนานาชาติ
- การรวมตัวกันของประชาชาติควรจะถูกก่อตั้งขึ้นภายใต้พันธะที่แน่นอนเพื่อจุดประสงค์ที่สามารถให้ความช่วยเหลือกันได้กับทุกฝ่าย และให้การรับรองแก่รัฐที่มีขนาดเล็กกว่าเทียบเท่ากับตนเอง โดยการจัดตั้งองค์การสันนิบาตชาติขึ้นมา
อ้างอิง
[แก้]- Text and commentary เก็บถาวร 2010-06-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน from John Jay College of Criminal Justice
- Text and commentary from ourdocuments.gov
- Interpretation of President Wilson's Fourteen Points เก็บถาวร 2011-03-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน by Edward M. House
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Wilson's shorthand notes from the Library of Congress