ข้ามไปเนื้อหา

ราชวงศ์นัสเซา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ราชวงศ์-นัสเซา
ตราอาร์มของราชวงศ์นัสเซา
พระราชอิสริยยศ
ปกครองเยอรมนี, เนเธอร์แลนด์, เบลเยียม, ฝรั่งเศส, อังกฤษ, สกอตแลนด์, ไอร์แลนด์, ลักเซมเบิร์ก, นัสเซา, ออเรนจ์
สาขาราชวงศ์นัสเซา-ไวล์บวร์ค
ราชวงศ์ออเรนจ์-นัสเซา
ประมุขพระองค์แรกดูโดแห่งลอเรนบูร์ก
ผู้นำสกุลองค์ปัจจุบันแกรนด์ดยุกอ็องรีแห่งลักเซมเบิร์ก
(สายรอง)
สถาปนาค.ศ. 1093
สิ้นสุดค.ศ. 1985 (ราชวงศ์ทางฝั่งพระราชบิดาสายหลักสิ้นสุดลง)

ราชวงศนัสเซา (House of Nassau) เป็นตระกูลสำคัญที่ได้กลายมาเป็นราชวงศ์สำคัญของยุโรปที่แตกสาขามากมาย โดยชื่อเรียกนำมาจากปราสาทนัสเซา ซึ่งในปัจจุบันตั้งอยู่ที่เมืองนัสเซา รัฐไรน์ลันท์-ฟัลทซ์ ประเทศเยอรมนี ผู้ปกครองนัสเซาในสมัยแรกใช้บรรดาศักดิ์เป็น "เคานต์แห่งนัสเซา" ซึ่งต่อมาถูกยกฐานะขึ้นเป็นเจ้าชาย (Princely Count) ในยุคแรกได้แตกออกเป็นสองสาขา สาขาหลัก (วัลราเมียน) ซึ่งเป็นสาขาของอดอล์ฟ กษัตริย์แห่งชาวโรมัน และสาขารอง (ออตโตเนียน) ซึ่งภายหลังแตกออกเป็นบรรดาศักดิ์เจ้าชายแห่งออเรนจ์ และต่อมาพระมหากษัตริย์แห่งเนเธอร์แลนด์

ในช่วงปลายของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ และสงครามนโปเลียนนั้น สาขาวัลราเมียน ได้รับสืบทอดและครอบครองเหล่าที่ดินของบรรพบุรุษ และได้แต่งตั้งตัวเองขึ้นเป็น "ดยุกแห่งนัสเซา" ซึ่งได้รับการรับรองในการประชุมใหญ่แห่งเวียนนา โดยปกครองดินแดนเอกราช เรียกว่า "ดัชชีนัสเซา" โดยเมืองหลวงตั้งอยู่ที่วีสบาเดิน ในปัจจุบันดินแดนนี้ตั้งอยู่ในเขตของรัฐเฮ็สเซิน และบางส่วนในรัฐไรน์ลันท์-ฟัลทซ์ ต่อมาดัชชีนัสเซาได้ถูกผนวกเข้ากับปรัสเซียภายหลังจากการพ่ายแพ้ในสงครามออสเตรีย-ปรัสเซียในฐานะพันธมิตรกับออสเตรีย โดยได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของจังหวัดเฮ็สเซิน-นัสเซาในราชอาณาจักรปรัสเซีย

ในปัจจุบัน "นัสเซา" ในเยอรมนีมีความหมายถึงดินแดนทางภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรมเท่านั้น โดยนัยยะทางการเมืองได้สูญหายไปจนสิ้น ตั้งแต่ปีค.ศ. 1815 พระมหากษัตริย์ปกครองเนเธอร์แลนด์ และลักเซมเบิร์กได้ล้วนถือเป็นสมาชิกจากราชวงศ์นัสเซาสายหลัก แต่ในปีค.ศ. 1890 ในเนเธอร์แลนด์ และปีค.ศ. 1912 ในลักเซมเบิร์กนั้น ทายาทสืบตระกูลฝั่งชายของทั้งสองสายได้สิ้นสุดลง โดยต่อจากนั้นได้ถือว่ามีการสืบตระกูลโดยทายาทที่มาจากสายสตรีเป็นต้นมา

ตามธรรมเนียมของเยอรมันในการสืบตระกูลนั้น ทายาทชายเท่านั้นจึงจะสามารถสืบตระกูลได้ ดังนั้นตามหลักประเพณีเดิมนั้นจะถือว่าราชวงศ์นี้สิ้นสุดในปีค.ศ. 1985[1][2] อย่างไรก็ตาม สถาบันกษัตริย์ของเนเธอร์แลนด์และลักเซมเบิร์ก กฎการสืบราชบัลลังก์นั้นย่อมแตกต่างจากธรรมเนียมเก่าของเยอรมัน โดยในสองประเทศนั้นยังไม่ถือว่าราชวงศ์เป็นอันสิ้นสุดลง แกรนด์ดยุกแห่งลักเซมเบิร์กใช้บรรดาศักดิ์ "ดยุกแห่งนัสเซา" เป็นแค่เพียงบรรดาศักดิ์รอง และเป็นเพียงบรรดาศักดิ์ที่รับสมมติตามเกียรติและฐานะในสมาชิกอาวุโสสูงสุดแห่งราชวงศ์นัสเซา (เนื่องจากทรงเป็นผู้อาวุโสสูงสุดในสายที่มีอาวุโสสูงสุดของราชวงศ์) แต่มิได้เพื่ออ้างสิทธิ์ใดในดินแดนของดัชชีนัสเซาในอดีตซึ่งในปัจจุบันตกเป็นส่วนหนึ่งของสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี

อ้างอิง

[แก้]
  1. Grand Duchess Charlotte abdicated in 1964, but she died in 1985
  2. Clotilde Countess of Nassau-Merenberg is the last patrilineal descendant of the House of Nassau though she descends from a family considered to be non-dynastic