ข้ามไปเนื้อหา

มดยอบ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
มดยอบ
พืชที่ให้มดยอบ (Commiphora myrrha)

มดยอบ เป็นยางไม้ที่ได้จากพืชในสกุล Commiphora ส่วนใหญ่จะเป็นชนิด Commiphora myrrha ซึ่งเป็นพืชมีหนาม สูงประมาณ 4 เมตร ขึ้นตามพื้นที่ที่มีหินปูน[1] เป็นพืชท้องถิ่นในแถบคาบสมุทรอาหรับและแอฟริกา เมื่อลำต้นของพืชชนิดนี้มีรอยแตกหรือถูกกรีด พืชจะสร้างยางไม้ซึ่งเมื่อแห้งจะมีลักษณะแข็ง มีสีเหลืองไปจนถึงน้ำตาล มนุษย์รู้จักใช้มดยอบเป็นยาและเครื่องหอมมานานนับพันปีแล้ว ดังที่มีตัวอย่างในการนมัสการของโหราจารย์ เมื่อโหราจารย์ทั้งสามเดินทางมาสักการะพระเยซู และมอบของสามสิ่งคือ ทองคำ, กำยาน และมดยอบ[2]

ศัพทมูลวิทยา

[แก้]

คำว่ามดยอบในภาษาอังกฤษ "myrrh" มีที่มาจากคำว่า ܡܪܝܪܐ ("murr") ในภาษาแอราเมอิก, مر ("mur") ในภาษาอาหรับ และ מור ("mor") ในภาษาฮีบรู ซึ่งแปลว่า ขม[3] สำหรับภาษาไทย คำว่า "มดยอบ" มาจากคำว่า "ม่อย่าว" ในภาษาจีนกลาง หรือ "มุ่กเอี๊ยะ" ในภาษาแต้จิ๋ว[4]

การนำไปใช้

[แก้]
น้ำมันหอมระเหยที่สกัดจากมดยอบ

ในสมัยไอยคุปต์ มีการใช้มดยอบและเครื่องหอมอื่น ๆ ในการรักษาศพ[5] ในทางการแพทย์แผนจีน จัดมดยอบในกลุ่มสมุนไพรรสขมร้อน ช่วยให้เลือดไหลเวียนได้ดี ในทางอายุรเวท ใช้มดยอบในการรักษาโรคทางระบบทางเดินอาหาร ปัจจุบัน มดยอบใช้ผสมในน้ำหอมและในเครื่องสำอาง รวมถึงใช้เป็นสารฝาดในอาหาร[6] เมื่อนำมดยอบมาสกัดจะได้น้ำมันหอมระเหย ซึ่งมีคุณสมบัติฆ่าเชื้อ[7]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Species Information". www.worldagroforestrycentre.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-09-30. สืบค้นเมื่อ 2009-01-15.
  2. "ทองคำ กำยาน และมดยอบ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-10-14. สืบค้นเมื่อ 2015-04-10.
  3. Klein, Ernest, A Comprehensive Etymological Dictionary of the Hebrew Language for Readers of English, The University of Haifa, Carta, Jerusalem, p.380
  4. คำอธิบาย ตำราพระโอสถพระนารายณ์, ชยันต์ พิเชียรสุนทร และคณะ, หน้า 513, พ.ศ. 2544, สำนักพิมพ์อมรินทร์ กรุงเทพฯ
  5. เกร็ดไม่ลับกับน้ำหอมตามแบบฉบับชาวไอยคุปต์
  6. Myrrh Uses, Benefits & Dosage - Drugs.com Herbal Database
  7. Herbal Oil: Myrrh Oil Benefits and Uses - Mercola

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
  • วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ มดยอบ
  • "Myrrh oil - MSDS". Science Lab. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-04-04. สืบค้นเมื่อ 2016-10-22.