ข้ามไปเนื้อหา

แทนนิน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

แทนนิน (อังกฤษ: tannin) เป็นสารที่มีโมเลกุลใหญ่และโครงสร้างซับซ้อน มีสถานะเป็นกรดอ่อนรสฝาด เป็นสารให้ความฝาดในพืช พบได้ในพืชหลายชนิด แทนนิน มี 2 ชนิด คือ คอนเดนส์แทนนิน (condensed tannins) หรือเรียกอีกอย่างว่า โปรแอนโทรไซยานิน (proanthrocyanin) พบได้ในส่วนเปลือกต้น และแก่นไม้เป็นส่วนใหญ่ และ สารไฮโดรไลซ์แทนนิน (hydrolysable tannins) คือแบบที่สามารถถูกแยกออกเป็นโมเลกุลเล็กๆ ได้ พบมากในส่วนใบ ฝัก และส่วนที่ปูดออกมาจากปกติ เมื่อต้นไม้ได้รับอันตราย (gall) แทนนิน มีคุณสมบัติตกตะกอนโปรตีน ทำให้หนังสัตว์ไม่เน่าเปื่อย จึงมีการใช้ในอุตสาหกรรมฟอกหนังด้วย แทนนินมีฤทธิ์ฝาดสมาน จึงใช้เป็นยารักษาโรคท้องเสียได้ แทนนินมีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญของแบคทีเรียได้ ตัวอย่างแทนนินได้แก่ theogallin, gallic acid, ellagic acid

แทนนิน มาจากคำว่า “แทนนิ่ง” "tanning" ซึ่งแปลว่ารักษาไว้และกันน้ำ แทนนิ่งคือการเปลี่ยนหนังสัตว์ที่ตายแล้วให้เป็นผลิตภัณฑ์หนังโดยการใช้สารสกัดจากพืช

การใช้ประโยชน์

[แก้]
  1. ฟอกหนัง
  2. ย้อมผ้า
  3. บำบัดน้ำเสีย
  4. ยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์
  5. ป้องกันแมลง
  6. ปุ๋ย
  7. กาว
  8. ยารักษาโรค
  9. แก้ท้องเสีย
  10. สบู่

ผลเสียต่อร่างกาย

[แก้]

แทนนินมีฤทธิ์ในการยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ในกระเพาะอาหาร หากกินเข้าไปมากจะทำให้รู้สึกท้องอืด หรือท้องผูก มีอาการเหมือนกับการดื่มน้ำชา

ตัวอย่างพืช

[แก้]

การป้องกัน

[แก้]

สามารถลดพิษได้โดยการทำให้สุกก่อนรับประทาน

อ้างอิง

[แก้]
  • นิตยสารชีวจิต ฉบับวันที่ 16 พฤศจิกายน 2549