สาคู (ปาล์ม)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ต้นสาคู
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Plantae
ไม่ได้จัดลำดับ: Angiosperms
ไม่ได้จัดลำดับ: Monocots
ไม่ได้จัดลำดับ: Commelinids
อันดับ: Arecales
วงศ์: Arecaceae
สกุล: Metroxylon
สปีชีส์: M.  sagu
ชื่อทวินาม
Metroxylon sagu
Rottb.
การเก็บเกี่ยวแป้งสาคูจากต้น
การกรองแป้งสาคู

ปาล์มสาคู (ชื่อวิทยาศาสตร์: Metroxylon sagu) เป็นพืชจำพวกปาล์มชนิดหนึ่ง ซึ่งมีแป้งในลำต้นและนำมาผลิตเป็นสาคู ภาษามลายูเรียก sagu เป็นที่พบตามที่ชื้นแฉะ ถิ่นกำเนิดอยู่ที่นิวกินีและหมู่เกาะโมลุกกะประเทศอินโดนีเซีย และบริเวณใกล้เคียง [1]กระจายพันธุ์ในอินโดนีเซีย มาเลเซีย ปาปัวนิวกินี และตอนใต้ของไทย

ต้นสาคูที่อายุ 9 ปี ขึ้นไปจะสะสมแป้งในลำต้นมาก เมื่อโค่นต้นจะจะลอกเอาแป้งที่มีลักษณะข้นเหนียวมาทำอาหารได้ เป็นอาหารที่ใช้ในยามขาดแคลนข้าว ในเกาะบอร์เนียว โดยนำแป้งไปใส่ถุงเสื่อแขวนไว้ให้ลอดช่องออกมาเป็นเม็ด ๆ นำไปตากแห้ง แล้วจึงนำไปทำอาหาร เมื่อเริ่มมีพ่อค้าจากจีนและตะวันตกเข้ามาค้าขายในบริเวณหมู่เกาะโมลุกกะ เมื่อได้ชิมอาหารที่ปรุงจากสาคูและมีความชื่นชอบ ทำให้แป้งสาคูกลายเป็นสินค้า ก่อนจะถูกแทนที่ด้วยเม็ดสาคูที่ทำจากแป้งมันสำปะหลัง แป้งสาคูบริสุทธิ์มีอะไมโลส 27% อะไมโลเพกติน 73%

แป้งจากปาล์มสาคูเป็นอาหารหลักในนิวกินี ส่วนในอินโดนีเซียและมาเลเซียใช้ทำเค้กและคุกกี้ เส้นก๋วยเตี๋ยวและขนมแห้งต่าง ๆ ในสหรัฐใช้ทำคัสตาร์ด ในทางอุตสาหกรรมใช้รักษารูปทรงในการผลิตกระดาษและเส้นใย ผสมในการผลิตไม้อัด ลำต้นอ่อนไส้กลวง และเศษน้ำที่เหลือจากการผลิตแป้งใช้เป็นอาหารสัตว์ เปลือกลำต้นใช้เป็นวัสดุก่อสร้างและเชื้อเพลิง ก้านใบใช้ทำฝาผนัง เพดาน และรั้ว ใบอ่อนใช้สานตะกร้า ยอดอ่อนรับประทานเป็นผัก หนอนของด้วงสาคูนำมารับประทานได้ ในหมู่เกาะโมลุกกะนิยมนำเห็ดฟางที่ขึ้นอยู่ในกากที่เหลือจากการผลิตแป้งมารับประทาน[2] ใบสาคูนำมาเย็บเป็นตับใช้มุงหลังคาและฝาบ้าน ก้านใบนำมาลอกเปลือกนอกออก นำไปจักสานเป็นชะลอมหรือแผงวางของได้ ผลของต้นสาคูรับประทาน ในภาคใต้ของไทยนิยมนำต้นสาคูไปสับใช้เป็นอาหารสัตว์ ไม่ได้นำไปทำแป้งสาคูแล้ว

อ้างอิง[แก้]

  • เส้นทางขนมไทย.กทม. แสงแดด. 2556. หน้า 61 - 63
  1. Germplasm Resources Information Network: Metroxylon sagu เก็บถาวร 2015-04-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  2. พีรศักดิ์ วรสุนทโรสถ และคณะ. ทรัพยากรพืชในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 9: พืชให้คาร์โบไฮเดรตที่ไม่ใช่เมล็ด. กทม. สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย. 2544. หน้า 184 - 185