โสม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โสม
รากโสมเกาหลี
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Plantae
หมวด: Magnoliophyta
ชั้น: Magnoliopsida
อันดับ: Apiales
วงศ์: Araliaceae
สกุล: Panax
L.
ชนิดต้นแบบ
P. quinquefolius
L. [1]
ชนิด
ดูในเนื้อหา
ชื่อพ้อง[1]
  • Aureliana Boehm.
  • Ginsen Adans.
  • Panacea Mitch.
  • Ginseng Alph.
  • Panaxus St.-Lag.

โสม เป็นพืชในสกุล Panax ในวงศ์เล็บครุฑ (Araliaceae) โตได้ในซีกโลกเหนือในทวีปเอเชียและทวีปอเมริกาเหนือ

ประวัติ[แก้]

โสม เป็นพืชสมุนไพรโบราณ มีหลากหลายสายพันธุ์แตกต่างกันไปตามแต่สถานที่เพาะปลูก เช่น โสมจีน โสมเกาหลี โสมอเมริกา แรกเริ่มเดิมทีนั้นการใช้โสมถูกบันทึกไว้ในตำรับยาแพทย์แผนจีนหลายพันปีก่อน เชื่อกันว่าโสมในยุคแรกที่มีการนำมาใช้คือโสมป่า ที่ขุดได้จากทางตอนเหนือของจีน มีรูปร่างของรากคล้ายกับคน (หยิ่งเซียม) และมีการใช้โสมแพร่หลายออกไปยังเกาหลี โสมเกาหลี (โสมโครยอ) และอีกหลากสายพันธุ์จากฝั่งอเมริกา ในสมัยก่อนโสมนั้นมีราคาแพงมาก เนื่องจากโสมป่านั้นเป็นของหายาก

ต้นโสม[แก้]

โสมเป็นพืชล้มลุกที่ปลูกยาก ต้องปลูกในที่ที่มีอากาศเย็นสม่ำเสมอ ไกลจากทะเล และดินและน้ำไม่มีมลพิษ มีรากลึกประมาณ 1 ฟุต ลำต้นสูงประมาณ 1 เมตร โสมทางฝั่งเอเชียนิยมเพาะปลูกกันทางตะวันออกเฉียงเหนือของจีน และในประเทศเกาหลีเหนือและเกาหลีใต้ ส่วนโสมอเมริกาจะมาจากวิสคอนซิน หรือแคนาดา ปัจจุบันมีการเพาะปลูกโสมกันในเชิงพาณิชย์ เนื่องจากโสมป่าเป็นของที่หายากแล้ว

ต้นโสม

ชนิด[แก้]

เรานิยมนำโสมมาใช้เฉพาะส่วนของรากที่อยู่ลงไปใต้ดิน โสมที่ขุดนำมาใช้ได้นั้นจะมีอายุตั้งแต่ 3–6 ปี ซึ่งโสมอายุ 6 ปีจะเป็นโสมที่ถือว่ามีตัวยาสำคัญมากที่สุด โดยโสมแบ่งได้ 2 ชนิด คือ

  • โสมขาว คือโสมสดที่ขุดขึ้นมาจากดิน ล้างทำความสะอาด สามารถนำไปใช้ได้ทันที อาจนำไปตากแห้งให้น้ำระเหยออกไปเพื่อให้เก็บรักษาไว้ใช้ได้นานขึ้น ใช้เป็นส่วนผสมของยาจีนและทำอาหารได้
  • โสมแดง คือโสมขาวที่นำไปผ่านวิธีการอบ เพื่อให้มีสรรพคุณทางยามากขึ้น ลักษณะของรากจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลอมแดง และมีความชื้นเล็กน้อย โสมแดงนี้ถือว่ามีคุณค่าทางยามากที่สุดและราคาแพง

ส่วนโสมในปัจจุบันที่ใช้กันโดยทั่วไปนั้น จะเป็นผลิตภัณฑ์แปรรูปที่ได้จากการนำโสมแดงและโสมขาวมาทำ เช่น โสมสกัด โสมเม็ด โสมผง หรือใช้เป็นส่วนผสมของเครื่องสำอาง

การจำแนก[แก้]

คำว่า Panax มีรากศัพท์มาจากภาษากรีกแปลว่า "รักษาได้สารพัดโรค"[2]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 Farr, E. R. & Zijlstra, G. eds. (1996-) Index Nominum Genericorum (Plantarum). 2009 Dec 23 [1].
  2. National Library of Medicine (U.S.) (1851). "Interesting history of the Panax (Quinquefolium) of Linnaeus, the ginseng of the Chinese, from the archives of history and medical science". wellcomelibrary.org. สืบค้นเมื่อ 19 November 2019.
  3. จาก itis.gov

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Panax ที่วิกิสปีชีส์