ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อำเภอลำลูกกา"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
MR.Peerapol (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
Mr.BuriramCN (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 83: บรรทัด 83:


== การคมนาคม ==
== การคมนาคม ==
[[ไฟล์:Lam Luk Ka Road-Khu Khot Station.jpg|thumb|ถนนลำลูกกา]]
เส้นทางสายหลักของอำเภอลำลูกกา ได้แก่
เส้นทางสายหลักของอำเภอลำลูกกา ได้แก่
*[[ถนนลำลูกกา]] (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3312)
*[[ถนนลำลูกกา]] (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3312)

รุ่นแก้ไขเมื่อ 22:37, 8 พฤษภาคม 2564

อำเภอลำลูกกา
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันAmphoe Lam Luk Ka
แผนที่จังหวัดปทุมธานี เน้นอำเภอลำลูกกา
แผนที่จังหวัดปทุมธานี เน้นอำเภอลำลูกกา
พิกัด: 13°55′57″N 100°44′58″E / 13.93250°N 100.74944°E / 13.93250; 100.74944
ประเทศ ไทย
จังหวัดปทุมธานี
พื้นที่
 • ทั้งหมด297.71 ตร.กม. (114.95 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2563)
 • ทั้งหมด284,419 คน
 • ความหนาแน่น955.36 คน/ตร.กม. (2,474.4 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 12150, 12130 (เฉพาะตำบลคูคต)
รหัสภูมิศาสตร์1306
ที่ตั้งที่ว่าการที่ว่าการอำเภอลำลูกกา หมู่ที่ 21 ตำบลลำลูกกา อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี 12150
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

ลำลูกกา เป็น​อำเภอหนึ่งของจังหวัดปทุมธานี​และเป็นเขตปริมณฑล​ของกรุงเทพมหานคร​โดยในพื้นที่มีหมู่บ้านจัดสรรและชุมชนอย่างหนาแน่นปัจจุบัน​มีรถไฟฟ้าสายสีเขียวเปิดให้บริการที่สถานีคูคต(คลอง2)​

ที่ตั้งและอาณาเขต

อำเภอลำลูกกาตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อดังนี้

ประวัติศาสตร์

ชุมชนบ้านริมคลองสายใหมในอำเภอลำลูกกา

อำเภอลำลูกกาสมัยก่อนเป็นที่ราบลุ่มเต็มไปด้วยป่าพงป่าอ้อ เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าทั่วไป สภาพของพื้นที่เป็นที่รกร้างกว้างใหญ่ มีชื่อเรียกว่า "ทุ่งหลวง" ต่อมาในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) ประมาณปี พ.ศ. 2433 พระองค์ทรงเห็นว่าทุ่งหลวงกว้างใหญ่ไพศาลมาก ควรให้ประชาชนเข้ามาอยู่เป็นที่พักอาศัยทำมาหากิน ประกอบกับมีพระราชดำริว่า กรุงสยาม คลองเป็นสำคัญ สมควรต้องขุดทุกปี จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้บริษัทขุดคลองแลคูนาสยาม ดำเนินการขุดคลองหกวา เริ่มจากคลองซอยที่ 2 ไปจนถึงอำเภอบางน้ำเปรี้ยว จังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นระยะทาง 900 เส้นเศษ และขุดคลองซอยที่เป็นระยะห่างกัน 60 เส้น จำนวน 16 คลอง ผลจากการขุดคลองนี้ทำให้ประชาชนที่อยู่ในถิ่นกันดารต่างอพยพหลั่งไหลเข้ามาอาศัยอยู่และทำการปลูกมากยิ่งขึ้น

สำหรับชื่ออำเภอลำลูกกานี้ตามประวัติบอกว่า แต่เดิมนั้นในท้องที่อำเภอนี้มีลำธารไหลผ่านมาบรรจบเป็นรูปตีนกา และปรากฏว่ามีนกมาอาศัยทำรังอยู่เป็นจำนวนมาก เพราะที่รวมของลำธารนี้อุดมสมบูรณ์ไปด้วยกุ้ง ปลา อาหารของสัตว์นานาชนิด ประชาชนจึงเรียนบึงนี้ว่า "บึงลำลูกกา" ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา เมื่อทางราชการได้ตั้งอำเภอขึ้นใกล้กับบึงนี้เมื่อประมาณ พ.ศ. 2447 จึงขนานนามว่า อำเภอลำลูกกา สันนิษฐานว่าเป็นเพราะนิยมใช้คำสั้น ๆ

  • วันที่ 21 สิงหาคม 2470 โอนตำบลคลองหกวาฝั่งใต้ของอำเภอหนองจอก ตำบลคลองเจ็ดของอำเภอมีนบุรี จังหวัดมีนบุรี และตำบลคูคตของอำเภอบางเขน จังหวัดพระนคร มาขึ้นกับอำเภอลำลูกกา[1]
  • วันที่ 12 ธันวาคม 2481 โอนพื้นที่หมู่ 16,17,18 (ในขณะนั้น) ของตำบลคลองหกวาฝั่งใต้ ไปขึ้นกับตำบลคลองเจ็ด และตั้งตำบลคลองสิบสองหกวา แยกออกจากตำบลลำไทร ตำบลบึงทองหลาง และตำบลคลองหกวาฝั่งใต้[2]
  • วันที่ 30 ธันวาคม 2484 เปลี่ยนแปลงเขตจังหวัดปทุมธานีกับจังหวัดพระนคร โดยโอนพื้นที่ตำบลสายไหมของอำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี ไปขึ้นอำเภอบางเขน จังหวัดพระนคร[3]
  • วันที่ 18 กรกฎาคม 2499 จัดตั้งสุขาภิบาลลำลูกกาในท้องที่บางส่วนของตำบลลำลูกกาและตำบลบึงคำพร้อย[4]
  • วันที่ 12 ธันวาคม 2504 จัดตั้งสุขาภิบาลลำไทรในท้องที่บางส่วนของตำบลลำไทร[5]
  • วันที่ 14 ตุลาคม 2507 เปลี่ยนแปลงเขตสุขาภิบาลลำลูกกา โดยขยายออกไปในบางหมู่บ้านของตำบลลำลูกกาและตำบลบึงคำพร้อย[6]
  • วันที่ 28 เมษายน 2526 จัดตั้งสุขาภิบาลคูคตในท้องที่บางส่วนของตำบลคูคต[7]
  • วันที่ 10 สิงหาคม 2532 ตั้งตำบลพืชอุดม แยกออกจากตำบลลำไทร[8]
  • วันที่ 5 พฤษภาคม 2539 ยกฐานะจากสุขาภิบาลคูคตเป็นเทศบาลเมืองคูคต[9]
  • วันที่ 25 พฤษภาคม 2542 ยกฐานะจากสุขาภิบาลลำลูกกาและสุขาภิบาลลำไทรเป็นเทศบาลตำบลลำลูกกาและเทศบาลตำบลลำไทร

การแบ่งเขตการปกครอง

การปกครองส่วนภูมิภาค

พื้นที่อำเภอลำลูกกาแบ่งเขตการปกครองเป็น 8 ตำบล

ลำดับที่ ตำบล จำนวนหมู่บ้าน ประชากรทั้งหมด
(พ.ศ. 2561) [10]
ประชากรในเขตเทศบาล
(พ.ศ. 2561) [10]
1. คูคต
(Khu Khot)
18 110,750 45,009
65,741
(ทม. คูคต)
(ทม. ลำสามแก้ว)
2. ลาดสวาย
(Lat Sawai)
11 64,484 64,484 (ทม. ลาดสวาย)
3. บึงคำพร้อย
(Bueng Kham Phroi)
19 42,559 10,961
30,238
(ทต. ลำลูกกา)
(อบต. บึงคำพร้อย)
4. ลำลูกกา
(Lam Luk Ka)
21 29,024 6,731
22,293
(ทต. ลำลูกกา)
(อบต. ลำลูกกา)
5. บึงทองหลาง
(Bueng Thonglang)
22 10,756 10,756 (อบต. บึงทองหลาง)
6. ลำไทร
(Lam Sai)
14 8,702 2,696
6,006
(ทต. ลำไทร)
(อบต. ลำไทร)
7. บึงคอไห
(Bueng Kho Hai)
12 7,637 7,637 (อบต. บึงคอไห)
8. พืชอุดม
(Phuet Udom)
9 3,957 3,957 (อบต. พืชอุดม)
รวม 126 277,869 277,869

การปกครองส่วนท้องถิ่น

อำเภอลำลูกกาประกอบด้วยองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น 11 แห่ง ได้แก่

  • เทศบาลเมืองคูคต ครอบคลุมพื้นที่ตำบลคูคต เฉพาะหมู่ที่ 4–5, 8–11, 13–18 และบางส่วนของหมู่ที่ 3, 6, 7 และ 12
  • เทศบาลเมืองลำสามแก้ว ครอบคลุมพื้นที่ตำบลคูคต เฉพาะหมู่ที่ 1–2 และบางส่วนของหมู่ที่ 3, 6, 7 และ 12
  • เทศบาลเมืองลาดสวาย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลลาดสวายทั้งตำบล
  • เทศบาลตำบลลำไทร ครอบคลุมพื้นที่ตำบลลำไทร เฉพาะหมู่ที่ 2, 9 และบางส่วนของหมู่ที่ 1, 3–7 และ 10–11
  • เทศบาลตำบลลำลูกกา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบึงคำพร้อย เฉพาะหมู่ที่ 15–16 และบางส่วนของหมู่ที่ 4–6, 17 และ 19 และตำบลลำลูกกา เฉพาะหมู่ที่ 11, 18, 20–21 และบางส่วนของหมู่ที่ 5, 10, 12 และ 18–19
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบึงคำพร้อย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบึงคำพร้อย เฉพาะหมู่ที่ 1–3, 7–14, 18 และบางส่วนของหมู่ที่ 4–6, 17 และ 19
  • องค์การบริหารส่วนตำบลลำลูกกา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลลำลูกกา เฉพาะหมู่ที่ 1–4, 6–9, 13–17 และบางส่วนของหมู่ที่ 5, 10, 12 และ 18–19
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบึงทองหลาง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบึงทองหลางทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลลำไทร ครอบคลุมพื้นที่ตำบลลำไทร เฉพาะหมู่ที่ 8, 12–14 และบางส่วนของหมู่ที่ 1, 3–7 และ 10–11
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบึงคอไห ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบึงคอไหทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลพืชอุดม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลพืชอุดมทั้งตำบล

การคมนาคม

ถนนลำลูกกา

เส้นทางสายหลักของอำเภอลำลูกกา ได้แก่

เส้นทางสายรองของอำเภอลำลูกกา ได้แก่

  • ถนนหทัยราษฏร์
  • ถนนลำลูกกา-ธัญบุรี (คลอง 7) (ทางหลวงชนบท ปท.3004)
  • ถนนอบจ.ปท.2006
  • ถนนไสวประชาราษฏร์ (พระองค์เจ้าสาย)

อ้างอิง

  1. [1]พระบรมราชโองการ ประกาศ เรื่อง แก้ไขเขตจังหวัดพระนคร ธนบุรี พระประแดง สมุทรปราการ และมีนบุรีในมณฑลกรุงเทพ ฯ กับธัญบุรี ในมณฑลอยุธยา
  2. [2]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตตำบลในอำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี
  3. [3]พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงเขตจังหวัดปทุมธานีและจังหวัดพระนคร พุทธศักราช ๒๔๘๔
  4. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลลำลูกกา อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 73 (60 ง): (ฉบับพิเศษ) 9-10. 3 สิงหาคม 2499.
  5. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลลำไทร จังหวัดปทุมธานี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 78 (106 ง): 2472–2473. 19 ธันวาคม 2504.
  6. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตสุขาภิบาลลำลูกกา อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 81 (107 ง): 2706–2707. 3 พฤศจิกายน 2507.
  7. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลคูคต อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 100 (97 ง): 1910–1912. 14 มิถุนายน 2526.
  8. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและกำหนดเขตตำบล ในท้องที่อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 106 (154 ง): (ฉบับพิเศษ) 72-76. 15 กันยายน 2532.
  9. "พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเทศบาลเมืองคูคต จังหวัดปทุมธานี พ.ศ. ๒๕๓๙" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 113 (5 ก): 4–7. 6 มีนาคม 2539.
  10. 10.0 10.1 รายงานสถิติจำนวนประชากร และบ้าน รายจังหวัด รายอำเภอ และรายตำบลรายอายุ ณ เดือน ธันวาคม พ.ศ. 2561 หน้า 2-4 โดยกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย