ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ประธานรัฐสภาไทย"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Famefill (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Famefill (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 28: บรรทัด 28:
ทั้งนี้ผู้ดำรงตำแหน่งประธานรัฐสภาคนปัจจุบันคือ[[ชวน หลีกภัย]] โดยที่สภาผู้แทนราษฎรมีมติเห็นชอบเมื่อ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2562<ref>[https://www.thairath.co.th/news/politic/1576243#cxrecs_s ประธานสภาฯ], ไทยรัฐ, 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2562, สืบค้นวันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2562</ref> และมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯแต่งตั้งเมื่อ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2562<ref name=ประธาน />
ทั้งนี้ผู้ดำรงตำแหน่งประธานรัฐสภาคนปัจจุบันคือ[[ชวน หลีกภัย]] โดยที่สภาผู้แทนราษฎรมีมติเห็นชอบเมื่อ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2562<ref>[https://www.thairath.co.th/news/politic/1576243#cxrecs_s ประธานสภาฯ], ไทยรัฐ, 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2562, สืบค้นวันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2562</ref> และมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯแต่งตั้งเมื่อ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2562<ref name=ประธาน />


==ประวัติ==
ตำแหน่งประธานรัฐสภานั้นเกิดขึ้นครั้งแรกภายหลัง[[การปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475|การเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475]] พร้อมกับตำแหน่ง[[นายกรัฐมนตรีไทย|นายกรัฐมนตรี]] แต่รัฐธรรมนูญ 2 ฉบับแรกคือ [[พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475]] และ[[รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2475]] ได้กำหนดให้รัฐสภามีแค่สภาผู้แทนราษฎรเพียงสภาเดียว<ref>[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2475/A/166.PDF พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475], ราชกิจจานุเบกษา, สืบค้นวันที่ 25 มิถุนายน 2562</ref><ref>[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2475/A/529.PDF รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2475], ราชกิจจานุเบกษา, สืบค้นวันที่ 25 มิถุนายน 2562</ref> จึงถือว่าประธานสภาผู้แทนราษฎรเป็นประธานรัฐสภา<ref>[https://www.parliament.go.th/ewtadmin/ewt/parliament_parcy/more_news.php?offset=20&cid=4558&filename=index ทำเนียบประธานรัฐสภา], รัฐสภาไทย, สืบค้นวันที่ 25 มิถุนายน 2562</ref>

ต่อมาได้มีการประกาศใช้[[รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2489]] ได้กำหนดให้รัฐสภาประกอบไปด้วยพฤฒิสภา ([[วุฒิสภาไทย|วุฒิสภา]]) และ[[สภาผู้แทนราษฎรไทย|สภาผู้แทนราษฎร]] ซึ่งในมาตรา 63 กำหนดไว้ว่า ''ให้ประธานพฤฒสภาเป็นประธานของที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภา และให้ประธานสภาผู้แทนเป็นรองประธาน''<ref>[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2489/A/030/318.PDF รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2489], ราชกิจจานุเบกษา, สืบค้นวันที่ 25 มิถุนายน 2562</ref> ซึ่งรัฐธรรมนูญอีก 2 ฉบับต่อมาคือ [[รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490]] และ[[รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2492]] ก็ได้กำหนดให้ประธานวุฒิสภาเป็นประธานรัฐสภาเช่นกัน<ref>[https://www.parliament.go.th/ewtadmin/ewt/parliament_parcy/ewt_w3c/ewt_dl_link.php?nid=7227 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490], รัฐสภาไทย, สืบค้นวันที่ 25 มิถุนายน 2562</ref><ref>[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2489/A/030/318.PDF รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2492]ราชกิจจานุเบกษา, สืบค้นวันที่ 25 มิถุนายน 2562</ref>

{{โครงส่วน}}
== อำนาจหน้าที่ของประธานรัฐสภาไทย ==
== อำนาจหน้าที่ของประธานรัฐสภาไทย ==
ตามข้อบังคับการประชุมของรัฐสภา พ.ศ. 2553 ข้อที่ 5 ได้กำหนดให้ประธานรัฐสภามีอำนาจหน้าที่ดังนี้
ตามข้อบังคับการประชุมของรัฐสภา พ.ศ. 2553 ข้อที่ 5 ได้กำหนดให้ประธานรัฐสภามีอำนาจหน้าที่ดังนี้

รุ่นแก้ไขเมื่อ 20:32, 25 มิถุนายน 2562

ประธานรัฐสภา
ราชอาณาจักรไทย
ตรารัฐสภา
ธงประธานรัฐสภา
ผู้ดำรงตำแหน่งคนปัจจุบัน
ชวน หลีกภัย

ตั้งแต่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2562[1]
การเรียกขานท่านประธานที่เคารพ
ผู้เสนอชื่อสภาผู้แทนราษฎร
ผู้แต่งตั้งพระมหากษัตริย์ไทย
วาระ4 ปี
ผู้ประเดิมตำแหน่งเจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี
สถาปนา28 มิถุนายน พ.ศ. 2475 (91 ปี)
เว็บไซต์parliament.go.th

ประธานรัฐสภาไทย เป็นตำแหน่งผู้นำสูงสุดของฝ่ายนิติบัญญัติของไทย มีอำนาจหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญหรือกฎหมายอื่นที่ได้กำหนดไว้ เป็นผู้ดำเนินกิจการของรัฐสภาในกรณีประชุมร่วมกันให้เป็นไปตามข้อบังคับการประชุมรัฐสภา และยังเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการฝ่ายรัฐสภา[2]

ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 กำหนดให้รัฐสภาไทยประกอบด้วยวุฒิสภาและสภาผู้แทนราษฎร โดยมีโดยมีประธานสภาผู้แทนราษฎรเป็นประธานรัฐสภา และประธานวุฒิสภาเป็นรองประธานรัฐสภาโดยตำแหน่ง[3]

ทั้งนี้ผู้ดำรงตำแหน่งประธานรัฐสภาคนปัจจุบันคือชวน หลีกภัย โดยที่สภาผู้แทนราษฎรมีมติเห็นชอบเมื่อ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2562[4] และมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯแต่งตั้งเมื่อ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2562[1]

ประวัติ

ตำแหน่งประธานรัฐสภานั้นเกิดขึ้นครั้งแรกภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 พร้อมกับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี แต่รัฐธรรมนูญ 2 ฉบับแรกคือ พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475 และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2475 ได้กำหนดให้รัฐสภามีแค่สภาผู้แทนราษฎรเพียงสภาเดียว[5][6] จึงถือว่าประธานสภาผู้แทนราษฎรเป็นประธานรัฐสภา[7]

ต่อมาได้มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2489 ได้กำหนดให้รัฐสภาประกอบไปด้วยพฤฒิสภา (วุฒิสภา) และสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งในมาตรา 63 กำหนดไว้ว่า ให้ประธานพฤฒสภาเป็นประธานของที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภา และให้ประธานสภาผู้แทนเป็นรองประธาน[8] ซึ่งรัฐธรรมนูญอีก 2 ฉบับต่อมาคือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2492 ก็ได้กำหนดให้ประธานวุฒิสภาเป็นประธานรัฐสภาเช่นกัน[9][10]

อำนาจหน้าที่ของประธานรัฐสภาไทย

ตามข้อบังคับการประชุมของรัฐสภา พ.ศ. 2553 ข้อที่ 5 ได้กำหนดให้ประธานรัฐสภามีอำนาจหน้าที่ดังนี้

  1. เป็นประธานของที่ประชุมรัฐสภา
  2. กำหนดการประชุมรัฐสภา
  3. ควบคุมและดำเนินกิจการของรัฐสภา
  4. รักษาความสงบเรียบร้อยในที่ประชุมรัฐสภาตลอดถึงบริเวณของรัฐสถา
  5. เป็นผู้แทนรัฐสภาในกิจการภายนอก
  6. แต่งตั้งกรรมการเพื่อดำเนินกิจการใด ๆ ตามข้อบังคับข้อที่ 5 (7)
  7. อำนาจและหน้าที่อื่นตามที่มีกฎหมายบัญญัติไว้ หรือตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับนี้

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 ประกาศ แต่งตั้งประธานและรองประธานสภาผู้แทนราษฎร, ราชกิจจานุเบกษา, สืบค้นวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2562
  2. ประธานรัฐสภา, สถาบันพระปกเกล้า, สีบค้นวันที่ 22 มิถุนายน 2562
  3. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560, ราชกิจจานุเบกษา, 6 เมษายน 2560, สืบค้นวันที่ 22 มิถุนายน 2562
  4. ประธานสภาฯ, ไทยรัฐ, 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2562, สืบค้นวันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2562
  5. พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475, ราชกิจจานุเบกษา, สืบค้นวันที่ 25 มิถุนายน 2562
  6. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2475, ราชกิจจานุเบกษา, สืบค้นวันที่ 25 มิถุนายน 2562
  7. ทำเนียบประธานรัฐสภา, รัฐสภาไทย, สืบค้นวันที่ 25 มิถุนายน 2562
  8. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2489, ราชกิจจานุเบกษา, สืบค้นวันที่ 25 มิถุนายน 2562
  9. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490, รัฐสภาไทย, สืบค้นวันที่ 25 มิถุนายน 2562
  10. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2492ราชกิจจานุเบกษา, สืบค้นวันที่ 25 มิถุนายน 2562