ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สยามพิวรรธน์"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Usurainy (คุย | ส่วนร่วม)
ปรับเนื้อหาให้เป็นปัจจุบัน
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาดบทความด้วยบอต
บรรทัด 25: บรรทัด 25:


== '''ประวัติความเป็นมา''' ==
== '''ประวัติความเป็นมา''' ==
บริษัท สยามพิวรรธน์ จำกัด ชื่อเดิม คือบริษัท บางกอกอินเตอร์คอนติเนนตอล โฮเต็ลส จำกัด ซึ่งได้จดทะเบียนเปลี่ยนชื่อบริษัทเมื่อวันที่ 28 มกราคม  2546 เริ่มแรก บริษัท บางกอกอินเตอร์คอนติเนนตอลโฮเต็ลส จำกัด ได้ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 10 มกราคม พ.ศ.2502 โดยมี[[เฉลิมชัย จารุวัสตร์|พลเอกเฉลิมชัย จารุวัสตร์]] (ขณะนั้นมียศพลตรี) โดยได้พัฒนาโรงแรมสยามอินเตอร์คอนติเนนตัล ซึ่งเป็นโรงแรมห้าดาวระดับนานาชาติแห่งแรกที่เปิดให้บริการในประเทศไทย และต่อมาได้ก่อสร้างสยามเซ็นเตอร์เป็นศูนย์การค้าระดับนานาชาติแห่งแรกของประเทศไทยและมีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทยในเวลานั้น ตามด้วยสยามดิสคัฟเวอรี่ ศูนย์การค้าซึ่งมีรูปลักษณ์ทันสมัยทั้งภายนอกและภายใน สยามทาวเวอร์ อาคารสูง 30 ชั้น ซึ่งให้เช่าเป็นสำนักงานของบริษัทฯ ต่างๆ รวมทั้งอาคารจอดรถสยาม ซึ่งเป็นอาคารจอดรถที่ใหญ่ที่สุดในกรุงเทพฯ ควบคุมการจอดรถด้วยระบบคอมพิวเตอร์เป็นแห่งแรกในประเทศไทย
บริษัท สยามพิวรรธน์ จำกัด ชื่อเดิม คือบริษัท บางกอกอินเตอร์คอนติเนนตอล โฮเต็ลส จำกัด ซึ่งได้จดทะเบียนเปลี่ยนชื่อบริษัทเมื่อวันที่ 28 มกราคม  2546 เริ่มแรก บริษัท บางกอกอินเตอร์คอนติเนนตอลโฮเต็ลส จำกัด ได้ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2502 โดยมี[[เฉลิมชัย จารุวัสตร์|พลเอกเฉลิมชัย จารุวัสตร์]] (ขณะนั้นมียศพลตรี) โดยได้พัฒนาโรงแรมสยามอินเตอร์คอนติเนนตัล ซึ่งเป็นโรงแรมห้าดาวระดับนานาชาติแห่งแรกที่เปิดให้บริการในประเทศไทย และต่อมาได้ก่อสร้างสยามเซ็นเตอร์เป็นศูนย์การค้าระดับนานาชาติแห่งแรกของประเทศไทยและมีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทยในเวลานั้น ตามด้วยสยามดิสคัฟเวอรี่ ศูนย์การค้าซึ่งมีรูปลักษณ์ทันสมัยทั้งภายนอกและภายใน สยามทาวเวอร์ อาคารสูง 30 ชั้น ซึ่งให้เช่าเป็นสำนักงานของบริษัทฯ ต่างๆ รวมทั้งอาคารจอดรถสยาม ซึ่งเป็นอาคารจอดรถที่ใหญ่ที่สุดในกรุงเทพฯ ควบคุมการจอดรถด้วยระบบคอมพิวเตอร์เป็นแห่งแรกในประเทศไทย


หลังจากโรงแรมสยามอินเตอร์คอนติเนนตัลได้ดำเนินกิจการมาเป็นเวลาถึง 35 ปี  บริษัทได้เห็นควรให้หยุดกิจการโรงแรมสยามอินเตอร์คอนติเนนตัล เพื่อทำการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างทั้งหมด และก่อสร้างโครงการใหม่ทดแทน โรงแรมจึงได้ปิดกิจการเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2545 และได้จดทะเบียนเปลี่ยนชื่อบริษัทเป็น “บริษัท สยามพิวรรธน์ จำกัด” ในวันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2546
หลังจากโรงแรมสยามอินเตอร์คอนติเนนตัลได้ดำเนินกิจการมาเป็นเวลาถึง 35 ปี  บริษัทได้เห็นควรให้หยุดกิจการโรงแรมสยามอินเตอร์คอนติเนนตัล เพื่อทำการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างทั้งหมด และก่อสร้างโครงการใหม่ทดแทน โรงแรมจึงได้ปิดกิจการเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2545 และได้จดทะเบียนเปลี่ยนชื่อบริษัทเป็น “บริษัท สยามพิวรรธน์ จำกัด” ในวันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2546

รุ่นแก้ไขเมื่อ 18:25, 13 พฤษภาคม 2562

สยามพิวรรธน์
อุตสาหกรรมธุรกิจค้าปลีก
อสังหาริมทรัพย์
ก่อตั้ง10 มกราคม พ.ศ. 2502 (ในชื่อ "บางกอกอินเตอร์คอนติเนนตอล โฮเต็ลส")
28 มกราคม พ.ศ. 2546 (เปลี่ยนเป็นชื่อปัจจุบัน)
ผู้ก่อตั้งพลเอกเฉลิมชัย จารุวัสตร์
สำนักงานใหญ่989 อาคารสำนักงานสยามทาวเวอร์ ถนนพระรามที่ 1 แขวงปทุมวัน เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ
บุคลากรหลัก
ธารินทร์ นิมมานเหมินท์ ประธานกรรมการ
ชฎาทิพ จูตระกูล กรรมการผู้อำนวยการใหญ่
เว็บไซต์www.siampiwat.com

เกี่ยวกับสยามพิวรรธน์

บริษัท สยามพิวรรธน์ จำกัด คือหนึ่งในบริษัทค้าปลีกและพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ชั้นแนวหน้าของประเทศไทย มีวิสัยทัศน์ในการดำเนินธุรกิจที่มุ่งเสนอความแปลกใหม่ในการพัฒนาโครงการชั้นนำต่างๆให้เกิดขึ้นในประเทศด้วยความคิดสร้างสรรค์อย่างไม่หยุดนิ่ง  ปัจจุบันเป็นเจ้าของและบริหารกิจการศูนย์การค้าชั้นนำหลายแห่งใจกลางกรุงเทพมหานคร ได้แก่ สยามเซ็นเตอร์ สยามดิสคัฟเวอรี่ สยามพารากอน และไอคอนสยาม

ประวัติความเป็นมา

บริษัท สยามพิวรรธน์ จำกัด ชื่อเดิม คือบริษัท บางกอกอินเตอร์คอนติเนนตอล โฮเต็ลส จำกัด ซึ่งได้จดทะเบียนเปลี่ยนชื่อบริษัทเมื่อวันที่ 28 มกราคม  2546 เริ่มแรก บริษัท บางกอกอินเตอร์คอนติเนนตอลโฮเต็ลส จำกัด ได้ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2502 โดยมีพลเอกเฉลิมชัย จารุวัสตร์ (ขณะนั้นมียศพลตรี) โดยได้พัฒนาโรงแรมสยามอินเตอร์คอนติเนนตัล ซึ่งเป็นโรงแรมห้าดาวระดับนานาชาติแห่งแรกที่เปิดให้บริการในประเทศไทย และต่อมาได้ก่อสร้างสยามเซ็นเตอร์เป็นศูนย์การค้าระดับนานาชาติแห่งแรกของประเทศไทยและมีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทยในเวลานั้น ตามด้วยสยามดิสคัฟเวอรี่ ศูนย์การค้าซึ่งมีรูปลักษณ์ทันสมัยทั้งภายนอกและภายใน สยามทาวเวอร์ อาคารสูง 30 ชั้น ซึ่งให้เช่าเป็นสำนักงานของบริษัทฯ ต่างๆ รวมทั้งอาคารจอดรถสยาม ซึ่งเป็นอาคารจอดรถที่ใหญ่ที่สุดในกรุงเทพฯ ควบคุมการจอดรถด้วยระบบคอมพิวเตอร์เป็นแห่งแรกในประเทศไทย

หลังจากโรงแรมสยามอินเตอร์คอนติเนนตัลได้ดำเนินกิจการมาเป็นเวลาถึง 35 ปี  บริษัทได้เห็นควรให้หยุดกิจการโรงแรมสยามอินเตอร์คอนติเนนตัล เพื่อทำการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างทั้งหมด และก่อสร้างโครงการใหม่ทดแทน โรงแรมจึงได้ปิดกิจการเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2545 และได้จดทะเบียนเปลี่ยนชื่อบริษัทเป็น “บริษัท สยามพิวรรธน์ จำกัด” ในวันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2546

วิสัยทัศน์ และพันธกิจ

สัญลักษณ์แห่งการนำเสนอความแปลกใหม่ให้ชีวิต

ตลอดเวลาเกือบ 60 ปี สยามพิวรรธน์เป็นผู้พัฒนาธุรกิจค้าปลีกและอสังหาริมทรัพย์ระดับโลกชั้นนำ และเป็นที่รู้จักในฐานะผู้นำความคิดที่นำเสนอโครงการรูปแบบแปลกใหม่ไม่ซ้ำใครและสร้างบรรทัดฐานใหม่ให้แก่ธุรกิจค้าปลีกของประเทศเสมอมา พันธกิจของสยามพิวรรธน์คือการเป็นที่หนึ่งในการนำเสนอแนวคิดแปลกใหม่ล้ำยุคในโครงการของเรา เพื่อสร้างประสบการณ์เหนือชั้นที่สร้างแรงบันดาลใจให้ลูกค้าอยู่เสมอ ทุกโครงการของสยามพิวรรรธน์ล้วนมีส่วนยกระดับคุณภาพชีวิตชาวไทยทุกคน ยังความเจริญรุ่งเรืองมาสู่ประเทศชาติ ดึงดูดนักท่องเที่ยวจากทั่วโลกมายังประเทศไทย รวมทั้งนำชื่อเสียงและความภาคภูมิใจมาสู่ชาวไทย

ธุรกิจของบริษัท

ศูนย์การค้า

วันสยาม

ในปี พ.ศ. 2561 สยามพิวรรธน์ได้เปิดตัวเครื่องหมายการค้า "วันสยาม" สำหรับเรียกกลุ่มธุรกิจศูนย์การค้าและอาคารสำนักงานของบริษัทที่ตั้งอยู่ในพื้นที่เขตปทุมวัน โดยประกอบด้วยสมาชิกดังนี้

ศูนย์การค้าอื่น ๆ

  • ไอคอนสยาม (ร่วมทุนกับเครือเจริญโภคภัณฑ์ และแมกโนเลีย ควอลิตี้ ดีเวล็อปเม้นต์ คอร์ปอเรชั่น ในนามบริษัท ไอคอนสยาม จำกัด)
  • สยาม พรีเมียม เอาท์เล็ต แบงค็อก: อะ สยามพิวรรธน์ ไซมอน เซ็นเตอร์ (ร่วมทุนกับกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ไซมอน)

อาคารสำนักงาน

อาคารสยามพิวรรธน์

อาคารสำนักงานสยามพิวรรธน์ทาวเวอร์ เป็นอาคารสำนักงานสูง 30 ชั้น เชื่อมต่อกับอาคารสยามดิสคัฟเวอรี และอาคารจอดรถสยาม นอกจากเป็นที่ตั้งสำนักงานบริษัทแล้ว ยังเป็นที่ตั้งของสำนักงานส่งเสริมการจัดการประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) อีกด้วย

ธุรกิจค้าปลีก

  • บริษัท ดิสคัฟเวอรี่ รีเทล จำกัด - จัดจำหน่ายสินค้าในโซนโอเพนสเปซ (ดิสคัฟเวอรีแล็บ) ภายใน สยามดิสคัฟเวอรี
  • บริษัท สยามพารากอน รีเทล จำกัด - บริษัทร่วมทุนกับกลุ่มเดอะมอลล์ เพื่อดำเนินการ “พารากอน ดีพาร์ทเม้นท์สโตร์” ในสยามพารากอน
  • บริษัท สยามพิวรรธน์ รีเทล โฮลดิ้ง จำกัด (ชื่อเดิม บริษัท สยาม สเปเชีลลิตี้ จำกัด) - จัดจำหน่ายสินค้าในรูปแบบต่างๆ ได้แก่
    • ลอฟท์
    • เดอะ วันเดอร์ รูม
    • เดอะ ซีเล็คเต็ด
    • จิน แอนด์ มิลค์
    • ออฟเจกต์ ออฟ ดีไซร์ สโตร์ (โอดีเอส)
    • แคช
    • เพอร์-สูท
    • อาแลง
  • บริษัท สยาม กูร์เมต์ โฮลดิ้ง จำกัด - บริหารร้านอาหารเจมีส์ อิตาเลียน และมาย คิทเช่น ในศูนย์การค้าสยามดิสคัฟเวอรี
  • บริษัท สยาม ทาคาชิมาย่า (ประเทศไทย) จำกัด - บริษัทร่วมทุนกับกลุ่มทาคาชิมาย่า เพื่อดำเนินการห้างสรรพสินค้าสยามทาคาชิมาย่า สาขาไอคอนสยาม
  • บริษัท สยามพิวรรธน์-ไซม่อน จำกัด - บริษัทร่วมทุนกับกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ไซมอน จากประเทศสหรัฐอเมริกา เพื่อดำเนินการศูนย์การค้าลักชูรี พรีเมียม เอาท์เล็ต จำนวน 3 แห่ง โดยหนึ่งในนั้นจะตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร[1][2]

ธุรกิจอื่นๆ

  • บริษัท ซูพรีโม จำกัด บริษัทจัดการตลาดให้กับศูนย์การค้าในเครือ
  • บริษัท ดิจิมีเดีย จำกัด บริษัทจัดการตลาดในสื่อออนไลน์
  • รอยัลพารากอนฮอลล์ ดำเนินการในนามบริษัท รอยัลพารากอน เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด
  • บริษัท สยามโปรเฟสชั่นแนล แมเนจเม้นท์ จำกัด ดูแลการบริหารจัดการอสังหาริมทรัพย์ในเครือ
  • บริษัท ซุปเปอร์ฟอร์ซ จำกัด บริหารจัดการระบบรักษาความปลอดภัยภายในอาคารในเครือสยามพิวรรธน์

อ้างอิง