ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ประเทศอิเควทอเรียลกินี"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 31: บรรทัด 31:
| population_density_sq_mi = 47 <!-- Do not remove per [[WP:MOSNUM]]-->
| population_density_sq_mi = 47 <!-- Do not remove per [[WP:MOSNUM]]-->
| population_density_rank = 187
| population_density_rank = 187
| GDP_PPP_year = 2548
| GDP_PPP_year = 2560
| GDP_PPP = 18.785 พันล้าน[[ดอลลาร์สหรัฐ]] <!-- [[List of countries by GDP (PPP)]] -->
| GDP_PPP = $ 30.807 พันล้าน
| GDP_PPP_rank = 112
| GDP_PPP_rank =
| GDP_PPP_per_capita = $ 36,556
| GDP_PPP_per_capita = 16,507 ดอลลาร์สหรัฐ<!-- [[List of countries by GDP (PPP) per capita]] -->
| GDP_PPP_per_capita_rank = 41
| GDP_PPP_per_capita_rank =
| GDP_nominal_year = 2560
| GDP_nominal = $ 11.686 พันล้าน
| GDP_nominal_rank =
| GDP_nominal_per_capita = $ 13,867
| GDP_nominal_per_capita_rank =
| sovereignty_type = [[เอกราช]]
| sovereignty_type = [[เอกราช]]
| established_event1 = จาก [[ประเทศสเปน|สเปน]]
| established_event1 = จาก [[ประเทศสเปน|สเปน]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 12:35, 5 พฤษภาคม 2560

สาธารณรัฐอิเควทอเรียลกินี

República de Guinea Ecuatorial
(สเปน)
République de Guinée équatoriale
(ฝรั่งเศส)
República da Guiné Equatorial
(โปรตุเกส)
ตราแผ่นดินของอิเควทอเรียลกินี
ตราแผ่นดิน
คำขวัญUnidad, Paz, Justicia
(สเปน: เอกภาพ สันติภาพ ยุติธรรม)
ที่ตั้งของอิเควทอเรียลกินี
เมืองหลวง
และเมืองใหญ่สุด
มาลาโบ
ภาษาราชการภาษาสเปน ภาษาฝรั่งเศส และภาษาโปรตุเกส
การปกครองสาธารณรัฐ
• ประธานาธิบดี
เตโอโดโร โอเบียง อึงเกมา อึมบาโซโก
• นายกรัฐมนตรี
อิกนาซีโอ มีลัม ตัง
เอกราช
• จาก สเปน
12 ตุลาคม พ.ศ. 2511
พื้นที่
• รวม
28,051 ตารางกิโลเมตร (10,831 ตารางไมล์) (144)
น้อยมาก
ประชากร
• ก.ค. 2548 ประมาณ
504,000 (166)
18 ต่อตารางกิโลเมตร (46.6 ต่อตารางไมล์) (187)
จีดีพี (อำนาจซื้อ) 2560 (ประมาณ)
• รวม
$ 30.807 พันล้าน
$ 36,556
จีดีพี (ราคาตลาด) 2560 (ประมาณ)
• รวม
$ 11.686 พันล้าน
$ 13,867
เอชดีไอ (2558)เพิ่มขึ้น 0.592
ข้อผิดพลาด: ค่า HDI ไม่ถูกต้อง · 135th
สกุลเงินฟรังก์ซีเอฟเอ (XAF)
เขตเวลาUTC+1 (WAT)
• ฤดูร้อน (เวลาออมแสง)
UTC+1 (not observed)
รหัสโทรศัพท์240
โดเมนบนสุด.gq

อิเควทอเรียลกินี (อังกฤษ: Equatorial Guinea; สเปน: Guinea Ecuatorial; ฝรั่งเศส: Guinée Équatoriale; โปรตุเกส: Guiné Equatorial) หรือเรียกอย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐอิเควทอเรียลกินี (อังกฤษ: Republic of Equatorial Guinea; สเปน: República de Guinea Ecuatorial; ฝรั่งเศส: République de Guinée Équatoriale; โปรตุเกส: República da Guiné Equatorial) เป็นประเทศหนึ่งในภูมิภาคแอฟริกาตะวันตก มีอาณาเขตติดกับประเทศแคเมอรูน ทางทิศเหนือ ประเทศกาบอง ทางทิศใต้และทิศตะวันตก อ่าวกินี ทางทิศตะวันตก และอยู่ใกล้ ๆ ประเทศเซาตูเมและปรินซิปี ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้

ประวัติศาสตร์

รอเพิ่มเติมข้อมูล เป็นประเทศที่มีการปกครองระบอบการปกครองแบบรัฐเดี่ยว มีสภาการปกครองแบบรัฐสภา

การเมือง

การเมืองการปกครอง ประวัติศาสตร์โดยสังเขป อิเควทอเรียลกินีเคยอยู่ภายใต้การปกครองของโปรตุเกส และตกเป็นอาณานิคมของสเปนเป็นเวลาถึง 190 ปี ตั้งแต่ปี 2321 จนได้รับเอกราชเมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2511 โดยมีนาย Macias Nguema ดำรงตำแหน่งเป็นประธานาธิบดีคนแรกและเป็นผู้สถาปนาระบบการปกครองแบบพรรคเดียวในปี 2513 ภายใต้ระบบการปกครองเผด็จการของประธานาธิบดี ประชาชนกว่า 1 ใน 3 ของประเทศถูกสังหารหรือหนีออกนอกประเทศ จนเมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2515 นาย Macias Nguema ได้สถาปนาตนเองเป็นประธานาธิบดีตลอดกาล (President-for-Life) แต่ต่อมา ได้ถูกโค่นล้มโดยรัฐประหารในเดือนสิงหาคม 2522 ภายใต้การนำของพันเอก Teodoro Obiang Nguema Mbasogo รัฐมนตรีกระทรวงกลาโหม ซึ่งเป็นหลานชายของนาย Macias Nguema จากนั้น คณะนายทหารจึงเป็นองค์กรทางการเมืองที่มีอำนาจเบ็ดเสร็จในการบริหารปกครองประเทศ รัฐธรรมนูญ ฉบับวันที่ 12 ตุลาคม 2525 เปิดโอกาสให้มีการจัดตั้งพรรคฝ่ายค้านที่ถูกต้องตามกฎหมาย หลังจากนั้น ในปี 2534 ประธานาธิบดี Obiang ได้สถาปนาระบบการเมืองหลายพรรคขึ้น โดยจัดให้มีการเลือกตั้งแบบหลายพรรคขึ้นครั้งแรกในปี 2539 อย่างไรก็ตาม ในทางปฏิบัติแล้ว พรรค Partido Democrático de Guinea Ecuatorial (PDGE) ของนาย Obiang ยังคงเป็นพรรคการเมืองที่ถือครองเสียงข้างมากเพียงพรรคเดียว และมักมีรายงานข่าวเกี่ยวกับการจำกัดคู่แข่งทางการเมืองและความไม่โปร่งใสในการเลือกตั้งเสมอๆ

นโยบายของรัฐบาลชุดปัจจุบัน


1.การเมืองการปกครอง 1.1 อิเควทอเรียลกินีมีการปกครองแบบสาธารณรัฐ รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันได้รับความเห็นชอบโดยการลงประชามติ เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2534 และแก้ไขเพิ่มเติมเมื่อเดือนมกราคม 2538 ซึ่งเป็นการเริ่มต้นของระบอบประชาธิปไตยที่มีพรรคการเมืองหลายพรรค และนำไปสู่การจัดตั้งสภาผู้แทนราษฎร 1.2 ประธานาธิบดีมาจากการเลือกตั้งโดยตรง อยู่ในตำแหน่งคราวละ 7 ปี มีอำนาจในการแต่งตั้งนายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรีจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเพื่อบริหารประเทศ คนปัจจุบันคือ นาย Teodoro Obiang Nguema Mbasogo ดำรงตำแหน่งเป็นเวลายาวนานถึง 30 ปีแล้ว และคาดว่าจะได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งครั้งต่อไปในเดือนธันวาคม 2552 1.3 สภาผู้แทนราษฎร (Cámara de Representantes del Pueblo) ประกอบด้วยสมาชิกจำนวน 100 คน มาจากการเลือกตั้งโดยตรง และมีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละ 5 ปี ฝ่ายตุลาการ ประกอบไปด้วยศาลสูง (Supreme Tribunal) และศาลอื่นๆ อีก 3 ประเภท คือ ศาลแพ่ง ศาลอาญาและศาลปกครอง 1.4 ประธานาธิบดี Obiang ได้ยุบสภาเมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2551 เพื่อเปิดโอกาสให้มีการเลือกตั้งใหม่ในเดือนพฤษภาคมปีเดียวกัน ซึ่งพรรค PDGE ของประธานาธิบดีได้รับการเลือกตั้งเข้าสภาถึง 99 ที่นั่ง นายกรัฐมนตรี Ignacio Milan Tang เข้าดำรงตำแหน่งเมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2551 มีรองนายกรัฐมนตรี 3 ตำแหน่ง และคณะรัฐมนตรีประกอบด้วยสมาชิก 42 คน 1.5 เนื่องจากเสถียรภาพทางการเมืองของประเทศที่มีประธานาธิบดีทำหน้าที่บริหารประเทศมาเป็นระยะเวลานาน นโยบายของรัฐบาลอิเควทอเรียลกินีจึงมิได้มีการเปลี่ยนแปลงมากนักในช่วงที่ผ่านมา โดยยังคงให้ความสำคัญกับการมุ่งพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ และการกระจายรายได้เพื่อลดช่องว่างทางเศรษฐกิจของประชาชนในประเทศ

2. เศรษฐกิจ 2.1 การค้นพบแหล่งสำรองน้ำมันขนาดใหญ่และมีการนำมาใช้ประโยชน์ได้ส่งผลต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจของอิเควทอเรียลกินีอย่างมาก ในปัจจุบัน อิเควทอเรียลกินีมีระบบเศรษฐกิจที่พึ่งพิงรายได้จากการส่งออกน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ มีอัตราปริมาณการผลิตน้ำมันประมาณ 4 แสนบาร์เรลต่อวัน รายได้จากภาคอุตสาหกรรมน้ำมันคิดเป็นสัดส่วนถึง 82% ของ GDP ในปี 2550 โดยมีสหรัฐอเมริกาเป็นตลาดส่งออกน้ำมันรายใหญ่ (30% ของการส่งออกน้ำมันในปี 2551) ด้วยเหตุนี้ เศรษฐกิจของประเทศจึงได้รับผลกระทบจากความผันผวนของราคาน้ำมันในตลาดโลก และมีความจำเป็นที่จะต้องสร้างความหลากหลายทางเศรษฐกิจ 2.2 ภาคเกษตรกรรมซึ่งเคยเป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจก่อนการค้นพบแหล่งสำรองน้ำมันขนาดใหญ่ในช่วงปี 2533-2535 ทำรายได้ให้ประเทศน้อยกว่า 2% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ รัฐบาลอิเควทอเรียลกินีใช้ความพยายามอย่างยิ่งในการฟื้นฟูภาคเกษตรกรรมเพื่อลดการพึ่งพิงรายได้จากการส่งออกน้ำมัน โดยมีนโยบายให้ความสนับสนุนและช่วยเหลือบริษัทผู้ประกอบการต่างๆ ในประเทศในการลงทุนทางการเกษตร เนื่องจากปัจจุบัน อิเควทอเรียลกินีต้องพึ่งพาการนำเข้าอาหารเพื่อใช้ในการบริโภคในประเทศ 2.3 นับตั้งแต่ปี 2536 ธนาคารโลกและกองทุนการเงินระหว่างประเทศได้ยุติโครงการให้ความช่วยเหลือแก่อิเควทอเรียลกินีหลายโครงการ เนื่องจากการฉ้อราษฎร์บังหลวงและการบริหารงานผิดพลาดของรัฐบาล 2.4 นโยบายการเงินของอิเควทอเรียลกินีถูกกำหนดโดยธนาคารแห่งรัฐในภูมิภาคแอฟริกากลาง (Banque des Etats de l’Afrique centrale หรือ BEAC) ซึ่งปัจจุบันให้ความสำคัญกับการคุมระดับอัตราเงินเฟ้อและรักษาการตรึงค่าเงิน CFA franc ไว้กับเงินสกุลยูโร (655.96 CFAfr เท่ากับ 1 ยูโร) 2.5 สำหรับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน รัฐบาลอิเควทอเรียลกินีพยายามแก้ไขปัญหาไฟฟ้าดับโดยการเพิ่มกำลังการผลิตและพัฒนาระบบผลิตไฟฟ้าของโรงไฟฟ้าที่มีอยู่ ในปี 2551 อัตราการผลิตไฟฟ้าเพิ่มขึ้น 20% ตามรายงานของบริษัท SEGESA ซึ่งดูแลการผลิตพลังงานไฟฟ้าในประเทศ สำหรับภาคอุตสาหกรรมการก่อสร้างแม้ว่าจะประสบปัญหาขาดแคลนวัตถุดิบ แต่ก็ยังคงมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่องในปัจจุบัน เนื่องจากภาครัฐมีโครงการพัฒนากรุงมาลาโบ ทั้งโครงการก่อสร้างอาคารเคหะสถานในกรุงมาลาโบ และการเชื่อมโยงเครือข่ายถนนต่างๆ 2.6 ประเทศคู่ค้าที่สำคัญของอิเควทอเรียลกินี ได้แก่ สหรัฐอเมริกา จีน สเปน ฝรั่งเศส และสหราชอาณาจักร โดยตลาดสินค้าส่งออกที่สำคัญของประเทศ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา (สัดส่วน 24.3%) สเปน (19.5%) จีน (16.3%) และฝรั่งเศส (8.5%) ในขณะที่อิเควทอเรียลนำเข้าสินค้าจากตลาดหลากหลาย


3. นโยบายต่างประเทศ 3.1 อิเควทอเรียลกินีมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับสเปนทั้งทางด้านการค้า ภาษา และประวัติศาสตร์ อย่างไรก็ตาม การที่สเปนวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลอิเควทอเรียลกินีในเรื่องสิทธิมนุษยชนในระยะหลังได้ส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสองประเทศในระดับหนึ่ง 3.2 ที่ผ่านมา รัฐบาลของประธานาธิบดี Obiang ได้พยายามสร้างความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกับฝรั่งเศส และเข้าร่วมในเขตเศรษฐกิจที่ใช้เงินฟรังก์ (Franc Zone) และกลุ่มประเทศที่ใช้ภาษาฝรั่งเศส (Francophonie) ในปี 2528 ทั้งยังได้กำหนดให้ภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาราชการของประเทศในปี 2541 3.3 อิเควทอเรียลกินีมีความสัมพันธ์อันดีกับประเทศเพื่อนบ้าน โดยให้ความสำคัญเป็นพิเศษกับไนจีเรียและแองโกลาซึ่งเป็นประเทศที่มีบทบาทสำคัญในด้านความมั่นคงในภูมิภาค ล่าสุดในเดือนกันยายน 2552 ได้มีการฝึกปฏิบัติการป้องกันน่านน้ำร่วมกันระหว่างอิเควทอเรียลกินี กาบอง แคเมอรูนและเซาตูเมและปรินซิปี อย่างไรก็ตาม อิเควทอเรียลกินียังมีประเด็นข้อพิพาทเรื่องดินแดนกับกาบอง และการแบ่งเขตแดนทางทะเลกับไนจีเรียในบริเวณที่เป็นแหล่งทรัพยากรน้ำมัน 3.4 อิเควทอเรียลกินีและแคเมอรูนมีความขัดแย้งกันในเรื่องเขตแดน และแม้ว่าทั้งสองประเทศจะสามารถเจรจากันในเรื่องการกำหนดเขตแดนทางทะเลร่วมกันไปแล้ว แต่ปัจจุบัน ความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสองประเทศได้กลับมาตึงเครียดอีกครั้ง เมื่อมีข่าวการปฏิบัติโดยมิชอบต่อชาวแคเมอรูนในอิเควทอเรียลกินี ซึ่งเป็นเรื่องที่มีความละเอียดอ่อนสูงและมักเป็นสาเหตุของความตึงเครียดในความสัมพันธ์ของทั้งสองประเทศ อย่างไรก็ดี อิเควทอเรียลกินีและแคเมอรูนมีนโยบายที่สอดคล้องกันในด้านอุตสาหกรรมพลังงานและการส่งเสริมการรวมกลุ่มในภูมิภาค 3.5 ทรัพยากรน้ำมันและก๊าซธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ของอิเควทอเรียลกินีเป็นสิ่งดึงดูดให้นานาประเทศสนใจส่งเสริมความสัมพันธ์กับอิเควทอเรียลกินี เช่นเดียวกับในประเทศแอฟริกันอื่นๆ จีนได้เข้ามาบทบาททางเศรษฐกิจมากขึ้นในอิเควทอเรียลกินี ในขณะที่บริษัทอเมริกันยังคงเป็นผู้ลงทุนหลักในอุตสาหกรรมไฮโดรคาร์บอนของประเทศ


ความสัมพันธ์กับต่างประเทศ หลังจากที่นาย Obiang ยึดอำนาจไว้ได้ในปี 2522 อิเควทอเรียลกินีได้ดำเนินการปรับความสัมพันธ์กับประเทศตะวันตกโดยเฉพาะอย่างยิ่งกับสเปนกับฝรั่งเศส โดยความสัมพันธ์กับสเปนนั้น ทั้งสองฝ่ายมีการลงนามในความตกลงว่าด้วยความร่วมมือทางเศรษฐกิจและวิชาการอย่างถาวร ในส่วนของความสัมพันธ์กับฝรั่งเศสนั้น ประธานาธิบดี Obiang ออกกฎบังคับให้เรียนภาษาฝรั่งเศสในโรงเรียนเพื่อให้ทั้งภาษาฝรั่งเศสและสเปนเป็นภาษาราชการ ต่อมา ในปี 2543 ฝรั่งเศสดำเนินโครงการลดความยากจนและปรับปรุงสาธารณูปโภคในท้องถิ่นเพื่อช่วยเหลืออิเควทอเรียล และส่งที่ปรึกษาชาวฝรั่งเศสไปทำงานในกระทรวงการคลังและการวางแผนเพื่อให้คำปรึกษาด้านโครงการ

ความสัมพันธ์ทางการทูตกับประเทศทางตะวันตกเริ่มสั่นคลอน เนื่องมาจากข้อสงสัยจากหลายฝ่ายที่ว่าอิเควทอเรียลกินีไม่ได้ปรับปรุงพัฒนาการเมืองให้ดีขึ้นแม้จะได้รับความช่วยเหลือเพื่อการพัฒนาแล้วก็ตาม อย่างไรก็ดี การค้นพบทรัพยากรน้ำมันเป็นปัจจัยสำคัญที่ปรับปรุงความสัมพันธ์ระหว่างอิเควทอเรียลกินีกับประเทศตะวันตกอย่างรวดเร็ว สหรัฐอเมริกาเปิดสถานทูตที่กรุงมาลาโบอีกครั้งในเดือนตุลาคม ปี 2546 หลังจากได้ปิดทำการไปเมื่อปี 2539 เนื่องจากสาเหตุด้านสิทธิมนุษยชน

ในขณะเดียวกัน การค้นพบน้ำมันสำรองนอกชายฝั่งทะเลได้กลายเป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบทางลบต่อความสัมพันธ์ระหว่างอิเควทอเรียลกินีกับหลายประเทศในภูมิภาค มีกรณีพิพาทเรื่องอาณาเขตทางทะเลกับประเทศรอบบ้านหลายประเทศ อิเควทอเรียลกินีเคยโต้แย้งกับไนจีเรียเรื่องการแบ่งเขตน่านน้ำ และยังมีข้อพิพาทเรื่องการครอบครองดินแดนกับกาบอง โดยทั้งสองฝ่ายต่างอ้างกรรมสิทธิ์เหนือเกาะ Mbanie Cocotier และ Conga และอิเควทอเรียลกินียังไม่ยอมรับข้อเสนอของกาบองในการตกลงการจัดสรรทรัพยากรร่วมกัน

ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับสาธารณรัฐอิเควทอเรียลกินี ความสัมพันธ์กับประเทศไทย 1. ความสัมพันธ์ทั่วไป 1.1 การทูต ไทยและอิเควทอเรียลกินีสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกันเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2534โดยไทยมอบหมายให้สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงอาบูจา มีเขตอาณาครอบคลุมอิเควทอเรียลกินี ในขณะที่อิเควทอเรียลกินีมอบหมายให้สถานเอกอัครราชทูตอิเควทอเรียลกินี ณ กรุงปักกิ่ง มีเขตอาณาครอบคลุมประเทศไทย ที่ผ่านมา ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับอิเควทอเรียลกินียังห่างเหิน ไม่ปรากฏการแลกเปลี่ยนการเยือนในระดับสูงระหว่างกัน 1.2 เศรษฐกิจ ในปี 2551 ไทยและอิเควทอเรียลกินีมีมูลค่าการค้ารวม 4.85 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นจาก 2.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2550 โดยไทยเป็นฝ่ายส่งออกและได้ดุลการค้าทั้งสิ้น และไม่ปรากฏข้อมูลการนำเข้าจากอิเควทอเรียลกินี สินค้าส่งออกของไทยไปยังอิเควทอเรียลกินี ได้แก่ ข้าว เครื่องจักรกลและส่วนประกอบเครื่องจักร ผลไม้กระป๋องและแปรรูป

2. ความตกลงที่สำคัญๆ กับไทย ยังไม่มีการทำความตกลงใดๆ ระหว่างกัน

3.การเยือนที่สำคัญ ไม่ปรากฏข้อมูลการเยือนระหว่างไทยกับอิเควทอเรียลกินี

การแบ่งเขตการปกครอง

ประเทศอิเควทอเรียลกินี แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 7 จังหวัด (provinces) โดยแต่ละจังหวัดจะมีเมืองหลวง ได้แก่

  1. จังหวัดอามโนโบน มีเมืองหลวงคือ ซานอันโตนีโอเดอปาเล
  2. จังหวัดบิโอโกโนร์เต มีเมืองหลวงคือ มาลาโบ
  3. จังหวัดบิโอโกซูร์ มีเมืองหลวงคือ ลูบา
  4. จังหวัดเซนโตรซูร์ มีเมืองหลวงคือ เอวีนายอง
  5. จังหวัดเกีย-นเตม มีเมืองหลวงคือ เอเบบิยิน
  6. จังหวัดลีโตรัล มีเมืองหลวงคือ บาตา
  7. จังหวัดเวลา-นซาส มีเมืองหลวงคือ มอนโกโม

ภูมิศาสตร์

ข้อมูลทางภูมิศาสตร์ ที่ตั้งตั้งอยู่บริเวณเส้นศูนย์สูตร ตอนกลางของทวีปแอฟริกา ทิศเหนือติดกับแคเมอรูน ทิศตะวันออกและทิศใต้ติดกับกาบอง ทิศตะวันตกติดกับมหาสมุทรแอตแลนติก บริเวณอ่าวกินี พื้นที่ 28,051 ตารางกิโลเมตร เมืองหลวง กรุงมาลาโบ (Malabo) ซึ่งตั้งอยู่บนเกาะ Bioko จำนวนประชากร 6.6 แสนคน (ปี 2551) ภูมิอากาศ อากาศร้อนชื้น ฝนตกชุก ปริมาณน้ำฝนโดยเฉลี่ยกว่า 2,000 มิลลิเมตร อุณหภูมิโดยเฉลี่ย 25 องศาเซลเซียส

เมืองสำคัญ เมืองบาทา (Bata) ซึ่งเป็นเมืองท่าสำคัญ

เศรษฐกิจ

เศรษฐกิจการค้า ข้อมูลเศรษฐกิจ ปี 2551 หน่วยเงินตรา ฟรังก์เซฟา (CFAfr) อัตราแลกเปลี่ยน 1 บาท ประมาณ 13.17 CFAfr (พฤศจิกายน 2552) ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ 17.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ปี 2551) รายได้ประชาชาติต่อหัว 34,045 ดอลลาร์สหรัฐ (ปี 2551) การขยายตัวทางเศรษฐกิจ ร้อยละ 10.6 (ปี 2551)

สภาพเศรษฐกิจโดยทั่วไป ก่อนการได้รับเอกราชของอิเควทอเรียลกินี องค์ประกอบสำคัญทางเศรษฐกิจ ได้แก่ การเกษตร โดยเฉพาะการปลูกโกโก้ และกาแฟ การทำปศุสัตว์ ป่าไม้และการประมง แต่ในปัจจุบัน การพัฒนาภาคการเกษตรของอิเควทอเรียลกินีไม่ได้รับการเอาใจใส่จากภาครัฐ ส่งผลให้ผลผลิตที่ได้ลดลงและมีการส่งขายภายในตลาดท้องถิ่นเท่านั้น จากที่เคยผลิตโกโก้ได้มากถึง 36,161 ตัน ในปี 2512 เหลือเพียง 76 ตัน ในปี 2547 นอกจากนี้ ผลผลิตอื่นๆ มีการผลิตลดลงเรื่อยมา

ในปี 2538 มีการค้นพบแหล่งสำรองน้ำมันขนาดใหญ่ในอ่าวกินี ซึ่งส่งผลต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจของอิเควทอเรียลกินีอย่างมาก โดยการส่งออกน้ำมันกลายเป็นรายได้หลักของประเทศ นอกจากนี้ อิเควทอเรียลกินียังได้ค้นพบแหล่งก๊าซธรรมชาติ และมีการจัดตั้งบริษัท Sonagaz ในปี 2548 จากการค้นพบแหล่งน้ำมันและก๊าซธรรมชาตินี้ ทำให้ต่างชาติเข้าไปลงทุนในอิเควทอเรียลกินี เช่น สหรัฐฯ ลงทุนในสาขาน้ำมันตั้งแต่ปี 2540 ส่งผลให้ผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศร้อยละ 93 มาจากแหล่งน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ และเป็นรายได้ของรัฐบาลร้อยละ 94 และส่งออกร้อยละ 99 ในปี 2548

การเติบโตในภาคธุรกิจน้ำมันทำให้รัฐบาลมีการใช้จ่ายเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะด้านสาธารณูปโภค ในระหว่างปี 2546-2548 มีการใช้จ่ายสูงกว่าร้อยละ 70 อย่างไรก็ตามมีข้อกังวลจากหลายฝ่ายในเรื่องความไม่โปร่งใสของรัฐบาลในการใช้จ่ายงบประมาณดังกล่าว

แม้อิเควทอเรียลกินีจะมีอัตรารายได้ต่อหัวสูง แต่อิเควทอเรียลกินีประสบปัญหาความแตกต่างระหว่างคนจนและคนรวยอย่างมาก นอกจากนี้ การพัฒนาในส่วนภูมิภาคและชนบทของอิเควทอเรียลกินีไม่ได้รับการพัฒนาอย่างทั่วถึง อันเนื่องมาจากการที่รัฐบาลมุ่งพัฒนาพื้นที่ที่มีการค้นพบแหล่งน้ำมันเพียงอย่างเดียว โดยเฉพาะเมืองหลวง Malabo เมืองท่า Luba และเมือง Bata

นอกจากน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ อิเควทอเรียลกินียังมีทรัพยากรธรรมชาติที่ยังไม่ได้มีการนำมา ใช้อย่างจริงจัง เช่น ไททาเนียม แร่เหล็ก แมงกานีส ยูเรเนียม และสินแร่ทองคำ

ประชากร

วัฒนธรรม

ภาษาราชการ ภาษาสเปน และภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาราชการ ภาษาพื้นเมืองอื่นๆ ได้แก่ Fang Bubi Ibo และ Pidgin English