ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Ardol67 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
Ardol67 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
{{เพิ่มอ้างอิง}}
{{คริสต์}}
{{คริสต์}}
'''คริสตจักรอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์'''<ref>ราชบัณฑิตยสถาน, ''สารานุกรมประเทศในทวีปยุโรป ฉบับราชบัณฑิตยสถาน'', กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน, 2550, หน้า 66</ref> ({{lang-en|Eastern Orthodox Church}}) เรียกโดยย่อว่า'''คริสตจักรออร์ทอดอกซ์''' (The Orthodox Church) หรือ'''คริสตจักรไบแซนไทน์''' (The Byzantine Church)
'''คริสตจักรอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์'''<ref>ราชบัณฑิตยสถาน, ''สารานุกรมประเทศในทวีปยุโรป ฉบับราชบัณฑิตยสถาน'', กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน, 2550, หน้า 66</ref> ({{lang-en|Eastern Orthodox Church}}) เรียกโดยย่อว่า'''คริสตจักรออร์ทอดอกซ์''' (The Orthodox Church) หรือ'''คริสตจักรไบแซนไทน์''' (The Byzantine Church)
บรรทัด 7: บรรทัด 8:
คริสตจักรยุโรปตะวันออก เอเชียตะวันตก และทวีปแอฟริกาเหนือก็ใช้คำว่า “ออร์ทอดอกซ์” แต่ทางปฏิบัติจะแตกต่างกับ '''อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์''' และจะเรียกตัวเองว่า '''[[ออเรียนทัลออร์ทอดอกซ์]]'''
คริสตจักรยุโรปตะวันออก เอเชียตะวันตก และทวีปแอฟริกาเหนือก็ใช้คำว่า “ออร์ทอดอกซ์” แต่ทางปฏิบัติจะแตกต่างกับ '''อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์''' และจะเรียกตัวเองว่า '''[[ออเรียนทัลออร์ทอดอกซ์]]'''


== ประวัติ ==
== ประวัติ ==
ศาสนาคริสต์ นิกายอีสเทิร์นออร์ธอด็อกซ์ หรือ ออร์ธอด็อกซ์ดั้งเดิม (Orthodox)
ศาสนาคริสต์ นิกายอีสเทิร์นออร์ธอด็อกซ์ หรือ ออร์ธอด็อกซ์ดั้งเดิม (Orthodox)

รุ่นแก้ไขเมื่อ 20:16, 11 มิถุนายน 2559

คริสตจักรอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์[1] (อังกฤษ: Eastern Orthodox Church) เรียกโดยย่อว่าคริสตจักรออร์ทอดอกซ์ (The Orthodox Church) หรือคริสตจักรไบแซนไทน์ (The Byzantine Church) เป็นคริสตจักรที่ใหญ่เป็นอันดับสองในโลก คริสตจักรนี้ปฏิบัติตามหลักการทางเทววิทยาอย่างไม่มีการเปลี่ยนแปลงมาตั้งแต่สมัยศาสนาคริสต์ยุคแรก คริสตจักรออร์ทอดอกซ์แบ่งเป็นคริสตจักรย่อย ๆ แต่ละคริสตจักรมีอัครบิดรหรือมุขนายกเป็นของตนเอง ผู้มีหน้าที่เป็นผู้พิทักษ์ประเพณีของศาสนจักร และสามารถสืบสายกลับไปได้ถึงอัครทูตของพระเยซูโดยเฉพาะนักบุญอันดรูว์

คริสตจักรในกลุ่มอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์มักจะไม่เรียกตนเองว่า “อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์” แต่จะใช้ชื่อเฉพาะของกลุ่มที่บอกที่ตั้งของกลุ่มเช่น “คริสตจักรรัสเซียนออร์ทอดอกซ์” หรือ “นิกายอีสเทิร์นกรีกออร์ทอดอกซ์” หรือชาติอื่น ๆ

คริสตจักรยุโรปตะวันออก เอเชียตะวันตก และทวีปแอฟริกาเหนือก็ใช้คำว่า “ออร์ทอดอกซ์” แต่ทางปฏิบัติจะแตกต่างกับ อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ และจะเรียกตัวเองว่า ออเรียนทัลออร์ทอดอกซ์

ประวัติ

ศาสนาคริสต์ นิกายอีสเทิร์นออร์ธอด็อกซ์ หรือ ออร์ธอด็อกซ์ดั้งเดิม (Orthodox)

คำว่า “ออร์ธอดอกซ์” มีความหมายว่าถือปฏิบัติหลักธรรมที่เที่ยงตรงหรือหลักธรรมที่ถูกต้อง เป็นฝ่ายที่ถือเคร่งครัดถูกต้อง เมื่อจักรวรรดิโรมันถูกแบ่งแยกออกเป็นสองอาณาจักร ฝ่ายโรมันตะวันตกมีศูนย์กลางอยู่ที่กรุงโรม ซึ่งมีภาษาละตินเป็นภาษากลาง ฝ่ายโรมันตะวันออก มีศูนย์กลางอยู่ที่คอนแสตนติโนเปิล (Constantinople) ใช้ภาษากรีกเป็นภาษากลาง อาณาจักรทั้งสองนี้เป็นคู่แข่งกันในหลาย ๆ ด้านไม่ว่าจะเป็นทางด้านการเมืองการปกครอง ศิลปวัฒนธรรมประเพณี โดยเฉพาะเรื่องด้านศาสนาแม้จะมีรากเง่ามาจากแหล่งเดียวกันแต่ความคิดเห็นในหลักการบางอย่างนั้นไม่ตรงกันจึงเป็นเหตุให้เกิดนิกายออร์ธอดอกซ์นี้ นิกายออร์ธอดอกซ์นี้ถือเคร่งครัดมากกว่านิกายโรมันคาทอลิก ในยุคต้นได้รับอิทธิพลคำสอนมาจากการเผยแพร่ศาสนาของเซนต์ปอล ซึ่งเป็นศิษของเซนต์ปีเตอร์ผู้เป็นอัครสาวก ปัจจุบันนี้ นิกายออร์ธอด็อกซ์มีอิสระภาพในด้านความเชื่อและการปกครองตนเอง โดยไม่ต้องขึ้นต่อสำนักวาติกันของโรม มีปาตริอาร์ค ( Patriarch ) เป็นประมุข แต่ก็มีออร์ธอด็อกซ์บางกลุ่มที่ยังขึ้นต่อสำนักวาติกันเรียกว่า ออร์ธอด็อกซ์คาธอลิค พวกนี้มีพิธีกรรมต่าง ๆ เป็นแบบตะวันออกแต่ระบบการปกครองอยู่ภายใต้การชี้นำของสำนักวาติกัน แระเทศที่นับถือนิกายออร์ธอด็อกซ์ส่วนมากเป็นพวกยุโรปตะวันออก เช่น โรมาเนีย ฮังการี บูลกาเรีย โปแลนด์ ยูโกสลาเวีย และรัสเซีย ฯลฯ นิกายออร์ธอด็อกซ์โดยทั่วไป จะปฏิเสธระบบการปกครองและรูปแบบพิธีกรรมของศาสนจักรคาทอลิค แต่ก็ยังคงยอมรับในศีลศักดิ์สิทธิ์ทั้ง 7 ข้อ เป็นหลักปฏิบัติในการดำเนินชีวิตตั้งแต่เกิดจนกระทั่งตาย ทั้ง ๆ ที่ระเบียบปฏิบัตินั้นอาจแตกต่างกันในส่วนปลีกย่อย แต่ในด้านแก่นหรือเนื้อแท้ของพิธีกรรมยังคงเป็แบบเดียวกัน

สิ่งที่นิกายออร์ธอดอกซ์ถือต่างจากนิกายโรมันคาทอลิก

  • ไม่บังคับการถือโสดของนักบวช
  • ไม่บังคับเรื่องการอดอาหาร
  • ไม่บังคับเรื่องการไว้หนวดไว้เครา
  • ปฏิเสธเรื่องการไถ่บาป
  • ปฏิเสธอำนาจของสันตปาปา
  • การตีความหลักการในศาสนาบางอย่างก็ขัดกัน เช่นเรื่องตรีเอกานุภาพ

จัดเป็นผู้เคร่งในหลักคำสอนและเชื่อแนวดั้งเดิมดำเนินมานั้นถูกต้องเที่ยงตรง

  • ยอมรับศีลศักดิ์สิทธิ์ ๗ ประการเป็นหลักปฏิบัติเหมือนกัน

สถานการณ์ในปัจจุบัน

แม้นิกายออร์ธอดอกซ์จะมีการปกครองและการบริหารเป็นของตนโดยมีปาตริอาร์ค (Patriarch) เป็นประมุขและไม่ขึ้นตรงต่อสำนักวาติกันแห่งกรุงโรมก็ตาม แต่ในความเป็นจริงยังมีผู้นับถือนิกายออร์ธอดอกซ์บางส่วนอยู่ภายใต้การปกครองของสำนักวาติกัน กลุ่มนี้มีชื่อเรียกว่า ออร์ธอดอกซ์คาทอลิก ดังนั้นแนวทางการปฏิบัติรวมไปถึงประเพณีพิธีกรรมต่างๆ จึงมีความคล้ายคลึงกับนิกายโรมันคาทอลิกอยู่มากเหมือนกันปัจจุบันนิกายออร์ธอดอกซ์เจริญแพร่หลายอยู่ในประเทศทางแถบยุโรปตะวันออก เช่น ประเทศรัสเซีย ยูเครน กรีซ โปแลนด์ บลูกาเรีย โรมาเนีย ยูโกสลาเวีย ฮังการี ฯลฯ

ศูนย์กลางของนิกายออร์ธอดอกซ์ตั้งอยู่ที่ภูเขาอาธอส (Athos) ในประเทศกรีกเป็นสถานที่อันศักดิ์สิทธิ์ของชาวคริสต์นิกายนี้ด้วย ชื่ออาธอสนี้ได้มาจากชื่อของศาสนาจารย์แห่งกรีกนามเซนต์อาธานาซิอุส จึงถือว่าเป็นสายที่ถือการปฏิบัติเตร่งครัดกว่าสายนิกายโลมในคาทอลิก

ความเชื่อของนิกายออร์ธอดอกซ์

1.การรับศีลล้างบาปยังทำกับเด็กทารก ใช้วิธีดำน้ำ ส่วนคาทอลิกใช้เพียงน้ำประพรม ทำต่อคนโตแล้ว

2.พิธีรับศีลมหาสนิทใช้ขนมปังและเหล้าไวน์ และใช้ระยะเวลาในการประกอบพิธีกรรมนานกว่า คาทอลิกให้แต่ขนมปังอย่างเดียว ส่วนเหล้าไวน์นั้นเอาไว้ให้บาทหลวงที่ประกอบพิธีกรรมเป็นผู้ดื่ม

3.ผู้ที่ผ่านการแต่งงานมาแล้วสามารถเป็นนักบวชได้หากมีศรัทธา คาทอลิก ผู้จะเป็นนักบวชได้ต้องเป็นโสดไม่ผ่านการครองเรือนหรือมีพันธทางครอบครัวมาก่อน

4.ได้รับอิทธิพลจากกรีกคำสอนจึงเป็นเทวนิยมลึกลับกว่าคาทอลิก เน้นที่ความขลังศักดิ์สิทธิ์ของพระเจ้าทำให้ห่างเหินไปจากความเป็นมนุษยธรรมดา

5.ปฏิเสธการสลักรูปเคารพบุชาของพระเจ้าและพระแม่มารี ใช้การกราบไหว้รูปไม้กางเขนและรูปเคารพที่เป็นศิลปกรรม

6.สอนให้ศาสนิกเป็นอยู่เรียบง่าย นักบวชต้องไม่ฟุ้งเฟ้อ อดทนกล้าหาญ ละความสุขแบบโลก ถือปฏิบัติเคร่งครัดศรัทธามั่นในพระเจ้า

7.ใช้ภาษากรีกและถือเคารพว่าเป็นภาษาศักดิ์สิทธิ์ด้วย


วันสำคัญของนิกายออร์ธอดอกซ์

1.พิธีฉลองวันเกิดพระแม่มารี

2.พิธีบูชาไม้กางเขน

3.พิธีประดิษฐานรูปพระแม่มารีผู้บริสุทธิ์

4.พิธีฉลองวันประสูติของพระเยซู

5.พิธีฉลองวันเข้าถือศีลจุ่มของพระเยซูที่แม่น้ำจอร์แดน

6.พิธีประดิษฐานรูปของพระเยซู

7.พิธีประกาศยกย่องพระแม่มารีผู้บริสุทธิ์

8.พิธีฉลองวันเสด็จเข้ากรุงเยรูซาเล็ม

9.พิธีฉลองวันเสด็จขึ้นสวรรค์ของพระเยซู

10.พิธีฉลองการเสด็จลงมาของวิญญาณอันบริสุทธิ์

11.พิธีฉลองการเปลี่ยนร่างของพระเยซู

12.พิธีฉลองวันที่พระเยซูนำพระแม่ขึ้นสวรรค์

อ้างอิง

  1. ราชบัณฑิตยสถาน, สารานุกรมประเทศในทวีปยุโรป ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน, 2550, หน้า 66

ข้อมูลเพิ่มเติม