ผลต่างระหว่างรุ่นของ "หนังสือดาเนียล"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
DanMTaylor (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 9: บรรทัด 9:
[[ไฟล์:Michelangelo Buonarroti 026.jpg|thumb|ภาพวาดของมิเกลันเจโร]]
[[ไฟล์:Michelangelo Buonarroti 026.jpg|thumb|ภาพวาดของมิเกลันเจโร]]


นาม "ดาเนียล" แปลว่า พิพากษาจากพระเจ้า หรือ คำตัดสินของพระเจ้า ประมาณหนึ่งศตวรรษก่อนชนชาติอัสซีเรียได้ยึด[[อิสราเอล]]ไว้ในกำมือ อาณาจักรอิสราเอลได้หมดอำนาจลงก่อนแล้ว ดาเนียล และเพื่อนอีกสามคน เป็นกลุ่มเชื้อพระวงศ์ที่โดนกวาดต้อนให้ ยังเมืองหลวงบาบิโลน โดยคำสั่งของกษัตริย์เนบูคัดเนสซาร์ และได้ถูกเกณฑ์ให้ทำงานเป็นที่ปรึกษาในราชวัง เพราะมีความรู้เหนือกว่าคนสามัญที่โดนใช้เป็นทาสแรงงาน ดาเนียล และเพื่อนทั้งสาม มีความจงรักภักดีต่อพระเจ้าของอิสราเอล และในขนบธรรมเนียมประเพณีของขนชาติยิว ในเวลาสามปี ดาเนียลได้ทำงานในราชวัง ฝึกฝนทางพยากรณ์และทำนายความฝัน ท่านมีความสามารถล้ำหน้ากว่าผู้อื่น จนเป็นที่เลื่องลือ โดยเฉพาะทำนายฝันของกษัตริย์เนบูคัดเนสซาร์ และได้เป็นโหรใกล้ชิดพระองค์ และได้รับตำแหน่งสูง ถึงระดับมนตรี เหล่าศัตรูในราชสำนักมีความริษยา จึงคาดโทษดาเนียลและเพื่อน ที่ ยังปฏิบัติการเคารพตามประเพณีของยิว และไม่ปฏิบัติตามกฎของบาบีโลน ที่ต้องบูชาพระมหากษัตริย์เป็นพระเจ้า ดาเนียลจึงถูกส่งไปไว้ในถ้ำสิงโต ท่านได้ภาวนาให้พระเจ้าข่วยปกป้อง ด้วยความอัศจรรย์ สิงโตทั้งหลายไม่ได้เข้าใกล้และทำร้าย เมื่อกษัตริย์ได้ทราบเรื่อง จึงสั่งให้ปล่อยดานียลและทำโทษ พวกที่ริษยาท่านแทน ตั้งแต่นั้นดาเนียลจึงได้รับใช้ใกล้ชิดในพระราชวัง จนถึงราชวงศ์ดาริอัส และไซรัสกษัตริย์เปอร์เซียที่สีบต่อมา (พระธรรมดาเนียล 6:26)
นาม "ดาเนียล"หรือ ดานิเอล แปลว่า พระเจ้าเป็นผู้พิพากษา (ของข้าพเจ้า) หรือ คำตัดสินของพระเจ้า ประมาณหนึ่งศตวรรษก่อนชนชาติอัสซีเรียได้ยึด[[อิสราเอล]]ไว้ในกำมือ อาณาจักรอิสราเอลได้หมดอำนาจลงก่อนแล้วและในปี 605 กคศ. ดาเนียล และเพื่อนอีกสามคน เป็นกลุ่มเชื้อพระวงศ์ที่โดนกวาดต้อนให้ ยังเมืองหลวงบาบิโลน โดยคำสั่งของกษัตริย์เนบูคัดเนสซาร์ และได้ถูกเกณฑ์ให้ทำงานเป็นที่ปรึกษาในราชวัง เพราะมีความรู้เหนือกว่าคนสามัญที่โดนใช้เป็นทาสแรงงาน ดาเนียล และเพื่อนทั้งสาม มีความจงรักภักดีต่อพระเจ้าของอิสราเอล และในขนบธรรมเนียมประเพณีของขนชาติยิว ในเวลาสามปี ดาเนียลได้ทำงานในราชวัง ฝึกฝนทางพยากรณ์และทำนายความฝัน ท่านมีความสามารถล้ำหน้ากว่าผู้อื่น จนเป็นที่เลื่องลือ โดยเฉพาะทำนายฝันของกษัตริย์เนบูคัดเนสซาร์ และได้เป็นโหรใกล้ชิดพระองค์ และได้รับตำแหน่งสูง ถึงระดับมนตรี เหล่าศัตรูในราชสำนักมีความริษยา จึงคาดโทษดาเนียลและเพื่อน ที่ ยังปฏิบัติการเคารพตามประเพณีของยิว และไม่ปฏิบัติตามกฎของบาบีโลน ที่ต้องบูชาพระมหากษัตริย์เป็นพระเจ้า ดาเนียลจึงถูกส่งไปไว้ในถ้ำสิงโต ท่านได้ภาวนาให้พระเจ้าข่วยปกป้อง ด้วยความอัศจรรย์ สิงโตทั้งหลายไม่ได้เข้าใกล้และทำร้าย เมื่อกษัตริย์ได้ทราบเรื่อง จึงสั่งให้ปล่อยดานียลและทำโทษ พวกที่ริษยาท่านแทน ตั้งแต่นั้นดาเนียลจึงได้รับใช้ใกล้ชิดในพระราชวัง จนถึงราชวงศ์ดาริอัส และไซรัสกษัตริย์เปอร์เซียที่สีบต่อมา (พระธรรมดาเนียล 6:26)


เมื่อดาเนียลอายุย่างเข้าปลายชีวิต ผลงานทางการทำนายของท่านได้บันทึกเป็นพระธรรม ไม่มีหลักฐาณบันทึกถึงเวลาท่านเสียชีวิต ในสมัยของกษัตริย์ไซรัสครองราซปีที่สาม ยังปรากฏหลักฐานว่าดาเนียลยังมีชีวิตอยู่ ซึ่งสันนิษฐานว่าอายุใกล้ ร้อยปี
เมื่อดาเนียลอายุย่างเข้าปลายชีวิต ผลงานทางการทำนายของท่านได้บันทึกเป็นพระธรรม ไม่มีหลักฐาณบันทึกถึงเวลาท่านเสียชีวิต ในสมัยของกษัตริย์ไซรัสครองราซปีที่สาม ยังปรากฏหลักฐานว่าดาเนียลยังมีชีวิตอยู่ ซึ่งสันนิษฐานว่าอายุใกล้ ร้อยปี

รุ่นแก้ไขเมื่อ 17:21, 11 กันยายน 2558

พระธรรมดาเนียล (อังกฤษ: Book of Daniel ; ฮีบรู: דָּנִיֵּאל) เป็นหนังสือลำดับที่ 5 ในหนังสือผู้เผยพระวจนะ (Nevi'im) ของพระธรรมยูดาย (Tanakh) และเป็นหนังสือเล่มที่ 5 ในหมวดประกาศกใหญ่ ของพระคริสตธรรมคัมภีร์ ภาคพันธสัญญาเดิม (Old Testament) ของศาสนาคริสต์

เขียนด้วยภาษาฮีบรูในช่วงที่ชาวยิวอยู่ภายใต้การยึดครองของอาณาจักรบาบิโลน เป็นระยะที่ชนชาติยิวได้ถูกเนรเทศ และถูกบังคับให้อพยพไปยังเมืองบาบิโลน พระธรรมนี้เป็นคำบรรยายของ ดาเนียล ชาวอิสราเอล โดยเฉพาะ ผู้เป็นโหร และที่ปรึกษาทางของ กษัตริย์เนบูคัดเนสซาร์ ผู้ปกครองยิ่งใหญ่ ของอาณาจักรบาบิโลน ประมาณ 605 ถึง 562 ก่อนคริสต์ศตวรรษ

พระธรรมนี้แบ่งเป็นสองภาค เริ่มด้วยบทที่หนึ่งถึงบทที่หก บอกเรื่องราวประวัติความเป็นมาของท่าน และ บทที่ 7-12 บรรยายถึงเหตุการณ์ต่างๆ จากคำทำนาย ดาเนียลเขียนถึง ดาเนียลและเพื่อนที่ถูกปรักปรำลงโทษ เพราะไม่ละที้งความเชื่อในพระเจ้าของชนชาติอิสราเอล ต่อมา เป็นคำทำนายความฝัน และแปลความหมายของมโนภาพของกษัตริย์ เนบูคัดเนสซาร์ ในภาคที่สอง ของพระธรรม ดาเนียลกล่าวถึง ความหมาย คำพยากรณ์ และคำแปรความฝัน บรรยายนิมิต และสิ่งที่ทูตสวรรค์อธิบายความหมายให้ท่านโดยตรง ยังเป็นที่โต้แย้งกันอยู่ระหว่างชาวยิวและคริสตชน ถึงระยะเวลาที่แน่นอนและผู้เขียนที่แท้จริงของพระธรรมดาเนียล เชื่อกันแต่โบราณว่า ผู้พยากรณ์นามว่าดาเนียลผู้เขียน ซึ่งมีชีวิตก่อนคริสต์ศตวรรษที่ 6 แต่ในหมู่นักศึกษาคริสตธรรมคัมภีร์ยุคใหม่เชื่อว่า พระธรรมเล่มนี้ ได้บันทึก ก่อนคริสต์ศตวรรษที่ 2 และบันทึกหลังจากเหตุการณ์ต่างๆ ได้ปรากฏและผ่านไปแล้ว และความเห็นแย้งที่สามคือ พระธรรมบทนี้ เขียนเสร็จบริบูรณ์ก่อนคริสต์ศตวรรษที่ 4

ประวัติย่อของ ดาเนียล

ภาพวาดของมิเกลันเจโร

นาม "ดาเนียล"หรือ ดานิเอล แปลว่า พระเจ้าเป็นผู้พิพากษา (ของข้าพเจ้า) หรือ คำตัดสินของพระเจ้า ประมาณหนึ่งศตวรรษก่อนชนชาติอัสซีเรียได้ยึดอิสราเอลไว้ในกำมือ อาณาจักรอิสราเอลได้หมดอำนาจลงก่อนแล้วและในปี 605 กคศ. ดาเนียล และเพื่อนอีกสามคน เป็นกลุ่มเชื้อพระวงศ์ที่โดนกวาดต้อนให้ ยังเมืองหลวงบาบิโลน โดยคำสั่งของกษัตริย์เนบูคัดเนสซาร์ และได้ถูกเกณฑ์ให้ทำงานเป็นที่ปรึกษาในราชวัง เพราะมีความรู้เหนือกว่าคนสามัญที่โดนใช้เป็นทาสแรงงาน ดาเนียล และเพื่อนทั้งสาม มีความจงรักภักดีต่อพระเจ้าของอิสราเอล และในขนบธรรมเนียมประเพณีของขนชาติยิว ในเวลาสามปี ดาเนียลได้ทำงานในราชวัง ฝึกฝนทางพยากรณ์และทำนายความฝัน ท่านมีความสามารถล้ำหน้ากว่าผู้อื่น จนเป็นที่เลื่องลือ โดยเฉพาะทำนายฝันของกษัตริย์เนบูคัดเนสซาร์ และได้เป็นโหรใกล้ชิดพระองค์ และได้รับตำแหน่งสูง ถึงระดับมนตรี เหล่าศัตรูในราชสำนักมีความริษยา จึงคาดโทษดาเนียลและเพื่อน ที่ ยังปฏิบัติการเคารพตามประเพณีของยิว และไม่ปฏิบัติตามกฎของบาบีโลน ที่ต้องบูชาพระมหากษัตริย์เป็นพระเจ้า ดาเนียลจึงถูกส่งไปไว้ในถ้ำสิงโต ท่านได้ภาวนาให้พระเจ้าข่วยปกป้อง ด้วยความอัศจรรย์ สิงโตทั้งหลายไม่ได้เข้าใกล้และทำร้าย เมื่อกษัตริย์ได้ทราบเรื่อง จึงสั่งให้ปล่อยดานียลและทำโทษ พวกที่ริษยาท่านแทน ตั้งแต่นั้นดาเนียลจึงได้รับใช้ใกล้ชิดในพระราชวัง จนถึงราชวงศ์ดาริอัส และไซรัสกษัตริย์เปอร์เซียที่สีบต่อมา (พระธรรมดาเนียล 6:26)

เมื่อดาเนียลอายุย่างเข้าปลายชีวิต ผลงานทางการทำนายของท่านได้บันทึกเป็นพระธรรม ไม่มีหลักฐาณบันทึกถึงเวลาท่านเสียชีวิต ในสมัยของกษัตริย์ไซรัสครองราซปีที่สาม ยังปรากฏหลักฐานว่าดาเนียลยังมีชีวิตอยู่ ซึ่งสันนิษฐานว่าอายุใกล้ ร้อยปี และไม่สามารถบันทึกได้แน่นอนถึงสถานที่ฝังศพของท่าน บ้างว่าอยู่ที่ประเทศอียิปต์ บ้างว่า ที่ประเทศอียิปต์เป็นต้น

การรับรองดาเนียลเป็นผู้เผยพระวจนะ

คริสตชนยอมรับดาเนียลเป็นผู้เผยพระวจนะของพระเจ้า และพระธรรมจัดอยู่ในภาคพันธสัญญาเดิม แต่ศาสนายูดายไม่ได้รับรองว่าดาเนียลเป็นผู้เผยพระวจนะ และจัดให้ผลงานอยู่ใน งานเขียน โดยให้เหตุผลว่า พระเจ้าไม่ได้พูดโดยตรงกับดาเนียล ซึ่งตามหลักของคัมภีร์โตราห์ของชาวยิว พระเจ้าจะพูดกับผู้เผยพระวจนะ เท่านั้น แต่ในกรณีของดาเนียลทูตสวรรค์เป็นผู้พูดกับท่าน ผู้เผยพระวจนะของยูดายต้องทำนายให้กับบุคคลในยุคเดียวกัน ไม่ใช่พยากรณ์ถึงเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต กับคนในยุคอนาคต ผู้เผยพระวจนะเช่นอิสยาห์และเอเสเคียลได้ทำนายให้กับผู้คนในยุคของท่าน แม้คำพยากรณ์พิงพาดไปถึงอนาคตก็ตาม จึงลงความเห็นว่า จากคำพยากรณ์ถึงอนาคตของดาเนียล จัดผลงานไว้ใน งานเขียน ได้เท่านั้นในหมู่ที่รับรองให้ดาเนียลเป็นผู้เผยพระวจนะของพระเจ้า ให้เหตุผลว่า

ตามหลักคริสตธรรมคัมภีร์ของฮีบรูTulmudเชื่อว่าดาเนียลมีความสามารถเท่าเทียม ผู้เผยพระวจนะชาวยิวอื่นๆ ความสามารถที่ได้รับคำอธิบายและภาพนิมิต และแปลความฝัน รวมทั้งคำบอกเล่าโดยตรงจากเทวดาหรือทูตสวรรค์ เหตุการณ์ที่ดาเนียลได้พยากรณ์ไว้ในยุคท่าน เชื่อว่าเป็นเหตุการณ์ที่กำลังจะเป็นอยู่ในปัจจุบันนี้ รวมทั้งจำนวนเลขที่แน่นอน และคำพยากรณ์ถึงการเสด็จกลับมาของ " พระเมสสายาห์ พระผู้ทรงมาโปรดของอิสราเอล"ณ นครเยรูซาเลม รวมทั้งคำพยากรณ์เหตุการ์ต่างๆ ที่เชื่อกันว่า ได้ปรากฏขึ้นแล้วตามลำดับในประวัติศาสตร์ เหตุการณ์ได้ตรงกับคำทำนายของดาเนียล จึงเป็นข้อพิศูจน์ที่เห็นได้ชัดว่า ท่านเป็นผู้พยากรณ์ของพระเจ้าที่แท้จริง

คริสตจักรรับรองว่าดาเนียลเป็น ผู้พยากรณ์แท้จริงของพระเจ้า ในคริสตธรรมคัมภีร์เล่มพระวรสารมัทธิว ได้กล่าวว่า พระเยซูเจ้า ทรงกล่าวนามถึงดาเนียลว่า "ดาเนียล ผู้พยากรณ์" (มัทธิว 24:15) ในคริสตธรรมคัมภีร์ "หนังสือม้วนพบในทะเลตาย" บันทึกถึง ชาวคริสตในสมัยนั้นได้กล่าวถึงดาเนียล เป็น "หนึ่งในพยากรณ์หรือ ผู้ประกาศ ที่สำคัญยิ่งสี่ท่าน" ในคริสตธรรมคัมภีร์ของคริสเตียน พระธรรมดาเนียล จัดอยู่ในหมู่ ผู้เผยพระวจนะที่สำคัญ คืออิสยาห์ เยเรมีย์ และเอเสเคียล ซึ่งเป็นคำพยากรณ์มาจากพระเจ้า ในทางความฝัน ภาพนิมิต และ การเปิดเผยข้อความที่เดิมเป็นความลับ ในพระธรรมเอเสเคียล ท่านได้ยกย่องดาเนียลว่า ท่านเป็นแบบอย่างของผู้ชอบธรรม และมีปัญญาของพระเจ้า

เนื้อหาโดยย่อ

ภาษาที่ใข้เขียนในพระธรรมนี้แบ่งออกเป็นสองภาษา บทที่1 และบทที่ 8-12 เขียนเป็นภาษาฮีบรู บทที่ 2-7 เขียนเป็นภาษา Aramaic(ภาษาชั้นสูงที่ใช้ในราชวัง และในพิธีกรรมทางศาสนา ของอาณาจักรเดิม) ใช้ตลอดทั่วไป ตะวันออกกลาง อีรัค อีหร่าน และอิสราเอล เป็นต้น ...

บทที่ 1-2. ดาเนียลและเพื่อน ถูกนำตัวไปเป็นเชลย ที่บาบิโลน ทั้งสามตั้งใจจะซื่อสัตย์กับศาสนาและประเพณีของชนชาติยิว ปฏิเสธกินเนี้อที่เป็นมลทิน การทำงานในราชวัง และได้รับยกย่องว่า มีความเข้าใจและมีความสามารถกว่า โหรและผู้เผยพระวจนะของราชวังสิบเท่า ทำนายความฝันของกษัตริย์เนบูคัดเนสซาร์ ถึงเทวรูปที่ทำด้วยโลหะ สี่ชนิด มีเศียรเป็นทองคำ อกและแขนเป็นเงิน เท้าและโคนขาเป็นทองเหลือง ขาเป็นเหล็ก และเท้าเป็นเหล้กปนดิน มีหินก้อนหนึ่งมากระทบเทวรูปนั้นจนแตกเป็นชี้นเป็นผงๆ ลมพัดพาเศษผงไป และก้อนหินกลายเป็นภูเขาใหญ่ ดาเนียลอธบายความฝันว่า บาบิโลนคืออาณาจักรของโลกแห่งแรก ต่อมาจะมีการครอบครองต่อๆ ไป อาณาจักรที่สองคือมีเดียร์เปอร์เซีย อาณาจักรที่สามคือ กรีก อาณาจักรที่สี่คือโรม อาณาจักรสุดท้ายคือพระเจ้า ซึ่งพระองค์จะตั้งอาณาจักรที่มั่นคงตลอดไป กษัตริย์เนคัดเนสซาร์ เลื่อมใสใลกราบนมัสการนพระเจ้าของดาเนียล ประทานลาภยศให้ดาเนียล...

บทที่ 3-4. บรรยายถึงเพื่อนของดาเนียล ทั้งสามปฏิเสธไม่กราบเคารพ ปฏิมากรทองคำของบาบิโลน ถูกโทษโยนเข้าไปในเตาไฟ แต่ไฟไม่สามารถทำอันตรายแก่เขาได้ กษัตริย์เนบูคัดเนสซาร์จึงให้อภัยและถวายเกียรติยศ แก่พระเจ้าของยิว ความฝันของกษัตริย์เนบูคัดเนสซาร์ เรื่องต้นไม้ใหญ่... ต้นไม้เติบโตและแข็งแรง ยอดของมันขึ้นไปถึงฟ้าสวรรค์ และองค์บริสุทธิ์มาจากฟ้าสวรรค์ ตัดต้นไม้ลง และไล่สัตว์ทั้งหลายที่อาศัยบนต้นไม้หนีไปหมดสิ้น ให้เหลือแต่ตอราก มีปลอกเหล็กและทองเหลืองสวมไว้ ปล่อยให้อยู่ในป่า เจ็ดวาระ (พระธรรมดาเนียล 4:10-16) ดาเนียลอธิบายว่า ต้นไม้ใหญ่นั้นคือกษัตริย์เนบูคัดเนสซาร์ พระเจ้าจะลงโทษ โดยตัดสิทธิการเป็นกษัตริย์ ชั่วคราว บันทึกว่ากษัตริย์ได้ต่อต้าน จึงเกิดเสียสติ ออกไปในกลางทุ่ง และกินหญ้าท่ามกลางวัวอยู่ เจ็ดวัน หลังจากกษัตริย์กลับใจ นับถือพระเจ้าของดาเนียล ท่านจึงได้สติคืนมา...

บทที่ 5. กษัตริย์สืบต่อมาชื่อ เบลชัสซาร์ โอรสของเนบูคัดเนสซาร์ ได้ดูหมิ่นพระเจ้าของดาเนียล มีลายอักษรปรากฏที่ผนังของพระราขวัง ไม่มีผู้ใดอ่านได้ ดาเนียลถูกเรียกตัวไปแปลความหมาย ว่าวาระของอาณาจักรบาบิโลนมาถึงที่จบ ความยุติรรมของกษัตริย์องค์ไม่เท่าเทียมกับราชบิดา อาณาจักรจะถูกแบ่งแยกตกเป็นของ ชนชาติมีเดีย และชนชาติเปอร์เชีย ต่อมาในคืนนั้น กษัตริย์เบลซัสซาร์ ถูกปลงพระชนม์...

บทที่ 6. กษัตริย์ดาริอัสของเปอร์เชียขึ้นครอง เป็นอาณาจักรใหม่ แต่งตั้งให้ดาเนียลได้เป็น มนตรีที่มีอำนาจสูง ศัตรูที่อิจฉา ดาเนียล ออกกฎหมายห้ามอธิษฐานถึงพระเจ้าอื่นใด นอกจากพระเจ้าของเปอร์เซียเท่านั้น ถูกโดนโทษจับไปไว้ให้สิงโตกินในถ้ำ ดาเนียลขอพระเจ้าช่วย สิงโตจึงไม่ทำอันตรายแก่ดาเนียล กษัตริย์ดาริอัสทราบเรื่องจึง ทำโทษพวกริษยา ยกเลิกกฎห้ามอธิษฐานและ ยกย่องพระเจ้าของยิว...

บทที 7. นิมิตของดาเนียล ถึงอาณาจักรโลก จากสัตว์สี่ชนิดออกมาจากทะเล สิงโตมีปีก หมีคาบโครงกระดูก เสือดาวมีสี่หัว และสัตว์ปลาดมีเขาสิบเขา และมีผู้บริสุทธิ์ที่บอกแก่ดาเนียลว่า กษัตริย์สี่องค์ของโลกมนุษย์ จะทำศึกสงครามและตั้งอาณาจักรยิ่งใหญ่ของตน และกษัตริย์สุดท้ายจะมีอำนาจและโหดร้ายมากที่สุด และในสุดท้ายพระเจ้าจะเป็นผู้พิพากษา

บทที่ 8. นิมิตของดาเนียลเรื่องแกะและแพะ ทูตสวรรค์กล่าวกับดาเนียล แพะคือ มีเดียและเปอร์เซีย และแกะคือกรีก ที่ทำลายอาณาจักรของเปอร์เซีย...

บทที่ 9-12. พยากรณ์เรื่องการเป็นเชลยของอิสราเอลเป็นเวลา 70ปี ดาเนียลอธิษฐานแทนชนชาติอิสราเอล นิมิตของดาเนียล ริมแม่น้ำไทกริส เหตุการณ์ในอนาคตที่จะเกิดกับโลกในตอนสุดท้าย ทูตสวรรค์อธิบายให้ดาเนียลบันทึกไว้ พยากรณ์ถึงเหตุการณ์ ในสมัยกษัตริย์ดาริอัสของเปอร์เซีย สงคราม อาณาจักรกรีกอิยิปต์ ความวิบัติ ความทุกข์ในวาระสุดท้าย และ การกลับมาของคำพิพากษา

พยากรณ์ถึงวาระสุดท้ายของโลก

ศาสนายิว และศาสนาคริสเตียน มีบันทึกในคริสตธรรมคัมภีร์เกี่ยวกับการทำนายถึงเหตุการณ์ในอนาคต โดยเฉพาะเหตุการณ์ในระยะสุดท้ายของโลก Apocalyptic Ideology ในคริสตธรรมคัมภีร์ฮีบรูของชนชาติยูดาย นับถือผู้พยากรณ์ของพระเจ้า เช่นเยเรมีย์ เอเสเคียล เป็นต้น เป็นผู้ที่พระเจ้าได้สั่งโดยตรงกับท่านเหล่านั้น ให้บันทึกข้อความที่มีจำเพาะ สำหรับชาวอิสราเอล และผู้ที่ศาสนายิวทั่วโลก และสำหรับศาสนาคริสเตียน ได้ยอมรับผู้พยากรณ์ของพระเจ้าของคริสตธรรมคัมภีร์ฮีบรู บันทึกไว้ในภาคพระพันธสัญญาเดิมของคริสตธรรมคัมภีร์ของคริสเตียน ข้อความที่บันทึกในลักษณะพยากรณ์เช่นนี้ ทำนายถึงวาระสุดท้ายของโลก เกี่ยงข้องถึงผู้ที่ยอมรับพระเจ้า และผู้ที่ปฏิเสธพระเจ้า ในคริสตธรรมคัมภีร์ภาคพระพันธสัญญาใหม่ของคริสเตียนในพระธรรมวิวรณ์ ได้เปิดเผยให้ทุกคนได้ทราบ ถึง บันทึกลายละเอียดเกี่ยวกับ รางวัลและโทษของมวลมนุษย์จะได้รับ และเหตุการณ์ของวาระสุดท้ายของโลก

ในบทที่6-12 เป็นการบันทึกคำทำนายถึงอนาคตของดาเนียล ที่ทูตสวรรค์ได้อธิบายความหมายคำทำนาย โดยแปล ความฝันของดาเนียล และให้บันทึกไว้เป็นคริสตธรรมคัมภีร์ ดาเนียลได้เขียนลงไว้เป็นสองภาษา บทที่7เป็นภาษาAramaicและบทที่8-12เป็นภาษาฮีบรู

1. นิมิตที่ดาเนียลเห็นครั้งแรก ในสมัยของกษัตริย์เบลชัศซาร์ครองราชปีแรก อาณาจักรบาบิโลน ดาเนียลฝันถึงสัตว์สี่ชนิดผุดขึ้นมาจากทะเล ตัวแรกเหมือนสิงโต มีปีกเป็นนกอินทรีย์ ตัวที่สองเหมือนหมี มีปากคาบกระดูกซี่โครงสามซี่ ตัวที่สามเหมือนเสือดาว มีปีกสี่ปีกและหัวสี่หัว ตัวที่สี่ มีเขาสิบเขา ฟันเหล้ก มีตาและมีปาก คำอธิบายของดาเนียลจากทูตสวรรค์ว่า จะมีอาณาจักรยิ่งใหญ่ของโลกสี่อาณาจักร และอาณาจักรสุดท้ายจะทำลายโลก " ... จะเหยียบพิภพลง และหักพิภพนั้นให้แตกเป็นชี้นๆ " (พระธรรมดาเนียล 7:23) กษัตริย์สุดท้ายจะโค่นกษัตริย์อื่น จะพูดจาดูหมิ่นพระเจ้า และทำร้ายผู้ชอบธรรม จะเปลี่ยนแปลงกฎหมาย และกาลวาระ ทุกคนจะอยู่ใต้อำนาจในมือของเขา ... พระเจ้าจะมาพิพากษา และทำลายเสียสิ้น(7:26)

2. นิมิตที่ดาเนียลเห็นครั้งที่สอง ในสมัยกษัตริย์เบลชัสซาร์ ครองราชในปีที่สาม ดาเนียลฝันถึงแพะและแกะ อาณาจักรใหม่ เมอร์โด เปอร์เชียคือแพะ จะถูกทำลายโดยอาณาจักรยิ่งใหญ่ คือแพะ ผู้มีอำนาจมากกว่าคือ อาณาจักรกรีก แต่อาณาจักรของกรีกจะถูกทำลาย โดยสี่อาณาจักรต่อมาจนถึงกาลอวสาร " จงเข้าใจเถิดว่า นิมิตนั้นเป็นเรื่องถึงกาลอวสาร"(8:17) ดาเนียลบรรยายถึง กษัตริย์สุดท้ายที่จะครองโลก มีความฉลาดและความร้ายกาจ ต่อต้านคนของพระเจ้า และล่อลวงผู้คนให้ยอมรับเขาได้ทั่วโลก เขาจะทำร้ายสังหารคนมากมาย"... จะกระทำให้เกิดความพินาศอย่างน่ากลัว เขาจะเจริญยิ่งขึ้น และปฏิบัติงานมาก จะทำลายผู้มีกำลังมากและผู้บริสุทธิ์ (8:24)

3. นิมิตของดาเนียลครั้งที่สาม เกิดในต้นรัชกาลของกษัตริย์ ดาริอัสของเปอร์เชีย เกี่ยวข้องกับชาวยิวอิสราเอลโดยเฉพาะ และนครเยรูซาเลมที่จะร้างเป็นเวลา70ปี ตรงกับคำพยากรณ์ของเยเรมีห์ที่ได้รับจากพระเจ้า ทูตสวรรค์ได้กล่าวกับดาเนียลว่า ระยะเวลากรุงเยรูซาเลมจะได้สร้างขึ้นใหม่และพระผู้มาโปรดกับชาติอิสราเอล ... "พระเมสไซยาห์เป็นประมุขอยู่เจ็ดสัปดาห์ และเป็นเวลาหกสิบสองสัปดาห์... หลังจากหกสิบสองสัปดาห์แล้ว พระเมสไซยาห์จะถูกตัดออก ประชาชนจะทำลายกรุงเยรูซาเลม ในที่สุดปลายของโลกจะมาถึง ... น้ำท่วมและสงคราม จนสิ้นสุดการรกร้างที่กำหนดไว้ (9:26)

4. นิมิตของดาเนียลครั้งที่สี่ เกิดขึ้นในสมัยกษัตริย์ไซรัสของเปอร์เชียครองราชเป็นปี่ที่สาม เกี่ยวข้องถึงกษัตริย์ทางเหนือ และกษัตริย์ทางใต้ มีสงครามต่อกัน กษัตริย์สองประเทศจะร่วมมือกันทำอุบาย จะเกิดความทุกข์เวทนาของประชาชาติ การคีนชีพของผู้ชอบธรรมและผู้อธรรม วาระสุดท้ายของมวลมนุษย์ โดยกล่าวว่า สิ่งเหล่านี้ไม่เกิดในยุคของดาเนียล แต่จะเกิดในอวสานของโลก " เพราะถ้อยคำเหล่านี้ถูกบิดไว้ และถูกประทับตราไว้จนถึงวาระสุดท้าย" (12:9)

อ้างอิง

  • James B. Jordan(1995) Daniel:Historical&Chronnological Comments II.
  • Francis E Gigot (1889) Daniel:Cathoric Encyclopedia on CD-Rom.
  • David CronKlin (2004) Evidences Relating to the Book of Daniel.
  • Soc. Culture Jewish Newsgroups: Question and Answer.
  • Klaus Beyer (1986. The Aramaic language.
  • คริสตธรรมคัมภีร์ภาคพันธสัญญาเดิม พระธรรมดาเนียล.
  • Achtemeier,P. J. Harper's Bible Dictionary. "eschatology"