ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อำเภอท่าวังผา"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Hdamm (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 54: บรรทัด 54:
* '''องค์การบริหารส่วนตำบลป่าคา''' ครอบคลุมพื้นที่ตำบลป่าคาทั้งตำบล
* '''องค์การบริหารส่วนตำบลป่าคา''' ครอบคลุมพื้นที่ตำบลป่าคาทั้งตำบล
* '''องค์การบริหารส่วนตำบลผาตอ''' ครอบคลุมพื้นที่ตำบลผาตอทั้งตำบล
* '''องค์การบริหารส่วนตำบลผาตอ''' ครอบคลุมพื้นที่ตำบลผาตอทั้งตำบล
* '''องค์การบริหารส่วนตำบลยม''' ครอบคลุมพื้นที่ตำบลยมทั้งตำบล
* '''องค์การบริหารส่วน[[ตำบลยม]]''' ครอบคลุมพื้นที่ตำบลยมทั้งตำบล
* '''องค์การบริหารส่วนตำบลตาลชุม''' ครอบคลุมพื้นที่ตำบลตาลชุมทั้งตำบล
* '''องค์การบริหารส่วนตำบลตาลชุม''' ครอบคลุมพื้นที่ตำบลตาลชุมทั้งตำบล
* '''องค์การบริหารส่วนตำบลศรีภูมิ''' ครอบคลุมพื้นที่ตำบลศรีภูมิทั้งตำบล
* '''องค์การบริหารส่วนตำบลศรีภูมิ''' ครอบคลุมพื้นที่ตำบลศรีภูมิทั้งตำบล

รุ่นแก้ไขเมื่อ 14:42, 3 มีนาคม 2552

อำเภอท่าวังผา
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันAmphoe Tha Wang Pha
คำขวัญ: 
ธรรมชาติงดงาม ข้าวหลามชวนลอง
ส้มสีทองเลิศล้ำ จิตรกรรมสูงค่า ผ้าลาย
น้ำไหล ยิ่งใหญ่แข่งเรือ
พิกัด: แม่แบบ:Coor dms
ประเทศ ไทย
จังหวัดน่าน
พื้นที่
 • ทั้งหมด702.204 ตร.กม. (271.122 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2550)
 • ทั้งหมด51,856 คน
 • ความหนาแน่น74 คน/ตร.กม. (190 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 55140
รหัสภูมิศาสตร์5506
ที่ตั้งที่ว่าการที่ว่าการอำเภอท่าวังผา หมู่ที่ 4 ถนนน่าน-ทุ่งช้าง ตำบลท่าวังผา อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน 55140
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

อำเภอท่าวังผา เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดน่าน

ที่ตั้งและอาณาเขต

อำเภอท่าวังผาตั้งอยู่ทางทิศเหนือของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับอำเภอข้างเคียง ดังนี้

ประวัติ

ความเป็นมาของนามท่าวังผานั้นคือ ลักษณะของเกาะแก่งในแม่น้ำน่าน ซึ่งมีแต่หินผาและเป็นวังน้ำอยู่มากมาย ซึ่งเป็นเส้นทางคมนาคมระหว่างเมืองปัวกับเมืองน่านในอดีต หากมุมมองด้านโบราณคดีแล้ว พบชุมชนโบราณต้นกำเนิดเมืองน่านซึ่งมีอายุกว่า 800 ปี สร้างในสมัยพญาภูคา ปฐมกษัตริย์น่านแห่งราชวงค์ภูคา อยู่ในท้องที่ตำบลยม (รวมจอมพระด้วย) ซึ่งในปัจจุบันยังคงสภาพสมบูรณ์อยู่ในท้องที่บ้านเสี้ยว บ้านลอมกลาง บ้านทุ่งฆ้อง บ้านนานิคม บ้านถ่อน จากสภาพชุมชนนั้นเป็นชุมชนเมืองขนาดใหญ่ เพราะมีการค้นพบกำแพงเมือง วัดร้าง และพระพุทธรูปเป็นจำนวนมากในบริเวณลุ่มแม่น้ำย่าง ฉะนั้นท่าวังผาในอดีตเป็นส่วนหนึ่งของเมืองปัว จึงเป็นเมืองเก่าแก่ ยุคเดียวกับสุโขทัย

เดิมอยู่ในเขตการปกครองอำเภอปัว ได้รับการยกฐานะเป็น กิ่งอำเภอท่าวังผา เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2505 และต่อมาได้รับการยกฐานะเป็น อำเภอท่าวังผา ตั้งที่ว่าการอยู่ ณ บ้านสบยาว หมู่ที่ 4 ตำบลท่าวังผา

การปกครองส่วนภูมิภาค

อำเภอท่าวังผาแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 10 ตำบล 91 หมู่บ้าน ได้แก่

1. ริม (Rim) 8 หมู่บ้าน 6. ศรีภูมิ (Si Phum) 11 หมู่บ้าน
2. ป่าคา (Pa Kha) 7 หมู่บ้าน 7. จอมพระ (Chom Phra) 10 หมู่บ้าน
3. ผาตอ (Pha To) 12 หมู่บ้าน 8. แสนทอง (Saen Thong) 9 หมู่บ้าน
4. ยม (Yom) 10 หมู่บ้าน 9. ท่าวังผา (Tha Wang Pha) 13 หมู่บ้าน
5. ตาลชุม (Tan Chum) 10 หมู่บ้าน 10. ผาทอง (Pha Thong) 4 หมู่บ้าน

การปกครองส่วนท้องถิ่น

ท้องที่อำเภอท่าวังผาประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 10 แห่ง ได้แก่

  • เทศบาลตำบลท่าวังผา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลท่าวังผาทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลริม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลริมทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลป่าคา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลป่าคาทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลผาตอ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลผาตอทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลยม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลยมทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลตาลชุม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลตาลชุมทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลศรีภูมิ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลศรีภูมิทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลจอมพระ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลจอมพระทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลแสนทอง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลแสนทองทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลผาทอง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลผาทองทั้งตำบล

ประชากร

ประชาชนส่วนใหญ่เป็นชาวไทเชื้อสายยวนเชียงแสน นอกจากนั้นยังมีชาวไทลื้อ ชาวม้ง ชาวเย้า และขมุ