พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสิริภาจุฑาภรณ์
พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสิริภาจุฑาภรณ์ | |
---|---|
พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชั้นโท | |
ประสูติ | 8 ตุลาคม พ.ศ. 2525 พระตำหนักใหม่ สวนจิตรลดา พระราชวังดุสิต กรุงเทพมหานคร |
ราชวงศ์ | จักรี |
พระบิดา | วีระยุทธ ดิษยะศริน |
พระมารดา | สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี |
ศาสนา | พุทธ |
ลายพระอภิไธย |
พระอนุวงศ์ชั้นหม่อมเจ้า
|
พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสิริภาจุฑาภรณ์ (ประสูติ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2525) เป็นพระธิดาในสมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี กับวีระยุทธ ดิษยะศริน เป็นพระราชนัดดาในพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร กับสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง และเป็นพระภาคิไนยในพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระประวัติ
พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสิริภาจุฑาภรณ์ หรือพระนามลำลองว่า พระองค์หริภา ประสูติเมื่อวันที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2525[1] ณ พระตำหนักใหม่ สวนจิตรลดา เป็นพระธิดาพระองค์ใหญ่ในสมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี กับนาวาอากาศเอกวีระยุทธ ดิษยะศริน มีพระขนิษฐาหนึ่งพระองค์ คือพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอทิตยาทรกิติคุณ
เมื่อประสูติพระองค์ดำรงพระยศที่ พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้า ด้วยพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาพระโอรสพระธิดาในสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ให้ดำรงฐานันดรศักดิ์เป็น พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้า ทุกพระองค์[2] ซึ่งพระยศดังกล่าวเทียบเท่าตำแหน่ง "พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า"[3]
การศึกษา
พระองค์เข้ารับการศึกษาระดับอนุบาลปีที่ 1 – ประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนจิตรลดา, ประถมศึกษาปีที่ 5 – มัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนฮอล์ตัน-อามส์ (Holton-Arms School) รัฐแมริแลนด์ สหรัฐอเมริกา, ระดับเกรด 8 โรงเรียนเฮอร์เบิร์ตฮูเวอร์มิดเดิล (Herbert Hoover Middle School) สหรัฐอเมริกา, ระดับเกรด 8-11 โรงเรียนมัธยมวอลเตอร์ จอห์นสัน (Walter Johnson High School) สหรัฐอเมริกา ภายหลังได้นิวัติกลับประเทศไทยและเข้าศึกษาต่อในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5-6 โรงเรียนจิตรลดา
ส่วนระดับอุดมศึกษา ทรงสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิชาภาพพิมพ์ (เกียรตินิยมอันดับ 2) คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร[4]
ปัจจุบันสำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาโท สาขาศิลปไทย ภาควิชาศิลปไทย มหาวิทยาลัยศิลปากร[5]
พระกรณียกิจ
พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสิริภาจุฑาภรณ์ ทรงประกอบพระกรณียกิจทั้งในด้านการสนองพระเดชพระคุณในฐานะพระราชวงศ์ และพระกรณียกิจในด้านต่างๆ อาทิ
- รองประธานกิตติมศักดิ์ มูลนิธิอนุรักษ์และพัฒนาอากาศยานไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
- นายกสมาคมกิตติมศักดิ์ สมาคมกีฬาทางอากาศและการบินแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
- ประธาน ศูนย์ปฏิบัติการบินอาสา อนุรักษ์และกู้ภัย สิริภาจุฑาภรณ์ เพื่อช่วยเหลือราษฎรที่ประสบภัยพิบัติ [6]
- โครงการงานบ้านกู้ภัย “โครงการบ้านกู้ภัยร่วมใจสิริภา” เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบพิบัติภัย
ทั้งนี้ยังทรงแบ่งเบาพระกรณียกิจของสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดีในบางวาระ[7]
ด้านศิลปะ
ทรงส่งเสริมงานด้านต่าง ๆ ของคณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร และการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมไทย ต่างๆ อาทิ
- ทรงจัดประมูลงาน “ภาพฝีพระหัตถ์พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าสิริภาจุฑาภรณ์” เพื่อช่วยเหลือสุนัขจรจัด ในงาน “นิทรรศการศิลปะเพื่อสุนัข My Friends”
- งานบูรณะพระวิหาร บูรณะภาพจิตรกรรมฝาผนังบูรณะศาลาบ่อทิพย์ และปรับพื้นที่ภูมิทัศน์ วัดธาราทิพย์ชัยประดิษฐ์ อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่
- โครงการจัดสร้างสวนประติมากรรม “พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และพุทธศาสนา” เพื่อเป็นศูนย์การเรียนรู้ และสถานที่ท่องเที่ยวสำหรับชุมชน
- โครงการจัดสร้างพิพิธภัณฑ์เวียงท่ากาน ตำบลบ้านกลาง อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่
- โครงการวาดภาพจิตรกรรมฝาผนังพระวิหารวัดหนองน้ำขุ่น ตำบลวังหว้า อำเภอแกลง จังหวัดระยอง
ดังเช่นในโครงการวาดภาพจิตรกรรมฝาผนังพระวิหารในวัดหนองน้ำขุ่น จังหวัดระยอง ที่พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถทรงรับไว้ในพระอุปถัมภ์ ได้มอบหมายให้พระองค์ดูแล พระองค์ใช้เวลาในการสำรวจเก็บข้อมูลอยู่หลายวัน โดยทรงปรึกษาหารือกับทางวัด และประชาชนในท้องถิ่นในการเขียนภาพด้วยพระองค์เอง[8] และตั้งพระทัยในงานนี้อย่างเต็มกำลังจนมิได้บรรทมติดกันสองวันเต็ม ในการนี้พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถ จึงรับสั่งต่อพระองค์ว่า"บรรทมบ้างเดี๋ยวจะทรุด"[8] ทั้งยังชมเชยภาพจิตรกรรมฝีพระหัตถ์ ความว่า "สวย ๆ สวยมากหลาน ละเอียดดีมาก ความหมายก็ดีด้วย ป้าชอบ"[8]
พระเกียรติยศ
ธรรมเนียมพระยศของ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสิริภาจุฑาภรณ์ | |
---|---|
ตราประจำพระองค์ | |
ธงประจำพระองค์ | |
การทูล | ฝ่าพระบาท |
การแทนตน | เกล้ากระหม่อม/เกล้ากระหม่อมฉัน |
การขานรับ | เกล้ากระหม่อม/เพคะ |
ลำดับโปเจียม | 11 |
พระอิสริยยศ
- 8 ตุลาคม พ.ศ. 2525 – 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 : พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าสิริภาจุฑาภรณ์
- 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 – ปัจจุบัน : พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสิริภาจุฑาภรณ์[9]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
- พ.ศ. 2562 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 1 ปฐมจุลจอมเกล้า (ป.จ.) (ฝ่ายใน)[9]
- พ.ศ. 2551 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[10]
- พ.ศ. 2549 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[11]
- พ.ศ. 2525 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 ชั้นที่ 1 (ภ.ป.ร.1)
- พ.ศ. 2562 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 10 ชั้นที่ ๑ (ว.ป.ร.๑)[9]
สถานที่อันเนื่องจากพระนาม
- กองทุนพระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าสิริภาจุฑาภรณ์
- ตึกสิริภาจุฑาภรณ์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
- ศูนย์ปฏิบัติการบินอาสา อนุรักษ์ และกู้ภัย สิริภาจุฑาภรณ์
- พระพุทธปฏิมาสิริภานิรมิต วัดธาราทิพย์ชัยประดิษฐ์ อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่[12]
- สำนักงานสยามรีโนเวท
พงศาวลี
อ้างอิง
- ↑ "Paploy.com". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-11-07. สืบค้นเมื่อ 2006-08-30.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ เรื่อง พระอิสริยยศฐานันดรศักดิ์ของพระโอรสพระธิดาในสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์อัครราชกุมารี, เล่ม ๙๙, ตอน ๑๓๕ ก ฉบับพิเศษ, ๒๓ กันยายน พ.ศ. ๒๕๒๕, หน้า ๑
- ↑ สำนักงานเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติ. ราชาศัพท์. เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 5 ธันวาคม 2554. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ : สำนักงานเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติ, 2555, หน้า 41
- ↑ นิทรรศการศิลปนิพนธ์
- ↑ น.อ.วีระยุทธ ดิษยะศริน และองค์จุฬาภรณ์ และพระราชธิดา 2 องค์[ลิงก์เสีย]
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-05-03. สืบค้นเมื่อ 2006-08-30.
- ↑ "สกุลไทย - พระผู้ทรงเป็น "เพชรรัตน" แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-15. สืบค้นเมื่อ 2012-04-05.
- ↑ 8.0 8.1 8.2 พระองค์โสมฯ ทรงชมผลงานการออกแบบภาพจิตรกรรมฝาผนังฝีพระหัตถ์ ในพระองค์เจ้าสิริภาจุฑาภรณ์
- ↑ 9.0 9.1 9.2 "ประกาศสถาปนา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 136 (15ข): 11. 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2562.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help) - ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๒๕, ตอน ๑๖ ข ๑๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๑, หน้า ๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ (พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าสิริภาจุฑาภรณ์), เล่ม ๑๒๓, ตอน ๑๓ ข, ๒๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๙, หน้า ๑
- ↑ กองทุนพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าสิริภาจุฑาภรณ์ อาคารสำนักงานกองทุนพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าสิริภาจุฑาภรณ์ พระตำหนักใหม่ สวนจิตรลดา พระราชวังดุสิต แขวงสวนจิตรลดา เขตดุสิต กรุงเทพฯ
- ↑ 13.0 13.1 13.2 13.3 13.4 13.5 วิจิตรา ดิษยะศริน, คุณหญิง. อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ คุณหญิงวิจิตรา ดิษยะศริน ต.จ., จ.ม., บ.ช. ณ ฌาปนสถานกองทัพอากาศ วัดพระศรีมหาธาตุวรมหาวิหาร แขวงอนุสาวรีย์ เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร วันอังคารที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2561. กรุงเทพฯ : บริษัทสตาร์บูมอินเตอร์พริ้นท์, 2561, หน้า 79
- บทความที่มีลิงก์เสียตั้งแต่กันยายน 2024
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2525
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- ราชสกุลมหิดล
- พระเจ้าวรวงศ์เธอ
- บุคคลจากโรงเรียนจิตรลดา
- บุคคลจากคณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.จ. (ฝ่ายใน)
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- ผู้ได้รับเหรียญรัตนาภรณ์ ภ.ป.ร.1
- ผู้ได้รับเหรียญรัตนาภรณ์ ว.ป.ร.1 (ร.10)
- บุคคลจากเขตดุสิต