พระอรรคชายาเธอ พระองค์เจ้าเสาวภาคย์นารีรัตน์
พระอรรคชายาเธอ พระองค์เจ้าเสาวภาคย์นารีรัตน์ | |
---|---|
พระอรรคชายาเธอ | |
ดำรงตำแหน่ง | พ.ศ. 2416 – 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2430 |
ประสูติ | 26 มกราคม พ.ศ. 2397 |
สิ้นพระชนม์ | 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2430 (33 ปี) |
พระสวามี | พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว |
พระราชบุตร | สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจันทราสรัทวาร กรมขุนพิจิตรเจษฎ์จันทร์ |
ราชวงศ์ | จักรี |
พระบิดา | พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นภูมินทรภักดี |
พระมารดา | เจ้าจอมมารดาจีน |
พระอรรคชายาเธอ พระองค์เจ้าเสาวภาคย์นารีรัตน์ (26 มกราคม พ.ศ. 2397 – 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2430) พระนามเดิม หม่อมเจ้าปิ๋ว ลดาวัลย์ เป็นพระธิดาพระองค์รองในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นภูมินทรภักดี ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาจีน และเป็นพระภรรยาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว หลังสิ้นพระชนม์ พระสวามีโปรดเกล้าฯ สถาปนาพระอิสริยยศขึ้นเป็นพระอรรคชายาเธอ พระองค์เจ้า
พระประวัติ
พระอรรคชายาเธอ พระองค์เจ้าเสาวภาคย์นารีรัตน์เป็นพระธิดาพระองค์รองในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นภูมินทรภักดี อันประสูติแต่เจ้าจอมมารดาจีน เมื่อวันศุกร์ที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2397[1][2]
หม่อมเจ้าปิ๋ว ลดาวัลย์ เมื่อประสูติทรงประทับอยู่ที่วังของพระบิดา โดยมีสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาสุดารัตนราชประยูร (ทูลกระหม่อมแก้ว) ทรงเป็นผู้อภิบาล มีพระเชษฐภคินีและพระขนิษฐาที่ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาจีน ๒ พระองค์ และได้ถวายพระองค์เป็นพระอรรคชายาเธอใน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทั้งสามพระองค์ คือ
- หม่อมเจ้าบัว ลดาวัลย์ เมื่อเป็นพระมเหสี ทรงมีอิสริยยศเป็น พระอรรคชายาเธอ พระองค์เจ้าอุบลรัตนนารีนาค
- หม่อมเจ้าสาย ลดาวัลย์ เมื่อเป็นพระมเหสี ทรงมีอิสริยยศเป็น พระอรรคชายาเธอ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์
หม่อมเจ้าปิ๋ว ลดาวัลย์ ทรงรับราชการฝ่ายในเป็นพระมเหสีทรงอิสริยยศเป็น มีพระราชธิดา ๑ พระองค์ คือ เจ้าฟ้าจันทราสรัทวาร ประสูติในปี พ.ศ. 2416 ต่อมาทรงเฉลิมพระยศเป็น สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจันทราสรัทวาร กรมขุนพิจิตรเจษฎ์จันทร์ หรือ สมเด็จหญิงใหญ่
ภายหลังมีพระประสูติกาลพระราชธิดาแล้ว ได้รับสถาปนาเป็น พระอรรคชายาเธอ หม่อมเจ้าเสาวภาคย์นารีรัตน์ คนทั่วไปขนาดพระนามว่า ท่านพระองค์กลาง
หม่อมเจ้าเสาวภาคย์นารีรัตน์ ทรงเป็นที่โปรดปรานของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาสุดารัตนราชประยูรมาก ถึงกับทรงตั้งพระทัยจะให้ดำรงตำแหน่งสมเด็จพระอัครมเหสีเลยทีเดียว แต่ว่าหม่อมเจ้าเสาวภาคยนารีรัตนมีพระพลานามัยไม่สู้จะสมบูรณ์นัก ประสูติพระราชธิดาพระองค์ ๑ แล้วก็ประชวรกระเสาะกระแสะเรื่อยมา จนกระทั่ง สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2430 พระองค์ได้รับการสถาปนาพระอิสริยยศหลังจากสิ้นพระชนม์ขึ้นเป็นพระองค์เจ้าออกพระนามว่า พระอรรคชายาเธอ พระองค์เจ้าเสาวภาคย์นารีรัตน์ ทรงศักดินา 15000 เสมอพระองค์เจ้าต่างกรมในพระบรมมหาราชวัง ตามตำแหน่งพระอรรคชายาเธอ[3]
ในปีนั้นพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสูญเสียพระอรรคชายาเธอ พระราชโอรส และพระราชธิดาในสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถถึง 3 พระองค์ ในปีเดียวกัน คือ พระอรรคชายาเธอ พระองค์เจ้าเสาวภาคย์นารีรัตน์ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าศิริราชกกุธภัณฑ์ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าพาหุรัตมณีมัย กรมพระเทพนารีรัตน์ และสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าตรีเพ็ชรุตม์ธำรง [4] จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างอนุสาวรีย์ราชานุสรณ์เมื่อ พ.ศ. 2431 เพื่อระลึกถึงพระอรรคชายาเธอ พระราชโอรส และพระราชธิดาที่สิ้นพระชนม์ในปีเดียวกัน อนุสาวรีย์ราชานุสรณ์ทำด้วยหินอ่อนแกะสลักพระรูปเหมือนทั้ง 4 พระองค์ ตั้งอยู่ใกล้กับอนุสาวรีย์พระนางเรือล่ม ที่พระราชวังบางปะอิน
พระอิสริยยศ
ธรรมเนียมพระยศของ พระองค์เจ้าเสาวภาคย์นารีรัตน์ | |
---|---|
การทูล | ใต้ฝ่าพระบาท |
การแทนตน | ข้าพระพุทธเจ้า |
การขานรับ | พ่ะย่ะค่ะ/เพคะ |
- หม่อมเจ้าปิ๋ว ลดาวัลย์ ( 4 กันยายน พ.ศ. 2406 – พ.ศ. 2416)
- พระอรรคชายาเธอ หม่อมเจ้าเสาวภาคย์นารีรัตน์ (พ.ศ. 2416 – 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2430)
- พระอรรคชายาเธอ พระองค์เจ้าเสาวภาคย์นารีรัตน์ (21 กรกฎาคม พ.ศ. 2430 – 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2430)
พงศาวลี
พงศาวลีของพระอรรคชายาเธอ พระองค์เจ้าเสาวภาคย์นารีรัตน์ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
อ้างอิง
- ↑ http://theyoung.net/tamneap_vip/49_queen/49_37.htm
- ↑ จิรวัฒน์ อุตตมะกุล. พระภรรยาเจ้า และสมเด็จเจ้าฟ้า ในรัชกาลที่ ๕. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์มติชน, พิมพ์ครั้งที่ 3 พ.ศ. 2548. 398 หน้า. หน้า หน้าที่. ISBN 974-322-964-7
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, คำประกาศตั้งพระอรรคชายาเธอ หม่อมเจ้าเสาวภาคน่รีรัตน ขึ้นเป็น พระองค์เจ้า มีพระนามจารึกในพระสุพรรณบัตรว่า พระอรรคชายาเธอ พระองค์เจ้าเสาวภาคนารีรัต ทรงศักดินา ๑๕๐๐๐ เสมอเจ้าต่างกรมในพระบรมมหาราชวังตามพระอรรคชายาเธอ, เล่ม ๔, ตอน ๓๑, ๑๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๑๘๘๗, หน้า ๒๕๑
- ↑ http://www.palaces.thai.net/new/bp/memo.htm#Thai