ชานชาลาเกาะกลาง
หน้าตา
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
ชานชาลาเกาะกลาง | ||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
| ||||||||||||||||||||||||||||
4 รางและ 2 ชานชาลาเกาะกลาง
|
ชานชาลาเกาะกลาง (อังกฤษ: Island platform) เป็นรูปแบบชานชลาสถานีรถไฟซึ่งมีชานชาลาเดียว ตั้งอยู่ตรงกลาง โดยมีรางรถไฟขนาบอยู่สองข้าง การก่อสร้างชานชาลาลักษณะนี้ค่อนข้างยุ่งยาก เนื่องจากต้องใช้รางรถไฟคู่เบี่ยงออกจากกัน แต่มีประสิทธิภาพสูง เพราะสะดวกในการเปลี่ยนขบวนรถ หรือเปลี่ยนเส้นทาง แต่ไม่เหมาะกับสถานีที่มีความหนาแน่นของผู้โดยสารสูงทั้งสองทิศทางพร้อมกัน เนื่องจากผู้โดยสารทั้งสองทิศทางจะใช้พื้นที่ร่วมกันและเกิดความสับสนในชั่วโมงเร่งด่วนได้
รูปแบบ
[แก้]ชานชาลาเกาะกลาง แบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่
- ชานชาลาเกาะกลางแบบชั้นเดียว คือ ชานชาลาที่มีรถไฟผ่านเพียงเส้นทางเดียว ชานชาลาลักษณะนี้ในประเทศไทย ได้แก่ ชานชาลาสถานีส่วนใหญ่ในเส้นทางรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล และสายฉลองรัชธรรม
- ชานชาลาเกาะกลางแบบสองชั้น คือ ชานชาลาที่มีรถไฟผ่านสองเส้นทางในแนวเดียวกัน ซึ่งต้องสร้างทางวิ่งซ้อนกัน เป็นเหตุทำให้การก่อสร้างยุ่งยาก ชานชาลาลักษณะนี้ในประเทศไทยมีเพียงสถานีเดียว คือสถานีสยาม
- ชานชาลาเกาะกลางแบบผสมผสานกับชานชาลาด้านข้าง คือ ชานชาลาที่มีรถไฟผ่านสองเส้นทางโดยตัดกันเป็นเครื่องหมาย + หรือ T จะมีชานชาลาเกาะกลาง 1 ชั้น และชานชาลาด้านข้าง 1 ชั้น เพื่อความสะดวกในการติดตั้งสาธารณูปโภคและการจราจรภายในสถานี ชานชาลาลักษณะนี้ในประเทศไทยได้แก่สถานีเตาปูน สถานีท่าพระ และสถานีวัดพระศรีมหาธาตุ
- เนื่องจากชานชาลาเกาะกลางเป็นชานชาลาเดี่ยว จึงไม่จำเป็นต้องมีวิธีในการเดินข้ามชานชาลาเหมือนกับชานชาลาด้านข้าง
การใช้ในประเทศไทย
[แก้]- สถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิท และ สายสีลมเฉพาะสถานีสำโรง, สยาม, ห้าแยกลาดพร้าว และวัดพระศรีมหาธาตุ
- สถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส สายสีทอง เฉพาะสถานีกรุงธนบุรี
- สถานีรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล
- ช่วงหัวลำโพง-เตาปูน ทุกสถานี ยกเว้น สถานีสามย่าน สถานีสีลม สถานีลุมพินี สถานีคลองเตย สถานีบางซื่อ และ สถานีเตาปูน
- ช่วงหัวลำโพง-หลักสอง เฉพาะสถานีสนามไชย และสถานีอิสรภาพ
- ช่วงเตาปูน-ท่าพระ เฉพาะชั้นชานชาลาบนของสถานีท่าพระ
- สถานีรถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม
- ช่วงคลองบางไผ่-เตาปูน ทุกสถานี
- ช่วงเตาปูน-ครุใน เฉพาะสถานีรัฐสภา สามยอด สะพานพุทธ วงเวียนใหญ่ และโรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้า[1]
- สถานีรถไฟฟ้าชานเมือง สายสีแดง สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ ดอนเมือง รังสิต บางบำหรุ และตลิ่งชัน (โดยสถานีบางบำหรุเป็นการผสมผสานกับชานชาลาด้านข้าง)
- สถานีรถไฟฟ้ามหานคร สายสีส้ม
- ช่วงศูนย์วัฒนธรรมฯ-แยกร่มเกล้า เฉพาะสถานี รฟม., การกีฬาแห่งประเทศไทย, รามคำแหง 34, แยกลำสาลี และศรีบูรพา[2]
- สถานีรถไฟฟ้าสายสีชมพู เฉพาะสถานีศรีรัช เมืองทองธานี และอิมแพ็ค เมืองทองธานี โดยสถานีเมืองทองธานีเป็นการผสมผสานกับชานชาลาด้านข้าง เพื่อรองรับสายแยกอิมแพคลิงก์
- สถานีรถไฟฟ้าสายสีเทาส่วนเหนือ เฉพาะสถานีวัชรพล และทองหล่อ
- สถานีรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ฉะเชิงเทรา และท่าอากาศยานอู่ตะเภา
- สถานีรถไฟทางไกล ส่วนใหญ่มักใช้เป็นชานชาลาที่ไม่ได้ติดกับอาคารสถานีรถไฟ (ยกเว้นสถานีรถไฟชุมทางบางซื่อ 1 และ สถานีรถไฟสุไหงโก-ลก ที่อาคารสถานีรถไฟจะอยู่บนชานชาลาเกาะกลาง) เช่น สถานีรถไฟนครราชสีมา สถานีรถไฟชุมทางถนนจิระ (ชานชาลาที่ 2-3) สถานีรถไฟพิษณุโลก (ชานชาลาที่ 1-2) สถานีรถไฟสุราษฎร์ธานี (ชานชาลาที่ 2-3) สถานีรถไฟชุมทางหาดใหญ่ (ชานชาลาที่ 2-3, 4-5)
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ "รายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน - ราษฎร์บูรณะ (วงแหวนกาญจนาภิเษก)" (PDF). 19 กุมภาพันธ์ 2562. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-05-13. สืบค้นเมื่อ 24 พฤษภาคม 2563.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "รายงานฉบับสมบูรณ์ รายงานการขอเปลี่ยนแปลงรายละเอียดโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย-ลำสาลี-มีนบุรี" (PDF). 23 ธันวาคม 2557. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-09-24. สืบค้นเมื่อ 25 พฤษภาคม 2563.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help)
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- เว็บไซต์ทางเทคนิครถไฟ เก็บถาวร 2007-06-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน