ข้ามไปเนื้อหา

การระบาดทั่วของโควิด-19 ในประเทศแทนซาเนีย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การระบาดทั่วของโควิด-19 ในประเทศแทนซาเนีย
โรคCOVID-19
สายพันธุ์ไวรัสSARS-CoV-2
สถานที่แทนซาเนีย
ผู้ป่วยต้นปัญหาอารูชา
วันแรกปรากฏ16 มีนาคม พ.ศ. 2563
(4 ปี 7 เดือน 2 สัปดาห์ 6 วัน)
ผู้ป่วยยืนยันสะสม509 (14 พฤษภาคม พ.ศ. 2563)[1]
หาย183 (14 พฤษภาคม พ.ศ. 2563)
เสียชีวิต21 (14 พฤษภาคม พ.ศ. 2563)
เว็บไซต์ของรัฐบาล
COVID-19 (ภาษาอังกฤษ)

การระบาดทั่วของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ได้รับการยืนยันว่าเริ่มต้นขึ้นที่ประเทศแทนซาเนีย เมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2563[2]

ทางการแทนซาเนียหยุดรายงานตัวเลขผู้ป่วยในเดือนพฤษภาคมหลังจากประธานาธิบดีจอห์น มากูฟูลี กล่าวหาว่าห้องปฏิบัติการรายงานผลบวกปลอม[3] ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาแทนซาเนียกลายเป็นหนึ่งในไม่กี่ประเทศในโลกที่ไม่เปิดเผยข้อมูลการติดเชื้อโควิด-19 ขณะที่ประเทศอื่น ๆ ได้แก่ เกาหลีเหนือ และเติร์กเมนิสถาน[4][5]

ภูมิหลัง

[แก้]
ผู้ป่วย โควิด-19 ใน แทนซาเนีย  ()
     เสียชีวิต        รักษาหาย        ่ป่วยกำลังรักษา
มี.ค.มี.ค.เม.ย.เม.ย.พ.ค.พ.ค.
15 วันล่าสุด15 วันล่าสุด
วันที่
# ผู้ป่วย
# ผู้เสียชีวิต
2020-03-16
1(n.a.)
2020-03-17
1(=)
2020-03-18
3(+200%)
2020-03-19
6(+100%)
6(=)
2020-03-22
12(+100%)
12(=)
2020-03-25
13(+8.3%)
13(=)
2020-03-28
14(+7.7%)
2020-03-29
14(=)
2020-03-30
19(+36%)
2020-03-31
19(=)
2020-04-01
20(+5.3%)
2020-04-02
20(=)
2020-04-03
20(=)
2020-04-04
20(=)
2020-04-05
22(+10%)
2020-04-06
24(+9.1%)
2020-04-07
24(=)
2020-04-08
25(+4.2%)
2020-04-09
25(=)
2020-04-10
32(+28%)
32(=)
2020-04-13
49(+53%)
2020-04-14
53(+8.2%)
2020-04-15
88(+66%)
2020-04-16
94(+6.8%)
2020-04-17
147(+56%)
2020-04-18
147(=)
2020-04-19
170(+16%)
2020-04-20
254(+49%)
2020-04-21
254(=)
2020-04-22
284(+12%)
2020-04-23
284(=)
2020-04-24
299(+5.3%)
299(=)
2020-04-29
480(+61%)
480(=)
2020-05-14
509(+6%)
แหล่งอ้างอิง: ข่าวจากสื่อสารมวลชนและเว็บไซต์ของกระทรวงสาธารณสุขแทนซาเนีย ดูเพิ่มเติมที่ เส้นเวลา


วันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2563 องค์การอนามัยโลก (WHO) ยืนยันว่าไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่เป็นสาเหตุของการเจ็บป่วยในระบบทางเดินหายใจ ของกลุ่มคนในเมืองอู่ฮั่น มณฑลหูเป่ย์ ประเทศจีนซึ่งมีการรายงานต่อองค์การอนามัยโลกเมื่อวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2562[6][7]

อัตราส่วนการเสียชีวิตของผู้ป่วยโควิด-19 นั้นต่ำกว่าโรคซาร์สในปี พ.ศ. 2546 มาก[8][9] แต่การแพร่เชื้อมีมากกว่าอย่างมีนัยโดยมีจำนวนผู้เสียชีวิตทั้งหมดมากอย่างมีนัยสำคัญ[8][10]

ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2563 ฟาตมา คารูม (Fatma Karume) นักเคลื่อนไหวด้านสิทธิมนุษยชนกล่าวว่าเจ้าหน้าที่กำลังกีดกันไม่ให้ผู้คนไปโรงพยาบาลเพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้ล้นเกินความสามารถที่จะรองรับ แต่พวกเขาไม่ได้ให้คำแนะนำที่เพียงพอเกี่ยวกับไวรัส คารูมกล่าวว่า: "เมื่อคุณกำลังริดรอนอำนาจประชาชนทั้งประเทศโดยการควบคุมข้อมูลและสร้างความสงสัยว่าพวกเขาควรตอบสนองต่อวิกฤตอย่างไร ผลลัพธ์อาจเป็นหายนะ"[11]

ข่าวที่เกี่ยวข้องกับโควิด-19 ถูกเซ็นเซอร์ว่าเป็นข้อมูลที่ผิดหรือบิดเบือนข้อมูล การเผยแพร่ข้อมูลโดยผู้ที่ไม่ใช่หน่วยงานรัฐถูกทำให้เป็นความผิดทางอาญาโดยรัฐบาล[12] รัฐบาลเปิดเผยรายชื่อบุคคลที่มีคุณสมบัติเหมาะสมเพื่อให้ความรู้แก่ประชาชนเกี่ยวกับโควิด-19 และกำหนดให้แหล่งข้อมูลของสื่อทั้งหมดมาจากผู้ที่อยู่ในรายชื่อเท่านั้น บุคคลหลายคนถูกจับกุมและถูกปรับเนื่องจากเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับ โควิด-19[13] หน่วยงานผู้สื่อข่าวไร้พรมแดนได้รายงานถึงการขาดความโปร่งใสและการจำกัดเสรีภาพ[14]

เส้นเวลา

[แก้]

มีนาคม พ.ศ. 2563

[แก้]

วันที่ 16 มีนาคม ผู้ป่วยกรณีแรกในแทนซาเนียได้รับการยืนยันในอารูชา[15][16] เป็นชาวแทนซาเนียวัย 46 ปีที่เดินทางมาจากเบลเยียม[17]

วันที่ 17 มีนาคม นายกรัฐมนตรีคัสซิม มาจาลิวา (Kassim Majaliwa) ได้ประกาศมาตรการต่าง ๆ รวมถึงการปิดโรงเรียน[18]

วันที่ 18 มีนาคม มีรายงานผู้ป่วยอีก 2 รายในแทนซาเนีย[19]

วันที่ 19 มีนาคมมีรายงานผู้ป่วยใหม่ 2 รายรวมเป็นหกราย ห้ารายอยู่ในเมืองหลวงดาร์เอสซาลาม กับอีกรายในแซนซิบาร์[20]

วันที่ 22 มีนาคม มีการประกาศว่ามีผู้ป่วยเพิ่มขึ้นเป็น 12 ราย[21]

วันที่ 23 มีนาคม รัฐบาลประกาศว่าผู้เดินทางที่เข้ามาจากประเทศที่ได้รับผลกระทบจากโควิดทั้งหมดจะถูกกักบริเวณเป็นเวลา 14 วันโดยต้องจ่ายค่าใช้จ่ายของตนเอง[22]

วันที่ 25 มีนาคม มีการประกาศว่าแซนซิบาร์พบผู้ป่วยกรณีที่สอง[23]

วันที่ 26 มีนาคม มีการประกาศผู้หายจากโควิดเป็นกรณีแรกซึ่งเป็นผู้ป่วยในอารูชา[24]

วันที่ 28 มีนาคม มีการรายงานผู้ป่วยรายที่สามในแซนซิบาร์[25]

วันที่ 30 มีนาคม มีผู้ป่วยเพิ่มขึ้นอีก 5 รายซึ่งรวมถึง 2 รายในแซนซิบาร์และ 3 รายในแทนซาเนียแผ่นดินใหญ่ ทำให้ยอดรวมสะสมเป็น 19 ราย[26]

วันที่ 31 มีนาคม มีการรายงานการเสียชีวิตจากโควิดเป็นครั้งแรกในดาร์เอสซาลาม[27]

เมษายน พ.ศ. 2563

[แก้]

วันที่ 1 เมษายน มีการรายงานผู้ป่วยใหม่ 1 รายและผู้หายป่วย 1 รายในดาร์เอสซาลามทำให้ยอดรวมสะสมเป็น 20 ราย หายป่วย 2 ราย และเสียชีวิต 1 ราย[28]

วันที่ 3 เมษายน มีการรายงานผู้หายป่วยรายที่สามในคาเกรา ทำให้กรณีผู้ป่วยยืนยันมีทั้งหมด 16 ราย[29]

วันที่ 5 เมษายน มีรายงานผู้ป่วยรายใหม่ 2 รายในแซนซิบาร์[30]

วันที่ 6 เมษายน มีรายงานผู้ป่วยรายใหม่อีก 2 รายในดาร์เอสซาลามและอึมวันซาทำให้ยอดรวมสะสมเป็น 24 ราย[31]

วันที่ 7 เมษายนมีรายงานผู้หายป่วยอีก 2 ราย ทำให้มีผู้หายป่วยรวมทั้งหมดเป็น 5 ราย[32]

วันที่ 8 เมษายน มีการบันทึกกรณีผู้ป่วยใหม่ 1 ราย[33] ประธานาธิบดีจอห์น มากูฟูลี เรียกร้องให้ผู้ศรัทธาสวดมนต์ในโบสถ์และมัสยิดด้วยความเชื่อว่าจะปกป้องพวกเขา เขาบอกว่าไวรัสโคโรนาเป็นปีศาจดังนั้น "ไม่สามารถอยู่รอดได้ในพระวรกายของพระเยซูคริสต์ มันจะมอดไหม้ไป"[34]

วันที่ 10 เมษายน มีการประกาศว่ามีผู้ป่วยรายใหม่ 5 รายบนแผ่นดินใหญ่ ผู้ป่วยรายใหม่บนแซนซิบาร์ 2 ราย และผู้เสียชีวิต 2 รายบนแผ่นดินใหญ่ ทำให้จำนวนผู้ป่วยสะสมเป็น 32 ราย และมีผู้เสียชีวิตเพิ่มเป็น 3 ราย[35]

วันที่ 12 เมษายน เที่ยวบินผู้โดยสารระหว่างประเทศทั้งหมดถูกระงับ[36]

วันที่ 13 เมษายน มีการประกาศว่ามีผู้ป่วยรายใหม่ 14 รายบนแผ่นดินใหญ่ และ 3 รายใหม่ในแซนซิบาร์ นอกจากนี้ยังมีการรายงานผู้หายป่วย 2 รายในแซนซิบาร์[37][38]

วันที่ 14 เมษายน นายกรัฐมนตรีได้แถลงกรณีผู้ป่วยอีก 4 กรณีในดาร์เอสซาลามทำให้ยอดรวมเป็น 53 ราย[39]

วันที่ 15 เมษายน ฮาหมัด ราชิด โมฮัมเหม็ด รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขของแซนซิบาร์รายงานว่ามีผู้ป่วยอีก 6 ราย มีผู้หายป่วยอีก 2 รายและเสียชีวิตรายแรกในแซนซิบาร์[40] ในวันเดียวกันมีการรายงานกรณีใหม่ 29 กรณีบนแผ่นดินใหญ่ ทำให้ยอดรวมของแทนซาเนียอยู่ที่ 88 ราย โดยมีผู้หายป่วยสะสม 11 ราย และเสียชีวิตสะสม 4 ราย[41]

วันที่ 16 เมษายน มีผู้มีผลทดสอบการติดเชื้อเป็นบวกในแซนซิบาร์ 6 ราย ทำให้ยอดรวมผู้ป่วยเป็น 94 ราย[42]

วันที่ 17 เมษายน มีผู้มีผลทดสอบเป็นบวก 53 ราย โดย 38 รายในดาร์เอสซาลาม, 10 รายในแซนซิบาร์, 1 รายในอึมวันซา, 1 รายในปาวานี, 1 รายในลินดี และในคาเกรา 1 ราย ทำให้จำนวนผู้ป่วยทั้งหมดเป็น 147 รายและเสียชีวิตสะสม 5 ราย[43]

วันที่ 19 เมษายน มีรายงานผู้ป่วยรายใหม่ 23 รายในแซนซิบาร์ และมีผู้เสียชีวิต 2 ราย[44]

วันที่ 20 เมษายน มีรายงานว่ามีผู้ติดเชื้อไวรัสอีก 87 รายรวมถึงชาวแซนซิบาร์ 16 ราย นอกจากนี้มีรายงานผู้เสียชีวิตรายใหม่ 3 รายบนแผ่นดินใหญ่ทำให้มีผู้เสียชีวิตสะสมในแทนซาเนียทั้งหมด 10 ราย[45]

วันที่ 22 เมษายน นายกรัฐมนตรีแถลงว่าจำนวนผู้ป่วยเพิ่มขึ้นเป็น 284 ราย โดยมีผู้หายป่วย 11 ราย และผู้เสียชีวิตอยู่ที่ 10 ราย[46]

วันที่ 24 เมษายน มีผู้หายป่วยเพิ่มขึ้น 37 ราย[47] โดยที่มีรายงานผู้ติดเชื้อ 15 รายในแซนซิบาร์[48]

วันที่ 28 เมษายน มีผู้มีผลการทดสอบเชื้อเป็นบวกเพิ่ม 7 รายในแซนซิบาร์[49]

วันที่ 29 เมษายน มีผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้น 196 ราย รวมเป็น 480 รายโดยที่ 167 รายหายป่วย และเสียชีวิต 16 ราย[50]

พฤษภาคม พ.ศ. 2563

[แก้]

วันที่ 2 พฤษภาคม ฟรีแมน อึมโบเว (Freeman Mbowe) ผู้นำฝ่ายค้านได้เรียกร้องให้มีการระงับการประชุมรัฐสภาเป็นเวลาอย่างน้อยสามสัปดาห์หลังจากการเสียชีวิตของ ส.ส. 3 คน (Gertrude Rwakatare, Richard Ndassa และ Augustine Mahiga) โดยไม่ทราบสาเหตุในช่วงเวลา 11 วันที่ผ่านมา เขากล่าวโทษว่าการเสียชีวิตเกิดจากการติดเชื้อโควิด-19 และขอให้มีการทดสอบเชื้อสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร, เจ้าหน้าที่รัฐสภา และสมาชิกในครอบครัวทั้งหมด[51]

วันที่ 4 พฤษภาคม ประธานาธิบดีจอห์น มากูฟูลี ได้สั่งพักงานหัวหน้าหน่วยการทดสอบที่ห้องปฏิบัติการด้านสุขภาพแห่งชาติของแทนซาเนีย และไล่ออกผู้อำนวยการหลังจากห้องปฏิบัติการถูกกล่าวหาว่ารายงานผลการทดสอบเป็นบวกที่ผิดพลาด มากูฟูลี กล่าวว่าเขาจงใจส่งตัวอย่างทางชีวภาพจากมะละกอ, นกกระทา และแพะ เพื่อทดสอบความแม่นยำของห้องปฏิบัติการ ห้องปฏิบัติการวินิจฉัยว่าตัวอย่างเหล่านี้เป็นผลบวกสำหรับไวรัสโคโรนา[3]

วันที่ 7 พฤษภาคม มีการประกาศว่าสำหรับแซนซิบาร์ยอดรวมของผู้ป่วยที่บันทึกไว้คือ 134 รายจำนวนผู้หายป่วยสะสมเท่ากับ 16 รายและจำนวนผู้เสียชีวิตสะสมที่บันทึกไว้คือ 5 ราย โดยผู้ป่วยจำนวน 41 รายรักษาตัวอยู่ในสถานบริการสาธารณสุข และ 72 ราย ดูแลและติดตามที่บ้าน[52]

สถานทูตสหรัฐฯในแทนซาเนียออกคำเตือนเมื่อวันที่ 13 พฤษภาคมว่ามีความเสี่ยงในการป่วยโควิด-19 จำกัดในพื้นที่ของดาร์เอสซาลามมีสูงมาก เชื่อว่ามีผู้ป่วยเพิ่มขึ้นในอัตราการเพิ่มแบบชี้กำลังในดาร์เอสซาลามและที่อื่น ๆ และคาดว่าโรงพยาบาลจะมีสมรรถภาพในการรักษาไม่เพียงพอ[53] ผู้ประกาศข่าวโทรทัศน์ท้องถิ่นเอกชนช่องควานซาออนไลน์ ถูกสั่งงดออกอากาศเป็นเวลา 11 เดือนโดยหน่วยงานกำกับดูแล เนื่องจากได้โพสต์คำเตือนของสถานทูตในบัญชีอินสตราแกรมของตนเอง[54]

ทางการแทนซาเนียหยุดรายงานตัวเลขผู้ป่วยในเดือนพฤษภาคม[55][56] เมื่อการรายงานหยุดลงจำนวนผู้ป่วยที่ได้รับการยืนยันอยู่ที่ 509 ราย จำนวนผู้หายจากอาการป่วย 183 ราย และมีผู้เสียชีวิต 21 ราย[57]

คนขับรถบรรทุกหลายคนมีผลการทดสอบการติดเชื้อเป็นบวกในบริเวณชายแดนเคนยา และเคนยาได้ปิดพรมแดนสำหรับกรณีการผ่านแดนที่ไม่ใช่สินค้า[58] ทั้งสองประเทศตกลงที่จะจัดหาชุดทดสอบการติดเชื้อและสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนขับรถบรรทุก[59]

วันที่ 21 พฤษภาคม ประธานาธิบดีประกาศว่าวิทยาลัยจะเปิดเรียนอีกครั้งและนักเรียนของโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาในระบบ 6 โรงเรียนจะกลับเข้าเรียนตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน กีฬาจะกลับมาเล่นอีกครั้งตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายนและเที่ยวบินระหว่างประเทศจะกลับมาดำเนินการต่อโดยไม่มีการกักกันตั้งแต่วันที่ 27 พฤษภาคม[60]

นักเคลื่อนไหวฝ่ายค้านกล่าวหาว่ารัฐบาลปกปิดจำนวนที่แท้จริงของการแพร่ระบาดโดยอ้างว่าขณะที่สถิติทางการยังคงแสดงผู้ติดเชื้ออยู่ที่ 509 รายและผู้เสียชีวิต 21 ราย ได้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 412 รายในดาร์เอสซาลามแห่งเดียวและมีผู้ติดเชื้อ 16,000 ถึง 20,000 คนทั่วประเทศ โดยที่ไม่มีการรายงานผลการทดสอบตั้งแต่วันที่ 4 พฤษภาคม[61]

การขาดข้อมูลอย่างเป็นทางการเกี่ยวกับการทดสอบ, จำนวนผู้ป่วย, ผู้หายป่วย และผู้เสียชีวิต ทำให้เกิดความสนใจจากนักระบาดวิทยาและผู้สร้างแบบจำลองเพื่อประเมินขอบเขตที่แท้จริงของการติดเชื้อโควิด-19 ในแทนซาเนีย โดยคาร์ล เพียร์สัน (Carl AB Pearson) และคณะ ได้ประมาณว่าแทนซาเนียมีผู้ป่วยติดเชื้อ 1,000 รายในช่วงระหว่างวันที่ 6 เมษายนถึง 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2563 และมีผู้ติดเชื้อ 10,000 รายตั้งแต่วันที่ 20 เมษายนและไม่เกินวันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2563[62] ผลการสร้างแบบจำลองที่เผยแพร่โดย MRC Center for Global Infectious Disease Analysis ที่อิมพิเรียลคอลเลจลอนดอน ชี้ให้เห็นว่าจำนวนผู้ติดเชื้อที่แท้จริงในแทนซาเนียระหว่างวันที่ 29 เมษายนถึง 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2563 คือ 24,869 ราย เพียร์สัน และคณะ คำนวณว่าหลังจากสามเดือนที่ไม่มีมาตรการบรรเทาใด ๆ เกิดขึ้น คาดว่าจะมีผู้ป่วยในแทนซาเนียที่มีอาการระหว่าง 5,900 ถึง 19 ล้านรายและมีผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นถึง 16,000 รายที่เนื่องมาจากโควิด-19[63]

มิถุนายน พ.ศ. 2563

[แก้]

วันที่ 8 มิถุนายน ประธานาธิบดีมากูฟูลี ได้ประกาศให้แทนซาเนียปลอดจากไวรัสโคโรนา ซึ่งเขาอ้างว่าเป็นคำอธิษฐานของพลเมืองของตน[64] มีรายงานว่าศูนย์ทดสอบโควิด-19 หลายแห่งปิดตัวลงตามประกาศและผู้ป่วยที่แสดงอาการถูกปฏิเสธการทดสอบเนื่องจากแทนซาเนียไม่มีไวรัส[65]

วันที่ 16 มิถุนายน ประธานาธิบดีประกาศว่าโรงเรียนทุกระดับจะเปิดอีกครั้งในวันที่ 29 มิถุนายน[66]

กรกฎาคม พ.ศ. 2563

[แก้]

ในเดือนกรกฎาคม รัฐบาลได้ประกาศใช้และเผยแพร่กฎหมายรองฉบับใหม่ที่ให้มีการลงทะเบียนผู้เขียนบล็อก, ฟอรัมสนทนาออนไลน์, ผู้เผยแพร่รายการทางวิทยุและโทรทัศน์ โดยให้การเผยแพร่ "ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการระบาดของโรคร้ายแรงหรือโรคติดต่อในประเทศหรือที่อื่นโดยไม่ได้รับการอนุมัติจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง" เป็นความผิดตามกฎหมาย[67][68]

สิงหาคม พ.ศ. 2563

[แก้]

วันที่ 6 สิงหาคม จอห์น อึนเคนกาซง (John Nkengasong) จากศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคแห่งแอฟริกา (Africa CDC) แสดงความกังวลเกี่ยวกับการขาดข้อมูลจากแทนซาเนียและผลกระทบที่เป็นอันตรายต่อการพัฒนาและการดำเนินการตามยุทธศาสตร์ทั่วแอฟริกา[69]

ในเดือนสิงหาคม รัฐบาลได้ประกาศใช้และเผยแพร่กฎหมายรองฉบับใหม่ที่ห้ามสื่อท้องถิ่นทั้งหมดออกอากาศเนื้อหาจากต่างประเทศโดยไม่ได้รับอนุญาตจากรัฐบาลล่วงหน้า รวมถึงเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับโควิด-19 ในแทนซาเนีย[70]

ธันวาคม พ.ศ. 2563

[แก้]

ในเดือนธันวาคมมีรายงานว่าผู้ป่วยจำนวนหนึ่งที่โรงพยาบาลอกาข่าน (Aga Khan), โรงพยาบาลศรีฮินดูมัณฑล (Shree Hindu Mandal) และราบินินเซียเมโมเรียล (Rabininsia Memorial) ในดาร์เอสซาลามมีอาการของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา และต่อมามีผลการทดสอบเชื้อเป็นบวก ยิ่งไปกว่านั้นงานศพได้ถูกจัดขึ้นเป็นความลับในเวลากลางคืน และสาเหตุการเสียชีวิตของอดีตประธานาธิบดีเบนจามิน อึมคาปา (Benjamin Mkapa) ไม่ใช่อาการหัวใจวายตามที่ระบุไว้อย่างเป็นทางการ แต่เกิดจากโควิด-19[71]

มกราคม พ.ศ. 2564

[แก้]

ในสัปดาห์แรกของปี 2564 ชาวเดนมาร์กที่เดินทางกลับจากแทนซาเนียมีผลทดสอบการติดเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์ B.1.1.7 เป็นบวก สถาบันเซรุ่มแห่งเดนมาร์กตั้งข้อสังเกตว่าไม่สามารถบอกได้ว่าผู้ติดเชื้อได้รับเชื้อไวรัสมาจากที่ไหน[72] ในวันที่ 19 มกราคมชาวเดนมาร์กอีกสองคนที่เดินทางกลับจากแทนซาเนียมีผลทดสอบเชื้อเป็นบวกสำหรับไวรัสสายพันธุ์ 501.V2 ซึ่งเป็นผู้ป่วยที่ได้รับการยืนยันรายที่สองและสามที่ติดเชื้อสายพันธุ์ 501.V2 ในเดนมาร์ก[73]

วันที่ 19 มกราคม โรงเรียนนานาชาติโมชิได้ประกาศว่า นักเรียนคนหนึ่งมีผลการทดสอบเชื้อเป็นบวกสำหรับโควิด-19 และได้ถูกแยกกักตัว ในขณะที่ชั้นเรียนของนักเรียนจะสอนทางออนไลน์จนถึงวันที่ 1 กุมภาพันธ์ สองวันต่อมาโรงเรียนออกมาขอโทษสำหรับการออกข้อมูลเท็จและระบุว่าการดำเนินงานของโรงเรียนยังไม่หยุดชะงัก[74]

วันที่ 26 มกราคม อาร์ชบิชอปไนซองกา ประธานของการประชุมอิปิสโคปัลแทนซาเนีย ได้ส่งจดหมายถึงอาร์คบิชอป, บาทหลวง และบาทหลวงที่เกษียณแล้ว เตือนให้ระวัง"การติดเชื้อไวรัสโคโรนาระลอกใหม่ที่อาจเกิดขึ้นได้"[75]

วันที่ 27 มกราคม ประธานาธิบดีจอห์น มากูฟูลี แสดงความสงสัยเกี่ยวกับวัคซีนโควิด-19 ระหว่างการปราศรัยในเมืองชาโต ภูมิภาคเกยตา เขากล่าวว่า “ถ้าชายผิวขาวสามารถฉีดวัคซีนได้ ก็จะมีการฉีดวัคซีนป้องกันโรคเอดส์ วัณโรคจะกลายเป็นอดีตไปแล้ว วัคซีนป้องกันมาลาเรียและมะเร็งจะถูกค้นพบ”[76] คำพูดของเขาถูกปฏิเสธโดย มัตชิดิโซ โมเอติ (Matshidiso Moeti) ผู้อำนวยการองค์การอนามัยโลกในภูมิภาค ที่เรียกร้องให้แทนซาเนียเพิ่มมาตรการด้านสาธารณสุขและการฉีดวัคซีน[77] มากูฟูลี ยังปฏิเสธมาตรการปิดกั้นโดยให้เหตุผลในสุนทรพจน์ออกอากาศ: "ข้าพเจ้าไม่คาดหวังว่าจะมีประกาศการปิดกั้นใด ๆ เพราะพระเจ้าผู้ทรงพระชนม์ของเราจะปกป้องเรา เราจะดำเนินมาตรการป้องกันสุขภาพอื่น ๆ ต่อไปรวมถึงการบำบัดด้วยไอน้ำ"[4]

วันที่ 31 มกราคม พันธมิตรเพื่อการเปลี่ยนแปลงและความโปร่งใสประกาศว่าประธานและรองประธานคนแรกของแซนซิบาร์ เซอิฟ ชารีฟ ฮาหมัด (Seif Sharif Hamad) พร้อมกับภรรยาของเขาและผู้ช่วยอีกจำนวนหนึ่งได้ติดโควิด-19 และเข้ารักษาในโรงพยาบาล[78][79]

กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564

[แก้]

วันที่ 1 กุมภาพันธ์ โดโรธี กวาจิมา (Dorothy Gwajima) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขกล่าวว่าแทนซาเนียไม่สนใจที่จะเข้าร่วมโครงการฉีดวัคซีนแม้จะได้รับการสนับสนุนจากองค์การอนามัยโลกก็ตาม[80] แต่เธอกลับย้ำแนวทางปฏิบัติด้านสุขอนามัยที่รัฐบาลแนะนำซึ่งรวมถึงการดื่มน้ำปริมาณมากและรับประทานสมุนไพรในท้องถิ่น[81]

วันที่ 10 กุมภาพันธ์ สหรัฐเตือนว่าสถานพยาบาลของแทนซาเนียกำลังตกอยู่ในวิกฤตจากการไม่สามารถรองรับปริมาณผู้ป่วยที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในเดือนมกราคม[82]

วันที่ 11 กุมภาพันธ์ สมาชิกรัฐสภา ซาชาเรีย อิสซาเอ (Zacharia Issaay) แสดงความกังวลเกี่ยวกับจำนวนผู้เสียชีวิตเนื่องจากอาการปอดบวมและโรคทางเดินหายใจอื่น ๆ ในเขตเมืองอึมบูลู (Mbulu) ซึ่งเป็นเขคเลือกตั้งของเขา[83]

วันที่ 12 กุมภาพันธ์ มีรายงานว่าโรงพยาบาลใหญ่ในดาร์เอสซาลามเต็มไปด้วยผู้ป่วยที่มีอาการโควิด-19 หน่วยอภิบาลผู้ป่วยหนักในโรงพยาบาลเหล่านี้มีผู้ป่วยเต็ม ออกซิเจนและเครื่องช่วยหายใจขาดตลาด[4]

วันที่ 15 กุมภาพันธ์ สมาคมแพทย์แห่งแทนซาเนียได้ออกแถลงการณ์เชื่อมโยงการเสียชีวิตจากโรคทางเดินหายใจที่เพิ่มขึ้นกับการแพร่ระบาดของโรคต่าง ๆ รวมถึงโควิด-19 คำแถลงดังกล่าวยังกระตุ้นให้ผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพให้ความรู้แก่ผู้ป่วยและกระตุ้นให้ประชาชนเข้ารับการรักษาในสถานพยาบาลทันทีที่พบอาการ[84] ในวันเดียวกัน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขประเทศโอมานกล่าวว่า ร้อยละ 18 ของผู้เดินทางที่มาจากแทนซาเนียมีผลตรวจโควิด-19 เป็นบวก ซึ่งเป็นจำนวนที่เขาระบุว่า"สูงมาก" นอกจากนี้เขายังกล่าวด้วยว่าโอมานกำลังพิจารณาระงับเที่ยวบินจากแทนซาเนีย[85]

วันที่ 17 กุมภาพันธ์ เซอิฟ ชารีฟ ฮาหมัด (Seif Sharif Hamad) รองประธานาธิบดีแซนซิบาร์วัย 77 ปี เสียชีวิตด้วยโรคปอดบวมเฉียบพลันที่เกี่ยวข้องกับโควิด-19[86] ผู้ช่วยระดับสูงของประธานาธิบดีมากูฟูลี หัวหน้าเลขาธิการจอห์น คิจาซี และเลขานุการทูตตรีของนามิเบียประจำแทนซาเนีย เซลินา ทจฺเฮโร ก็เสียชีวิตในช่วงสัปดาห์เดียวกัน แหล่งข่าวที่ใกล้ชิดกับเรื่องนี้กล่าวว่าพวกเขาติดโควิด-19[87]

วันที่ 18 กุมภาพันธ์ สมาคมกฎหมายแทนกันยีกา ซึ่งเป็นเนติบัณฑิตยสภาแห่งแทนซาเนียแผ่นดินใหญ่ได้ออกแถลงการณ์เรียกร้องให้รัฐบาลยอมรับการมีการระบาดของไวรัสโคโรนาในประเทศ[88]

วันที่ 20 กุมภาพันธ์ เตโวโดรส อัดฮาโนม (Tedros Adhanom) ผู้อำนวยการองค์การอนามัยโลก ได้เรียกร้องให้แทนซาเนียเริ่มรายงานผู้ป่วยโควิด-19, แบ่งปันข้อมูล, ใช้มาตรการด้านสาธารณสุขที่ผ่านการทดลองและทดสอบแล้ว และเตรียมพร้อมสำหรับการฉีดวัคซีน[89]

วันที่ 21 กุมภาพันธ์ ประธานาธิบดีมากูฟูลีเรียกร้องให้แทนซาเนียใช้มาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาในประเทศ กระทรวงสาธารณสุขมีการดำเนินการในวันต่อมาโดยแถลงการณ์ว่า ประชาชนควรใช้ความระมัดระวังรวมถึงการล้างมือ, การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์, ออกกำลังกาย, ปกป้องผู้สูงอายุ และสวมหน้ากากอนามัย[90]

วันที่ 23 กุมภาพันธ์ กระทรวงสาธารณสุขของสาธารณรัฐเช็ก ประกาศว่านักท่องเที่ยวชาวเช็ก 3 คนที่เดินทางกลับจากแซนซิบาร์ มีผลการตรวจโควิด-19 เป็นบวก โดยตั้งข้อสงสัยว่าเป็นไวรัสสายพันธุ์ 501.V2 หรือไม่[91][92]

มีนาคม พ.ศ. 2564

[แก้]

วันที่ 3 มีนาคม เลขาธิการทั่วไปของการประชุมอิปิสโคปัลแทนซาเนียกล่าวว่าในช่วงสองเดือนมีบาทหลวงมากกว่า 25 คนและแม่ชี 60 คนเสียชีวิตจากหลายสาเหตุรวมทั้งปัญหาทางด้านระบบทางเดินหายใจ[93]

วันที่ 10 มีนาคม หนังสือพิมพ์ในเคนยารายงานว่า ผู้นำชาวแอฟริกันกำลังเข้ารับการรักษาโควิด-19 ที่โรงพยาบาลในไนโรบีทำให้เกิดการคาดเดาอย่างกว้างขวางว่าอาจเป็นประธานาธิบดีมากูฟูลี ซึ่งไม่ได้ปรากฏตัวต่อหน้าสาธารณชนมาตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์[94]

วันที่ 11 มีนาคม มัตชิดิโซ โมเอติ (Matshidiso Moeti) ผู้อำนวยการองค์การอนามัยโลกในภูมิภาค กล่าวชื่นชมแทนซาเนียสำหรับการดำเนินการเมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ แต่เรียกร้องให้ปฏิบัติตามขั้นตอนการทดสอบโควิด-19 ที่แนะนำโดยองค์การอนามัยโลก, การกลับสู่ความโปร่งใสและการแบ่งปันข้อมูล รวมทั้งเริ่มต้นการฉีดวัคซีน[95]

วันที่ 17 มีนาคม รองประธานาธิบดี ซาเมีย ซูลูฮู ฮัซซัน (Samia Suluhu Hassan) ประกาศว่า ประธานาธิบดีมากูฟูลีเสียชีวิตด้วยโรคแทรกซ้อนทางหัวใจ นักการเมืองฝ่ายค้านอ้างว่าเขาติดโควิด-19[96]

เมษายน พ.ศ. 2564

[แก้]

วันที่ 1 เมษายน จอห์น อึนเคนกาซง (John Nkengasong) หัวหน้าศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคแห่งแอฟริกา (Africa CDC) กล่าวว่ามีการพบสายพันธุ์ใหม่ของไวรัสที่มีการกลายพันธุ์มากถึง 40 ชนิดในประเทศแองโกลาในกลุ่มผู้เดินทางจากแทนซาเนีย[97]

วันที่ 6 เมษายน ประธานาธิบดี ซาเมีย ซูลูฮู ฮัซซัน ได้ส่งสัญญาณถึงการเปลี่ยนแปลงแนวทางจากอดีตประธานาธิบดี โดยเสนอให้มีการประเมินมาตรการของแทนซาเนียในการรับมือกับโควิด-19 ซึ่งเป็นแนวทางที่อิงวิทยาศาสตร์มากขึ้น และการกลับไปเผยแพร่ข้อมูลอย่างสม่ำเสมอ[98]

วันที่ 8 เมษายน องค์กร ChangeTanzania เผยแพร่รายงานระหว่างกาลจากการสำรวจออนไลน์ที่จัดทำขึ้นในเดือนกุมภาพันธ์และมีนาคม 2564 โดยผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่ามีผู้ป่วยและมีผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นตั้งแต่ปลายเดือนธันวาคม และสถานการณ์เลวร้ายลงในเดือนมกราคมและกุมภาพันธ์[99]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Total Coronavirus Cases in Tanzania". World Dometers. 2020-04-15.
  2. "Tanzania Confirms First Case of Coronavirus | Voice of America - English". www.voanews.com (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-05-13.
  3. 3.0 3.1 Elliott, Josh K. (6 May 2020). "Tanzanian president blames lab after goat, papaya 'test positive' for coronavirus". Global News (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-05-09.
  4. 4.0 4.1 4.2 "Covid-19 Crisis Grows in Tanzania as President Rejects Risks". Bloomberg News. 2021-02-12.
  5. Rickleton, Christopher (9 April 2020). "Experts doubt isolated Turkmenistan's virus-free 'show'". CTVNews (ภาษาอังกฤษ).
  6. Elsevier. "Novel Coronavirus Information Center". Elsevier Connect. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 January 2020. สืบค้นเมื่อ 15 March 2020.
  7. Reynolds, Matt (4 March 2020). "What is coronavirus and how close is it to becoming a pandemic?". Wired UK. ISSN 1357-0978. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 March 2020. สืบค้นเมื่อ 5 March 2020.
  8. 8.0 8.1 "Crunching the numbers for coronavirus". Imperial News. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 March 2020. สืบค้นเมื่อ 15 March 2020.
  9. "High consequence infectious diseases (HCID); Guidance and information about high consequence infectious diseases and their management in England". GOV.UK (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 March 2020. สืบค้นเมื่อ 17 March 2020.
  10. "World Federation Of Societies of Anaesthesiologists – Coronavirus". www.wfsahq.org. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 March 2020. สืบค้นเมื่อ 15 March 2020.
  11. "Tanzania says virus defeated through prayer, but fears grow". Associate Press. 22 May 2020.
  12. Farmer, Ben; Brown, Will; Vasilyeva, Nataliya (5 June 2010). "The 'Ostrich Alliance': Coronavirus and the world leaders embracing denial, quackery and conspiracy". The Telegraph. สืบค้นเมื่อ 17 March 2021.
  13. "Tanzania Tramples Digital Rights in Fight Against Covid-19". cipesa.org. สืบค้นเมื่อ 2020-11-07.
  14. "Tanzanian media unable to cover Covid-19 epidemic". Reporters without borders. 5 November 2020. สืบค้นเมื่อ 27 January 2021.
  15. "Coronavirus Update (Live) - Worldometer". www.worldometers.info.
  16. "Somalia, Tanzania confirm first coronavirus cases". Anadolu Agency. 16 March 2020. สืบค้นเมื่อ 17 March 2020.
  17. "When coronavirus came to Tanzania". The New Humanitarian (ภาษาอังกฤษ). 2020-03-25. สืบค้นเมื่อ 2020-03-28.
  18. "Tanzania bans all public gathering, closes schools, suspends the Premier League over Coronavirus". The Citizen (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-04-10.
  19. "Coronavirus cases rise to three in Tanzania". The Citizen. 18 March 2020. สืบค้นเมื่อ 19 March 2020.
  20. Vidija, Patrick (19 March 2020). "COVID-19: Tanzania traces 112 contacts as cases rise to six". The Star. สืบค้นเมื่อ 19 March 2020.
  21. "Covid-19 cases in Tanzania now rise to 12, says President". The Citizen (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-04-06.
  22. "23.03.2020 - Update on COVID-19 in Tanzania". 23 March 2020. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-04-12. สืบค้นเมื่อ 2021-05-12.
  23. "Zanzibar confirms second covid-19 case". The Citizen (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-04-06.
  24. "Tanzania first Covid-19 patient recovers". The East African (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-04-06.
  25. "Zanzibar health minister confirms third covid-19 case". The Citizen (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-04-06.
  26. "VIDEO: Covid-19 cases in Tanzania rise to 19 as five more cases". The Citizen (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-04-06.
  27. "Tanzania records first Covid-19 death". The Citizen (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-04-06.
  28. "Second Tanzanian patient recovers from coronavirus". The East African (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-04-06.
  29. Ltd, Tanzania Standard Newspapers. "COVID-19 Response: US gives 2.3bn/-, patient recovers". dailynews.co.tz (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-04-12. สืบค้นเมื่อ 2020-04-06.
  30. "Coronavirus disease (COVID-19) situation report 77" (PDF). World Health Organization. 6 April 2020. p. 7. สืบค้นเมื่อ 7 July 2020.
  31. "Tanzania's coronavirus cases rise to 24". The East African (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-04-10.
  32. "Tanzania records two more Covid-19 recoveries". The East African (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-04-10.
  33. "Coronavirus disease (COVID-19) situation report 80" (PDF). World Health Organization. 9 April 2020. p. 7. สืบค้นเมื่อ 7 July 2020.
  34. Nicholas Bariyo; Joe Parkinson (8 April 2020). "Tanzania's Leader Urges People to Worship in Throngs Against Coronavirus". The Wall Street Journal.
  35. "Tanzania records two more deaths as Covid-19 cases rise to 32". The Citizen (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-04-10.
  36. TanzaniaSpokesperson (2020-04-12). "The Tanzania Civil Aviation Authority has suspended all international scheduled and chartered passenger planes to Tanzania as a new measure to combat Covid-19. Cargo planes will be allowed in but crew memvers will be quarantined for the whole duration of their stay, at own costspic.twitter.com/r6FEy9GMmg". @tzspokesperson (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-05-26.
  37. "Tanzania's Covid-19 cases rise to 46". The Citizen (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-04-14.
  38. "Zanzibar cases of Covid-19 infection reach 12". The Citizen (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-04-15.
  39. "Coronavirus disease (COVID-19) situation report 86" (PDF). World Health Organization. 15 April 2020. p. 8. สืบค้นเมื่อ 7 July 2020.
  40. "Zanzibar records first death as cases of Covid-19 infection reach 18". The Citizen. April 15, 2020.
  41. "Tanzania Covid-19 cases jump to 88 as 29 more test positive in two days". The Citizen. April 15, 2020.
  42. "Six more test positive in Zanzibar as Covid-19 cases reach 24". The Citizen. April 16, 2020.
  43. "Covid-19: Tanzania's cases jump to 147 after 53 test positive". The Citizen (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-04-17.
  44. "Covid-19: Two dead as Zanzibar records 23 more cases". The Citizen. April 19, 2020.
  45. "Covid-19: Tanzania records 84 new cases as death toll reaches 10". The Citizen. April 20, 2020.
  46. "Covid-19: Tanzania's cases rise to 284 with 30 new patients".
  47. "Covid-19: Tanzania records 37 new recoveries". The East African. April 24, 2020.
  48. "Zanzibar adds 15 more cases, taking tally to 299". IPP Media. April 25, 2020.
  49. "Covid-19: Zanzibar's cases rise to 105 after 7 test positive". The Citizen. April 28, 2020.
  50. "Coronavirus disease (COVID-19) situation report 101" (PDF). World Health Organization. 30 April 2020. p. 8. สืบค้นเมื่อ 7 July 2020.
  51. "Tanzania opposition MPs to boycott Parliament after 3 MPs die". Al Jazeera. 2 May 2020. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 May 2020.
  52. "Covid-19: Zanzibar cases rise to 134 after 29 test positive". The Citizen (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-05-13.
  53. "Health Alert: U.S. Embassy Dar es Salaam". U.S. Embassy in Tanzania. 13 May 2020. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-07-12. สืบค้นเมื่อ 7 July 2020.
  54. "Tanzania bans Kwanza Online TV for 11 months citing 'misleading' Instagram post on COVID-19". Committee to Protect Journalists. 9 July 2020. สืบค้นเมื่อ 22 January 2021.
  55. "Tanzanian doctors sound alarm over hidden coronavirus cases". The New Humanitarian (ภาษาอังกฤษ). 14 May 2020. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 May 2020.
  56. "Tanzania opposition angry over no coronavirus update in two weeks". www.aljazeera.com (ภาษาอังกฤษ). 13 May 2020. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 May 2020.
  57. "Coronavirus disease (COVID-19) situation report 133" (PDF). World Health Organization. 1 June 2020. p. 7. สืบค้นเมื่อ 7 July 2020.
  58. "Tanzania Says COVID-19 Defeated With Prayer Despite Fears". Time Magazine (ภาษาอังกฤษ). 22 May 2020. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 May 2020.
  59. "Tanzania, Kenya resolve dispute over COVID-19 tests for cross-border truck drivers". MarketWatch. 22 May 2020. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 May 2020.
  60. "Tanzania reopens colleges, sports activities as Covid-19 numbers". The Citizen (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-05-26.
  61. Fabricius, Peter (2020-05-27). "CORONAVIRUS: Is the Tanzanian government hiding true coronavirus stats?". Daily Maverick (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-05-28.
  62. Pearson Carl AB; Van Schalkwyk Cari; Foss Anna M; O'Reilly Kathleen M; SACEMA Modelling and Analysis Response Team; CMMID COVID-19 working group; Pulliam Juliet RC (7 May 2020). "Projected early spread of COVID-19 in Africa through 1 June 2020". Euro Surveill. European Centre for Disease Prevention and Control. 25 (18). doi:10.2807/1560-7917.ES.2020.25.18.2000543. ISSN 1560-7917. OCLC 474084452. PMC 7219031. PMID 32400361.
  63. Pearson Carl A.B.; Van Zandvoort Kevin; Jarvis Chris I.; Davies Nicolas G.; Thompson Sam; Checchi Francesco; Jit Mark; Eggo Rosalind M. (16 June 2020). "Modelling projections for COVID-19 epidemic in United Republic of Tanzania". สืบค้นเมื่อ 13 July 2020.
  64. "Coronavirus: John Magufuli declares Tanzania free of Covid-19". BBC. 8 June 2020.
  65. "Muddled messaging around COVID-19 complicates response in Tanzania". Devex. 21 July 2020. สืบค้นเมื่อ 30 July 2020.
  66. "President Magufuli orders Secondary and Primary schools to re-open". The Citizen (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-06-22.
  67. "Government notice No 538". Gazette of the United Republic of Tanzania. 101 (29): 18. 17 July 2020. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-05-05. สืบค้นเมื่อ 22 January 2021.
  68. "In Tanzania, full-throttle COVID-19 denial leaves citizens without access to public health information". Global Voices. 26 January 2021. สืบค้นเมื่อ 27 January 2021.
  69. "Africa CDC concerned over Tanzania's virus response". Face of Malawi. 7 August 2020. สืบค้นเมื่อ 23 November 2020.
  70. "Crackdown on free press intensifies in Tanzania". The Standard. 10 August 2020. สืบค้นเมื่อ 22 January 2021.
  71. Kilaye, Athuman (14 December 2020). "Fresh Corona fears hit "Covid-free" Tanzania". Sauti Kubwa. สืบค้นเมื่อ 30 December 2020.
  72. "Status for udvikling af B.1.1.7 i Danmark d. 15. januar 2021" (ภาษาเดนมาร์ก). SSI. 16 January 2021. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-01-16. สืบค้นเมื่อ 26 January 2021.
  73. "Status for udvikling af B.1.1.7 og andre mere smitsomme varianter i Danmark" (ภาษาเดนมาร์ก). SSI. 24 January 2021. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-01-24. สืบค้นเมื่อ 26 January 2021.
  74. "Kilimanjaro RC refutes claims of a student testing positive for Covid 19 at ISM". The Citizen. 22 January 2021. สืบค้นเมื่อ 22 January 2021.[ลิงก์เสีย]
  75. "Tanzania government calls for Covid-19 calm as Catholic bishops cautions its faithful". The Citizen. 27 January 2021. สืบค้นเมื่อ 27 January 2021.[ลิงก์เสีย]
  76. "Tanzania's president expresses doubts about COVID vaccines". AP NEWS. 27 January 2021. สืบค้นเมื่อ January 27, 2021.
  77. "WHO tells Tanzania to follow science after Magufuli claims Covid-19 vaccines are dangerous". IOL. 28 January 2021. สืบค้นเมื่อ 3 February 2021.
  78. Kassala, Vincent (31 January 2021). "TAARIFA KWA UMMA Maalim Seif Apumzishwa Baada ya Kupata Maambukizi ya Covid 19" (ภาษาสวาฮีลี). ACT Wazalendo. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-03-01. สืบค้นเมื่อ 1 February 2021.
  79. Makoye, Kizito (31 January 2021). "Zanzibar's first vice president, wife contract virus". Anadolu Agency. สืบค้นเมื่อ 1 February 2021.
  80. "Covid-19: Tanzania has no vaccination plan, minister says". news.yahoo.com. BBC News. February 2, 2021. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-02-03. สืบค้นเมื่อ February 2, 2021.
  81. Covid cases surging in Tanzania, says US embassy as government downplays virus, cnn.com, 11.02.2021
  82. "Tanzania experiencing surge in COVID-19 cases, says U.S." news.yahoo.com. Reuters. February 10, 2021. สืบค้นเมื่อ February 10, 2021.
  83. Chidawali, Habel (11 February 2021). "CCM lawmaker speaks about "pneumonia" killing Tanzanians". The Citizen. สืบค้นเมื่อ 11 February 2021.[ลิงก์เสีย]
  84. Mosenda, Jacob (16 February 2021). "Tanzania medical practitioners wade into rising respiratory concerns in the country". The Citizen. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-05-12. สืบค้นเมื่อ 17 February 2021.
  85. Al Musalmy, Shaddad (2021-02-16). "Tanzania in focus as Oman mulls halting flights from certain places". Muscat Daily.
  86. "Zanzibar's vice president dies after suffering Covid". news.yahoo.com. AFP. February 17, 2021. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-03-30. สืบค้นเมื่อ February 17, 2021.
  87. "Tanzania still in denial about Covid-19 existence despite surge in cases". Africa News. February 19, 2021. สืบค้นเมื่อ February 20, 2021.
  88. Mseta, Salima (18 February 2021). "Tamko la TLS Juu ya Wimbi la Pili la Mlipuko wa Ugonjwa wa Korona" (ภาษาสวาฮีลี). Tanganyika Law Society. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-05-12. สืบค้นเมื่อ 20 February 2021.
  89. "WHO Director-General's statement on Tanzania and COVID-19". World Health Organization. 20 February 2021. สืบค้นเมื่อ 21 February 2021.
  90. Owere, Paul (22 February 2021). "Tanzania's Ministry of health now urges precaution against Covid-19". The Citizen. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-05-12. สืบค้นเมื่อ 24 February 2021.
  91. "U tří lidí máme podezření na jihoafrickou mutaci koronaviru, oznámil Blatný. Vrátili se ze Zanzibaru". iROZHLAS (ภาษาเช็ก). สืบค้นเมื่อ 2021-02-23.
  92. "Sedm podezření na nakažlivější jihoafrickou mutaci koronaviru zaznamenali hygienici v Praze a Brně | Domov". Lidovky.cz (ภาษาเช็ก). 2021-02-23. สืบค้นเมื่อ 2021-02-23.
  93. "Over 25 priests, 60 nuns have died in 60 days, says TEC". The Citizen. 3 March 2021. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-05-12. สืบค้นเมื่อ 10 March 2021.
  94. Lewis, David; Miriri, Duncan (10 March 2021). "Where's Magufuli? Tanzanian leader's absence fuels health concern". Reuters. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-03-10. สืบค้นเมื่อ 10 March 2021.
  95. Kalumbia, Louis (12 March 2021). "WHO praises Tanzania's new position on Covid-19". The Citizen. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-05-12. สืบค้นเมื่อ 13 March 2021.
  96. "John Magufuli: Tanzania's president dies aged 61 after health rumours". BBC News (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2021-03-17. สืบค้นเมื่อ 2021-03-17.
  97. "Nieuwe coronavariant ontdekt in Afrika". demorgen.be (ภาษาดัตช์). 2021-04-01. สืบค้นเมื่อ 2021-04-01.
  98. Jerving, Sara (2021-04-06). "In Brief: Tanzania rethinks its approach to COVID-19". Devex. สืบค้นเมื่อ 2021-04-11.
  99. Mwai, Peter; Giles, Christopher (2021-03-17). "Covid: Does Tanzania have a hidden epidemic?". BBC. สืบค้นเมื่อ 2021-04-13.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]