มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
บทความเรื่อง มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ต้องการการจัดหน้า จัดหมวดหมู่ ใส่ลิงก์ภายใน หรือเก็บกวาดเนื้อหา ให้มีคุณภาพดีขึ้น ถ้าคุณเป็นผู้เขียนเรื่องนี้หรือต้องการร่วมแก้ไข สามารถทำได้โดยกดที่ปุ่ม แก้ไข ด้านบน ดูรายละเอียดและวิธีการเขียนได้ที่ โครงการวิกิสถานศึกษา โดยเมื่อแก้ไขแล้วให้นำป้ายนี้ออกได้ |
ละติน: Universitas Cantabrigiensis | |
ชื่ออื่น | The Chancellor, Masters and Scholars of the University of Cambridge |
---|---|
คติพจน์ | ละติน: Hinc lucem et pocula sacra "[จาก]ที่แห่งนี้ [พวกเราจักได้รับ] แสงสว่างแห่งปัญญา และ วิชชาอันประเสริฐ" |
คติพจน์อังกฤษ | Literal: From here, light and sacred draughts. Non literal: From this place, we gain enlightenment and precious knowledge. |
ประเภท | รัฐ มหาวิทยาลัยวิจัย |
สถาปนา | ป. 1209 |
สังกัดวิชาการ | |
ทุนทรัพย์ | £7.121 พันล้าน (รวมวิทยาลัย)[3] |
งบประมาณ | £2.308 พันล้าน (ไม่รวมวิทยาลัย)[4] |
อธิการบดี | The Lord Sainsbury of Turville |
รองอธิการบดี | Anthony Freeling |
อาจารย์ | 6,170 (2020)[5] |
เจ้าหน้าที่ | 3,615 (ไม่รวมวิทยาลัย)[5] |
ผู้ศึกษา | 24,450 (2020)[6] |
ปริญญาตรี | 12,850 (2020) |
บัณฑิตศึกษา | 11,600 (2020) |
ที่ตั้ง | , อังกฤษ |
วิทยาเขต | เมืองมหาลัย 288 เฮกตาร์ (710 เอเคอร์)[7] |
สี | เคมบริดจ์บลู[8] |
เครือข่ายกีฬา | The Sporting Blue |
เว็บไซต์ | cam |
มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ (อังกฤษ: University of Cambridge)[note 1] เป็นสถาบันอุดมศึกษาขนาดกลางค่อนข้างใหญ่ในสหราชอาณาจักร มีความเก่าแก่เป็นอันดับที่สองของสหราชอาณาจักร ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 1752 โดยมหาวิทยาลัยที่ก่อตั้งก่อนหน้านั้นคือ มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด นอกจากนี้ยังเป็นมหาวิทยาลัยเก่าแก่เป็นอันดับที่สี่ของโลกที่ยังเปิดดำเนินการอยู่อีกด้วย[9] มหาวิทยาลัยก่อกำเนิดจากคณาจารย์และนักวิจัยของมหาวิทยาลัยซึ่งขัดแย้งกับชาวบ้านที่เมืองออกซฟอร์ด[10] มหาวิทยาลัยเคมบริจด์และมหาวิทยาลัยออกซฟอร์ดมักได้รับการจัดอันดับต้น ๆ ของการจัดอันดับโดยสำนักต่าง ๆ จนมีการเรียกรวมกันว่า ออกซบริดจ์ ในปีพ.ศ. 2562 มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ รั้งตำแหน่งอันดับที่หนึ่งในสหราชอาณาจักร และอันดับที่สองของโลก ในบรรดามหาวิทยาลัยที่มีผู้ได้รางวัลโนเบลสูงที่สุด กล่าวคือ 121 รางวัล
นิสิตและคณาจารย์ของมหาวิทยาลัย จะถูกจัดให้สังกัดแต่ละวิทยาลัยแบบคณะอาศัย (College)[note 2] จำนวนทั้งสิ้น 31 แห่ง โดยคละกันมาจากคณะวิชา (School) 6 คณะ โดยวิทยาลัยแต่ละแห่งอาศัยบริหารงานอย่างเป็นอิสระไม่ขึ้นแก่กัน[11] ลักษณะการบริหารเช่นนี้มีให้เห็นในมหาวิทยาลัยอ๊อกซ์ฟอร์ด มหาวิทยาลัยเคนต์ และมหาวิทยาลัยเดอรัม อาคารต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัยเป็นอาคารแทรกตัวตามร้านรวงในเมือง แทนที่จะเป็นกลุ่มอาคารในพื้นที่ของตนเองเช่นมหาวิทยาลัยยุคใหม่ อาคารเหล่านั้นบางหลังมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์อย่างมาก มหาวิทยาลัยจัดให้มีสำนักพิมพ์เป็นของตนเอง ซึ่งถือเป็นสำนักพิมพ์ที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับสองของโลกที่สังกัดมหาวิทยาลัย[12][13] นอกจากนี้มหาวิทยาลัยยังมีห้องสมุดขนาดใหญ่อีกด้วย
ประวัติ
[แก้]ในปี ค.ศ. 1209 ผู้ก่อตั้งเป็นกลุ่มคณาจารย์และนิสิตที่ย้ายมาจาก มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด ตำนานกล่าวว่าเดิมทีอาจารย์ในมหาวิทยาลัยออกซฟอร์ดเกิดข้อพิพาทกับเมืองออกซฟอร์ดอย่างรุนแรง ด้วยสาเหตุที่มีโสเภณีนางหนึ่งถูกฆาตกรรม เมืองออกซฟอร์ดตัดสินแขวนคออาจารย์ซึ่งเป็นสมาชิกของมหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด ด้วยเหตุที่สมัยก่อนมหาวิทยาลัยกับเมืองนั้นค่อนข้างมีอิสระต่อกัน ดังนั้นคณาจารย์ของออกซฟอร์ดจึงไม่พอใจการตัดสินของเมืองอย่างมากเพราะถือว่าการกระทำของอาจารย์ควรจะอยู่ภายใต้การตัดสินของมหาวิทยาลัย คณาจารย์กลุ่มหนึ่งจึงประท้วงโดยแยกตัวออกไปจากมหาวิทยาลัยออกซฟอร์ดบ้างก็ไปที่เมืองเรดิง บ้างก็ไปที่ที่เมืองเล็ก ๆ แห่งหนึ่งริมฝั่ง แม่น้ำแคม แล้วรวมตัวกันสอนจนเกิดเป็นมหาวิทยาลัยขึ้นมา มหาวิทยาลัยมีคอลเลจ (College) ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นคณะอาศัย ซึ่งไม่เหมือนวิทยาลัยในความเข้าใจโดยทั่วไป ปีเตอร์เฮาส์ Peterhouse คือคอลเลจแห่งแรกของมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ซึ่งให้ความสะดวกด้านที่พักและกิจกรรมปฏิสัมพันธ์ในหมู่นิสิตและอาจารย์มหาวิทยาลัย ซึ่งระบบการเรียนการสอนของ ม. เคมบริดจ์และ ม.ออกซฟอร์ดใช้ระบบเดียวกัน นิสิตและครูอาจารย์ของสองมหาวิทยาลัยนี้เรียกรวม ๆ ว่า ออกซบริดจ์
ต่อมา ม.เคมบริดจ์ได้ขยายตัวและรับนิสิตเพิ่มขึ้นจึงมีการจัดตั้งคอลเลจเพิ่มขึ้น จนปัจจุบัน ม.เคมบริดจ์ประกอบด้วย 31 คอลเลจ ระบบคอลเลจนี้มีลักษณะคล้าย ระบบบ้านพักของนักเรียนในหนังสือ แฮร์รี่ พอตเตอร์ คือ พอเข้าอาศัยที่ไหนแล้วก็ไม่เปลี่ยนและเป็นสมาชิกตลอดชีพ (ยกเว้นตอนเปลี่ยนระดับการศึกษา อาจขอเปลี่ยนได้) แม้นักเรียนจากแต่ละคอลเลจจะไปเรียนร่วมกันในคณะ/สาขาต่าง ๆ แต่จะมีระบบติวเฉพาะตัวหรือกลุ่มเล็ก ๆ (Supervision) ซึ่งจัดการโดยคอลเลจโดยตรง นักเรียนแต่ละคอลเลจจะแข่งขันกัน ทั้งด้านการเรียน และกิจกรรม ทุกคอลเลจจะมีประเพณีของตัวเอง มีประวัติศาสตร์เก่าแก่ของตัวเอง มีสีและสัญลักษณ์ของตัวเอง และ มีทรัพย์สินอาคารบ้านเรือนของตัวเอง (เช่น สระว่ายน้ำ สนามสควอช ที่ให้เช่าริมฝั่งแม่น้ำ Thame หอศิลป์ โบสถ์ อาคารธุรกิจ หุ้นในประเทศต่าง ๆ ฯลฯ) ดังนั้น คอลเลจของเคมบริดจ์หลาย ๆ แห่ง จึงมีฐานะร่ำรวย และชอบที่จะแข่งขันกันว่าใครจะให้ความสะดวกแก่เด็กตัวเองได้มากกว่ากัน หรือจ้างอาจารย์หรือ Fellow ที่มีชื่อเสียงมาเป็นที่ปรึกษาด้านวิชาการให้คอลเลจของตน อาจารย์มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ส่วนใหญ่ก็จะมีคอลเลจสังกัด แต่เวลาสอน ก็สอนเด็กทุกวิทยาลัย ฐานะทางการเงินที่คล่องตัวของคอลเลจนี้จะตรงข้ามกับตัวมหาวิทยาลัย เพราะตัวมหาวิทยาลัยยังต้องพึ่งพางบประมาณจากรัฐเป็นหลัก
ส่วนงาน
[แก้]ส่วนงานทางวิชาการ
[แก้]มหาวิทยาลัยแบ่งส่วนงานทางวิชาการออกเป็นทั้งสิ้น 6 คณะ (School) แต่ละคณะมีมีภาควิชา (Faculty) และสาขาวิชา (Department หรือ Division) ทั้งหมดนี้ให้บริการในด้านการเรียนการสอนและวิจัย คณะวิชาของมหาวิทยาลัยมีดังนี้[note 3][14]
คณะศิลปศาสตร์และมนุษยศาสตร์
[แก้]- ภาควิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์และประวัติศาสตร์ศิลปะ
- สาขาวิชาสถาปัตยกรรม
- สาขาวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ
- ภาควิชาเอเชียตะวันออกและตะวันออกกลางศึกษา (Asian and Middle Eastern Studies, เดิมคือภาควิชาบูรพคดีศึกษา Oriental Studies)
- สาขาวิชาเอเชียตะวันออกศึกษา (East Asian Studies)
- สาขาวิชาตะวันออกกลางศึกษา (Middle Eastern Studies)
- ภาควิชาศิลปคลาสสิก (Classics)
- พิพิธภัณฑ์โบราณคดีคลาสสิก
- ภาควิชาเทววิทยา (Divinity)
- ภาควิชาภาษาอังกฤษ
- สาขาวิชาแองโกล-แซกซัน นอร์ส และเซลติก
- ภาควิชาภาษาสมัยใหม่และภาษายุคกลาง
- สาขาวิชาภาษาฝรั่งเศส
- สาขาวิชาภาษาเยอรมันและดัตช์
- สาขาวิชาภาษาอิตาเลียน
- สาขาวิชาสลาฟศึกษา (Slavonic studies)
- สาขาวิชาภาษาสเปนและโปรตุเกส
- สาขาวิชาภาษากรีกสมัยใหม่
- สาขาวิชาภาษาลาตินใหม่ (Neo-Latin)
- ภาควิชาดุริยศาสตร์
- ภาควิชาปรัชญา
- ศูนย์วิจัยศิลปศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์
- ศูนย์ภาษา
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
[แก้]- ภาควิชามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และรัฐศาสตร์
- สาขาวิชาโบราณคดีและมานุษยวิทยา
- สาขาวิชาโบราณคดี
- สาขาวิชามานุษยวิทยาเชิงชีวภาพ
- ศูนย์ศึกษาวิวัฒนาการมนุษย์ลีเวอร์ฮูล์ม (Leverhulme Centre for Human Evolutionary Studies)
- สาขาวิชามานุษยวิชาเชิงสังคม
- หน่วยศึกษามองโกเลียและเอเชียตอนใน
- พิพิธภัณฑ์โบราณคดีและมานุษยวิทยา
- สถาบันวิจัยโบราณคดีแมกโดนัลด์ (McDonald Institute for Archaeological Research)
- สาขาวิชารัฐศาสตร์และนานาชาติศึกษา
- ศูนย์เพศศึกษา
- ศูนย์แอฟริกันศึกษา
- ศูนย์ศึกษาการพัฒนา
- ศูนย์ลาตินอเมริกันศึกษา
- ศูนย์เอเชียใต้ศึกษา
- สาขาวิชาสังคมวิทยา
- สาขาวิชาโบราณคดีและมานุษยวิทยา
- ภาควิชาเศรษฐศาสตร์
- ภาควิชาครุศาสตร์
- ภาควิชาประวัติศาสตร์
- สาขาวิชาประวัติและปรัชญาวิทยาศาสตร์
- พิพิธภัณฑ์ประวัติวิทยาศาสตร์วิพเพิล (Whipple Museum of the History of Science)
- ภาควิชานิติศาสตร์
- ศูนย์กฎหมายระหว่างประเทศเลาเทอร์พัคท์ (Lauterpacht Centre for International Law)
- สถาบันอาชญาวิทยา
- สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ที่ดิน
คณะวิทยาศาสตร์ชีวภาพ
[แก้]- ภาควิชาชีววิทยา
- สาขาวิชาชีวเคมี
- ศูนย์วิจัยครอบครัว
- สาขาวิชาพันธุศาสตร์
- สาขาวิชาพยาธิวิทยา
- สาขาวิชาเภสัชวิทยา
- สาขาวิชาสรีรวิทยา การพัฒนา และประสาทศาสตร์
- สาขาวิชาพืชศาสตร์
- สวนพฤกษศาสตร์
- สาขาวิชาจิตวิทยา
- ศูนย์เจตมิติ (psychometrics)
- สาขาวิชาสัตววิทยา
- ภาควิชาสัตวแพทยศาสตร์
- สาขาวิชาสัตวแพทยศาสตร์
- ศูนย์วิจัยเซลล์ต้นกำเนิดเวลคัมทรัสต์
- สถาบันเกอร์ดอนว่าด้วยการวิจัยมะเร็ง
- ศูนย์ชีววิทยาระบบเคมบริดจ์
- ห้องปฏิบัติการเซนสบรี (Sainsbury Laboratory)
คณะวิทยาศาสตร์กายภาพ
[แก้]- ภาควิชาโลกศาสตร์และภูมิศาสตร์
- สาขาวิชาโลกศาสตร์
- พิพิธภัณฑ์โลกศาสตร์เซดจ์วิก (Sedgwick Museum of Earth Sciences)
- สาขาวิชาภูมิศาสตร์
- ศูนย์วิจัยขั้วโลกสกอตต์
- พิพิธภัณฑ์ขั้วโลก
- สาขาวิชาโลกศาสตร์
- ภาควิชาคณิตศาสตร์
- สาขาวิชาคณิตศาสตร์ประยุกต์และฟิสิกส์ทฤษฎี
- สาขาวิชาคณิตศาสตร์บริสุทธิ์และสถิติเชิงคณิตศาสตร์
- ห้องปฏิบัติการสถิติ
- ภาควิชาฟิสิกส์และเคมี
- สาขาวิชาดาราศาสตร์
- สาขาวิชาเคมี
- สาขาวิชาวัสดุศาสตร์และโลหวิทยา
- สาขาวิชาฟิสิกส์
- สถาบันคณิตศาสตร์ไอแซก นิวตัน
คณะแพทยศาสตร์
[แก้]- ภาควิชาชีวเคมีคลินิก
- ห้องปฏิบัติการวิจัยเมทาบอลิก
- ภาควิชาประสาทศาสตร์คลินิก
- ศูนย์เคมบริดจ์ว่าด้วยการซ่อมแซมสมอง
- หน่วยวิจัยประสาทวิทยา
- สาขาวิชาการผ่าตัดประสาท
- ศูนย์วิจัยการถ่ายภาพสมองวูล์ฟสัน (Wolfson Brain Imaging Centre)
- ภาควิชาโลหิตวิทยา
- สาขาวิชาเวชศาสตร์การถ่ายเลือด
- ภาควิชาพันธุเวชศาสตร์
- ภาควิชาแพทยศาสตร์
- สาขาวิชาวิสัญญีวิทยา
- สาขาวิชาเภสัชวิทยาคลินิก
- สาขาวิชาวักกเวชศาสตร์ (renal medicine)
- ภาควิชาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
- ภาควิชาวิทยาเนื้องอก
- ภาควิชาจิตเวชศาสตร์
- หน่วยวิจัยด้านผังสมอง
- สาขาวิชาจิตเวชศาสตร์เด็ก
- ภาควิชาสาธารณสุขและการดูแลปฐมภูมิ
- หน่วยวิจัยการดูแลปฐมภูมิ
- สาขาวิชาเวชศาสตร์ผู้ชรา (gerontology)
- ภาควิชารังสีวิทยา
- ภาควิชาศัลยกรรม
- สาขาวิชาศัลยกรรมในผู้ป่วยรุนแรงและออร์โทพีดิกส์
- สถาบันวิจัยแพทยศาสตร์เคมบริดจ์
คณะเทคโนโลยี
[แก้]- ภาควิชาวิศวกรรมศาสตร์
- สาขาวิชาพลังงาน กลศาสตร์ของไหล และเครื่องกลเทอร์โบ
- สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า
- สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล วัสดุ และการออกแบบ
- สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา
- สาขาวิชาการผลิตและจัดการ
- สาขาวิชาวิศวกรรมสารสนเทศ
- ภาควิชาบริหารธุรกิจและการจัดการ (หรือ วิทยาลัยธุรกิจเคมบริดจ์จัดจ์ (Cambridge Judge Business School))
- ศูนย์วิจัยธุรกิจ
- ภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยี
- ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์
- ภาควิชาวิศวกรรมเคมีและชีวเทคโนโลยี
- สถาบันภาวะผู้นำอย่างยั่งยืน
ศูนย์ไม่สังกัดคณะ
[แก้]- ศูนย์วิจัยเชิงประยุกต์ว่าด้วยเทคโนโลยีการศึกษา
- ศูนย์อิสลามศึกษา
- สถาบันการศึกษาต่อเนื่อง
- หน่วยบริการสนเทศมหาวิทยาลัย
- หอสมุด
คอลเลจ/วิทยาลัยแบบคณะอาศัย
[แก้]มหาวิทยาลัยแบ่งออกเป็น 31 คอลเลจ หรือวิทยาลัยแบบคณะอาศัย (college) แต่ละวิทยาลัยจะมีหน้าที่หลักในการอำนวยความสะดวกที่พักและอาหารให้นิสิตทุกระดับ[15] รวมทั้งจัดการเรียนการสอนเสริม ติวแบบตัวต่อตัวหรือกลุ่มเล็ก ๆ (Supervisions/ ส่วนทางออกซฟอร์ดเรียก Tutorials) กับรับนิสิตปริญญาตรีด้วย นิสิตทุกคนและอาจารย์ส่วนใหญ่จะมีวิทยาลัยสังกัด ภายในวิทยาลัยจะเป็นเขตที่พักอาศัยและพื้นที่เรียนรู้ร่วมกันของนิสิต โดยคละกันมาจากแต่ละคณะวิชา ทั้งนี้บางคณะอาจจะเลือกนิสิตอย่างกว้าง ๆ กระจายไปในแต่ละสาขา เช่น วิทยาลัยเซนต์แคเทอรีน[16] บางวิทยาลัยก็เลือกให้มีสาขาเอนเอียงไปในทางใดทางหนึ่ง เช่น วิทยาลัยเชอร์ชิลล์ จะเลือกนิสิตเน้นสาขาวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์[17]
ในจำนวน 31 วิทยาลัยนี้ มีวิทยาลัยเมอร์เรย์ เอ็ดเวิร์ด (Murray Edward College) วิทยาลัยนิวแนม (Newnham College) วิทยาลัยลูซี คาเวนดิช (Lucy Cavendish College) เป็นคณะหญิงล้วน ส่วนวิทยาลัยที่เหลือเป็นแบบสหศึกษา (รับทั้งนิสิตชายและหญิง) บางวิทยาลัยในจำนวนนี้เคยมีแต่เฉพาะนิสิตชาย ได้แก่ วิทยาลัยเชอร์ชิลล์ (Churchill College) วิทยาลัยแคลร์ และราชวิทยาลัยคิงส์ (King's College) ทั้งสามวิทยาลัยดังกล่าวเริ่มรับนิสิตหญิงในปี พ.ศ. 2515 ซึ่งจากการนี้เอง 16 ปีต่อมา วิทยาลัยมอดลิน (Magdalene College)[note 4][18] จึงได้เป็นวิทยาลัยชายล้วนแห่งสุดท้ายของมหาวิทยาลัย[19]
วิทยาลัยนอกจากเป็นที่อาศัยศึกษาของนิสิตแล้ว ยังแสดงถึงทัศนะทางการเมืองและสังคมของนิสิตในวิทยาลัยนั้นด้วย อาทิ ราชวิทยาลัยคิงส์ นิสิตมักมีแนวคิดหัวก้าวหน้า (ตรงข้ามกับแนวคิดอนุรักษนิยม)[20] วิทยาลัยโรบินสันและวิทยาลัยเชอร์ชิลล์ มีงานด้านการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม[21]
วิทยาลัยแคลร์ฮอลล์ (Clare Hall) วิทยาลัยดาร์วิน (Darwin College) เป็นสองวิทยาลัยที่รับเฉพาะนิสิตระดับบัณฑิตศึกษา นอกจากนี้ วิทยาลัยฮิวก์ฮอลล์ (Hugh Hall) วิทยาลัยลูซี คาเวนดิช วิทยาลัยเซนต์เอดมุนด์ (St Edmunds College) และวิทยาลัยวูล์ฟสัน จะรับเฉพาะนิสิตผู้ใหญ่ซึ่งมีอายุ 21 ปีขึ้นไป ทั้งนี้วิทยาลัยที่เหลือมีนโยบายรับนิสิตทุกคณะวิชา ทุกเพศ ทุกวัย
วิทยาลัยตรีนิตี้ (Trinity College) จัดเป็นวิทยาลัยที่ใหญ่ที่สุดของระบบออกซบริดจ์ และได้รับการจัดอันดับทางวิชาการสุงที่สุดของเคมบริดจ์ติดต่อกันมาหลายปีกระทั่งปัจจุบัน มีศิษย์เก่าที่ได้รับรางวัลโนเบลสูงถึง 32 คน
ราชวิทยาลัยควีนส์ หรือ สมเด็จพระราชินีนาถราชวิทยาลัย หรือ ควีนส์คอลเลจ (Queens College) เป็นหนึ่งในบรรดาวิทยาลัยที่เก่าแก่ที่สุดและใหญ่ที่สุดของเคมบริดจ์ และเป็นหนึ่งในวิทยาลัยชั้นนำด้านวิชาการในระดับสูงสุดห้าอันดับแรกของเคมบริดจ์[22] มีศิษย์เก่าที่ชื่อเสียงทั้งเชื้อพระวงศ์, ขุนนาง, นักการศาสนา, นักการเมือง, นักดาราศาสตร์ และอื่น ๆ ก่อตั้งเมื่อปี 1444 โดยมาร์กาเรตแห่งอ็องฌู สมเด็จพระราชินีแห่งอังกฤษ ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ราชวิทยาลัยควีนส์ เป็นวิทยาลัยเดียวของเคมบริดจ์ ที่ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระราชินีแห่งอังกฤษหลายพระองค์ ทรงรับไว้ในพระบรมราชินูปถัมภ์ โดยปัจจุบัน สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ รับ ราชวิทยาลัยควีนส์ ไว้ในพระบรมราชินูปถัมภ์เช่นกัน นอกจากนี้ราชวิทยาลัยควีนส์ ทั้งยังเป็นที่ตั้งของสะพานคณิตศาสตร์ (Mathematical Bridge) ที่มีชื่อเสียงเพียงแห่งเดียวของเคมบริดจ์อีกด้วย
วิทยาลัยแต่ละแห่งกำหนดค่าที่พัก ค่าอาหารแตกต่างกันไป โดยไม่ขึ้นกับทางมหาวิทยาลัย[23][24] รวมทั้งมีเงินลงทุนเพื่อการศึกษาที่แตกต่างมากน้อยไปด้วย[25] สำหรับเมืองไทยระบบ "เวียง" ของมหาวิทยาลัยพะเยา มีลักษณะร่วมบางประการ คล้ายกับระบบคอลเลจของออกซบริดจ์
มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ยังคงเป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัยไม่กี่แห่งของสหราชอาณาจักร ที่ยังคงรักษาประเพณีการฝากตัวเป็นศิษย์และการรับเข้าสู่การเป็นสมาชิกของคอลเลจ (matriculation) ซึ่งแต่ละคอลเลจจะจัดพิธีนี้ขึ้นในช่วงก่อนเปิดการศึกษาในแต่ละปี โดยนิสิตทั้งระดับปริญญาตรีและนิสิตบัณฑิตศึกษาทุกคนต้องสวมเสื้อคลุม (gown) คล้ายในเรื่องแฮร์รี่ พอตเตอร์ เข้าร่วมกิจกรรมอันสำคัญนี้ ถึงจะถือว่า ได้เข้าสู่สมาชิกภาพของคอลเลจอย่างมีเกียรติ มีศักดิ์ศรี สง่างาม อย่างสมบูรณ์ และสถานะภาพความเป็นสมาชิกอันทรงเกียรตินี้ จะติดตัวนิสิตไปตลอดชีวิต ยกเว้นจะมีการย้ายวิทยาลัยในช่วงเปลี่ยนระดับการศึกษา
รายนามวิทยาลัยในสังกัดมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์มีดังนี้
(ตัวเลขข้างท้าย คือปี ค.ศ. ที่ก่อตั้ง)
- ไครส์ท คอลเลจ Christ's College, 1505
- เชอร์ชิลล์ คอลเลจ Churchill College, 1960
- แคลร์ คอลเลจ Clare College, 1326
- แคลร์ ฮอลล์ Clare Hall, 1965
- คอร์ปุส คริสตี คอลเลจ Corpus Christi College, 1352
- ดาร์วิน คอลเลจ Darwin College, 1964
- ดาว์นิ่ง คอลเลจ Downing College, 1800
- เอมมานูเอล คอลเลจ Emmanuel College, 1584
- ฟิท์ชวิลเลิ่ยม คอลเลจ Fitzwilliam College, 1966
- เกอร์ตั้น คอลเลจ Girton College, 1869
- กอนวิลล์ แอนด์ คียส์ คอลเลจ Gonville and Caius College, 1348
- โฮเมอตั้น คอลเลจ Homerton College, 1976
- ฮิวจ์ช ฮอลล์ Hughes Hall, 1885
- จีซัส คอลเลจ Jesus College, 1497
- คิงส์ คอลเลจ King's College, 1441
- ลูซี่ คาเวนดิช คอลเลจ Lucy Cavendish College, 1965
- มอจ์ดลิ่น คอลเลจ Magdalene College, 1428
- นิว ฮอลล์ New Hall, 1954 (เปลี่ยนชื่อเป็นทางการเป็น เมอร์เรย์ เอ็ดเวิร์ดส์ (Murray Edwards College) ในวันที่ 1 พฤษภาคม 2009)
- นิวแน่ม คอลเลจ Newnham College, 1871
- เพมโบรก คอลเลจ Pembroke College, 1347
- พีเตอร์เฮาส์ คอลเลจ Peterhouse, 1284
- ควีนส์คอลเลจ Queens' College, 1448
- ร๊อบบินสัน คอลเลจ Robinson College, 1979
- เซนต์ แคทเธอรีนส์ คอลเลจ St Catharine's College, 1473
- เซนต์ เอดมันด์ส คอลเลจ St Edmund's College, 1896
- เซนต์ จอห์น คอลเลจ St John's College, 1511
- ซิลวิ่น คอลเลจ Selwyn College, 1882
- ซิดนี่ ซัสเซกส์ คอลเลจ Sidney Sussex College, 1596
- ทรินิที้ คอลเลจ Trinity College, 1546
- ทรินิที้ ฮอลล์ Trinity Hall, 1350
- วูลฟ์สัน คอลเลจ Wolfson College, 1965
ในจำนวนวิทยาลัยทั้งหมดนี้ มี 3 วิทยาลัยที่รับเฉพาะนิสิตหญิงเท่านั้น (นิวแน่ม คอลเลจ, ลูซี่ คาเวนดิช คอลเลจ, และ เมอร์เรย์ เอ็ดเวิร์ดส์) และ 4 วิทยาลัยที่รับเฉพาะนิสิตระดับบัณฑิตศึกษา (แคลร์ ฮอลล์, ดาร์วิน คอลเลจ, วูลฟ์สัน คอลเลจ, และ เซนท์ เอดมันด์ส คอลเลจ)
เกียรติภูมิของมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์
[แก้]มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ได้รับการจัดอันดับสถาบันอุดมศึกษาจากหลายหน่วยงาน เช่น Complete, Guardian, Times/Sunday Times ให้เป็นมหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดอันดับหนึ่งของสหราชอาณาจักรติดต่อกันหลายปี กระทั่งถึงปัจจุบันนี้ (พ.ศ. 2562) และตามมาด้วยมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ดที่รั้งอันดับที่สอง
มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์เป็นหนึ่งในหลาย ๆ สถาบันการศึกษาในโลกที่ได้รับการจับตามอง ระหว่างที่ประเทศโลกเสรีพยายามพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อป้องกันประเทศ เมื่อเกิดภัยคุกคามจากเยอรมนี ซึ่งมี อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ เป็นผู้นำ ระหว่างนี้ มหาวิทยาลัยหลายแห่ง มีการเคลื่อนไหวทางวิชาการอย่างคึกคัก เพราะรัฐบาลได้สนับสนุนงบประมาณการวิจัยเป็นจำนวนมหาศาล อาทิเช่น มหาวิทยาลัยปารีส มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด มหาวิทยาลัยมอสโกสเตท มหาวิทยาลัยเบอร์ลิน มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด มหาวิทยาลัยเยล สถาบันเอ็มไอที ฯลฯ มหาวิทยาลัยเหล่านี้จึงแข่งขันกันอยู่ในที บางทีก็มีการดึงเอาคณาจารย์จากกันไปโดยเพิ่มเงินเดือนให้สูงกว่าก็มี
เมื่อเทียบกับหลายมหาวิทยาลัยในโลก เคมบริดจ์ได้เปรียบทางวิทยาศาสตร์อยู่มาก เพราะรากฐานทางวิทยาศาสตร์ของมหาวิทยาลัยนี้เข้มแข็งมาช้านาน ดังนั้น ตั้งแต่อดีตจวบจนยุคปัจจุบัน นอกจากจะได้รับการยกย่องว่าเป็นมหาวิทยาลัยชั้นเยี่ยมในด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของอังกฤษแล้ว ยังเป็นมหาวิทยาลัยลัยที่มีผู้ได้รางวัลโนเบลสูงที่สุดในโลกลำดับที่ 2 (ถัดจากฮาวาร์ด) กล่าวคือมีถึง 121 รางวัล เพราะความมีชื่อเสียงในด้านการวิจัยนี้เอง ในระยะหลัง เคมบริดจ์ได้รับการช่วยเหลือสนับสนุนด้านเงินทุนจากหลายหน่วยงาน เช่น EPSRC และ Gates Foundation ทำให้เคมบริดจ์มีสถานะการเงินที่ดีกว่ามหาวิทยาลัยในอังกฤษอื่น ๆ หลายแห่ง
ที่จริงแล้ว มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์เป็นสถาบันการศึกษาแห่งแรกที่จัดตั้งสำนักพิมพ์มหาวิทยาลัย แต่บังเอิญว่างานวิจัยส่วนใหญ่เป็นงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ซึ่งสมัยก่อนนั้น ยังไม่มีการนำไปใช้เชิงพาณิชย์เท่าใดนัก จึงขยายตัวสู้สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ดซึ่งเกิดทีหลัง แต่มีปริมาณงานวิจัยทางสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์มากกว่าไม่ได้ แต่ระยะหลัง สำนักพิมพ์ของมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ก็เริ่มพัฒนาขึ้นอย่างมาก เห็นได้จากปริมาณงานทางสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ซึ่งมีเพิ่มขึ้น
ในปี พ.ศ. 2548 (ค.ศ. 2005) วารสาร The Times Higher Education Supplement ได้จัดอันดับมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์มีคะแนนรวมเป็นอันดับ 3 ของโลก โดยแบ่งเป็น: อันดับ 1 ของยุโรปในคะแนนรวม, เป็นอันดับ 1 ของโลกด้านวิทยาศาสตร์, เป็นอันดับ 6 ของโลกทางด้านเทคโนโลยี, อันดับ 2 ของโลกทางด้านชีวเวช, อันดับ 8 ของโลกด้านสังคมศาสตร์ และ อันดับ 3 ของโลกด้านศิลปศาสตร์และมนุษยศาสตร์
ในปี พ.ศ. 2549 (ค.ศ. 2006), ปี พ.ศ. 2550 (ค.ศ. 2007), และปี พ.ศ. 2562 (ค.ศ. 2019) วารสาร The Times Higher Education Supplement ได้จัดอันดับมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ให้มีคะแนนรวมเป็นอันดับ 2 ของโลก
ศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียงของมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์
[แก้]มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ได้ผลิตนักวิจัย ได้รางวัลโนเบล 121 รางวัล ซึ่งจัดว่ามากเป็นอันดับสองโลกรองจากฮาร์วาร์ด ซึ่งส่วนมากเป็นรางวัลด้านวิทยาศาสตร์ เพราะมหาวิทยาลัยเน้นหนักงานวิจัยทางนี้มากที่สุด อย่างไรก็ดีงานวิจัยทางสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ก็มีความโดดเด่นระดับต้นของโลกเช่นกัน ศิษย์เก่าชาวต่างประเทศที่มีชื่อเสียงก็มีจำนวนมาก
- Abdus Salam (St John's) - โนเบล, ทฤษฎี Electroweak
- Alan Hodgkin (Trinity) - โนเบลการแพทย์
- แอลัน ทัวริง (Alan Turing) (King's) - บิดาแห่งวิทยาการคอมพิวเตอร์
- Amartya Sen (Trinity) - โนเบลเศรษฐศาสตร์
- Archibald vivian Hill (Trinity) - โนเบลการแพทย์
- Arthur Cayley (Trinity) - สร้างระบบเมตริกส์
- Augustus De Morgan (Trinity) - นักตรรกศาสตร์
- Austen Chamberlain (Trinity) - โนเบลสันติภาพ
- A. A. Milne (Trinity) - ประพันธ์ Winnie the Pooh
- เบอร์ทรันด์ รัสเซลล์ (Bertrand Russell) (Trinity) - นักคณิตศาสตร์
- Brian Josephson (Trinity) - โนเบลฟิสิกส์, semiconductors
- ชาลส์ ดาร์วิน (Chales Darwin) (Christ's) - นักชีววิทยา
- Charles Glover Barkla - โนเบล, รังสีเอกซ์
- ชาร์ลส แบบเบจ (Charles Babbage) (Trinity) - นักคณิตศาสตร์/คอมพิวเตอร์
- Charles Rolls (Trinity) - ตั้งบริษัท Rolls-Royce
- ซี. เอส. ลิวอิส (Magdalene) - นักประพันธ์
- Douglas Adams (St John's) - นักประพันธ์
- Emma Thompson (Newnham) - นักแสดงรางวัลออสการ์
- Ernest Rutherford (Trinity) - โนเบลเคมี, บิดาแห่งนิวเคลียร์ฟิสิกส์
- Sir Francis Bacon (Trinity) - นักปราชญ์ (นักวิทยาศาสตร์ นักประพันธ์ นักกฎหมาย)
- Francis Crick (Gonville and Caius) - โนเบล, ค้นพบดีเอ็นเอ
- Frederick Sanger (St John's) - โนเบล 2 ครั้ง, โครงสร้างโมเลกุล
- จี. เอช. ฮาร์ดี้ (Trinity) - นักคณิตศาสตร์
- Harold Abrahams (Gonville and Caius) - นักกีฬาโอลิมปิก (ชีวิตถูกสร้างเป็นหนังเรื่อง Chariots of Fire)
- Henry Cavendish (Peterhouse) - นักฟิสิกส์
- Henry Dunster (Magdalene) - ประธานคนแรกของ มหาวิทยาลัย Harvard, สหรัฐอเมริกา
- Henry Hallett Dale (Trinity) - โนเบลการแพทย์
- Isaac Barrow (Trinity) - นักคณิตศาสตร์
- ไอแซก นิวตัน (Isaac Newton) (Trinity) - นักฟิสิกส์
- James Chadwick (Gonville and Caius) - โนเบล, ค้นพบนิวตรอน
- เจมส์ เคลิร์ก แมกซ์เวลล์ (Trinity) - นักฟิสิกส์
- James D. Watson (Clare) - โนเบล, ค้นพบดีเอ็นเอ
- Jawaharlal Nehru (Trinity) - นายกรัฐมนตรีคนแรกของอินเดีย
- John Cockcroft (Churchill) - โนเบล, แยกอะตอม
- John Harvard (Emmanuel) - ตั้ง มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด, สหรัฐอเมริกา
- John Pople (Trinity) - โนเบลเคมี
- จอห์น เมย์นาร์ด เคนส์ (King's) - นักเศรษฐศาสตร์
- John Wallis (Emmanuel) - นักคณิตศาสตร์
- J.J. Thomson - โนเบล, ค้นพบอิเล็กตรอน
- Lord Byron (Trinity) - นักประพันธ์
- Lord Burghley (St John's) - นักการเมือง/ที่ปรึกษาหลักของ Queen Elizabeth I
- Lord Rayleigh - โนเบล, ค้นพบอาร์กอน
- Martion Ryle (Trinity) - โนเบลการแพทย์
- Maurice Wilkes - นักคอมพิวเตอร์ (EDSAC)
- Maurice Wilkins - โนเบล, โครงสร้างดีเอ็นเอ
- Max Perutz - โนเบล, โครงสร้างโปรตีน
- Niels Bohr (Trinity) - โนเบล, กลศาสตร์ควอนตัม
- โอลิเวอร์ ครอมเวลล์ (Sidney Sussex) - นักการเมือง/“เจ้าผู้พิทักษ์” (Lord Protector)
- Osborne Reynolds - นักคณิตศาสตร์
- Owen Willans Richardson - โนเบล, Thermionic
- พอล ดิแรก (Paul Dirac) (St John's) - โนเบล, กลศาสตร์ควอนตัม
- Rajiv Gandhi (Trinity) - นายกรัฐมนตรีอินเดีย
- สตีเฟน ฮอว์กิง (Stephen Hawking) (Gonville and Caius) - นักฟิสิกส์
- Subramanyan Chandrasekhar (Trinity) - โนเบล, โครงสร้างดาราศาสตร์
- Sylvia Plath (Newnham) - กวี
- Ted Hughes (Pembroke) - กวี
- Walter Gilbert (Trinity) - โนเบลเคมี
- William Harvey (Gonville and Caius) - การแพทย์
- William Lawrence Bragg (Trinity) - โนเบล, การรักษาด้วยรังสีเอกซ์. ตอนอายุ 25 ปี
- William Thomson, 1st Baron Kelvin (Peterhouse) - นักฟิสิกส์ ผู้สร้างหน่วย Kelvin สำหรับการวัดอุณหภูมิ
- Ghil'ad Zuckermann (กิลอัด สุขเคอร์แมน) (Churchill) - นักภาษาศาสตร์
ดูเพิ่ม
[แก้]รายชื่อมหาวิทยาลัยที่ใช้ระบบวิทยาลัยแบบคณะอาศัย
[แก้]หมายเหตุ
[แก้]- ↑ ใช้ชื่อทางการว่า นายกสภา อนุสาสก และคณาจารย์แห่งมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ (The Chancellor, Masters, and Scholars of the University of Cambridge)
- ↑ หมายถึง คณะที่เป็นที่อยู่ของนักศึกษาจากหลายสาขาวิชา นักศึกษาจะพักอาศัยกินอยู่และทบทวนวิชาเรียนในคณะอาศัย แต่การเรียนการทำวิจัยต้องทำในคณะวิชา
- ↑ ถ้าจะจัดแบบให้ faculty เป็น คณะ และ department เป็น ภาควิชา จะได้การจัดที่ไม่เหมาะสม มีจำนวนคณะมาก และไม่สมดุลกัน จึงได้ให้ school เป็นคณะ ส่วน faculty และ department เป็นภาควิชาและสาขาวิชาตามลำดับลงไป
- ↑ เป็นการจงใจอ่านออกเสียงให้ผิด เพื่อระลึกถึงชื่อภาษาลาตินของลอร์ดมอดลีย์ คือ Maudleyn และมิให้สับสนกับวิทยาลัยแมกดาเลน (Magdalen College) ซึ่งเป็นวิทยาลัยแบบคณะอาศัยของมหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Colleges of the University of Cambridge
- ↑ "Reports and Financial Statement 2019" (PDF). University of Cambridge. สืบค้นเมื่อ 2 April 2020.
- ↑ Colleges £4,101.2M,[1] University £3,020.0M[2]
- ↑ "Reports and the Financial Statements 2019" (PDF). University of Cambridge. สืบค้นเมื่อ 25 August 2021.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ 5.0 5.1 "Who's working in HE?". HESA. สืบค้นเมื่อ 25 August 2021.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "Cambridge at a glance". September 2020.
- ↑ "Estate Data". Estate Management. University of Cambridge. 28 November 2016. สืบค้นเมื่อ 1 April 2018.
- ↑ "Identity Guidelines – Colour" (PDF). University of Cambridge Office of External Affairs and Communications. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 10 September 2008. สืบค้นเมื่อ 28 March 2008.
- ↑ Sager, Peter (2005). Oxford and Cambridge: An Uncommon History.
- ↑ "A Brief History: Early records". University of Cambridge. สืบค้นเมื่อ 17 August 2008.
- ↑ "Cambridge – Colleges and departments". University of Cambridge. สืบค้นเมื่อ 27 November 2013.
- ↑ "Oldest printing and publishing house". Guinnessworldrecords.com. 22 January 2002. สืบค้นเมื่อ 28 March 2012.
- ↑ Black, Michael (1984). Cambridge University Press, 1583–1984. pp. 328–9. ISBN 978-0-521-66497-4.
- ↑ "University of Cambridge: Colleges and departments". สืบค้นเมื่อ 15 February 2015.
- ↑ "Role of the Colleges". University of Cambridge. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-10-23. สืบค้นเมื่อ 2008-03-27.
- ↑ "About St. Catharine's College". University of Cambridge. สืบค้นเมื่อ 8 September 2008.
- ↑ "Information about Churchill College". Churchill College. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-03-01. สืบค้นเมื่อ 7 January 2008.
- ↑ "Why 'Maudlyn'?". Magdalene College. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-10-19. สืบค้นเมื่อ 16 February 2015.
- ↑ O'Grady, Jane (13 June 2003). "Obituary – Professor Sir Bernard Williams". The Guardian. UK. สืบค้นเมื่อ 8 May 2009.
- ↑ "Alternative Prospectus" (PDF). Cambridge University Students' Union. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 27 March 2009. สืบค้นเมื่อ 8 September 2008.
- ↑ Drage, Mark (7 March 2008). "Survey ranks colleges by green credentials". Varsity. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 September 2008. สืบค้นเมื่อ 9 May 2015.
- ↑ https://en.wikipedia.org/wiki/Tompkins_Table
- ↑ "Homerton College Accommodation Guide". Homerton College. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-04-04. สืบค้นเมื่อ 13 March 2013.
- ↑ "Trinity College Accommodation Guide". Trinity College. สืบค้นเมื่อ 13 March 2009.
- ↑ "Analysis: Cambridge Colleges – £20,000 difference in education spending". The Cambridge Student. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-05-01. สืบค้นเมื่อ 25 April 2013.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- University of Cambridge
- เกียรติภูมิด้านวิทยาศาสตร์ของเคมบริดจ์ เก็บถาวร 2007-09-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Cambridge University Thai Society (CUTS)
- ระบบการศึกษาของเคมบริดจ์ เก็บถาวร 2006-05-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Cambridge Society เก็บถาวร 2007-07-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Thai Cambridge Network เก็บถาวร 2020-02-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- สามัคคีสมาคม ในพระบรมราชูปถัมภ์ สมาคมนักเรียนไทยในสหราชอาณาจักร