มาร์กาเรตแห่งอ็องฌู
มาร์กาเรตแห่งอ็องฌู | |
---|---|
![]() | |
| |
พระนาม | มาร์กาเรตแห่งอ็องฌู สมเด็จพระราชินีแห่งอังกฤษ |
พระอิสริยยศ | สมเด็จพระราชินีแห่งอังกฤษ |
ราชวงศ์ | วาลัว แลงคัสเตอร์ |
ราชาภิเษก | 30 พฤษภาคม ค.ศ. 1445 |
ทรงราชย์ | 23 เมษายน ค.ศ. 1445 - 4 มีนาคม ค.ศ. 1461 |
ข้อมูลส่วนพระองค์ | |
ประสูติ | 23 มีนาคม ค.ศ. 1430 |
สถานที่ประสูติ | ปองต์-อา-มูซองในแคว้นลอแรนในประเทศฝรั่งเศส |
สิ้นพระชนม์ | 25 สิงหาคม ค.ศ. 1482 |
สถานที่สิ้นพระชนม์ | อ็องฌูในประเทศฝรั่งเศส |
พระบิดา | เรอเนแห่งอ็องฌู |
พระมารดา | อิสซาเบลลาดัชเชสแห่งลอร์แรน |
พระสวามี | สมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 6 แห่งอังกฤษ |
พระโอรส/ธิดา | เอ็ดเวิร์ดแห่งเวสต์มินสเตอร์ เจ้าชายแห่งเวลส์ |
มาร์กาเรตแห่งอ็องฌู สมเด็จพระราชินีแห่งอังกฤษ (อังกฤษ: Margaret of Anjou) (23 มีนาคม ค.ศ. 1430 – 25 สิงหาคม ค.ศ. 1482) มาร์กาเรตแห่งอ็องฌูประสูติเมื่อวันที่ 23 มีนาคม ค.ศ. 1430 ที่ปองต์-อา-มูซองในแคว้นลอแรนในประเทศฝรั่งเศส เป็นพระธิดาของ เรอเนแห่งอ็องฌู และอิสซาเบลลาดัชเชสแห่งลอแรน (Isabella, Duchess of Lorraine) มาร์กาเรตทรงเสกสมรสกับสมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 6 แห่งอังกฤษ และทรงได้รับการราชาภิเษกเป็นพระราชินีเมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม ค.ศ. 1445 ทรงดำรงพระราชอิศริยยศเป็นพระราชินีระหว่างวันที่ 23 เมษายน ค.ศ. 1445 ถึงวันที่ 4 มีนาคม ค.ศ. 1461 และอีกครั้งหนึ่งระหว่างวันที่ 30 ตุลาคม ค.ศ. 1470 ถึงวันที่ 11 เมษายน ค.ศ. 1471[1] มาร์กาเรตแห่งอ็องฌูสิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม ค.ศ. 1482 ที่อ็องฌูในประเทศฝรั่งเศส
มาร์กาเรตทรงเป็นผู้นำกองทัพของแลงคัสเตอร์ในสงครามดอกกุหลาบหลายครั้ง; และเพราะการที่พระสวามีมีพระอาการเหมือนคนเสียสติเป็นพัก ๆ มาร์กาเรตจึงแทบจะกลายเป็นผู้ปกครองราชอาณาจักรในนามของพระสวามี ในเดือนพฤษภาคมปี ค.ศ. 1455 มาร์กาเรตเป็นผู้เรียกประชุมสภาองค์มนตรีที่ไม่รวมฝ่ายยอร์กเข้าในการประชุมด้วยซึ่งทำให้เป็นชนวนของความขัดแย้งที่ยืนยาวกว่าสามสิบปี และทำลายขุนนางและผู้คนไปเป็นจำนวนมากมาย
เสกสมรสกับพระเจ้าเฮนรีที่ 6[แก้]
มาร์กาเรตเป็นพระธิดาองค์ที่สองในเรอเนแห่งอ็องฌู หรือเรเนที่ 1 แห่งเนเปิลส์, ดยุคแห่งอ็องฌู, พระเจ้าแผ่นดินแห่งเนเปิลส์ และพระเจ้าแผ่นดินแห่งซิซิลี และอิสซาเบลลาดัชเชสแห่งลอแรน
มาร์กาเรตเสกสมรสกับ สมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 6 แห่งอังกฤษเมื่อวันที่ 23 เมษายน ค.ศ. 1445 ผู้มีพระชนมายุแก่กว่าพระองค์แปดปีที่ทิทชฟิล์ดในมณฑลแฮมป์เชอร์ ขณะนั้นพระเจ้าเฮนรีก็ทรงอ้างสิทธิในราชบัลลังก์ฝรั่งเศสและมีอำนาจครอบครองบางส่วนของทางเหนือของฝรั่งเศส พระปิตุลาของมาร์กาเรตพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 7 แห่งฝรั่งเศสผู้ซึ่งก็อ้างสิทธิในราชบัลลังก์ฝรั่งเศสเช่นกันทรงอนุมัติการแต่งงานของพระราชนัดดากับฝ่ายคู่อริโดยมีข้อแม้ว่าไม่ทรงต้องให้สินสอดทองหมั้นตามประเพณีเป็นการแลกเปลี่ยนกับดินแดนแมน และอ็องฌูของอังกฤษ
มาร์กาเรตมีพระชนมายุได้สิบห้าพรรษาแต่ก็ทรงเป็นผู้มีความเจริญพระวัยอย่างสตรีที่เป็นผู้ใหญ่ ทรงเป็นผู้มีพระสิริโฉมงดงามและทรงเป็นผู้มีศักดิ์ศรี พระองค์ทรงทราบถึงหน้าที่ในการพิทักษ์ผลประโยชน์ของราชบัลลังก์อย่างเหนียวแน่น มาร์กาเรตทรงได้รับพระอุปนิสัยมาจากพระมารดาอิสซาเบลลาดัชเชสแห่งลอแรนผู้เป็นผู้พยายามหาทางช่วยพระสวามีในการอ้างสิทธิในการครอบครองราชอาณาจักรเนเปิลส์ และจากสมเด็จยายโยลันเดอแห่งอารากอน (Yolande of Aragon) ผู้ปกครองอ็องฌู “ราวกับบุรุษ” ในการรักษาความเป็นระเบียบแบบแผนในการปกครองและกันอังกฤษจากอ็องฌู[2] ตัวอย่างที่ทรงได้เห็นทำให้พระองค์ทรงเป็นผู้ที่มีความมุ่งมั่นเด็ดเดี่ยวที่มีความสามารถเต็มพระองค์ในการรักษาราชบัลลังก์[3]
ส่วนพระสวามีทรงมีความสนใจทางศาสนามากกว่าการเรียนรู้เกี่ยวกับการทหารและไม่เป็นพระมหากษัตริย์ผู้ทรงมีสมรรถภาพเท่าใดนัก พระเจ้าเฮนรีทรงขึ้นครองราชสมบัติหลังจากที่พระราชบิดาเสด็จสวรรคตมาตั้งแต่ยังทรงเป็นทารก การปกครองเมื่อยังทรงพระเยาว์ก็อยู่ในมือของผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ เมื่อทรงเสกสมรสกับมาร์กาเรตพระสุขภาพจิตของพระองค์ก็มีอาการไม่ปกติแล้วและเมื่อพระราชโอรสเอ็ดเวิร์ดแห่งเวสต์มินสเตอร์ประสูติเมื่อวันที่13 ตุลาคม ค.ศ. 1453 พระเจ้าเฮนรีก็ทรงเสียพระสติเต็มตัว ซึ่งทำให้เกิดข่าวลือว่าไม่ทรงมีความสามารถในการเป็นพ่อที่แท้จริงของพระราชโอรส และเอ็ดเวิร์ดแห่งเวสต์มินสเตอร์เป็นพระโอรสของมาร์กาเรตกับเอ็ดมันด์ โบฟอร์ท ดยุคแห่งซัมเมอร์เซ็ทที่ 1 หรือเจมส์ บัตเลอร์ เอิร์ลแห่งออร์มอนด์ที่ 5 (James Butler, 5th Earl of Ormond) ทั้งสองเป็นผู้สนับสนุนมาร์กาเรตอย่างเหนียวแน่น[4] แต่ฝักฝ่ายที่เป็นศัตรูพยายามกระพือข่าวลือเพื่อให้ลดความมีสิทธิในการครองราชบัลลังก์ของเอ็ดเวิร์ด
แม้ว่ามาร์กาเรตจะเป็นผู้ถือข้างที่มีหัวรุนแรงและมีพระอุปนิสัยที่มีอารมณ์รุนแรงแต่พระองค์ก็ทรงได้รับการเลี้ยงดูขึ้นมาท่ามกลางราชสำนักที่นิยมการส่งเสริมทางวัฒนธรรมของพระราชบิดา มาร์กาเร็ตจึงทรงมีความรู้สึกร่วมกับสวามีในด้านการรักการศึกษาและทรงเป็นผู้อุปถัมภ์ในการก่อตั้งควีนส์คอลเลจของมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ เอลิซาเบธ วูดวิลล์ผู้ต่อมาเป็นสมเด็จพระราชินีแห่งอังกฤษของราชวงศ์ยอร์กในสมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 4 เป็นนางสนองพระโอษฐในพระองค์
อ้างอิง[แก้]
ดูเพิ่ม[แก้]
|