ข้ามไปเนื้อหา

ชาลส์ แบบบิจ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ชาร์ลส แบบเบจ)
ชาลส์ แบบเบจ (26 ธันวาคม พ.ศ. 2334 - 18 ตุลาคม พ.ศ. 2414)
On the economy of machinery and manufactures, 1835

ชาลส์ แบบเบจ (อังกฤษ: Charles Babbage) ( 26 ธันวาคม ปี ค.ศ. 1791 (พ.ศ. 2334) - 18 ตุลาคม พ.ศ. 2414) แบบบิจเกิดที่อังกฤษ ในครอบครัวของนายธนาคาร แบบบิจเติบโตมาในยุคที่อังกฤษเป็นมหาอำนาจ และกำลังอยู่ในช่วงการปฏิวัติอุตสาหกรรม โดยรัฐบาลสนับสนุนให้ทุนการพัฒนาในสาขาต่าง ๆ อย่างเต็มที่. แบบบิจศึกษาระดับมหาวิทยาลัยที่ ทรินิตี้ คอลเลจ มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ที่คณะคณิตศาสตร์ (Mathematical Laboratory)

ช่วงเป็นนักศึกษา เขารวมกลุ่มกับเพื่อน ทำ induction of the Leibnitz notation for the Calculus ขึ้นจนมีชื่อเสียง ทำให้มหาวิทยาลัยต้องเปลี่ยนหลักสูตรการเรียนการสอน. พอเรียนจบ แบบเบจก็ตัดสินใจเป็นอาจารย์ต่อที่คณะ. ในปี ค.ศ. 1814, แบบเบจสมรสกับ Georgiana Whitmore นักคณิตศาสตร์หญิงคนเก่งคนหนึ่งในยุคนั้น

ในทางคณิตศาสตร์ แบบเบจเน้นศึกษาด้านแคลคูลัสเป็นพิเศษ ปี ค.ศ. 1816 ได้รับการแต่งตั้งให้เป็น Fellow ของ Royal Society ปี ค.ศ. 1820 เขาตั้งชมรมด้านดาราศาสตร์ขึ้น พร้อม ๆ กับเริ่มทำงานวิจัยสำคัญของเขาในยุคต้น ที่ทำให้เขาโด่งดังมากคือ Difference Engine (ใช้ Newton's method of successive differences) ในปี ค.ศ. 1828 แบบเบจได้รับแต่งตั้งให้เป็น the Lucasian Chair of Mathematics at Cambridge (เหมือนกับ เซอร์ ไอแซก นิวตัน และ สตีเฟ่น ฮอว์คิง) ต่อมา แบบเบจขยายงานมาศึกษาเครื่องวิเคราะห์ (Analytical Engine) เพื่อสร้างเป็น เครื่องจักรที่สามารถรองรับการคำนวณทุกชนิด (ซึ่งได้รับการยอมรับว่าเป็นต้นแบบของเครื่องคอมพิวเตอร์) แต่ก็เป็นเพียงทฤษฎีเท่านั้น เพราะเขาไม่สามารถสร้างออกมาในช่วงที่เขามีชีวิตอยู่ เนื่องจากมีคนไม่เห็นด้วยมากมาย เพราะความคิดของเขาทันสมัยเกินกว่าเทคโนโลยีในยุคนั้น จนทุก ๆ คนคิดว่ามันเป็นไปไม่ได้ จึงโดนตัดงบวิจัยในปี ค.ศ. 1832 แต่แบบเบจก็ฝืนทำต่อแบบไม่มีงบประมาณ จนทำไม่ไหว จนต้องปิดโครงการนี้ไป ในปี ค.ศ. 1842

พอปี ค.ศ. 1856, แบบเบจก็เริ่มมีฐานะขึ้นมาจากงานอื่นๆ เพราะนอกจากเป็นนักคณิตศาสตร์แล้ว เขาก็ยังเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านดนตรี การเมือง และเศรษฐกิจ อีกด้วย (เป็น a Celebrated Policial Economist แห่งยุค) เขาจึงเอาเงินทุนมาลงทุนทำวิจัยด้านเครื่องวิเคราะห์ต่อ แต่ก็ต้องทำและแก้หลายครั้ง จนเขาเสียชีวิตไปในปี ค.ศ. 1871 (แล้วลูกชายเขามาสานต่อ) ช่วงก่อนตาย เขาเขียนหนังสือชื่อดัง (ดังยุคหลัง) ชื่อ Passages from the life of a Philosopher เพราะในปีที่เขาเสียชีวิต โลกยังไม่ค่อยรู้จักเขา เครื่องวิเคราะห์ของเขาไม่มีคนสนใจลงมือสร้างเป็นชิ้นเป็นอัน จนกระทั่งอีกประมาณ 40 ปีต่อมา หลังจากเขาตาย มีคนเอางานเขาไปเผยแพร่จนเป็นที่ชื่นชม แล้วคนยุคหลังก็นำสมองของเขา (ที่ดองเอาไว้ในแอลกอฮอล์) มาผ่าเพื่อศึกษาความสามารถในการคิดของเขา (ถูกนิยามไว้ว่าเป็นหนึ่งในนักคิดที่ลึกซึ้งที่สุดแห่งศตวรรษ)

ตลอดเวลาที่มีชีวิตอยู่ แบบเบจเชื่อว่า โลกเรานี้สามารถวิเคราะห์ทำนายได้ (a world where all things were dutifully quantified and could be predicted) โดยได้รับความสนับสนุนจากเอดา เลิฟเลซซึ่งเป็นเพื่อนสนิทในวงการว่า ถ้าจิตใจมนุษย์สามารถเข้าใจพฤติกรรมของอนุภาคเล็กๆ มันจะอธิบายทุกอย่างได้ (if a mind could know everything about particle behavior, if could describe everything: nothing would be uncertain, and the future, as the past, could be present to our eyes) ปี ค.ศ. 1856, แบบบิจเสนองาน "Table of Constants of the Nature and Art" ที่อ้างว่า รวบรวมข้อเท็จจริงทุกอย่าง สำหรับอธิบายศาสตร์ทางวิทย์และศิลป์ ด้วยตัวเลข

แบบเบจชอบไฟมาก ขนาดลองเอาเตาอบมาอบตัวเองเล่นที่ 265 องศาฟาเรนไฮต์เป็นเวลา 5-6 นาที หรือพยายามปีนภูเขาไฟเวซูเวียส เพื่อที่จะไปดูลาวาเดือด ๆ

ดูเพิ่ม

[แก้]