จี. เอช. ฮาร์ดี้
จี. เอช. ฮาร์ดี้ | |
---|---|
เกิด | 7 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1877 แครนเล, เซอร์รีย์, อังกฤษ |
เสียชีวิต | 1 ธันวาคม ค.ศ. 1947 เคมบริดจ์, เคมบริดจ์เชอร์, อังกฤษ | (70 ปี)
สัญชาติ | สหราชอาณาจักร |
ศิษย์เก่า | มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ |
อาชีพทางวิทยาศาสตร์ | |
สาขา | คณิตศาสตร์ |
สถาบันที่ทำงาน | วิทยาลัยทรินิตี้ เคมบริดจ์ |
อาจารย์ที่ปรึกษาในระดับปริญญาเอก | A. E. H. Love E. T. Whittaker |
ลูกศิษย์ในระดับปริญญาเอก | Cartwright · Chapman · Good · Morley · Offord · Pitt · Rado · Rankin · Spencer · Titchmarsh · Vijayaraghavan · Wright |
มีอิทธิพลต่อ | กามีย์ ฌอร์ด็อง |
ก็อดฟรีย์ แฮโรลด์ "จี. เอช." ฮาร์ดี้ (อังกฤษ: Godfrey Harold “G. H.” Hardy; FRS; 7 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1877 - 1 ธันวาคม ค.ศ. 1947)[1] เป็นนักคณิตศาสตร์ชาวอังกฤษคนสำคัญ เป็นที่รู้จักแพร่หลายจากผลงานด้านทฤษฎีจำนวนและคณิตวิเคราะห์ นอกจากนี้ยังเป็นที่รู้จักนอกวงการคณิตศาสตร์ด้วยผลงานเขียนตั้งแต่ปี 1940 เรื่อง "อะโพโลจีของนักคณิตศาสตร์" (A Mathematician's Apology) ซึ่งได้รับยกย่องเป็นหนึ่งในงานเขียนที่แสดงถึงความนึกคิดของนักคณิตศาสตร์ได้ดีที่สุดสำหรับผู้อ่านที่อยู่นอกวงการ
ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1914 ฮาร์ดี้ได้เป็นที่ปรึกษาแก่นักคณิตศาสตร์ชาวอินเดีย ศรีนิวาสะ รามานุจัน ความสัมพันธ์ระหว่างคนทั้งสองเป็นที่ชื่นชมกันแพร่หลาย[2][3] ฮาร์ดี้ตระหนักถึงอัจฉริยภาพของรามานุจันซึ่งเกิดขึ้นเองทั้งที่ไม่ได้รับการศึกษาในระบบ ในเวลาต่อมาทั้งฮาร์ดี้และรามานุจันได้เป็นเพื่อนร่วมงานกัน และสร้างผลงานวิชาการร่วมกันหลายชิ้น พอล แอร์ดิช เคยให้สัมภาษณ์ไว้ว่า เคยมีผู้ถามฮาร์ดี้ว่างานที่ยิ่งใหญ่ที่สุดที่เขาทำให้แก่วงการคณิตศาสตร์คืออะไร ฮาร์ดี้ตอบโดยไม่ลังเลว่า คือการค้นพบรามานุจัน เขาพูดถึงการร่วมงานระหว่างกันว่าเป็น "หนึ่งในเหตุการณ์น่าประทับใจในชีวิตของผม"[2][4]
ประวัติและผลงาน
[แก้]ผลงาน
[แก้]ในปี 1911 ฮาร์ดี้และ จอห์น เอเดนซอร์ ลิตเติลวูด เริ่มค้นคว้าวิจัยคณิตศาสตร์ร่วมกันในหัวข้อคณิตวิเคราะห์และทฤษฎีจำนวนเชิงวิเคราะห์ ทั้งคู่เสนอคำตอบบางส่วนสำหรับข้อปัญหาของแวร์ริงโดยใช้พัฒนาวิธีการที่ปัจจุบันเรียกว่าวิธีวงกลมฮาร์ดี้-ลิตเติลวูด นอกจากนี้แล้วฮาร์ดี้และลิตเติลวูดได้พิสูจน์ผลลัพธ์และเสนอข้อความคาดการณ์ในด้านทฤษฎีของจำนวนเฉพาะ ข้อความคาดการณ์ที่เป็นที่รู้จักคือ ข้อความคาดการณ์ข้อแรกและข้อความคาดการณ์ข้อที่สองของฮาร์ดี้-ลิตเติลวูด ความร่วมมือของนักคณิตศาสตร์ทั้งสองได้ชื่อว่าเป็นหนึ่งในการทำงานร่วมกันที่ประสบผลสำเร็จอย่างมากที่สุดในประวัติศาสตร์ของคณิตศาสตร์ ในการบรรยายเมื่อปี 1947 ฮาราลด์ บอห์ร นักคณิตศาสตร์ชาวเดนมาร์ก เล่าถึงเพื่อนร่วมงานคนหนึ่งของเขาที่กล่าวว่า "ปัจจุบันมีนักคณิตศาสตร์ชาวอังกฤษที่ยิ่งใหญ่จริง ๆ เพียงสามคนเท่านั้น คือ ฮาร์ดี้, ลิตเติลวูด, และฮาร์ดี้-ลิตเติลวูด"[5]: xxvii
ฮาร์ดี้ยังเป็นที่รู้จักจากหลักการของฮาร์ดี-ไวน์แบร์กซึ่งเป็นหลักการพื้นฐานในพันธุศาสตร์ประชากร เขาตั้งหลักการดังกล่าวขึ้นมาในปี 1908 โดยค้นพบหลักการนี้ด้วยตัวของตัวเองแยกจากวิลเฮ็ล์ม ไวน์แบร์ก จุดเริ่มต้นมาจากฮาร์ดี้เล่นคริกเกตกับเรจินัลด์ พูนเน็ตต์ ซึ่งเป็นนักพันธุศาสตร์ พูนเน็ตต์ตั้งปัญหาข้อนี้ให้ฮาร์ดี้ในรูปคณิตศาสตร์แท้ ๆ เท่านั้น[6]: 9 เป็นไปได้ว่า ฮาร์ดี้ผู้ไม่มีความสนใจในวิชาพันธุศาสตร์และกล่าวถึงคณิตศาสตร์ในหลักการนี้ว่า "ง่ายมาก" อาจไม่ตระหนักถึงความสำคัญในอนาคตของผลลัพธ์ที่เขาคิดขึ้นนี้[7]: 117
เอกสารวิจัยของฮาร์ดี้ร่วมได้ทั้งหมด 7 เล่มได้รับการตีพิมพ์โดยสำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด[8]
บรรณานุกรม
[แก้]- Hardy, G. H. (1940). A Mathematician's Apology. Cambridge: University Press. ISBN 978-0521427067 (2004 reissue)..
{{cite book}}
: ตรวจสอบค่า|isbn=
: ตัวอักษรไม่ถูกต้อง (help) - Hardy, G. H. (1940) Ramanujan, Cambridge University Press: London (1940). Ams Chelsea Pub. (November 25, 1999) ISBN 0-8218-2023-0.
- Hardy, G. H.; Wright, E. M. (2008) [1938]. Heath-Brown, D. R.; Silverman, J. H. (บ.ก.). An Introduction to the Theory of Numbers (6th ed.). Oxford: Oxford University Press. ISBN 978-0199219858. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-09-22. สืบค้นเมื่อ 2011-05-17.
- Hardy, G. H. (1952) [1908]. A Course of Pure Mathematics (10th ed.). Cambridge: University Press. ISBN 978-0521720557 (2008 reissue).
{{cite book}}
: ตรวจสอบค่า|isbn=
: ตัวอักษรไม่ถูกต้อง (help) - Hardy, G. H. (1949). Divergent Series. Oxford: Clarendon Press. xvi+396. ISBN 978-0821826492. MR0030620.
- Hardy, G. H. (1966). Collected papers of G.H. Hardy; including joint papers with J.E. Littlewood and others. Oxford: Clarendon Press. ISBN 0198533403. OCLC 823424.
{{cite book}}
: ไม่รู้จักพารามิเตอร์|coauthors=
ถูกละเว้น แนะนำ (|author=
) (help) - Hardy, G. H.; Littlewood, J. E.; Pólya, G. (1952) [1934]. Inequalities (2nd ed.). Cambridge: Cambridge University Press. ISBN 978-0521358804.
อ้างอิง
[แก้]- ↑ GRO Register of Deaths: DEC 1947 4a 204 Cambridge – Godfrey H. Hardy, aged 70
- ↑ 2.0 2.1 THE MAN WHO KNEW INFINITY: A Life of the Genius Ramanujan เก็บถาวร 2017-12-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Retrieved December 2, 2010.
- ↑ "20TH CENTURY MATHEMATICS – HARDY AND RAMANUJAN". สืบค้นเมื่อ 2010-12-02.
- ↑ Freudenberger, Nell (16 September 2007). "Lust for Numbers". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 2010-12-02.
- ↑ "Nowadays, there are only three really great English mathematicians: Hardy, Littlewood, and Hardy–Littlewood." จาก Bohr, Harald (1952). "Looking Backward". Collected Mathematical Works. Vol. 1. Copenhagen: Dansk Matematisk Forening. xiii–xxxiv. OCLC 3172542.
- ↑ Punnett, R. C. (1950). "Early Days of Genetics". Heredity. 4 (1): 1–10. doi:10.1038/hdy.1950.1.
- ↑ Cain, A. J. (2019). "Legacy of the Apology". An Annotated Mathematician's Apology. โดย Hardy, G. H.
- ↑ Hardy, Godfrey Harold (1979). Collected Papers of G. H. Hardy – Volume 7. Oxford: Oxford University Press. ISBN 0-19-853347-0.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Quotations of G. H. Hardy
- Hardy's work on Number Theory
- I. Grattan-Guinness, "The interest of G.H. Hardy, F.R.S. in the philosophy and the history of mathematics เก็บถาวร 2006-08-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน