ข้ามไปเนื้อหา

โรงเรียนสวายวิทยาคาร

พิกัด: 13°44′34″N 100°29′55″E / 13.742824°N 100.498579°E / 13.742824; 100.498579
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โรงเรียนสวายวิทยาคาร
Sawaiwittayakarn School
ที่ตั้ง
พิกัด13°44′34″N 100°29′55″E / 13.742824°N 100.498579°E / 13.742824; 100.498579
ข้อมูล
ชื่ออื่นส.ว. (S.W.)
ประเภทโรงเรียนสังกัด สพฐ.
โรงเรียนประเภทสหศึกษา
โรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดกลาง
คำขวัญซื่อสัตย์ เสียสละ สามัคคี มีวินัย
สถาปนา1 มิถุนายน พ.ศ. 2519 (48 ปี)
หน่วยงานกำกับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
รหัส1032650759
ผู้อำนวยการนางสาวทองใบ ตลับทอง
ครู/อาจารย์48 คน
ระดับปีที่จัดการศึกษามัธยมศึกษาตอนต้น-มัธยมศึกษาตอนปลาย
ห้องเรียน20 ห้อง
วิทยาเขตสุรวิทยาคาร
สีม่วง-เหลือง
เพลง"มาร์ชสวายวิทยาคาร"
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา สุรินทร์
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
กระทรวงศึกษาธิการ
เว็บไซต์www.sawaiwit.ac.th

โรงเรียนสวายวิทยาคาร (อังกฤษ: Sawaiwittayakarn School) (อักษรย่อ: ส.ว.) เป็นโรงเรียนมัธยมสหศึกษาขนาดกลาง สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ตั้งอยู่ที่ตำบลสวาย อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ ก่อตั้งโดย ชาวบ้านในชุมชน นำโดยพระครูปัญญาวุฒิสุนทร มีเนื้อที่ 75 ไร่ 2 งาน 23 ตารางวา ประกอบด้วยอาคารเรียน 6 หลัง มีจำนวนห้องเรียนทั้งหมด 88 ห้อง

ประวัติ

[แก้]

โรงเรียนสวายวิทยาคาร ได้รับอนุมัติให้เปิดโรงเรียนเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2519 ซึ่งขณะนั้น นายบุญมี ส่งเสริม ดำรงตำแหน่งศึกษาธิการอำเภอเมืองสุรินทร์ โดยได้รับอนุญาตให้ใช้ อาคารพระปริยัติธรรมพร้อมสถานที่จากพระครูปัญญาวุฒิสุนทร (คุน ปญฺญาวุฑฺโฒ), ป.ธ.6 (พระมหาคุน) รองเจ้าคณะอำเภอเมืองสุรินทร์ และเจ้าอาวาสวัดแสงบูรพา ในขณะนั้น ปัจจุบันดำรงตำแหน่งสุดท้ายเป็นอดีตที่ปรึกษาเจ้าคณะอำเภอเมืองสุรินทร์) และท่านได้ให้ความอุปการะสนับสนุนตลอดมา อาทิจัดตั้งกองทุนนักเรียนยากจน มัธยมศึกษาวัดแสงบูรพาและให้ทุนการศึกษามาโดยตลอดและได้รับการสนับสนุนด้านอื่น ๆ จาก ประธานสภาตำบลสวายโดยตลอด โรงเรียนสวายวิทยาคารจัดการศึกษาแบบสหศึกษา มีนายอภิชาติ อรรถเวทิน ดำรงตำแหน่งครูใหญ่คนแรก

  • ในปี พ.ศ. 2526 โรงเรียนได้รับงบประมาณพัฒนาการเรียนการสอน อาคารสถานที่ บุคลากร บ้านพักครู
  • ในปี พ.ศ. 2528 เข้าเป็นโรงเรียนในโครงการมัธยมศึกษาเพื่อพัฒนาชนบท (มพช.2) รุ่น 3 ระยะการดำเนินการปี 2528 – 2530 จึงทำให้โรงเรียนมีความพร้อมในการเรียนการสอน ทั้งด้านบุคลากร วัสดุอุปกรณ์ ตลอดจนการบริการชุมชน เพื่อสนองนโยบายของโครงการ พมช.
  • ในปี พ.ศ. 2530 กรมสามัญศึกษาได้จัดให้โรงเรียนเข้าโครงการโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา ในเขตชนบทยากจน เพื่อสนับสนุนให้นักเรียนที่จบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 มีโอกาสเข้าเรียนต่อในระดับมัธยมศึกษาให้มากยิ่งขึ้น โดยยกเว้นเงินบำรุงการศึกษา จัดหนังสือให้ยืมเรียน บริหารหลักสูตรทั้งปกติและกึ่งระบบ เพื่อให้นักเรียนที่ต้องช่วยผู้ปกครองทำงาน ได้มีโอกาสศึกษาในระดับที่สูงขึ้นตามนโยบายความเสมอภาคทางการศึกษา ของกระทรวงศึกษาธิการ
  • ปีการศึกษา 2533 โรงเรียนได้เปิดสอนในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย เพื่อเปิดโอกาสให้นักเรียนในพื้นที่บริการ ได้เรียนในชั้นที่สูงขึ้นอีกระดับหนึ่ง

สัญลักษณ์ประจำโรงเรียน

[แก้]

คติพจน์

[แก้]
  • "สุวิชาโน ภวํ โหติ" แปลว่า "ผู้รู้ดี เป็นผู้เจริญ"

อัตลักษณ์

[แก้]
  • "งามน้ำใจ ยิ้มง่าย ไหว้สวย"

เอกลักษณ์

[แก้]
  • "สะอาด ร่มรื่น สดชื่น สามัคคี"

หลักสูตรที่เปิดสอน

[แก้]

มัธยมศึกษาตอนต้น

[แก้]
  • ห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษและเทคโนโลยี Science - Mathematics - English - Technology (SMET)
  • ห้องเรียนปกติ (General Program)

มัธยมศึกษาตอนปลาย

[แก้]
  • แผนการเรียนวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ (SCIENCE-MATHEMATICS)
  • แผนการเรียนเตรียมมนุษยศาสตร์-สังคมศาสตร์ (PRE HUMANITIES-SOCIAL SCIENCES)
  • แผนการเรียนการงานอาชีพ (OCCUPATIONS)
  • แผนการเรียนศิลปะ-ดนตรี-กีฬา (ARTS-MUSIC-SPORTS)

รางวัล

[แก้]

อาคารในโรงเรียน

[แก้]
  • อาคารมิตรไมตรี เป็นอาคารสำนักงานของโรงเรียน อาทิเช่น ฝ่ายบริหาร ฝ่ายวิชาการ ฝ่ายธุรการ และทางด้านหมวดสังคมศึกษา และห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์
  • อาคารศรีสวาย เป็นอาคารที่มีห้องการเรียนการสอนจำนวนมาก โดยมี หมวดคณิตศาสตร์ หมวดภาษาต่างประเทศ หมวดสุขศึกษาและพลศึกษา และ หมวดภาษาไทย งานแนะแนว งานพยาบาล และห้องจริยธรรม ห้องปฏิบัติการทางภาษาต่างประเทศ
  • อาคารพรายนภา (อาคารเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา) เป็นอาคารที่มีห้องเรียนและห้องปฏิบัติการมากมาย เช่น ห้องปฏิบัติการทางฟิสิกส์ ห้องปฏิบัติการทางเคมี ห้องปฏิบัติการทางชีววิทยา ซึ่งล้วนเกี่ยวข้องกับหมวดวิทยาศาสตร์ และด้านล่างยังมีห้องโสตทัศนศึกษา และห้องสมุดเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
  • อาคารหัตถาเลิศ เป็นอาคารเรียนและปฏิบัติการทางด้านดนตรี ศิลปะศึกษา นาฏศิลป์ และอุตสาหกรรม
  • อาคารเพริศนารี เป็นอาคารเรียนและปฏิบัติการทางด้านคหกรรมศาสตร์
  • อาคารวิถีประภาส เป็นอาคารหอประชุมโรงเรียน มีชื่อว่า หอประชุมวิถีประภาส
  • อาคารอภิชาตมงคล เป็นอาคารโรงอาหารของโรงเรียน
  • อาคารสำนักงานสภานักเรียน เป็นอาคารที่ทำงานของงานกิจการนักเรียนและงานสภานักเรียน
  • อาคารสุขศึกษาและพลศึกษา เป็นอาคารเรียนสุขศึกษาและพลศึกษา
  • อาคารโคกสวายทม สมเกียรติ เมธี ทวีทรัพย์
  • อาตาร 40 ปี สวายวิทยาคาร สร้างด้วยเงินทอดผ้าป่าสามัคคี จากคณะครูผู้ปกครอง ศิษย์เก่าและผู้มีจิตศรัทธา มูลค่า 3,400,000 (สามล้านสี่แสนบาทถ้วน)

สถานที่ภายในโรงเรียน

[แก้]
  • สวนเฉลิมพระเกียรติ 84 พรรษา อยู่บริเวณหน้าเสาธงของโรงเรียน
  • ลานตาระวี อยู่บริเวณทิศตะวันตกของลานสวายจ๊ะ
  • ลานสวายจ๊ะ อยู่บริเวณด้านหน้าของอาคารมิตรไมตรี
  • ลานตารอด อยู่บริเวณด้านหน้าของอาคารศรีสวาย ติดกับอาคารพรายนภา
  • ลานตะเปียงจรัง อยู่บริเวณทิศใต้ของสวนเฉลิมพระเกียรติ 84 พรรษา
  • ศาลาปราสาทพร อยู่บริเวณทิศตะวันออกของหน้าเสาธง
  • ศาลาชุติมา-พาหุรัส ใจมั่น อยู่ภายในลานสวายจ๊ะทางทิศตะวันตกหน้าอาคารมิตรไมตรี
  • ศาลา สนสี sonsri ผู้อำนวยการทวีศักดิ์ ครูสมานจิตร์ สนสี และครอบครัว มอบให้
  • ศาลเจ้าพ่อโคกสวายทม ศาลอันศักดิ์สิทธิ์ที่ประชาชนในท้องที่นับถือ
  • ศาลตายาย ตั้งอยู่ทางด่านหน้าประตู 2 ของโรงเรียน
  • พระพุทธรูปประจำโรงเรียน อยู่ภายในบริเวณโรงเรียน

นอกจากนั้นยังมีสิ่งศักดิ์สิทธิ์หลาย ๆ ท่านที่บุคคลในโรงเรียนยังให้ความเคารพนับถือ เพราะสถานที่ตั้งโรงเรียนเป็นป่าช้าเก่ามาก่อน

สภาพภูมิศาสตร์

[แก้]

ที่ตั้ง

[แก้]

โรงเรียนสวายวิทยาคาร ตั้งอยู่ที่หมู่ที่ 6 บ้านสวาย ตำบลสวาย อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ อาณาเขตพื้นที่บริการมีดังต่อไปนี้

ลักษณะพื้นที่

[แก้]

เป็นที่ราบสูงปนที่ราบลุ่ม ลาดเอียงไปทางทิศเหนือ ทิศตะวันออกและทิศตะวันตก พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่นา

ทำเนียบผู้บริหารโรงเรียนสวายวิทยาคาร

[แก้]
ที่ รายนามผู้บริหาร ตำแหน่ง ปีที่ดำรงตำแหน่ง
1 นายอภิชาติ อรรถเวทิน ครูใหญ่ พ.ศ. 2519 – 2522
2 นายมงคล พิชนาหะรี อาจารย์ใหญ่ พ.ศ. 2522 - 2528
3 นายพร สายแก้ว อาจารย์ใหญ่ พ.ศ. 2528 -2534
4 นายปราสาท ธนาสูรย์ ผู้อำนวยการ พ.ศ. 2534 -2540
5 นายสมเกียรติ พาณิชย์กิจเจริญ ผู้อำนวยการ พ.ศ. 2540 -2545
6 นายเมธี แตงจันทึก ผู้อำนวยการ พ.ศ. 2545 - 2552
7 นายคำทรัพย์ ลอยทอง ผู้อำนวยการ พ.ศ. 2552 - 2556
8 นายทวีศักดิ์ สนสี ผู้อำนวยการ พ.ศ. 2556 - 2561
9 นางสาวทองใบ ตลับทอง ผู้อำนวยการ พ.ศ. 2561 - ปัจจุบน

อ้างอิง

[แก้]