โรงเรียนวีรวัฒน์โยธิน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

โรงเรียนวีรวัฒน์โยธิน เป็นโรงเรียนในตัวเมืองสุรินทร์แห่งที่ 3 (ไม่นับเป็นโรงเรียนประจำจังหวัดหรือโรงเรียนประจำอำเภอ) เป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ และเป็นโรงเรียนที่มีชื่อเสียงอีกแห่งหนึ่งของจังหวัดสุรินทร์

โรงเรียนวีรวัฒน์โยธิน
จังหวัดสุรินทร์
โรงเรียนวีรวัฒน์โยธิน

Weerawatyothin School
สัญลักษณ์โรงเรียนวีรวัฒน์โยธิน
ที่ตั้ง
1100 หมู่ 20 ชุมชนหนองโตงพัฒนา ถนนคชสาร ตำบลนอกเมือง อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ 32000
ข้อมูล
ชื่ออื่นว.ธ. / WT
ประเภทโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ สหศึกษา
คำขวัญเลิศวิชา พัฒนาวีรวัฒน์ฯ ปฏิบัติดี ทวีเกียรติคุณ
สถาปนา4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2537
ผู้ก่อตั้งคณะกรรมการบริหารโรงเรียนสิรินธร จังหวัดสุรินทร์
หน่วยงานกำกับกระทรวงศึกษาธิการ
รหัส1011320113
ผู้อำนวยการนายเสกสันต์ สัมฤทธิ์ [1]
ระดับปีที่จัดการศึกษาม.1-ม.6
สีเหลือง-ความเป็นผู้มีปัญญา ความสง่า และความรุ่งโรจน์ของพระพุทธศาสนา แดง-พลังกล้าแกร่ง เข้มแข็ง ความสามัคคี และความมุ่งมั่น
เพลงมาร์ชวีรวัฒน์โยธิน
เว็บไซต์http://www.weerawat.ac.th

ที่ตั้ง[แก้]

1100 หมู่ที่ 20 ถนนคชสาร ตำบลนอกเมือง อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ 32000

ประวัติ[แก้]

ปี พ.ศ. 2534 คณะกรรมการบริหารโรงเรียนสิรินธร ได้มีมติมอบให้นายกิตติ สืบนุการณ์ เป็นผู้ดำเนินการจัดหาที่ดินก่อตั้งโรงเรียนมัธยมศึกษาเป็นแห่งที่ 3 ในตัวเมืองสุรินทร์ โดยได้รับการแนะนำและประสานงานของ นายเสนอ มูลศาสตร์ อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ และนางปลั่งศรี มูลศาสตร์ อดีตผู้อำนวยการโรงเรียนสิรินธร ให้ขอความอนุเคราะห์ที่ดินจาก จังหวัดทหารบกสุรินทร์ ซึ่งขณะนั้น พลตรีทวีสิทธิ์ หนูนิมิต เป็นผู้บังคับการจังหวัดทหารบกสุรินทร์ ได้มอบที่ดินที่อยู่ในความดูแลของจังหวัดทหารบกสุรินทร์ จำนวน 37 ไร่ 22 งาน 5 ตารางวา(บริเวณเยื้องศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน จังหวัดสุรินทร์) ให้กับกรมสามัญศึกษาเพื่อตั้งโรงเรียนแบบสหศึกษา ในปีการศึกษา 2535(หนังสือ ศธ.ที่ 0806/33909 ลงวันที่ 3 ธันวาคม 2534) เพื่อเป็นการขอบคุณจังหวัดทหารบกสุรินทร์ ที่มอบที่ดินให้จัดตั้งโรงเรียนครั้งนี้ และเพื่อระลึกถึงเกียรติประวัติวีรกรรมของผู้บังคับบัญชาหน่วยทหารคนแรกของเมืองสุรินทร์ คือ พลตรีหลวงวีรวัฒน์โยธิน สถานศึกษาแห่งนี้จึงได้ใช้นามว่า “โรงเรียนวีรวัฒน์โยธิน”

วันที่ 16 พฤศจิกายน 2535 นางละออ จองอยู่ ผู้อำนวยการโรงเรียนสิรินธรในขณะนั้นได้แต่งตั้งให้ นายกิตติ สืบนุการณ์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายบริการไปดูแลโรงเรียนสิรินธร (สาขา) โดยใช้ชื่อว่า โรงเรียนสิรินธร สาขาวีรวัฒน์โยธิน ใช้อักษรย่อ ว.ธ. ในระยะแรก ได้สร้างอาคารเรียนชั่วคราว 1 ชั้น (ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุรินทร์) ตั้งอยู่สุดซอยศรีจุมพล 2 ตำบลในเมืองและมีการสร้างอาคารสำนักงาน (ปัจจุบันเป็นอาคารสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุรินทร์) ให้การจัดการเรียนการสอน การบริหารโรงเรียนตามโครงสร้างของการบริหาร สถานศึกษา โดยได้รับการสนับสนุนจากส่วนราชการ เอกชน และชุมชน

วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2537 กระทรวงศึกษาธิการ ประกาศตั้งโรงเรียนรัฐบาลหลายแห่ง โดยหนึ่งในโรงเรียนเหล่านั้นมีชื่อ “โรงเรียนวีรวัฒน์โยธิน” (ว.ธ.) เป็นโรงเรียนรัฐบาลอีกแห่งหนึ่งใน จังหวัดสุรินทร์ ได้แต่งตั้งให้ นายกิตติ สืบนุการณ์ เป็นผู้บริหารโรงเรียน และวันที่ 1 มีนาคม 2538 กระทรวงศึกษาธิการประกาศให้โรงเรียนวีรวัฒน์โยธินจัดการเรียนการสอนถึงระดับ มัธยมศึกษาตอนปลาย (ตามคำสั่งที่ ศธ. 133/2538) หลังจากนั้นไม่นาน ในปี 2539 – 2540 ได้ย้ายสถานที่เรียนมาบริเวณฝั่งตะวันออกของโรงเรียน บนพื้นที่ตำบลนอกเมือง โดยสร้าง อาคาร 1 (อาคารเรียนทั่วไป) อาคาร 2 (อาคารฝึกงาน) และโรงอาหาร ต่อมาในปี 2542 ได้สร้างอาคารอีก 1 หลัง คือ อาคาร 3 (อาคารเฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา) ปี 2543 สร้างหอประชุมพลตรีหลวงวีรวัฒน์โยธิน ปี 2555 สร้างอนุสาวรีย์พลตรีหลวงวีรวัฒน์โยธิน ปี 2557 สร้างอาคาร 5

หลักสูตรการเรียนการสอน[แก้]

มัธยมศึกษาตอนต้น[แก้]

  • ห้องเรียนพิเศษเน้นวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และภาษาอังกฤษ (Sciences Mathematics and English Program : SME)
  • ห้องเรียนพิเศษเน้นภาษาอังกฤษ (Intensive English Progran : IEP)
  • ห้องเรียนพิเศษเตรียมทหาร (Pre-Cadet : PC)
  • ห้องเรียนพิเศษกีฬา (กรีฑา) (Sport Program : SP)
  • ห้องเรียนปกติ (General Program : GP)

มัธยมศึกษาตอนปลาย[แก้]

  • ห้องเรียนพิเศษเน้นวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และภาษาอังกฤษ (Sciences Mathematics and English Program : SME)
  • ห้องเรียนพิเศษกีฬา (กรีฑา) (Sport Program : SP)
  • แผนการเรียนวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ (Sciences-Mathematics Program : SM)
  • แผนการเรียนภาษาเพื่อการสื่อสาร (Language for Communication : LC) เลือกเรียน 1 ภาษา คือ ภาษาจีน ภาษาญี่ปุ่น ภาษาเขมร หรือภาษาเวียดนาม
  • แผนการเรียนภาษาอังกฤษ-ดนตรี (English-Music Program : E-Music)
  • แผนการเรียนเตรียมวิศวกรรมศาสตร์ (Pre-Engineering : Pre-EN)
  • หลักสูตรทวิศึกษา (Dual Education : DE) สาขาการโรงแรมและการอาหาร ร่วมกับวิทยาลัยอาชีวศึกษาสุรินทร์

ข้อมูลการจัดตั้ง[แก้]

  • ปี พ.ศ. 2537 ประกาศจัดตั้งโรงเรียน
  • ปีการศึกษา 2538 เริ่มเปิดการจัดการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
  • ปีการศึกษา 2540 จัดการเรียนการสอนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1 ถึงระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6
  • ปีการศึกษา 2545 ได้รับการประกาศเป็นโรงเรียนนำร่องการใช้หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2544 ตามพระราชบัญญัติการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2542

การเข้าร่วมโครงการเพื่อยกระดับและพัฒนาคุณภาพของโรงเรียน[แก้]

ปี 2554 ได้รับคัดเลือกให้เป็นต้นแบบโรงเรียนในฝันโรงเรียนดีประจำอำเภอ รุ่นที่ 3

ปี 2562 ได้รับคัดเลือกให้เป็นโรงเรียนมาตรฐานสากล (World Class Standard School) ในระดับ ScQA

ขนาดและอาณาเขต[แก้]

พื้นที่ 37 ไร่ 5 ตารางวา

ทิศเหนือ ติดเขตชุมชนศรีจุมพล ตำบลในเมือง

ทิศใต้ ติดถนนคชสาร ตำบลนอกเมือง

ทิศตะวันออก ติดถนนเลียบคลองชลประทาน ตำบลนอกเมือง

ทิศตะวันตก ติดต่อสำนักงานขนส่งจังหวัดสุรินทร์ โดยมีสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุรินทร์ อยู่ภายในบริเวณโรงเรียนด้านทิศตะวันตก

อาณาเขตโรงเรียน[แก้]

  • ทิศเหนือ ติดชุมชนศรีจุมพล 1 และศรีจุมพล 2 ตำบลในเมือง
  • ทิศใต้ ติดถนนคชสาร ตำบลนอกเมือง
  • ทิศตะวันออก ติดถนนเลียบคลองชลประทาน
  • ทิศตะวันตก ติดสำนักงานขนส่งจังหวัดสุรินทร์

อาคารและสิ่งก่อสร้าง[แก้]

  1. อาคารเรียนแบบถาวร แบบ 318ล/30 (พิเศษ) 1 หลัง (งปม. ปี 2537 ผูกพันปี 2538)
  2. อาคารเรียนชั่วคราว 4 ห้องเรียน 1 หลัง
  3. อาคารฝึกงาน แบบ 204 / 27 1 หลัง ( งปม. ปี 2539)
  4. อาคารเอนกประสงค์ 2 ชั้น 1 หลัง (งปม. ปี 2539 เหลือจ่าย)
  5. ห้องน้ำ – ห้องส้วมนักเรียนแบบ 6 ที่ 3 หลัง (งปม. ปี 2538)
  6. บ้านพักครูแบบ 205 1 หลัง (งปม. ปี 2538)
  7. ถังเก็บน้ำฝนแบบ ฝ.33 2 ชุด (งปม. ปี 2538)
  8. สนามบาสเก็ตบอลแบบ FIBA 1 สนาม (งปม. ปี 2538)
  9. รั้วคอนกรีตปรับปรุงบริเวณโรงเรียน (งปม. ปี 2538)
  10. เสาธง (งปม. ปี 2538)
  11. ถนนคอนกรีต – ปรับปรุงบริเวณโรงเรียน (งปม. ปี 2540 ผูกพัน 2541 – 2542)
  12. อาคารเรียนแบบถาวร แบบ 424 ล (พิเศษ) 1 หลัง (งปม. ปี 2542)
  13. อาคารหอประชุม แบบ 101/27 พิเศษ 1 หลัง (งปม. ปี 2542)
  14. อนุสาวรีย์พลตรีหลวงวีรวัฒน์โยธิน

ชื่อเรียกอาคารและสิ่งก่อสร้าง[แก้]

  • อาคารเฉลิมพระเกียรติ ๗๒ พรรษา หรืออาคาร ๓ เป็นอาคารขนาดใหญ่ ๔ ชั้น มีจำนวนห้องเรียน ๒๔ ห้องเรียน ชั้น๑ เป็นที่อยู่ของสำนักงานต่างๆ และห้องผู้อำนวยการ ชั้น๒ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ชั้น๓ ภาษาจีน,ศูนย์การเรียนรู้อาเซียน ชั้น๔ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ
  • อาคารเทิดเกียรติวีรวัฒน์ เป็นอาคารขนาดใหญ่ ๔ ชั้น มีจำนวนห้องเรียน ๑๘ ห้องเรียน ชั้น๑ เป็นศูนย์วิชาการ ห้องเกียรติยศ ห้องประชุมสัตตบรรณและศูนย์ปฏิบัติการคหกรรม ชั้น๒ เป็นกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ ห้องปฏิบัติการคณิตศาสตร์ ชั้น๓ ห้องปฏิบัติการเคมีและห้องปฏิบัติการดาราศาสตร์ ชั้น๔ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ห้องปฏิบัติการชีววิทยา ห้องปฏิบัติการฟิสิกส์
  • อาคารห้องสมุดเฉลิมพระเกียรติกาญจนาภิเษก เป็นอาคาร ๒ ชั้น มี๙ ห้องเรียน ชั้น๑ ห้องปฏิบัติการอิเล็กทรอนิกส์ ห้องงานประดิษฐ์ ห้องการเกษตร ชั้น๒ ห้องสมุดเฉลิมพระเกียรติกาญจนาภิเษก ห้องมัลติมีเดีย ห้อง ICT
  • หอประชุมพลตรีหลวงวีรวัฒน์ฯ เป็นอาคารหอประชุม ๒ ชั้น มี ๖ ห้องเรียน ชั้น๑ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ ห้องปฏิบัติการนาฏศิลป์ ห้องปฏิบัติการดนตรี๑ ห้องปฏิบัติการดนตรี๒ ห้องปฏิบัติการศิลปะ๑ ห้องปฏิบัติการศิลปะ๒ ห้องอัดเสียง ชั้น ๒ หอประชุม โรงยิมเนเซียม
  • กลุ่มอาคารห้องสมุด เป็นอาคารห้องเรียน ๑ ชั้น จำนวน ๒ หลัง กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา และห้องเรียนพิเศษสำหรับนักเรียนห้อง LD
  • อาคารเพื่อนใจวัยรุ่น TO BE NUMBER 1 เป็นอาคาร๑ชั้น ๒ ห้องเรียน
  • อนุสาวรีย์พลตรีหลวงวีรวัฒน์โยธิน อยู่ด้านหน้าอาคารหอประชุมพลตรีหลวงวีรวัฒน์โยธิน ผู้บัญชาการทหารบกคนแรกของจังหวัดสุรินทร์ ซึ่งโรงเรียนแห่งนี้ได้ตั้งชื่อว่า "โรงเรียนวีรวัฒน์โยธิน" เพื่อระลึกถึงเกียรติประวัติวีรกรรมของท่าน
  • สนามวู้ดบอล
  • โดมเหลือง - แดง ร่วมใจ บริเวณลานหน้าเสาธง
  • อาคารใหม่ เป็นอาคารขนาด4ชั้น ชั้น1 เป็นลานลูกหลวง ชั้น2 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้น 3กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยและคณิตศาสตร์ ชั้น4 กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์

สถานที่ราชการใกล้เคียง[แก้]

  1. ศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดสุรินทร์
  2. ค่ายวีรวัฒน์โยธิน
  3. โรงพยาบาลค่ายวีรวัฒน์โยธิน
  4. จังหวัดทหารบกสุรินทร์
  5. สำนักงานขนส่งจังหวัดสุรินทร์
  6. มหาวิทยาลัยราชภัฎสุรินทร์
  7. วิทยาลัยสารพัดช่างสุรินทร์
  8. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 33 จังหวัดสุรินทร์
  9. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์


รายนามผู้บริหาร[แก้]

1.นายกิตติ สืบนุการณ์ (พ.ศ.2534-2543)

2.นายวรเชษฐ สุขแสวง (พ.ศ.2543-2551)

3.นายปริญญา พุ่มไหม (พ.ศ.2551-2554)

4.นายณรงค์ พรหมพัชรพล (พ.ศ.2554-2560)

5.ดร.ไพชยนต์ จันทเขต (พ.ศ.2560-2561)

6.นายพิทักษ์ สุปิงคลัด (พ.ศ.2561-2564)

7.นายสมศักดิ์ บุญโต (พ.ศ.2564-2565)

8.นายเสกสันต์ สัมฤทธิ์ (พ.ศ.2565-ปัจจุบัน​)

อ้างอิง[แก้]

  1. "กลุ่มบริหารงานวิชาการ". sites.google.com. สืบค้นเมื่อ 27 April 2023.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]