พระครูปัญญาวุฒิสุนทร (คุน ปญฺญาวุฑฺโฒ)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระครูปัญญาวุฒิสุนทร

(คุน ปญฺญาวุฑฺโฒ,ป.ธ.6)
ชื่ออื่นหลวงพ่อคุน
ส่วนบุคคล
เกิด1 เมษายน 2472 (87 ปี)
มรณภาพ15 ธันวาคม 2559
นิกายมหานิกาย
การศึกษาป.ธ.6,พธ.บ.(การจัดการเชิงพุทธ),รัฐประศาสนศาสตร์มหาบัณฑิต ,พธ.ม. (พระพุทธศาสนา)
ตำแหน่งชั้นสูง
ที่อยู่วัดแสงบูรพา สุรินทร์
อุปสมบท29 พฤษภาคม 2493
พรรษา65
ตำแหน่ง
อดีตที่ปรึกษาเจ้าคณะอำเภอเมืองสุรินทร์
อดีตเจ้าอาวาสวัดแสงบูรพา

พระครูปัญญาวุฒิสุนทร (คุน ปญฺญาวุฑฺโฒ)[1]อดีตที่ปรึกษาเจ้าคณะอำเภอเมืองสุรินทร์ อดีตเจ้าอาวาสวัดแสงบูรพา ตำบลสวาย อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ และเป็นอดีตเจ้าคณะอำเภอเมืองสุรินทร์-กิ่งอำเภอเขวาสินรินทร์ รูปสุดท้าย กิ่งอำเภอเขวาสินรินทร์ได้รับการยกฐานะให้เป็นอำเภอเขวาสินรินทร์ ก็มีการกำหนดเขตปกครองคณะสงฆ์ในระดับอำเภอใหม่ด้วย

ประวัติ[แก้]

พระครูปัญญาวุฒิสุนทร ชื่อเดิม คุน พิชนารี เป็นบุตรของนายปลอด และนางซิม พิชนารี เกิดเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2472 ที่ หมู่ 6 ตำบลสวาย อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์

ภาพพัดยศสมณศักดิ์พระครูสัญญาบัตรเจ้าคณะอำเภอชั้นพิเศษ

บรรพชาอุปสมบท[แก้]

พระครูปัญญาวุฒิสุนทร (คุน ปญฺญาวุฑฺโฒ) บรรพชาเป็นสามเณร และอุปสมบทเป็นพระภิกษุ เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2493 ณ พัทธสีมาวัดแสงบูรพา ตำบลสวาย อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ โดยมี พระประภากรคณาจารย์ (เดื่อ ปภากโร) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระตรอก เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระสิริ อินทญาโน เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า ปญฺญาวุฑโฒ

การศึกษา/วิทยฐานะ[แก้]

แผนกนักธรรม-บาลี
ภาพพัดยศสมณศักดิ์เปรียญธรรม 6 ประโยค
แผนกสามัญ
  • สำเร็จการศึกษาวิชาการบัญชีชั้นสูง

งานปกครอง[แก้]

งานการศึกษา[แก้]

ผลงานทางวิชาการ[แก้]

สมณศักดิ์[แก้]

ในการนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนิน พระราชทานทรงตั้งเปรียญธรรม 9 ประโยค และเปรียญธรรม 6 ประโยคพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในพระบรมมหาราชวัง กรุงเทพมหานคร

ในการนี้พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เสด็จพระราชดำเนินพระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์ ณ พระที่นั่งอมรินทร์วินิจฉัย พระบรมมหาราชวัง กรุงเทพมหานคร

[2]

งานการเผยแผ่-การศึกษาดูงาน[แก้]

พระครูปัญญาวุฒิสุนทร ได้รับนิมนต์ให้เดินทางไปศึกษาและแลกเปลี่ยนความรู้ทางพุทธศาสนากับประเทศต่างๆ ทั้งในเอเซียและยุโรป ดังนี้

  1. ประเทศอินเดีย
  2. ประเทศญี่ปุ่น
  3. ประเทศจีน
  4. ประเทศอียิปต์
  5. ประเทศตุรกี
  6. ประเทศกรีก
  7. ประเทศมาเลเซีย
  8. ประเทศกัมพูชา
  9. ประเทศลาว
  10. ประเทศเวียดนาม
  11. ประเทศสวีเดน
  12. ประเทศนอร์เวย์
  13. ประเทศเดนมาร์ก
  14. ประเทศฟินแลนด์

นอกจากการแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับพุทธศาสนาแล้ว ท่านยังศึกษาดูงานเกี่ยวกับการทำการเกษตรของประเทศต่างๆ และนำความรู้ต่างๆเกี่ยวกับการเกษตรไปทดลองประยุกต์ใช้ในพื้นที่แปลงเกษตรและพื้นที่ได้รับบริจาคและ ซื้อเพิ่มเติม โดยเฉพาะการปลูกป่าชุมชน การทำเกษตรอินทรีย์ เป็นต้น ผลงานดีเด่นตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน

งานสังคมสงเคราะห์[แก้]

พระครูปัญญาวุฒิสุนทร ได้เป็นผู้นำในการนำพาชาวบ้าน ประพฤติปฏิบัติธรรม ให้รู้จักการเสียสละ มุ่งพัฒนาและช่วยเหลือส่วนรวม ดังมีรายละเอียดต่างๆ ดังนี้

  • การสนับสนุนด้านการเกษตร และการส่งเสริมด้านอาชีพ
  • สนับสนุนกิจกรรมการศึกษา วัสดุ อุปกรณ์ ครุภัณฑ์การศึกษา แก่โรงเรียนในชุมชน
  • จัดตั้งกองทุนการศึกษาในโรงเรียนบ้านสวาย โรงเรียนสวายวิทยาคาร ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านสวาย และโรงเรียนบ้านโคกเมืองของตำบลสวาย อำเภอเมืองสุรินทร์
  • ได้ริเริ่มจัดตั้งศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านสวาย และศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ในวัดศิลาราม ตำบลสวาย
  • การส่งเสริมการทำการเกษตรตามโครงการพระราชดำริ การนำพื้นที่ที่ได้รับบริจาคและซื้อเพิ่มเติม เพื่อให้ผู้ยากไร้ ไม่มีที่ทำกิน และสร้างบ้านเอื้ออาทรเพื่อให้เป็นที่พักอาศัย และทำการเกษตรแบบพอเพียง อีกทั้งยังได้สนับสนุนการประกอบอาชีพต่างๆ ได้แก่ การเพาะเห็ด การเลี้ยงไก่ เลี้ยงกบ เลี้ยงปลา เลี้ยงสุกร ฯลฯ นอกจากนี้
  • ได้ริเริ่มพัฒนาระบบการเกษตรแบบผสมผสานโดยทำการเกษตรอินทรีย์
  • การอนุรักษ์ธรรมชาติ ได้แก่ การปลูกป่าชุมชนประจำตำบล โดยนำพื้นที่จากการบริจาคและการซื้อเพิ่มเติมเพื่อปลูกต้นไม้ นานาชนิด เพื่ออนุรักษ์ไว้ให้ชนรุ่นหลัง และเป็นสมบัติของชาติสืบต่อไป ซึ่งเกิดจากแนวคิดที่ ได้ไปศึกษาดูงานจากประเทศต่างๆ
  • ส่งเสริมอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมของท้องถิ่น มีการถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับดนตรีไทย จากผู้สูงอายุสู่นักเรียนในโรงเรียน เพื่อให้เห็นความคุณค่าของภูมิปัญญาของบรรพบุรุษ การส่งเสริมอนุรักษ์ประเพณีต่างๆ ของท้องถิ่น
  • ได้ริเริ่มการก่อตั้งพิพิธภัณฑ์บ้านสวายร่วมกับประชาชนในชุมชน เพื่อให้เป็นสมบัติของชุมชนต่อไป

ทั้งนี้ยังได้สนับสนุน กิจกรรมต่างๆ ได้แก่ กิจกรรมผู้สูงอายุชุมชน กิจกรรมผู้พิการ มอบทุนการศึกษาสำหรับผู้ด้อยโอกาสในชุมชน กิจกรรมเกษตรชุมชนพึ่งตนเอง การส่งเสริมการทำห้องสมุดตามสถานที่ต่างๆ และการส่งเสริมการเรียนหนังสือของผู้ด้อยโอกาส พระภิกษุ สามเณร ได้ริเริ่มการจัดตั้งมูลนิธิต่าง ๆ เพื่อช่วยเหลือชุมชน ได้แก่

  1. มูลนิธิแสงบูรพา สถานที่ติดต่อ วัดแสงบูรพา ตำบลสวาย อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์
  2. มูลนิธิปัญญาวุฒิสุนทร สถานที่ติดต่อ 266 หมู่ที่ 6 อาคารพิพิธภัณฑ์บ้านสวาย อ.เมืองสุรินทร์
  3. มูลนิธิตาตอมจอมสวาย สถานที่ติดต่อ วัดตาตอมจอมสวาย อำเภอเมืองสุรินทร์

ถึงแก่มรณภาพ[แก้]

พระครูปัญญาวุฒิสุนทร ท่านได้มรณภาพลงด้วยอาการอันสงบด้วยโรคชรา ณ โรงพยาบาลสุรินทร์ วันที่15 เดือนธันวาคม พ.ศ. 2559 เวลา 11.59 น. [3]


ก่อนหน้า พระครูปัญญาวุฒิสุนทร (คุน ปญฺญาวุฑฺโฒ) ถัดไป
เริ่มตำแหน่ง
เจ้าอาวาสวัดแสงบูรพา

(2517-2559)
พระครูบูรพากิจจาทร


พระครูบรรณสารโกวิท (แป สุปญฺโญ) เจ้าคณะอำเภอเมืองสุรินทร์-กิ่งอำเภอเขวาสินรินทร์
(2544-2550)
พระครูปัญญาวุฒิสุนทร (คุน ปญฺญาวุฑฺโฒ)


พระครูปัญญาวุฒิสุนทร (คุน ปญฺญาวุฑฺโฒ) เจ้าคณะอำเภอเมืองสุรินทร์
(2550-2554)
พระครูวิมลขันติธรรม (อภิสิทธิ์ ขนฺติสาโร)


พระครูบรรณสารโกวิท (แป สุปญฺโญ) ที่ปรึกษาเจ้าคณะอำเภอเมืองสุรินทร์
(2554-2559)
พระครูอนุวัตปัญญาภรณ์ (หาด ปญฺญาวโร)

อ้างอิง[แก้]