ข้ามไปเนื้อหา

ตำบลแม่ปะ (อำเภอแม่สอด)

พิกัด: 16°44′19.6″N 98°34′05.9″E / 16.738778°N 98.568306°E / 16.738778; 98.568306
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ตำบลแม่ปะ
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันTambon Mae Pa
ตำบลแม่ปะตั้งอยู่ในจังหวัดตาก
ตำบลแม่ปะ
ตำบลแม่ปะ
พิกัด: 16°44′19.6″N 98°34′05.9″E / 16.738778°N 98.568306°E / 16.738778; 98.568306
ประเทศไทย
จังหวัดตาก
อำเภอแม่สอด
พื้นที่
 • ทั้งหมด198.325 ตร.กม. (76.574 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2561)
 • ทั้งหมด16,501 คน
 • ความหนาแน่น83.20 คน/ตร.กม. (215.5 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 63110
รหัสภูมิศาสตร์630607
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย
องค์การบริหารส่วนตำบลแม่ปะ
ประเทศ ไทย
จังหวัดตาก
อำเภอแม่สอด
การปกครอง
 • นายกมานพ ยะเขียว
รหัส อปท.06630609
ที่อยู่ที่ทำการเลขที่ 686 หมู่ที่ 10 (บ้านร่วมใจพัฒนา) ตำบลแม่ปะ อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก 63110
โทรศัพท์0 5553 3126
โทรสาร0 5553 3126
เว็บไซต์www.maepalocal.go.th
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

ตำบลแม่ปะ เป็นตำบลหนึ่งตั้งอยู่ในอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลัก ตำบลแม่ปะ มีเรื่องเล่าว่าได้มีช้างของราษฎรในตำบลพะวอหาย เจ้าของได้ออกตามหาและมาพบที่สันป่าซาง (สัน = ภูเขา, ซาง = ไม้ไผ่ซาง) จึงเรียกบริเวณนั้นว่า "แม่ปะสันป่าซาง" (ปะ = พบ) เมื่อมีคนเข้ามาตั้งถิ่นฐานจึงเรียกที่นี้ว่า "บ้านแม่ปะสันป่าซาง" เรียกสั้นว่า "บ้านแม่ปะ" ต่อมาได้ยกฐานะเป็นตำบลใช้ชื่อว่า "ตำบลแม่ปะ" อยู่ในความรับผิดชอบของอำเภอแม่สอด

องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ดูแลรับผิดชอบในพื้นที่ตำบลแม่ปะทั้งตำบล คือ องค์การบริหารส่วนตำบลแม่ปะ มีนายกองค์การบริหารส่วนตำบลแม่ปะ เป็นผู้บริหารสูงสุด และมีปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลแม่ปะ เป็นหัวหน้าที่ทำการ

ประวัติ

[แก้]

ประวัติความเป็นมาของตำบลแม่ปะ มีผู้เล่าว่า เมื่อประมาณ 85 ปีล่วงมาแล้ว ได้มีช้างของผู้ใดไม่ปรากฏได้หายไปบริเวณพื้นที่ของตำบลพะวอในปัจจุบัน เจ้าของได้ติดตามหาช้างเชือกที่หายนั้น ไปหลายแห่งแต่ก็ไม่พบ และได้ออกติดตามเรื่อยมา ต่อมาได้พบช้างเชือกนั้นที่ "บ้านสันป่าซาง" ชาวบ้านจึงเรียกว่า "บ้านแม่ปะบ้านสันป่าซาง" คำว่า "พบ" ชาวบ้านเรียกว่า "ปะ" (คำว่า "สัน" หมายถึง หมู่บ้านที่ตั้งอยู่ที่ดอน คำว่า "ซาง" หมายถึง ไม้ไผ่ซาง) ต่อมาทางราชการได้ตั้งหมู่บ้านเป็นทางการ คำว่า "สันป่าซาง" หายไป และเกิดหมู่บ้านอีกหลายหมู่บ้านบริเวณรอบ ๆ จึงตั้งเป็น "ตำบลแม่ปะ" มาจนถึงทุกวันนี้

ปี พ.ศ. 2493 มีพระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนแปลงเขตเทศบาลตำบลแม่สอด จังหวัดตาก พ.ศ. 2493 เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2493 ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี (หน้า 669-674 ตอนที่ 35 เล่ม 67 ราชกิจจานุเบกษา 27 มิถุนายน 2493) โดยที่เป็นการสมควรเปลี่ยนแปลงเขตเทศบาลตำบลแม่สอด จังหวัดตาก เสียใหม่ตามความจำเป็นแห่งการบริหารงานของเทศบาล จึงมีประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งตำบลแม่ปะและตำบลท่าสายลวดในท้องที่อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2493 ลงนามโดย รามราชภักดี ปลัดกระทรวง ลงนามแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย (หน้า 6299-6302 ตอนที่ 67 เล่ม 67 ราชกิจจานุเบกษา 12 ธันวาคม 2493) เนื่องจากได้มีพระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนแปลงเขตเทศบาลตำบลแม่สอด จังหวัดตาก พ.ศ. 2493 เพื่อลดเขตเทศบาลตำบลแม่สอดให้เล็กลงตามความจำเป็นแห่งการบริหารงานของเทศบาล จึงเป็นเหตุให้กระทบกระเทือนถึงเขตการปกครองส่วนภูมิภาค เพราะส่วนที่เคยอยู่ในเขตเทศบาลมาแต่เดิม ได้เปลี่ยนสภาพมาเป็นอยู่นอกเขตเทศบาล ฉะนั้น เพื่อให้การดำเนินการปกครองได้เป็นไปตามนัยแห่งพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พุทธศักราช 2457 ข้าหลวงประจำจังหวัดตาก อาศัยความในพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พุทธศักราช 2457 มาตรา 6, 29 และพระราชบัญญัติว่าด้วยระเบียบราชการบริหารแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2476 มาตรา 20 จึงได้ดำเนินการปรับปรุงเขตการปกครองในท้องที่อำเภอแม่สอดเสียใหม่ โดยรวมเขตหมู่บ้านต่าง ๆ ที่ได้ถูกเปลี่ยนสภาพมาอยู่นอกเขตเทศบาลนี้ จัดตั้งเป็นตำบลขึ้นใหม่ อีก 2 ตำบล ขนานนามตำบลว่า "ตำบลแม่ปะ" และ "ตำบลท่าสายลวด" ให้ขึ้นอยู่ในความปกครองของอำเภอแม่สอด ซึ่งแต่ละตำบลมีเขตดังนี้ คือ

1. ตำบลแม่ปะ

แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 6 หมู่บ้าน คือ

  • หมู่ที่ 1 บ้านแม่ปะเก่า
  • หมู่ที่ 2 บ้านแม่ปะสันป่าซาง
  • หมู่ที่ 3 บ้านแม่ปะคำมา
  • หมู่ที่ 4 บ้านห้วยกะโหลก
  • หมู่ที่ 5 บ้านปากห้วยแม่สอด
  • หมู่ที่ 6 บ้านห้วยหินฝน

2. ตำบลท่าสายลวด

  • ทิศเหนือ จดเขตตำบลแม่ปะ อำเภอแม่สอด
  • ทิศใต้ จดเขตตำบลแม่ตาว อำเภอแม่สอด
  • ทิศตะวันออก จดเขตเทศบาลตำบลแม่สอด
  • ทิศตะวันตก จดแม่น้ำเมย เขตประเทศพะม่า

แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 6 หมู่บ้าน คือ

  • หมู่ที่ 1 บ้านแม่ตาว
  • หมู่ที่ 2 บ้านแม่ตาวท่าสายลวด
  • หมู่ที่ 3 บ้านท่าหม่องอาจ
  • หมู่ที่ 4 บ้านวังตะเคียน
  • หมู่ที่ 5 บ้านปากห้วยแม่สอด
  • หมู่ที่ 6 บ้านหนองกิ่งฟ้า

และโอนบ้านหัวฝาย ซึ่งถูกตัดออกจากเขตเทศบาลตำบลแม่สอด ไปขึ้นกับหมู่ที่ 4 ตำบลแม่ตาว

กระทรวงมหาดไทยอนุมัติให้ตั้งตำบลและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลดังกล่าวข้างต้นได้ ตั้งแต่วันที่ 27 พฤศจิกายน 2493 เป็นต้นไป

ปี พ.ศ. 2516 มีประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจัดตั้งสภาตำบลตามประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 326 ลงวันที่ 13 ธันวาคม 2515 เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2516 ลงนามโดย ถ. สุนทรศารทูล รัฐมนตรีช่วยว่าการ ฯ รักษาราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย (ฉบับพิเศษ หน้า 17 เล่ม 90 ตอนที่ 108 ราชกิจจานุเบกษา 24 สิงหาคม 2516) จึงได้จัดตั้งตำบลแม่ปะเป็นสภาตำบลแม่ปะ ตามประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 326 ลงวันที่ 13 ธันวาคม 2515 เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2516

ปี พ.ศ. 2539 สภาตำบลแม่ปะ อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก เป็นองค์การบริหารส่วนตำบลแม่ปะ (ลำดับที่ 429) ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบล เมื่อวันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2539 ลงนามโดย นายบรรหาร ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย (หน้า 48 เล่ม 113 ตอนที่ 9 ง ราชกิจจานุเบกษา 30 มกราคม 2539) มีผลให้เป็นองค์การบริหารส่วนตำบลแม่ปะตั้งแต่วันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2539

พื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลแม่ปะ มีพื้นที่ 198.325 ตารางกิโลเมตร มีจำนวนหมู่บ้านในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล 11 หมู่บ้าน

ภูมิศาสตร์

[แก้]

ตำบลแม่ปะตั้งอยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอแม่สอดประมาณ 3 กิโลเมตร มีพื้นที่ทั้งหมด 198.325 ตารางกิโลเมตร (123,953 ไร่) มีลักษณะภูมิประเทศเป็นที่ราบประมาณ ร้อยละ 75 ของพื้นที่ทั้งตำบล นอกนั้นเป็นพื้นที่สูง มีอาณาเขตติดต่อกับตำบลข้างเคียง ดังนี้

หมู่บ้าน

[แก้]

ตำบลแม่ปะแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 12 หมู่บ้าน ดังนี้

  • หมู่ที่ 1 บ้านแม่ปะเหนือ
  • หมู่ที่ 2 บ้านแม่ปะกลาง
  • หมู่ที่ 3 บ้านแม่ปะใต้
  • หมู่ที่ 4 บ้านห้วยกะโหลก
  • หมู่ที่ 5 บ้านปากห้วยแม่ปะ
  • หมู่ที่ 6 บ้านห้วยหินฝน
  • หมู่ที่ 7 บ้านหนองบัว
  • หมู่ที่ 8 บ้านแม่ปะบ้านสัน
  • หมู่ที่ 9 บ้านพระธาตุ
  • หมู่ที่ 10 บ้านร่วมใจพัฒนา
  • หมู่ที่ 11 บ้านหนองบัวคำ
  • หมู่ที่ 12 บ้านใหม่ไผ่ล้อม

อ้างอิง

[แก้]
  • สรุปรายงานประจำปีตำบลแม่ปะ 2552
  • แผนพัฒนาสามปีองค์การบริหารส่วนตำบลแม่ปะ, 2552: -
  • รายงานสรุปองค์การบริหารส่วนตำบลแม่ปะ พ.ศ. 2552
  • ราชกิจจานุเบกษา, 2539, หน้า 48

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]