มิสแกรนด์ไทยแลนด์
สัญลักษณ์การประกวด | |
คําขวัญ | นับจากนี้ทุกพื้นที่มีแต่แกรนด์ We are Grand the one and only |
---|---|
ก่อตั้ง | 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2556 |
ผู้ก่อตั้ง | ณวัฒน์ อิสรไกรศีล |
ประเภท | การประกวดความงาม |
สํานักงานใหญ่ | กรุงเทพมหานคร |
ที่ตั้ง | |
สมาชิก | มิสแกรนด์อินเตอร์เนชันแนล มิสทัวริซึมอินเตอร์เนชันแนล เดอะมิสโกลบ มิสออราอินเตอร์เนชันแนล มิสอีโคอินเตอร์เนชันแนล เฟซออฟบิวตีอินเตอร์เนชันแนล มิสเอเชียแปซิฟิกอินเตอร์เนชันแนล มิสไชนิสเวิลด์ |
ภาษาทางการ | ไทย |
บุคลากรหลัก | ณวัฒน์ อิสรไกรศีล (ประธานกองประกวด) อิงฟ้า วราหะ (ผู้จัดการกองประกวด) วรัญชนา ระดมเล็ก (รองผู้จัดการกองประกวด) |
องค์กรแม่ | มิสแกรนด์อินเตอร์เนชันแนล |
องค์กรปกครอง | บริษัท มิสแกรนด์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) |
เว็บไซต์ | missgrandthailand |
มิสแกรนด์ไทยแลนด์ (อังกฤษ: Miss Grand Thailand) เป็นการประกวดนางงามในประเทศไทย ซึ่งจัดขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2556 โดยมีณวัฒน์ อิสรไกรศีล เป็นประธานกองประกวด, อิงฟ้า วราหะ เป็นผู้จัดการกองประกวด และวรัญชนา ระดมเล็ก เป็นรองผู้จัดการกองประกวด เพื่อส่งผู้ชนะเลิศเป็นตัวแทนประเทศไทยเข้าประกวดมิสแกรนด์อินเตอร์เนชันแนล และมีการส่งผู้ได้รับรางวัลรองชนะเลิศและผู้เข้ารอบสุดท้ายต่าง ๆ ไปประกวดยังเวทีนานาชาติอื่น ๆ
ในปี พ.ศ. 2559 กองประกวดมิสแกรนด์ไทยแลนด์ได้มีการเปลี่ยนรูปแบบใหม่ให้เหมือนกับการประกวดนางงามในสหรัฐ, ประเทศฝรั่งเศส และประเทศเวเนซุเอลา โดยการให้ทั้ง 77 จังหวัดจัดการประกวดมิสแกรนด์ขึ้น เพื่อหาตัวแทนของแต่ละจังหวัด โดยให้ใช้ชื่อ "มิสแกรนด์" แล้วตามด้วยจังหวัด เช่น มิสแกรนด์นครนายก มิสแกรนด์นครปฐม มิสแกรนด์นครพนม มิสแกรนด์นครราชสีมา เป็นต้น[1]
ผู้ดำรงตำแหน่งมิสแกรนด์ไทยแลนด์คนปัจจุบันคือมาลิน ชระอนันต์ จาก มิสแกรนด์ภูเก็ต 2024
ประวัติ
[แก้]มิสแกรนด์ไทยแลนด์เป็นเวทีการประกวดความงามระดับประเทศ เพื่อส่งออกตัวแทนประเทศไทยเพื่อไปประกวดเวทีระดับนานาชาติ โดยผู้ดำรงตำแหน่งสูงสุดจะได้ทำการส่งออกไปยังมิสแกรนด์อินเตอร์เนชันแนล ขณะที่รองชนะเลิศหรือผู้เข้าประกวดคนอื่นๆ จะได้ส่งออกในเวทีระดับนานาชาติอื่นๆ อาทิ มิสทัวริซึมอินเตอร์เนชันแนล, เดอะมิสโกลบ, มิสออราอินเตอร์เนชันแนล เป็นต้น
มิสแกรนด์ไทยแลนด์ได้เริ่มการประกวดครั้งแรกในปี พ.ศ. 2556 โดยมีณวัฒน์ อิสรไกรศีล เป็นผู้ก่อตั้งการประกวด และมีผู้ชนะคนแรกคือ ญาดา เทพนม จากจังหวัดประจวบคีรีขันธ์[2] ในปี พ.ศ. 2559 เป็นปีแรกที่กองประกวดมิสแกรนด์ไทยแลนด์ได้นำรูปแบบการประกวดแบบ 77 จังหวัดเข้ามาใช้ในการประกวดโดยได้จัดงานแถลงข่าวอย่างเป็นทางการในวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2559[3] โดยผู้ชนะในการประกวดแบบระบบจังหวัดคนแรกคือ สุภาพร มะลิซ้อน จากมิสแกรนด์สงขลา[4]
ในวันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2563 ภายหลังจากการแถลงข่าวเตรียมจัดการประกวดมิสแกรนด์ไทยแลนด์ 2020 ณ ศูนย์การค้าเอ็มบีเค เซ็นเตอร์ องค์กรได้มีการประกาศยกเลิกสัญญาถ่ายทอดสดมิสแกรนด์ไทยแลนด์ผ่านทางช่อง 7 และต่อมาในวันที่ 19 มิถุนายน ปีเดียวกัน ได้มีการออกมาแถลงว่ามิสแกรนด์ไทยแลนด์จะถ่ายทอดสดที่ช่องวัน 31
ตั้งแต่ พ.ศ. 2565 เป็นต้นไป การประกวดมิสแกรนด์ไทยแลนด์ได้ดำเนินการเผยแพร่กิจกรรมต่าง ๆ ทั้งในรูปแบบการถ่ายทอดสดและการบันทึกสื่อล่วงหน้าแล้วนำมาออกอากาศ ผ่านทางออนไลน์ ประกอบด้วยช่องยูทูบ/ติ๊กต็อก แกรนด์ทีวี และเพจเฟซบุ๊ก มิสแกรนด์ไทยแลนด์ โดยไม่มีการถ่ายทอดสดผ่านสถานีโทรทัศน์อีก
การคัดเลือกตัวแทนและกิจกรรมการประกวด
[แก้]ในการประกวดมิสแกรนด์ไทยแลนด์ นั้น บริษัท มิสแกรนด์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์การประกวดมิสแกรนด์ไทยแลนด์ได้กำหนดให้มีการคัดเลือกผู้เข้าแข่งขันจากทุกจังหวัดทั่วประเทศ โดยมอบอำนาจให้ผู้อำนวยการการประกวดระดับจังหวัด หรือโปรวินเชียลไดเรกเตอร์ (อังกฤษ: Provincial Director; PD) เป็นผู้ดำเนินการจัดการประกวดในพื้นที่นั้นๆ อย่างไรก็ตาม การจัดประกวดเพื่อหาตัวแทนในระดับจังหวัดอาจใช้วิธีการคัดเลือกตัวแทนหลายจังหวัดพร้อมกันในครั้งเดียว หรือแยกเฉพาะจังหวัดนั้นๆ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้อำนวยการกองประกวดระดับจังหวัด
ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2566 กองประกวดมิสแกรนด์ไทยแลนด์ได้ประกาศว่า ผู้ที่ผ่านการประกวดมิสยูนิเวิร์สไทยแลนด์ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2565 และนางสาวไทยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2566 ซึ่งรวมถึงผู้เข้าประกวดมิสยูนิเวิร์สไทยแลนด์และนางสาวไทยในระดับจังหวัด แม้ไม่ได้รับตำแหน่งก็ตาม จะไม่มีสิทธิ์เข้าร่วมประกวดมิสแกรนด์ไทยแลนด์ อนึ่ง ทั้งสองเวทีดังกล่าวอยู่ในความดูแลของ บจก.ทีพีเอ็น โกลบอล[5] ต่อมา ณวัฒน์ อิสรไกรศีล ผู้อำนวยการกองประกวด ได้ยืนยันการประกาศดังกล่าว พร้อมระบุว่ามิสแกรนด์ไทยแลนด์จะไม่รับสตรีที่ผ่านการสมรสและ/หรือมีบุตรแล้ว รวมถึงสตรีข้ามเพศ เข้าร่วมการประกวดอีกด้วย[6]
ทั้งนี้ผู้เข้าประกวดจะต้องมีคุณสมบัติโดยอิงตามหลัก 4 บี (อังกฤษ: 4B) ของกองประกวดซึ่งได้แก่ รูปร่าง (อังกฤษ: Body), ความงาม (อังกฤษ: Beauty), ความฉลาด (อังกฤษ: Brain) และธุรกิจ (อังกฤษ: Business)[7]
การคัดเลือกตัวแทน
[แก้]ตั้งแต่การประกวดมิสแกรนด์ไทยแลนด์ 2020 นั้น[8] ได้กำหนดให้มีการคัดเลือกผู้เข้าแข่งขันจากทุกจังหวัดทั่วประเทศ โดยมอบอำนาจให้ผู้อำนวยการการประกวดระดับจังหวัดเป็นผู้ดำเนินการจัดการประกวดในพื้นที่นั้น ๆ[9] เพื่อหาตัวแทนในระดับจังหวัดอาจใช้วิธีการคัดเลือกตัวแทนหลายจังหวัดพร้อมกันในครั้งเดียว หรือแยกเฉพาะจังหวัดนั้น ๆ
ในการแข่งขันระดับประเทศ ตัวแทนจังหวัดทั้ง 77 คน จะถูกแบ่งออกแบ่งเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มจังหวัดภาคเหนือ 17 คน, ภาคอีสาน 20 คน, ภาคกลาง 22 คน และภาคใต้ 18 คน โดยการคัดเลือกผู้เข้ารอบจะคัดเลือกตามกลุ่มจังหวัด ซึ่งจะมีผู้ผ่านเข้ารอบในรอบ 20 คนสุดท้าย, 10 คนสุดท้าย, และ 5 คนสุดท้าย กลุ่มจังหวัดละ 5, 2 และ 1 คน ตามลำดับ นอกจากนี้ผู้ชนะรางวัลมิสป็อปปูลาร์โหวตจากการโหวตผ่านทางแอปพลิเคชันจะผ่านเข้ารอบ 10 คนสุดท้ายโดยอัตโนมัติ[9][10] ทั้งนี้ในรอบ 10 คนสุดท้าย และรอบ 5 คนสุดท้าย ผู้ที่ได้รับเลือกจากณวัฒน์ อิสรไกรศีล หรือบอสชอยส์จะได้สิทธิ์ผ่านเข้าสู่รอบถัดไปโดยอัตโนมัติ[9][10]
ผู้ดำรงตำแหน่ง
[แก้]ทำเนียบมิสแกรนด์ไทยแลนด์
[แก้]ตารางตำแหน่ง
[แก้]ตารางต่อไปนี้แสดงจำนวนผู้เข้าประกวดที่เป็นตัวแทนของประเทศไทยในการประกวดระดับนานาชาติ (เฉพาะการประกวดประจำปีที่เสร็จสิ้นแล้ว) ภายใต้บริษัท มิสแกรนด์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) โดยมีรายละเอียดเฉพาะแฟรนไชส์ระดับนานาชาติปัจจุบันที่กลุ่มบริษัท มิสแกรนด์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) ถือครอง.
ชื่อการประกวด | เข้าร่วมประกวด | ชนะเลิศ | รองอันดับ 1 |
รองอันดับ 2 |
รองอันดับ 3 |
รองอันดับ 4 |
รองอันดับ 5 |
5 คน สุดท้าย |
10 คน สุดท้าย |
11 คน สุดท้าย |
15 คน สุดท้าย |
16 คน สุดท้าย |
17 คน สุดท้าย |
20 คน สุดท้าย |
21 คน สุดท้าย |
จำนวนตำแหน่ง ทั้งหมด |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
มิสแกรนด์อินเตอร์เนชันแนล | 12 | — | 2022 | 2016 • 2019 | — | 2015 | 2023 | — | 2014 • 2017 • 2020 | — | — | — | — | 2013 • 2018 • 2024 | — | 11 |
เดอะมิสโกลบ | 7 | — | 2024 | — | 2022 | — | — | — | 2016 | — | 2017 • 2023 | — | — | — | — | 5 |
มิสอีโคอินเตอร์เนชันแนล | 3 | — | — | — | — | — | — | — | 2021 | — | — | — | — | 2017 | 2024 | 3 |
เฟซออฟบิวตีอินเตอร์เนชันแนล | 3 | 2019 | 2023 | — | — | 2024 | — | — | — | — | — | — | — | — | — | 3 |
มิสออราอินเตอร์เนชันแนล | 2 | 2023 | — | — | — | — | — | — | — | 2024 | — | — | — | — | — | 2 |
มิสเอเชียแปซิฟิกอินเตอร์เนชันแนล | 1 | — | — | — | — | — | — | — | 2024 | — | — | — | — | — | — | 1 |
มิสทัวริซึมอินเตอร์เนชันแนล | 9 | 2022 • 2023 | 2014 • 2020 | — | — | — | 2017 • 2019 | — | — | — | — | — | — | — | — | 6 |
มิสทัวริซึมควีนออฟเดอะเยียร์อินเตอร์เนชันแนล | 3 | — | — | — | — | — | — | — | — | — | — | — | — | — | — | 0 |
มิสทัวริซึมเมโทรโพลิตันอินเตอร์เนชันแนล | 0 | 2016 | — | — | — | — | — | — | — | — | — | — | — | — | — | 1 |
มิสเซาท์อีสต์เอเชียทัวริซึมแอมบาสเดอร์ | 2 | 2015 | — | — | — | — | — | — | — | — | — | — | — | — | — | 1 |
มิสไชนิสเวิลด์ | 4 | — | — | — | — | — | — | 2017 • 2023 | 2021 | — | — | — | — | — | — | 3 |
อดีตแฟรนไชส์ | ||||||||||||||||
มิสซูปราเนชันแนล | 4 | — | 2014 | — | — | — | — | — | — | — | — | — | — | 2013 | — | 2 |
มิสเอิร์ธ | 1 | — | — | — | — | — | — | — | — | — | — | 2014 | — | — | — | 1 |
มิสอินเตอร์คอนติเนนตัล | 9 | 2014 | — | 2019 | — | — | — | — | — | — | 2013 • 2016 | — | 2015 | 2018 • 2021 • 2022 | — | 8 |
มิสยูไนเต็ดคอนติเนนท์ | 5 | — | — | — | 2017 • 2019 | — | 2018 | — | 2016 | — | — | — | — | — | — | 4 |
มิสแลนด์สเคปส์อินเตอร์เนชันแนล | 1 | — | — | — | — | — | — | — | — | — | — | — | — | — | — | 0 |
ท็อปโมเดลออฟเดอะเวิลด์ | — | — | — | — | — | 2016 | — | — | 2017 | — | — | — | — | — | — | 2 |
รวม | (66) | (7) | (6) | (3) | (3) | (3) | (4) | (2) | (9) | (1) | (4) | (1) | (1) | (11) | (1) | (53) |
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "ณวัฒน์ ประกาศขายลิขสิทธิ์ "มิสแกรนด์"". Daily News. 2 February 2016. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 February 2016. สืบค้นเมื่อ 22 October 2021.
- ↑ "น้องอ๋อ คว้ามงกุฎมิสแกรนด์ ไทยแลนด์ 2013". Sanook.com. 8 May 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 October 2021. สืบค้นเมื่อ 26 October 2021.
- ↑ "เปิดใจ "แคลร์" มิสแกรนด์อินเตอร์เนชั่นแนลคนล่าสุด นับจากนี้ 6 เดือนจะทำหน้าที่จนวันสุดท้าย (คลิป)". มติชน. 1 April 2016. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 January 2022. สืบค้นเมื่อ 7 April 2023.
- ↑ "สวยครบเครื่อง! ชาวเน็ตชื่นชม "ฝ้าย-สุภาพร มะลิซ้อน" มิสแกรนด์ ไทยแลนด์ 2016". Matichon. 27 June 2016. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 October 2021. สืบค้นเมื่อ 22 October 2021.
- ↑ "กองประกวด Miss Grand Thailand ออกประกาศห้ามผู้ที่เคยเข้าประกวดมิสยูนิเวิร์สปีที่แล้ว และผู้เข้าประกวดนางสาวไทยปี 2566 สมัครชิงมงเวทีนี้เด็ดขาด". THE STANDARD. 2023-01-19.
- ↑ matichon (2023-03-03). "ณวัฒน์ เคลียร์สตอรี่สีส้ม ยืนยันไม่รับนางงามจาก 2 เวทีเข้าประกวดมิสแกรนด์". มติชนออนไลน์.
- ↑ "ตัวเต็ง "มิสแกรนด์เปรู" ซิว "Miss Grand International 2023" ด้าน "อุ้ม ทวีพร" ตัวแทนจากไทยจอด Top 10". ผู้จัดการออนไลน์. 25 October 2023. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 October 2023. สืบค้นเมื่อ 5 April 2024.
- ↑ ลงทุนศาสตร์ Investerest.co (15 July 2019). "มิสแกรนด์ กำไรดีไหมลงทุนศาสตร์ – Investerest". investerest.co. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 December 2019. สืบค้นเมื่อ 5 September 2020.
- ↑ 9.0 9.1 9.2 สยามรัฐออนไลน์ (1 September 2020). "นับถอยหลังประชันที่สุดแห่งนางงาม "มิสแกรนด์ ไทยแลนด์ 2020 : โควิด19 เอพพิโซด"". Siamrath.co.th. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 September 2020. สืบค้นเมื่อ 1 September 2020.
- ↑ 10.0 10.1 Voice TV (24 June 2019). "เวทีมิสแกรนด์ไทยแลนด์ 2019 ปรับโฉม มงกุฏใหม่ พร้อมเปลี่ยนรูปแบบการตัดสิน และเพิ่มตำแหน่ง โดยปีนี้เก็บคะแนนตั้งแต่วันแรกที่เข้ากองประกวด พร้อมเลือกจัดกิจกรรม เก็บตัว 77 สาวงาม ที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้". Voicetv.con. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 June 2020. สืบค้นเมื่อ 10 September 2020.