มิสเอิร์ธ
![]() | ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
![]() | บทความนี้ได้รับแจ้งให้ปรับปรุงหลายข้อ กรุณาช่วยปรับปรุงบทความ หรืออภิปรายปัญหาที่หน้าอภิปราย
|
![]() โลโก้การประกวดมิสเอิร์ธ | |
ก่อตั้ง | 2544 |
---|---|
ประเภท | การประกวดความงาม |
สํานักงานใหญ่ | มะนิลา |
ที่ตั้ง | |
ภาษาทางการ | อังกฤษ |
ประธานบริหาร | เรมอน มอนซอน |
บุคลากรหลัก | โรรายน์ ซคัต |
เว็บไซต์ | official website |
มิสเอิร์ธ (อังกฤษ: Miss Earth) เป็นการประกวดนางงามระดับนานาชาติเพื่อช่วยในการรณรงค์ความตระหนักต่อสิ่งแวดล้อม[1][2] มิสเอิร์ธเป็นเวทีการประกวดของประเทศฟิลิปปินส์ที่มีชื่อเสียงเรื่องเป็นอย่างมากที่ให้รางวัลชนะเลิศกับประเทศตนเองโดยจัดการประกวดขึ้นครั้งแรกในปี ค.ศ.2001 จนถึงปัจจุบันทางกองประกวดได้ให้มงกุฎกับประเทศตนเองไปแล้วถึง 4 ครั้ง ได้แก่ ปี 2008 2014 2015 และ 2017 มิสเอิร์ธก่อตั้งโดย โรรายน์ ซคัต บริหารและดูแลโดย เรมอน มอนซอน
ในปี 2006 องค์การสิ่งแวดล้อมโลก ได้เข้ามาเป็นหนึ่งในผู้สนับสนุนของการประกวดมิสเอิร์ธ และผู้ชนะในปีนั้นก็จะต้องทำหน้าที่รณรงค์ให้ผู้คนทั่วโลกนั้นตระหนักถึงสภาวะต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นบนโลก
เจ้าภาพในการจัดประกวด[แก้]
การประกวดมิสเอิร์ธนั้น ส่วนใหญ่จะจัดประกวดในประเทศฟิลิปปินส์ บางปีกองประกวดอาจจะพาสาวงามไปเก็บตัวหรือพาไปประกวดที่ประเทศอื่นซึ่งจะไปประกวดที่ไหนนั้นจะขึ้นอยู่กับคำสั่งของกองประกวดในปีนั้น ๆ
รูปแบบการประกวด[แก้]
เวทีการประกวดมิสเอิร์ธในช่วงยุคแรกของการประกวด (ปี 2001 - 2003) กองประกวดนั้นจะคัดเลือกสาวงาม 10 คนสุดท้ายที่ความพร้อมและความสามารถผ่านเข้ารอบ จากนั้นจึงคัดให้เหลือ 8 และ 4 คนสุดท้าย และในยุคปัจจุบัน (ปี 2004 - ปัจจุบัน) ในรอบแรกจะคัดให้เหลือ 16 คน จากนั้นจึงคัดให้เหลือ 8 และ 4 คนสุดท้าย แล้วจึงคัดหาผู้ชนะต่อไป
ในการประกวดมิสเอิร์ธ เมื่อมีการประกาศผลแล้ว จะชื่อประจำตำแหน่งต่าง ๆ เช่นชนะเลิศือมิสเอิร์ท รองชนะเลิศทั้ง 3 คนจะมีชื่อตำแหน่งว่ามิสเอิร์ธแอร์ มิสเอิร์ธวอเตอร์ มิสเอิร์ธไฟเออร์ (มีตำแหน่งที่เท่ากัน)[ต้องการอ้างอิง]
ของรางวัลที่ผู้ชนะจะได้รับ[แก้]
มงกุฎรูปแบบเก่า[แก้]
มงกุฎรูปเก่านั้นมีอยู่ 2 แบบโดยแบบแรกนั้นใช้ในปี 2001 ซึ่งเป็นรูปแบบมงกุฏแบบ ชวารอสกี้ และแบบที่ 2 นั้นเริ่มใช้ตั้งแต่ปี 2002 - 2007 และเป็นการใช้ติดต่อกันเป็นเวลา 8 ปี จึงทำให้ตัวมงกุฏนั้นเกิดการชำรุดเสียหาย โดยการออกแบบตัวมงกุฎนั้นจะมีแนวคิดจากการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมเป็นหลัก และถูกออกแบบโดย มัลติอวอร์ด ซึ่งตัวมงกุฎนั้นจะประกอบไปด้วย เงิน สแนเลท ซึ่งเป็นส่วนประกอบของโครงมงกุฎ แต่ยังคงรูปแบบของชวารอสกี้แบบเดิม และตัวมงกุฎนั้นจะประดับด้วยเพชรพลอย สีแดง และสีฟ้า และมีไข่มุกชวารอสกี้เป็นส่วนประดับเพิ่มเติมอีกด้วย
มงกุฎรูปแบบใหม่[แก้]
มงกุฎรูปแบบใหม่นี้ถูกใช้ขึ้นเมื่อปี 2008 ทำจากโลหะซึ่งเป็นเงิน ทอง และสแทนเลท เป็นส่วนประกอบของโครงมงกุฎ อัญมณีที่ใช้ประดับตัวมงกุฎนั้นได้มาจากการบริจาคจาก 80 ประเทศ และเป็นอัญมณีที่ขึ้นชื่อของแต่ละประเทศนั้น ตัวมงกุฎนั้นแบ่งได้เป็น 3 ส่วนคือ
- ดอกไม้ ที่อยู่บริเวณตรงกลางของตัวมงกุฎ การออกแบบนั้นได้แรงบรรดาลใจจาก นักกวีชาวสหรัฐอเมริกา ที่ชื่อ ราฟ วอลโด อีเมอซัน
- ตัวเกลียวที่อยู่บริเวณรอบๆตัวดอกไม้ แสดงให้เห็นถึงอำนาจและศักดิ์ศรีของเพศหญิง
- คลื่นที่อยู่บริเวณท้ายเชื่อมกับตัวเกลียวของตัวมงกุฎ แสดงให้เห็นถึงความสุภาพ สามัคคี และการร่วมมือกัน
เครื่องประดับ[แก้]
ส่วนนี้ไม่มีการอ้างอิงจากเอกสารอ้างอิงหรือแหล่งข้อมูล โปรดช่วยพัฒนาส่วนนี้โดยเพิ่มแหล่งข้อมูลน่าเชื่อถือ เนื้อหาที่ไม่มีการอ้างอิงอาจถูกคัดค้านหรือนำออก |
นอกจากมงกุฎที่ผู้ชนะและรองทั้ง 3 คนจะได้รับแล้ว ทั้ง 4 คนยังจะได้ชุดเครื่องประดับเป็นของรางวัลอีกหนึ่งอย่างซึ่งชุดเครื่องประดับพวกนี้ถูกสร้างและออกแบบโดย บริษัท โรโมน่า เฮอร์ ไฟน์ จำกัด[ต้องการอ้างอิง] ซึ่งได้แรงบัลดาลใจมาจากขยะ ราคาของชุดเครื่องประดับของผู้ชนะจะประมาณ 250 ดอลล่าห์สหรัฐฯ ส่วนของรองทั้ง 3 นั้นราคาจะประมาณ 10000 ดอลล่าห์สหรัฐฯ ซึ่งตัวเครื่องประดับนั้นจะออกแบบลวดลายตามตำแหน่งที่ได้รับ
- มิสเอิร์ท จะได้รับสร้อยคอและต่างหูที่มี จี้เป็นรูปดอกไม้และตัวของสายนั้นจะเป็นรูปผีเสื้อมีทั้งสีเหลืองและสีขาว อัญมณีที่ใช้เช่น ทัวร์มาลีน บุษราคัม ไพฑูรย์ เพชร และพลอยสังเคราะห์ น้ำหนักรวม 56 กะรัต เพชร 3.0 กะรัต สร้อยคอยาว 17 นิ้ว และต่างหูยาว 3 นิ้ว
- มิสเอิร์ธแอร์ จะได้รับสร้อยคอและต่างหูที่มี ลักษณะเป็นคลื่นและเกลียวมีสีเหลืองและขาว ทอง 14K ประดับด้วยอัญมณีสีและเพชร อัญมณีที่ใช้เป็นพลอยสีเหลืองและทอง มีน้ำหนักรวม 65 กรัม สร้อยคอยาว 17 นิ้ว และต่างหูยาว 3 นิ้ว
- มิสเอิร์ธวอเตอร์ จะได้รับสร้อยคอและต่างหูที่เป็นรูปคลื่นและมีจี้เป็นรูปปลา ประดับด้วยอัญมณีสีเหลืองและฟ้า ไพรินสีน้ำเงิน น้ำหนักรวม 78 กรัม สร้อยยาว 17 นิ้วและต่างหูยาว 3 นิ้ว
- มิสเอิร์ธไฟเออร์ จะได้รับสร้อยคอและต่างหู เป็นลายประกายไฟจะใช้อัญมณีเป็นเพชรพลอยสีเหลืองและฟ้าและใช้หยกจากประเทศมาเลเซีย ซึ่งน้ำหนักรวมจะประมาณ 87.7 กรัม ซึ่งตัวสร้อยจะยาว 17 นิ้ว และตัวต่างหูยาว 3 นิ้ว
นอกจากนี้ทั้ง 4 คนยังจะได้รับสร้อยคอที่มีสัญลักษณ์ประจำตำแหน่งที่ตัวเองได้ดำรงตำแหน่งอีกด้วย
ผู้ดำรงตำแหน่ง[แก้]
ดูบทความหลักที่ รายนามผู้ครองตำแหน่งมิสเอิร์ธ
ปี | ประเทศ | ผู้ดำรงตำแหน่ง | สถานที่จัดประกวด | ผู้เข้าประกวด |
---|---|---|---|---|
2020
(online) |
![]() |
ลินด์เซย์ คอฟฟีย์ (Lindsey Coffey) | ![]() |
84 |
2019 | ![]() |
เนลิส ปิเมนเตล (Nellys Pimentel) | ![]() |
85 |
2018 | ![]() |
เหงียน เฟือง คั้ญ (Nguyễn Phương Khánh) | 87 | |
2017 | ![]() |
กาเรน อิบัสโก (Karen Ibasco) | 85 | |
2016 | ![]() |
กาเตริน เอสปิน (Katherine Espín) | 83 | |
2015 | ![]() |
อันเจเลีย โอง (Angelia Ong) | ![]() |
86 |
2014 | ![]() |
เจมี เฮร์เรลล์ (Jamie Herrell) | ![]() |
85 |
ทำเนียบมิสเอิร์ธ[แก้]
มิสเอิร์ธ 2018
เหงียน เฟือง คั้ญ
เวียดนามมิสเอิร์ธ 2017
กาเรน อิบัสโก
ฟิลิปปินส์มิสเอิร์ธ 2016
กาเตริน เอสปิน
เอกวาดอร์มิสเอิร์ธ 2015
อันเจเลีย โอง
ฟิลิปปินส์มิสเอิร์ธ 2014
เจมี เฮร์เรลล์
ฟิลิปปินส์มิสเอิร์ธ 2013
อาลิซ เฮนริช
เวเนซุเอลามิสเอิร์ธ 2012
เตเรซา ไฟก์โซวา
เช็กเกียมิสเอิร์ธ 2011
โอลกา อาลาบา
เอกวาดอร์มิสเอิร์ธ 2010
นิโคล ฟาเรีย
อินเดียมิสเอิร์ธ 2009
ลาริสซา รามอส
บราซิลมิสเอิร์ธ 2008
คาร์ลา เฮนรี
ฟิลิปปินส์มิสเอิร์ธ 2007
เจสสิกา ทริสโก
แคนาดามิสเอิร์ธ 2006
ฮิล เฮร์นันเดซ
ชิลีมิสเอิร์ธ 2005
อาเล็กซานดรา บราอุน
เวเนซุเอลามิสเอิร์ธ 2004
ปริสซิลลา เมย์เรลเลส
บราซิลมิสเอิร์ธ 2003
ดาเนีย ปรินซ์
ฮอนดูรัสมิสเอิร์ธ 2002
วินเฟรด ออมเวควี
เคนยามิสเอิร์ธ 2001
แคธารีนา สเวนส์สัน
เดนมาร์ก
องค์กรมิสเอิร์ธ[แก้]
องค์กรมิสเอิร์ธ เป็นองค์การในปัจจุบันที่เป็นเจ้าของและดำเนินการประกวดมิสเอิร์ธ และมิสฟิลิปปินส์เอิร์ธ สำนักงานใหญ่อยู่ที่มะนิลา, ฟิลิปปินส์ โดยของเจ้าองค์การคือ Carousel Productions ประธานกองประกวดคนปัจจุบันคือ Ramon Monzon องค์การขายสิทธิทางโทรทัศน์ให้กับการประกวดในประเทศอื่น ๆ
ผู้ครองตำแหน่งองค์กรมิสเอิร์ธ[แก้]
ด้านล่างนี้เป็นรายนามผู้ครองตำแหน่งทั้งหมดขององค์กรมิสเอิร์ธในช่วงหลายปีที่ผ่านมา
ปี | มิสเอิร์ธ | ประเทศ | มิสฟิลิปปินส์เอิร์ธ | จังหวัด | ||
---|---|---|---|---|---|---|
2020 | ลินด์เซย์ คอฟฟีย์ | ![]() |
Roxie Baeyens | |||
2019 | เนลลีส์ พิเมนเทล | ![]() |
Janelle Tee | ![]() | ||
2018 | เหงียน เฟือง แคง | ![]() |
Silvia Celeste Cortesi | ![]() | ||
2017 | แคเรน อีบัสโก | ![]() |
Karen Ibasco | ![]() | ||
2016 | กาเตริน เอสปิน | ![]() |
Loren Mar Artajos (แทน) | ![]() | ||
Kiara Giel Gregorio (ลาออก) | ![]() | |||||
Imelda Schweighart (ปลด) | ![]() | |||||
2015 | อันเจเลีย อง | ![]() |
Angelia Gabrena Ong | ![]() | ||
2014 | เจมี เฮร์เรลล์ | ![]() |
Jamie Herrell | ![]() | ||
2013 | อาลิซ เอนริช | ![]() |
Angelee Claudette delos Reyes | ![]() | ||
2012 | แตเรซา ไฟก์โซวา | ![]() |
Stephany Dianne Stefanowitz | ![]() | ||
2011 | ออลกา อาลาวา | ![]() |
Athena Mae Imperial | ![]() | ||
2010 | นิโคล ฟาเรีย | ![]() |
Kris Psyche Resus | ![]() | ||
2009 | ลาริสซา รามอส | ![]() |
Sandra Inez Seifert | ![]() | ||
2008 | คาร์ลา เฮนรี | ![]() |
Karla Paula Henry | ![]() | ||
2007 | เจสซิกา ทริสโก | ![]() |
Jeanne Harn | ![]() | ||
2006 | อิล เอร์นันเดซ | ![]() |
Catherine Untalan | ![]() | ||
2005 | อาเลกซานดรา บราอุน | ![]() |
Genebelle Raagas | ![]() | ||
2004 | ปริสซิลลา เมย์เรลลิส | ![]() |
Tamera Marie Szijarto | ![]() | ||
2003 | ดาเนีย ปรินซ์ | ![]() |
Laura Marie Dunlap | ![]() | ||
2002 | เจลา กลาวอวิช (ปลด) | ![]() |
April Ross Perez | ![]() | ||
วินเฟรด ออมเวควี (แทน) | ![]() | |||||
2001 | แคทารีนา ซเวนส์เซิน | ![]() |
Carlene Aguilar | ![]() |
ตัวแทนประเทศไทย[แก้]
ปี | ผู้ดำรงตำแหน่ง | จังหวัด | ตำแหน่งในการประกวด | รางวัลพิเศษ |
---|---|---|---|---|
![]() |
ฏีญาภาร์ เศรษสิริสุวรรณ | กรุงเทพมหานคร | เข้ารอบ 20 คนสุดท้าย | ![]() |
![]() |
![]() ![]() | |||
![]() |
นิรดา เจษฎาปรียกุล | อำนาจเจริญ | ไม่ผ่านเข้ารอบ | ![]() ![]() ![]() |
![]() |
ปวีณสุดา ดรูอิ้น | กรุงเทพมหานคร | เข้ารอบ 8 คนสุดท้าย | ![]() ![]() ![]() มิสไอพีพีซีเอ มิสเอิร์ธฮันนาห์ |
![]() |
อัจฉรี บัวเขียว | เชียงใหม่ | ไม่ผ่านเข้ารอบ | ![]() |
![]() |
ชาวิกา วัตรสังข์ | ภูเก็ต | ไม่ผ่านเข้ารอบ | ![]() ![]() ![]() |
![]() |
ศศิ สินทวี | สงขลา | เข้ารอบ 16 คนสุดท้าย | ![]() ![]() ![]() อีโควีดีโอยอดเยี่ยม |
![]() |
ปุณิกา กุลสุนทรรัตน์ | ประจวบคีรีขันธ์ | รองอันดับ 2 (มิสเอิร์ธวอเตอร์) (ถูกถอดตำแหน่ง) |
![]() ![]() ![]() มิสเอเวอร์บิเลนา มิสกันดังริคกีเรเยส มิสอีบีแอดวานซ์ |
![]() |
วรัทยา ว่องชยาภรณ์ | สงขลา | ไม่ผ่านเข้ารอบ | ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() มิสเอิร์ธแปซิฟิกมอลล์ มิสเอเวอร์บิเลนา มิสพสาล์มสเตรพลาเซนตา มิสมายโฟน |
![]() |
ณิรัฐชา ตังติสานนท์ | กรุงเทพมหานคร | เข้ารอบ 16 คนสุดท้าย | |
![]() |
วรรษพร วัฒนากุล | เชียงราย | รองอันดับ 2 (มิสเอิร์ธวอเตอร์) | ขวัญใจช่างภาพ |
![]() |
รุจินันท์ พันธ์ศรีทุม | อุดรธานี | เข้ารอบ 8 คนสุดท้าย | |
![]() |
ปิยะภรณ์ ดีจริง | นครราชสีมา | เข้ารอบ 16 คนสุดท้าย | |
![]() |
จิราภรณ์ สิงห์เอี่ยม | กรุงเทพมหานคร | เข้ารอบ 8 คนสุดท้าย | ชุดประจำชาติยอดเยี่ยม |
![]() |
ไพลิน รุ่งรัตนสุนทร | กรุงเทพมหานคร | ไม่ผ่านเข้ารอบ | |
![]() |
กนกวรรณ เศรษฐพงษ์วนิช | กรุงเทพมหานคร | ไม่ผ่านเข้ารอบ | |
![]() |
รัชดาวรรณ คำเพ็ง | พิษณุโลก | เข้ารอบ 8 คนสุดท้าย | |
![]() |
อนงค์นาฏ สุทธานุช | กรุงเทพมหานคร | ไม่ผ่านเข้ารอบ | |
![]() |
ลลิตา อภัยวงศ์ | กรุงเทพมหานคร | ไม่ผ่านเข้ารอบ | |
![]() |
วิศนีย์ ขันอาสา | กรุงเทพมหานคร | ไม่ผ่านเข้ารอบ |
ดูเพิ่ม[แก้]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ New York Times, World News (2003-10-30). "Afghanistan: Anti-Pageant Judges". The New York Times Company. สืบค้นเมื่อ 2009-01-03.
- ↑ News, Reuters (2004-10-25). "Miss Earth 2004 beauty pageant". China Daily. สืบค้นเมื่อ 2007-10-23.
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
![]() |
คอมมอนส์ มีภาพและสื่อเกี่ยวกับ: มิสเอิร์ธ |