มหาปัฏฐาน
บทความนี้ต้องการการจัดหน้า จัดหมวดหมู่ ใส่ลิงก์ภายใน หรือเก็บกวาดเนื้อหา ให้มีคุณภาพดีขึ้น คุณสามารถปรับปรุงแก้ไขบทความนี้ได้ และนำป้ายออก พิจารณาใช้ป้ายข้อความอื่นเพื่อชี้ชัดข้อบกพร่อง |
ส่วนหนึ่งของชุดบทความ |
ศาสนาพุทธ |
---|
มหาปัฏฐาน เป็นคัมภีร์ที่ 7 ของพระอภิธรรม 7 คัมภีร์
คัมภีร์มหาปัฏฐาน เป็น 1 ใน 7 คัมภีร์ที่พระพุทธองค์ทรงพิจารณาหลังจากที่ได้ตรัสรู้แล้ว ได้แก่ 1. ธัมมสังคณี 2. วิภังคปกรณ์ 3. ธาตุกถา 4. ปุคคลบัญญัติ 5. กถาวัตถุ 6. ยมกปกรณ์ และ 7. มหาปัฏฐาน
ซึ่งเป็นคัมภีร์ที่พระพุทธองค์ทรงพยากรณ์ไว้ว่า จะสูญสิ้นเป็นคัมภีร์แรก เพราะเป็นคัมภีร์ที่ละเอียดลึกซึ้ง สุขุมคัมภีร์ภาพด้วยปัจจัยแห่งปรมัตถธรรม โดยที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงเรื่องราวความเป็นไปของสภาพธรรมที่เป็นเหตุเป็นผลแก่กัน โดยนัยมากมายทั้งพิสดารและละเอียดสุขุมลึกซึ้งยิ่งนัก
ธรรมในมหาปัฏฐานนี้ ถ้าจะนับรวมกันทั้งหมดก็มีจำนวนถึงหลายโกฏิ ด้วยเหตุนี้ท่านอรรถกถาจารย์จึงเรียกคัมภีร์นี้ว่า “มหาปัฏฐาน” ตามหลักฐานกล่าวว่า เมื่อพระผู้มีพระภาคทรงพิจารณาพระอภิธรรม 7 คัมภีร์อยู่นั้น เมื่อทรงพิจารณาคัมภีร์ที่ 1 คือ ธัมมสังคณี จนถึงคัมภีร์ที่ 6 คือ ยมก มาตามลำดับ ต่อเมื่อทรงพิจารณาคัมภีร์ที่ 7 คือ ปัฏฐาน จึงได้เกิดรัศมีแผ่ซ่านออกจากพระวรกายถึง 6 สี (หรือที่เรียกว่า ฉัพพรรณรังสี)
ปัจจัย 24
[แก้]มหาปัฏฐานโดยสภาวะแล้วจัดเป็นปรมัตถธรรมอันเป็นปัจจัยของสรรพสิ่งทั้งปวง มหาปัฏฐานเป็นสภาวะ ที่แม้ว่าภพ จักรวาล โลกธาตุ จะแตกสลายสิ้นกัปป์ไป เพราะไฟ น้ำ ลม แต่มหาปัฏฐานก็จะยังคงดำรงคงอยู่ เพราะมหาปัฏฐานเป็นเพียงสภาวะของเหตุและผล ภพทั้งหลายเป็นสิ่งที่แสดงออกมาจาก 24 ปัจจัยของมหาปัฏฐานทั้งสิ้น มหาปัฏฐานเป็นปัจจัยให้เกิดนิยาม 5 เป็นปัจจัยให้เกิดปฏิจจสมุปบาท เป็นเหตุผลว่ากฎแห่งกรรมจึงสามารถให้ผลข้ามภพข้ามชาติได้ เนื่องจากกรรมของสรรพสัตว์ทั้งหลายที่ทำลงไปก็จะกลายเป็นปัจจัยของมหาปัฏฐาน ปัจจัยทั้ง 24 ของมหาปัฏฐาน ปัจจัยหนึ่งจะเป็นปัจจัยให้แก่ปัจจัยใดปัจจัยหนึ่งหลายปัจจัย และต่างเป็นผลของปัจจัยใดปัจจัยหนึ่งหลายปัจจัยเช่นกัน โดยผลของปัจจัยทั้งหลาย ต่างย่อมต้องให้ผลตามปัจจัยที่สมควรแก่เหตุ เมื่อผลที่จะต้องให้ผลมีจำนวนมหาศาลจากเหตุปัจจัยมหาศาลของสรรพสิ่ง จึงทำให้เกิดกฎแห่งกรรม และกฎธรรมชาติที่มีแบบแผนขึ้นมา และสรรพสิ่งก็เป็นไปตามแบบแผนนั้น เกิดกรรมลิขิตแก่สรรพสัตว์ และเกิดภพขึ้นมารองรับ มหาปัฏฐานเป็นสภาวะที่ละเอียดยิ่ง เป็นรากฐานของสรรพสิ่งทั้งปวง โดยปัจจัยทั้ง 24 ของมหาปัฏฐาน ได้แก่
- เหตุปัจจะโย = ธรรมที่มีเหตุเป็นปัจจัย
- อารัมมะณะปัจจะโย = ธรรมที่มีอารมณ์เป็นปัจจัย
- อธิปะติปัจจะโย = ธรรมที่มีอธิบดีเป็นปัจจัย
- อนันตะระปัจจะโย = ธรรมที่มีปัจจัยหาที่สุดมิได้
- สะมะนันตะระปัจจะโย = ธรรมที่มีปัจจัยมีที่สุดเสมอกัน
- สะหะชาตะปัจจะโย = ธรรมที่เกิดพร้อมเป็นปัจจัย
- อัญญะมัญญะปัจจะโย = ธรรมแต่ละอย่างต่างต้องอาศัยกันและกันเป็นปัจจัย
- นิสสะยะปัจจะโย = ธรรมเป็นปัจจัยโดยเป็นนิสัยที่อาศัย
- อุปะนิสสะยะปัจจะโย = ธรรมเป็นปัจจัยโดยเป็นอุปนิสัยที่อาศัยอย่างแรงกล้า
- ปุเรชาตะปัจจะโย = ธรรมที่เกิดก่อนเป็นปัจจัย
- ปัจฉาชาตะปัจจะโย = ธรรมที่มีธรรมเกิดภายหลังเป็นปัจจัย
- อาเสวะนะปัจจะโย = ธรรมที่มีการเสพเป็นปัจจัย
- กัมมะปัจจะโย = ธรรมที่มีกรรมเป็นปัจจัย
- วิปากาปัจจะโย = ธรรมที่มีวิบากเป็นปัจจัย
- อาหาระปัจจะโย = ธรรมที่มีอาหารเป็นปัจจัย
- อินทริยะปัจจะโย = ธรรมที่มีอินทรีย์เป็นปัจจัย
- ฌานะปัจจะโย = ธรรมที่มีฌานเป็นปัจจัย
- มัคคะปัจจะโย = ธรรมที่มีมรรคเป็นปัจจัย
- สัมปะยุตตะปัจจะโย = ธรรมที่มีการประกอบเป็นปัจจัย
- วิปปะยุตตะปัจจะโย = ธรรมที่มีการอยู่ไม่ปราศจากเป็นปัจจัย
- อัตถิปัจจะโย = ธรรมที่มีเป็นปัจจัย
- นัตถิปัจจะโย = ธรรมที่ไม่มีเป็นปัจจัย
- วิคะตะปัจจะโย = ธรรมที่มีการอยู่ปราศจากเป็นปัจจัย
- อะวิคะตะปัจจะโย = ธรรมที่ไม่มีการอยู่ปราศจากเป็นปัจจัย
ปัจจัยมีประการต่าง ๆ มากมาย ในการแสดงปัจจัย 24 นั้น พระพุทธองค์ทรงจำแนกปัจจัยหนึ่ง ๆ มีธรรมเป็น 3 หมวด คือ ปัจจัยธรรม หมายความว่า ธรรมที่เป็นเหตุ (ปัจจัย มีวจนัตถะว่า ผลธรรมย่อมเกิดขึ้น ตั้งอยู่ได้เพราะอาศัยธรรมที่เป็นเหตุนี้ ธรรมที่เป็นเหตุนี้จึงชื่อว่า "ปัจจัย")
ปัจจยุปบันธรรม หมายความว่า ธรรมที่เป็นผล (ปัจจยุปบันธรรม มีวจนัตถะว่า ผลธรรมที่เกิดจากเหตุปัจจัย ชื่อว่า "ปัจจยุปบัน")
ปัจจนิกธรรม หมายความว่า ธรรมที่มิใช่ผล (คือธรรมที่นอกจากผล) (ปัจจนิก มีวจนัตถะว่า หมวดธรรมที่เป็นปฏิปักษ์ต่อปัจจยุปบันธรรม ชื่อว่า "ปัจจนิก")
มหาปัฏฐาน มีนัยยะกว้างขวาง มีนัยหาที่สุดมิได้ มีอรรถอันสุขุมลุ่มลึกยิ่งกว่าพระสัทธรรมทั้งปวง อันมีในพระไตรปิฏก นับเป็นปกรณ์ใหญ่ เรียกว่า "มหาปกรณ์" เป็นปกรณ์ที่เมื่อครั้งพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสรู้แล้วนั้น
พระไตรปิฎก เล่มที่ 40 พระอภิธรรมปิฎก เล่ม 7 มหาปัฏฐานปกรณ์