ข้ามไปเนื้อหา

ผลต่างระหว่างรุ่นของ "หน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
GentlemanInTheBottle (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
เรารักเธอนะ
{{กล่องข้อมูล หน่วยทหาร
|unit_name = หน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน<br />(Royal Thai Marine Corps)
|image = [[ไฟล์:Emblem of the Royal Thai Marines Corps, original published in Royal Thai Government Gazette.png|150px]] [[ไฟล์:Emblem of the Royal Thai Marines.svg|150px]]
|caption =เครื่องหมายราชการของนาวิกโยธินไทย
|founded = [[30 กรกฎาคม]] [[พ.ศ. 2498]]
|dissolution =
|country = [[ไทย]]
|allegeance =
|branche = [[กองทัพเรือไทย]]
|type = [[นาวิกโยธิน]]
|role =
|size =
|command_structure1 =
|command_structure2 =
|garrison = หน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน ค่ายกรมหลวงชุมพร ตำบลสัตหีบ [[อำเภอสัตหีบ]] [[จังหวัดชลบุรี]]
|old_name =
|nickname =
|colors = เหลือง แดง
|honneur =
|motto = กาย ใจ ชีวิต มอบเป็นราชพลี
|march = [[มาร์ชราชนาวิกโยธิน]]
|mascot =
|inscriptions =
|anniversaries = [[30 กรกฎาคม]]
|wars = [[กรณีพิพาทไทย-อินโดจีนฝรั่งเศส|สงครามอินโดจีน]]<br />[[สงครามมหาเอเชียบูรพา]]
|battles = [[ยุทธการบ้านหาดเล็ก]]<br />[[ยุทธการบ้านโขดทราย]]<br />[[ยุทธการบ้านกระดูกช้าง]]<br />[[ยุทธการบ้านหนองกก]]<br />[[ยุทธการบ้านชำราก]]<br />[[ยุทธการหาดดอนน้อย]]<br />[[ยุทธการบ้านสามชัย]]<br />[[ยุทธการผาภูมิ]]<br />[[ยุทธการกรุงชิง]]<br />[[ความไม่สงบในชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย]]
|decorations =
|equipement =
|commander = พล.ร.ท.[[สุวิทย์ ธาระรูป]]
|commander_label = ผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน (ผบ.นย.)
|notable_commanders = พล.ร.ต.[[ทหาร ขำหิรัญ]]<br>พล.ร.จ.[[ประสงค์ พิบูลสงคราม]]<br>พล.ร.ต.[[สนอง นิสาลักษณ์]]
<!-- สัญลักษณ์หน่วย -->
|identification_symbol = [[ไฟล์:Flag Commander of the Royal Thai Marine Corps.svg|125px]]
|identification_symbol_label = ธงตำแหน่ง ผบ.นย.
|identification_symbol_2 =
|identification_symbol_2_label =
|identification_symbol_3 =
|identification_symbol_3_label =
|identification_symbol_4=
|identification_symbol_4_label=
}}

'''หน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน''' ({{lang-en|Royal Thai Marine Corps}}) มีหน้าที่บังคับบัญชา ''นาวิกโยธิน'' คือ [[ทหาร]]ที่ได้รับการฝึกฝนเป็นพิเศษ เพื่อปฏิบัติภารกิจ โดยมุ่งเน้นการรบภาคพื้นดิน นับ เป็นการรบสะเทินน้ำสะเทินบก เพื่อสนับสนุนการรบของทหารเรือ และอาจทำการรบร่วมกับทหารจากหน่วยรบอื่นๆ เช่น [[ทหารบก]] หรือ [[ทหารอากาศ]]ก็ได้ นาวิกโยธินจึงเปรียบเสมือนทหารเหล่าราบของกองทัพเรือนั่นเอง

ทหารเรือฝ่ายนาวิกโยธินนับว่ามีขีดความสามารถสูง ได้รับการฝึกทั้งการรบทางทะเลและการรบทางบก สามารถปฏิบัติการได้คล่องตัว เช่น เมื่อต้องการยกพลขึ้นบก การยุทธที่มีความคาบเกี่ยวกับสถานการณ์บกและน้ำ นอกจากนี้ยังสามารถปฏิบัติงานในท้องที่ชายฝั่ง รักษาความสงบตลอดน่านน้ำ เป็นต้น


== ราชนาวิกโยธินไทย ==
== ราชนาวิกโยธินไทย ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 10:10, 5 มิถุนายน 2561

เรารักเธอนะ

ราชนาวิกโยธินไทย

ทหารนาวิกโยธินของราชนาวีไทย อยู่ใน "ส่วนกำลังรบ" สังกัด "หน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน" ของกองทัพเรือ โดยมีประวัติความเป็นมาที่ยาวนาน นับตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 3 โดยเรียกว่า "ทหารมะรีน" อันเป็นคำทับศัพท์จากคำว่า "Marines" ในภาษาอังกฤษ แต่กิจการทหารมะรีน หรือนาวิกโยธินในอดีตไม่สู้มั่นคงนัก ได้มีการจัดตั้งและยุบเลิกไปหลายครั้ง

กระทั่งเมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2498 กองทัพเรือได้ดำเนินการสถาปนากรมนาวิกโยธินขึ้นอีกครั้ง ในสมัยที่จอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี โดยใช้ตึกซึ่งเป็นที่ทำงานของกองกิจการพิเศษ ภายใต้คำแนะนำของกองทัพอเมริกันถึงความจำเป็นที่ต้องมีนาวิกโยธิน ที่ฐานทัพเรือสัตหีบ จังหวัดชลบุรี เป็นที่ตั้ง และได้สืบต่อกิจการนาวิกโยธินอย่างจริงจังต่อไป ซึ่งทหารนาวิกโยธินได้ถือเอาวันที่ 30 กรกฎาคม ของทุกปีเป็นวันสถาปนาหน่วยสืบมา ต่อมาเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2532 ได้มีการปรับปรุงโครงสร้างการจัดหน่วยราชการของกองทัพเรือ เป็นผลให้ "กรมนาวิกโยธิน" แปรสภาพเป็น "หน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน"

ทหารนาวิกโยธิน ได้ถือเอาวันที่ ๒๘ มิถุนายน ของทุกปีเป็น "วันทหารนาวิกโยธิน" โดยกำหนดให้เป็น วันแห่งประวัติศาสตร์ของทหารนาวิกโยธิน ซึ่งได้รับพระมหากรุณาธิคุณจาก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าโปรดกระหม่อม พระราชทานเพลงพระราชนิพนธ์ "มาร์ชราชนาวิกโยธิน" เป็นเพลงประจำหน่วย ทหารนาวิกโยธินเมื่อ ๒๘ มิถุนายน ๒๕๐๒ และต่อมาคณะนายทหารนาวิกโยธินก็ได้ร่วมกัน ประพันธ์คำร้องขึ้น เพื่อสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ หน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน ได้ร่วมกันจัดกิจกรรม ในการบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ต่างๆ เนื่องในวันทหารนาวิกโยธิน สืบต่อไป

ภารกิจ

โดยทั่วไปทหารนาวิกโยธินจะมีหน้าที่หลักในการยกพลขึ้นบก เพื่อยึดหัวหาดหรือการสถาปนากองกำลังบนบก เป็นหน่วยแรกและจะเผชิญกับการต่อต้านของฝ่ายตรงข้ามที่ป้องกันชายหาด ทหารนาวิกโยธินจึงมีการสูญเสียกำลังพลสูง เมื่อสถาปนากองกำลังได้แล้ว ทหารบกจะเคลื่อนพลขึ้น และการรบหลักบนบกจะเป็นหน้าที่ของทหารบก ในปัจจุบันนาวิกโยธินได้ถูกนำมาใช้เป็นกำลังรบหลักบนบกซึ่งมีขีดความสามารถเท่ากับทหารราบของกองทัพบกเลยก็ว่าได้ นาวิกโยธินสามารถร้องขอการสนับสนุนการโจมตีจากทะเลได้เช่น การระดมยิงจากเรือหรือจรวดไปยังเป้าหมายที่ทำการแจ้งไป การใช้กำลังทางอากาศ ใช้อากาศยานสนับสนุนนาวิกโยธินอย่างใกล้ชิด โดยใช้เครื่องAV-8S(Harrier)ซึ่งเป็นเครื่องขึ้นลงทางดิ่ง ทำให้นาวิกโยธินสามารถทำการรบได้อย่างมีประสิทธิประภาพมากขึ้น การขนส่งในอดีตนาวิกโยธินจะใช้ยานยนต์สะเทินน้ำสะเทินบกในการบุกหรือเข้ายึดหัวหาด แต่ในปัจจุบันนั้นจะมีการใช้เฮลิคอปเตอร์หรืออากาศยานปีกหมุนเข้าช่วยในการขนส่งนาวิกโยธินเข้าสู่แนวหน้าได้รวดเร็วมากขึ้น

กองพันลาดตระเวน นาวิกโยธิน (รีคอน) กับปืนเล็กสั้นแบบ IWI X95 ในงานวันเด็กแห่งชาติ ปี พ.ศ. 2561 ที่ฐานทัพเรือสัตหีบ วันที่ 13 ม.ค. 2561

กำลังรบบนบก

ในการปฏิบัติงานนาวิกโยธินในปัจจุบันนั้น มีขีดความสามารถที่สูงขึ้นซึ่งต่างจากเมื่อก่อน ซึ่งตอนนี้กำลังรบของนาวิกโยธินก็จะมีรถถังและรถหุ้มเกราะ(ยานสะเทินน้ำสะเทินบก)และปืนใหญ่เข้ามาช่วยทำการรบ ในส่วนของกำลังทหารนั้นก็ได้มีการฝึกหลักสูตรการรบพิเศษแขนงวิชาการลาดตระเวนสะเทินน้ำสะเทินบก หรือ RECON มาเป็นหน่วยรบพิเศษสำหรับนาวิกโยธิน ซึ่งทำให้นาวิกโยธินนั้นก็ถือได้ว่าเป็นกำลังรบหลักที่สำคัญของกองทัพเลยก็ว่าได้

กองพันทหารราบที่ ๑ รักษาพระองค์ กรมทหารราบที่ ๑ กองพลนาวิกโยธินในสังกัดกองพลนาวิกโยธิน ในชุดทหารรักษาพระองค์

หน่วยงานในบังคับบัญชา

หน่วยขึ้นตรง หน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน

หน่วยเฉพาะกิจนาวิกโยธิน

หน่วยเฉพาะกิจกองทัพเรือ

ยุทโธปกรณ์

ปืนเล็ก

รูป ชื่อ ประเภท กระสุน ประเทศ ข้อมูล
M16A1/A2/A3 ปืนเล็กยาวจู่โจม 5.56×45 มม. นาโต  สหรัฐ ปืนไรเฟิลจู่โจมมาตรฐาน
M4A1/A3 ปืนเล็กยาวจู่โจม 5.56×45 มม. นาโต  สหรัฐ ปืนไรเฟิลจู่โจมมาตรฐาน
Heckler & Koch G36 ปืนเล็กยาวจู่โจม 5.56×45 มม. นาโต ธงของประเทศเยอรมนี เยอรมนี ใช้โดยกองพันลาดตระเวน (รีคอน) มีเวอร์ชั่น G36KV และ G36C
CQ-A ปืนเล็กยาวจู่โจม 5.56×45 มม. นาโต ธงของประเทศจีน จีน ใช้โดยทหารพรานนาวิกโยธิน
IWI Tavor TAR-21 ปืนเล็กยาวจู่โจม 5.56×45 มม. นาโต ธงของประเทศอิสราเอล อิสราเอล
IWI X95 ปืนเล็กยาวจู่โจม 5.56×45 มม. นาโต ธงของประเทศอิสราเอล อิสราเอล ใช้โดยกองพันลาดตระเวน (รีคอน)
SIG Sauer SSG 3000 ปืนไรเฟิลซุ่มยิง 7.62×51mm NATO ธงของประเทศสวิตเซอร์แลนด์ สวิตเซอร์แลนด์ ปืนไรเฟิลซุ่มยิงมาตรฐาน
SR-25 ปืนไรเฟิลซุ่มยิง 7.62×51mm NATO  สหรัฐ ใช้โดยหน่วยกองพันลาดตระเวน (รีคอน)
M249 ปืนกลเบา 5.56×45 มม. นาโต  สหรัฐ ใช้โดยหน่วยกองพันลาดตระเวน (รีคอน)
FN Minimi ปืนกลเบา 5.56×45 มม. นาโต ธงของประเทศเบลเยียม เบลเยียม ปืนกลเบามาตรฐานประจำหมู่
M60 ปืนกล 7.62×51mm NATO  สหรัฐ มีเวอร์ชั่น M60E4 และ E6
M2 Browning ปืนกลหนัก .50 BMG  สหรัฐ

ระบบจรวดและเครื่องยิงลูกระเบิด

รูป ชื่อ ประเภท ขนาดลำกล้อง ประเทศ ข้อมูล
M203 เครื่องยิงลูกระเบิด 40 มม.  สหรัฐ
Armbrust จรวดต่อต้านรถถัง 67 มม. ธงของประเทศเยอรมนี เยอรมนี
M47 Dragon จรวดต่อต้านรถถังนำวิถี 140 มม.  สหรัฐ
BGM-71 TOW จรวดต่อต้านรถถังนำวิถี 152 มม.  สหรัฐ ติดตั้งบนรถฮัมวี่
M40A2 ปืนใหญ่ไร้แรงสะท้อน 105 มม.  สหรัฐ ติดตั้งบนรถ M151
QW-18 MANPAD ? ธงของประเทศจีน จีน

ยานพาหนะสาธารณูปโภคและรถหัวลาก

รูป ชื่อ ประเภท จำนวน ประเทศ ข้อมูล
Humvee Utility vehicle ?  สหรัฐ RTMC use M998,M1097A2,M997,M1025,M1045A2,M966.
M151 Utility vehicle ?  สหรัฐ RTMC use M151A2, M151A2 mounting TOW,M718A1,M825.
M813 Prime Mover ?  สหรัฐ RTMC use M54A2,M543A2.
M35 2-1/2 ton cargo truck Prime Mover ?  สหรัฐ RTMC use M35A2,M50A2,M49A2,M109A2.
Isuzu Prime Mover ? ธงของประเทศญี่ปุ่น ญี่ปุ่น/ ไทย RTMC use SBR,TXD 4x2,TSD 4x4,TWD 6x6,HTW,FTR 4x4.

ยานเกราะ

รูป ชื่อ ประเภท จำนวน ประเทศ ข้อมูล
AAV-7A1 Armoured personnel carrier 36  สหรัฐ Variants include: AAVP-7A1, AAVC-7A1, AAVR-7A1.
BTR-3E1 Armoured personnel carrier 12 ธงของประเทศยูเครน ยูเครน/ ไทย
V-150 Commando Armoured car 24  สหรัฐ
Type 69-ll รถถังหลัก 5 ธงของประเทศจีน จีน

ปืนใหญ่สนาม

รูป ชื่อ ประเภท จำนวน ประเทศ ข้อมูล
M101A1 mod 105 mm towed howitzer 6  สหรัฐ รุ่นปรับปรุงจาก M101A1 ธรรมดา โดยใช้ลำกล้อง LG1 ของบริษัท Nexter ฝรั่งเศส
M101A1 105 mm towed howitzer 30  สหรัฐ
GC-45 howitzer 155 mm towed howitzer 12 ธงของประเทศออสเตรีย ออสเตรีย
GHN-45 A1 APU howitzer 155 mm towed howitzer 6 ธงของประเทศออสเตรีย ออสเตรีย
M19 mortar 60 mm mortar ?  สหรัฐ
M224 mortar 60 mm mortar ?  สหรัฐ
M29A1 mortar 81 mm mortar ?  สหรัฐ
M120 mortar 120 mm mortar ? ธงของประเทศอิสราเอล อิสราเอล
ATMOS 2000 155 mm/52 caliber Self-propelled howitzer 6 ธงของประเทศอิสราเอล อิสราเอล/ ไทย สั่งซื้อในเดือนเมษายน 2561 จำนวน 6 ระบบ ผลิตในไทยภายใต้การถ่ายทอดเทคโนโลยีจากบริษัท Elbit อิสรเอล กำหนดรับมอบภายใน 2 ปี 4 เดือน[1]

ยุทโธปกรณ์ในอดีต

ยุทโธปกรณ์ในอดีตของหน่วยนาวิกโยธินนั้นส่วนมากมาจากโครงการความช่วยเหลือทางทหารจากสหรัฐอเมริกาหลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง และบางส่วนถูกจำหน่ายให้กองทัพบกไทยหลังจากเหตุการณ์กบฏแมนฮัตตัน[2]

ปืนเล็ก

รูป ชื่อ ประเภท กระสุน ประเทศ ข้อมูล
M1918 Browning Automatic Rifle Automatic rifle .30-06 Springfield  สหรัฐ รหัสในกองทัพไทย ปลก.88 หรือชื่อเต็มคือ ปืนเล็กกล 88

ยานเกราะ

รูป ชื่อ ประเภท จำนวน ประเทศ ข้อมูล
LVT4 Amphibious vehicle 16  สหรัฐ
M3 Half-track Half-track armored personnel carrier 12+  สหรัฐ

ปืนใหญ่

รูป ชื่อ ประเภท จำนวน ประเทศ ข้อมูล
M1A1 75mm Pack Howitzer 16+  สหรัฐ รหัสในกองทัพไทยคือ ปบค.97 หรือชื่อเต็มคือ ปืนใหญ่เบากระสุนวิถีโค้ง แบบ 97
Bofors L/40 Model 1934 75mm field gun ? ธงของประเทศสวีเดน สวีเดน รหัสในกองทัพไทยคือ ปบร.80 หรือชื่อเต็มคือ ปืนใหญ่เบากระสุนวิถีราบ แบบ 80 กองทัพเรือไทยสั่งซื้อในปี พ.ศ. 2475 เข้าประจำการในกรมนาวิกโยธินในปี พ.ศ. 2482 และจำหน่ายให้กองทัพบกไทยในวันที่ 29 มิ.ย. พ.ศ. 2494 หลังจากเหตุการณ์กบฏแมนฮัตตัน

รถส่งกำลังบำรุงและรถหัวลาก

รูป ชื่อ ประเภท จำนวน ประเทศ ข้อมูล
M274 1⁄2 ton (454kg) 4x4 platform truck ?  สหรัฐ เป็นรถนอกอัตราโครงการช่วยเหลือทางทหารจากสหรัฐอเมริกา

แหล่งข้อมูลอื่น

  1. http://www.janes.com/article/79176/thai-marines-to-procure-elbit-howitzers
  2. https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%81%E0%B8%9A%E0%B8%8F%E0%B9%81%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%AE%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B8%99