ข้ามไปเนื้อหา

เปรียญธรรม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ป.ธ.8)

เปรียญธรรม หรือ ประโยค หมายถึงระดับชั้นการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลีของคณะสงฆ์ไทย มี 9 ชั้น 8 ระดับ [1] แบ่งเป็นชั้นประโยค 1-2 (ระดับที่ 1 ใช้เวลาเรียน 1-2 ปี) และระดับเปรียญ (ป.ธ. 3-9) (7 ระดับ) รวม 8 ระดับ

เปรียญตรี

[แก้]

มี 3 ชั้น คือ ประโยค 1-2, ป.ธ.3 ผู้ที่สอบได้ตั้งแต่ชั้น ป.ธ.3 ขึ้นไป ถ้าเป็นพระภิกษุจะมีคำนำหน้าชื่อว่า พระมหา ถ้าเป็นสามเณรจะมีคำว่า เปรียญ ต่อท้ายนามสกุล

เปรียญโท

[แก้]

มี 3 ชั้น คือ ป.ธ.4, ป.ธ.5, ป.ธ.6

เปรียญเอก

[แก้]

มี 3 ชั้น คือ ป.ธ.7, ป.ธ.8, ป.ธ.9

การเทียบวุฒิกับทางโลก

[แก้]

น.ธ.ตรี, น.ธ.โท, น.ธ.เอก เทียบเท่า ประถมศึกษาปีที่ 6 (ป.6) ประโยค 1-2 เทียบเท่า มัธยมศึกษาตอนต้น, ป.ธ.3 พร้อมจบการศึกษาขั้นพื้นฐาน เทียบเท่า มัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.6) ป.ธ.4, ป.ธ.5 เทียบเท่า มัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.6) ป.ธ.6 เทียบเท่า ระดับอุดมศึกษา ปริญญาตรี (สาขาวิชาภาษาบาลี) ป.ธ.7, ป.ธ.8 เทียบเท่า ระดับปริญญาโท (สาขาวิชาภาษาบาลี) ป.ธ.9 เทียบเท่า ระดับปริญญาเอก (สาขาวิชาภาษาบาลี) ระดับปริญญาตามที่กล่าวมา คือ ปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก นั้นยังไม่มีกฎหมายรองรับ

ข้อเท็จจริง สิ่งที่แสดงเบื้องต้นเกี่ยวกับ "การเทียบวุฒิกับทางโลก" นั้น จำเป็นต้องมีกฎหมายของไทยรองรับ

ตามกฎหมาย พระราชบัญญัติ กำหนดวิทยฐานะผู้สำเร็จวิชาการพระพุทธศาสนา พ.ศ. 2527

พระราชบัญญัติ กำหนดวิทยฐานะผู้สำเร็จวิชาการพระพุทธศาสนา พ.ศ. 2527

ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2527 เป็นปีที่ 39 ในรัชกาลปัจจุบัน

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราช โองการโปรดเกล้า ฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรมีกฎหมายว่าด้วยการกำหนดวิทยฐานะผู้สำเร็จ วิชาการพระพุทธศาสนา จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดย คำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา ดังต่อไปนี้

มาตรา 1 พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า "พระราชบัญญัติกำหนดวิทยฐานะ ผู้สำเร็จวิชาการพระพุทธศาสนา พ.ศ. 2527" มาตรา 2* พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศใน ราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป *[รก.2527/140/4พ/8 ตุลาคม 2537]

อ้างอิง http://www.baanjomyut.com/library/law/37.html

มาตรา 3* วิชาการพระพุทธศาสนา หมายความว่า วิชาการ ซึ่งจัดให้พระภิกษุสามเณรศึกษาตามหลักสูตรพระปริยัติธรรมแผนกธรรมและ แผนกบาลีสนามหลวง *[มาตรา 3 แก้ไขโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2540]

มาตรา 4* ให้ผู้สำเร็จวิชาการพระพุทธศาสนาตามหลักสูตร พระปริยัติธรรมแผนกธรรมและแผนกบาลีสนามหลวงเปรียญธรรมเก้าประโยค มีวิทยฐานะชั้นปริญญาตรี เรียกว่า "เปรียญธรรมเก้าประโยค" ใช้อักษรย่อว่า "ป.ธ.9" *[มาตรา 4 แก้ไขโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2540] มาตรา 5 นอกจากปริญญาตามมาตรา 4 พระภิกษุสามเณรซึ่งได้ ศึกษาวิชาการพระพุทธศาสนาอาจได้รับประกาศนียบัตรรับรองความรู้ตาม หลักสูตรที่คณะกรรมการการศึกษาของคณะสงฆ์ให้ความเห็นชอบ มาตรา 6* ให้มีคณะกรรมการการศึกษาของคณะสงฆ์คณะหนึ่ง ประกอบด้วย สมเด็จพระสังฆราชทรงเป็นประธานกรรมการ แม่กองบาลี สนามหลวง แม่กองธรรมสนามหลวง อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหามกุฎ ราชวิทยาลัย อธิการบดีมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ปลัดทบวงมหาวิทยาลัย เลขาธิการสภาสถาบันราชภัฏ อธิบดีกรมการศาสนา อธิบดีกรมการศึกษานอกโรงเรียน อธิบดีกรมวิชาการ เลขาธิการคณะกรรมการ การศึกษาแห่งชาติ และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิอีกไม่เกินเจ็ดคน ซึ่งสมเด็จพระ สังฆราชทรงแต่งตั้งโดยความเห็นชอบของมหาเถรสมาคม เป็นกรรมการ ให้คณะกรรมการการศึกษาของคณะสงฆ์เลือกกรรมการผู้หนึ่งเป็น รองประธานกรรมการ

ให้อธิบดีกรมการศาสนาเป็นเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาของ คณะสงฆ์ และให้กรมการศาสนาทำหน้าที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษา ของคณะสงฆ์ *[มาตรา 6 แก้ไขโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2540]

มาตรา 7 กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิอยู่ในตำแหน่งคราวละสองปี กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งพ้นจากตำแหน่งอาจได้รับแต่งตั้งอีกได้ ในกรณีที่สมเด็จพระสังฆราชทรงแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเพิ่มขึ้น ในระหว่างที่กรรมการซึ่งทรงแต่งตั้งไว้แล้วยังมีวาระอยู่ในตำแหน่ง ให้ผู้ซึ่ง ได้รับแต่งตั้งให้เป็นกรรมการเพิ่มขึ้นอยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของ กรรมการซึ่งได้รับแต่งตั้งไว้แล้ว มาตรา 8 นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระตามมาตรา 7 กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตำแหน่ง เมื่อ (1) ตาย (2) ลาออก หรือ (3) สมเด็จพระสังฆราชมีพระบัญชาให้ออก ในกรณีที่กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตำแหน่งก่อนวาระ สมเด็จ พระสังฆราชอาจทรงแต่งตั้งผู้อื่นเป็นกรรมการแทนโดยความเห็นชอบของ มหาเถรสมาคมได้ และให้ผู้ซึ่งได้รับแต่งตั้งอยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่ เหลืออยู่ของกรรมการซึ่งตนแทน มาตรา 9 การประชุมของคณะกรรมการการศึกษาของคณะสงฆ์ ต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมดที่ ดำรงตำแหน่งอยู่ในขณะนั้น จึงจะเป็นองค์ประชุม

ถ้าประธานกรรมการไม่มาประชุมหรือไม่อยู่ในที่ประชุม ให้รอง ประธานกรรมการเป็นประธานในที่ประชุม ถ้าประธานกรรมการและรอง ประธานกรรมการไม่มาประชุมหรือไม่อยู่ในที่ประชุม ให้ที่ประชุมเลือก กรรมการผู้หนึ่งเป็นประธานในที่ประชุม การวินิจฉัยชี้ขาดของที่ประชุมให้ถือเสียงข้างมาก กรรมการผู้หนึ่ง มีเสียงหนึ่งในการลงคะแนน ถ้าคะแนนเสียงเท่ากัน ให้ประธานในที่ประชุม ออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด

มาตรา 10 คณะกรรมการการศึกษาของคณะสงฆ์มีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้ (1) กำหนดนโยบายและแผนการจัดการศึกษาวิชาการพระพุทธศาสนา ให้เจริญก้าวหน้ายิ่งขึ้น (2) กำหนดมาตรฐานและให้ความเห็นชอบหลักสูตรวิชาการ พระพุทธศาสนา (3) กำหนดพื้นความรู้ คุณสมบัติ หลักเกณฑ์การเข้าศึกษา ระยะเวลา การศึกษา การสอบและเงื่อนไขในการรับปริญญา หรือประกาศนียบัตร (4) ควบคุมดูแลการจัดการศึกษาวิชาการพระพุทธศาสนาให้มีการ ศึกษาพระปริยัติธรรมเป็นหลัก และป้องกันมิให้มีการเปลี่ยนแปลงพระธรรมวินัย ให้ผิดไปจากพระบาลีในพระไตรปิฎก (5) วินิจฉัยสั่งการเพื่อยับยั้งหรือยุติการดำเนินกิจการที่ขัดต่อ พระธรรมวินัยหรือขัดต่อกฎหมาย ระเบียบข้อบังคับ หรือคำสั่งของสถานศึกษา วิชาการพระพุทธศาสนาตามพระราชบัญญัตินี้ (6) วางระเบียบ และออกข้อบังคับหรือคำสั่งเพื่อปฏิบัติการตาม พระราชบัญญัตินี้

มาตรา 11 ผู้ใดไม่มีสิทธิใช้ปริญญาหรือประกาศนียบัตร หรืออักษรย่อ ปริญญาตามพระราชบัญญัตินี้ กระทำการเพื่อให้บุคคลอื่นเชื่อว่าตนมีสิทธิดังกล่าว ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำ ทั้งปรับ

มาตรา 12 ให้ผู้สำเร็จวิชาการพระพุทธศาสนาตามหลักสูตรพระปริยัติธรรม แผนกธรรมและแผนกบาลีสนามหลวง เปรียญธรรมเก้าประโยค ปริญญาศาสนศาสตรบัณฑิตจากสภาการศึกษามหามกุฎราชวิทยาลัยในพระบรม ราชูปถัมภ์ หรือปริญญาพุทธศาสตรบัณฑิตจากมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยใน พระบรมราชูปถัมภ์ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ มีวิทยฐานะชั้นปริญญาตรี ตามมาตรา 4 มาตรา 13 ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการรักษาการตาม พระราชบัญญัตินี้

ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ พลเอก ประจวบ สุนทรางกูร รองนายกรัฐมนตรี

หมายเหตุ:- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่พระภิกษุ สามเณรซึ่งได้ศึกษาและสอบไล่ได้เปรียญเก้าประโยคตามหลักสูตรพระปริยัติธรรม แผนกธรรมและแผนกบาลีสนามหลวงของคณะสงฆ์ ปริญญาศาสนศาสตรบัณฑิต ตามหลักสูตรปริญญาศาสนศาสตรบัณฑิตของสภาการศึกษามหามกุฎราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ หรือปริญญาพุทธศาสตรบัณฑิตตามหลักสูตรปริญญาพุทธศาสตร บัณฑิตของมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยในพระบรมราชูปถัมภ์ มีความรู้ความ สามารถและประสบการณ์เทียบขั้นบัณฑิตด้านสังคมศาสตร์ของมหาวิทยาลัย ฝ่ายอาณาจักร สมควรกำหนดวิทยฐานะผู้สำเร็จการศึกษาจากหลักสูตร ทั้งสามนี้ให้สูงเท่ากับปริญญาตรีของมหาวิทยาลัยฝ่ายอาณาจักร จึงจำเป็น ต้องตราพระราชบัญญัตินี้

พระราชบัญญัติกำหนดวิทยฐานะผู้สำเร็จวิชาการพระพุทธศาสนา (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2540 หมายเหตุ:- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจาก ได้มีการตราพระราชบัญญัติจัดตั้งมหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัยและ พระราชบัญญัติจัดตั้งมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เพื่อดำเนินงาน ด้านการศึกษาวิชาการพระพุทธศาสนาตามหลักสูตรปริญญาศาสนศาสตร์บัณฑิต และพุทธศาสตรบัณฑิตขึ้นโดยเฉพาะแล้ว สมควรแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติใน พระราชบัญญัติกำหนดวิทยฐานะผู้สำเร็จวิชาการพระพุทธศาสนา พ.ศ. 2527 ในส่วนที่เกี่ยวกับการศึกษาวิชาการพระพุทธศาสนาตามหลักสูตรปริญญา ศาสนศาสตรบัณฑิตและพระพุทธศาสตรบัณฑิต ตลอดจนองค์ประกอบของ คณะกรรมการการศึกษาของคณะสงฆ์ ให้เหมาะสมและสอดคล้องกับหลักการ ในการจัดตั้งมหาวิทยาลัยดังกล่าว จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ [รก.2541/51ก/1/1 ตุลาคม 2540]


เนื่องจากมีการตรา พระราชบัญญัติการศึกษาพระปริยัติธรรม พ.ศ. ๒๕๖๒

มาตรา ๓ ให้ยกเลิก 

(๑) พระราชบัญญัติกำหนดวิทยฐานะผู้สำเร็จวิชาการพระพุทธศาสนา  พ.ศ.  ๒๕๒๗ 

(๒) พระราชบัญญัติกำหนดวิทยฐานะผู้สำเร็จวิชาการพระพุทธศาสนา  (ฉบับที่  ๒)  พ.ศ.  ๒๕๔๐

มาตรา ๒๒ ให้ผู้เรียนที่พ้นการศึกษาภาคบังคับซึ่งได้สำเร็จการศึกษาพระปริยัติธรรม  แผนกธรรมสนามหลวง  และแผนกบาลีสนามหลวง  มีวิทยฐานะ  ดังต่อไปนี้   

(๑) แผนกธรรมสนามหลวง  ชั้นนักธรรมเอก  มีวิทยฐานะระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 

(๒) แผนกบาลีสนามหลวง  ชั้นเปรียญธรรมสามประโยค  มีวิทยฐานะระดับมัธยมศึกษา ตอนปลาย

มาตรา ๒๔ ให้ผู้สำเร็จการศึกษาตามหลักสูตรพระปริยัติธรรม  แผนกธรรมและแผนกบาลี สนามหลวง  ชั้นเปรียญธรรมเก้าประโยค  มีวิทยฐานะระดับปริญญาตรี  เรียกว่า  “เปรียญธรรมเก้าประโยค”  ใช้อักษรย่อว่า  “ป.ธ. ๙” ในกรณีที่ผู้ส าเร็จการศึกษาพระปริยัติธรรม  แผนกบาลีสนามหลวงชั้นใด  ได้ทำการศึกษาเพิ่มเติม ตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการกำหนด  ให้ผู้นั้นมีวิทยฐานะระดับใด ๆ  โดยความเห็นชอบของมหาเถรสมาคม และตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการการอุดมศึกษาตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติกำหนด


ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. แบ่งระดับตามการสอบ

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
  1. http://web.senate.go.th/w3c/senate/lawdraft/index.php?kw=%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%A2%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%B4&bsubmit=%E0%B8%84%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%AB%E0%B8%B2&url=lawdraft