เขตผู้ว่าราชการมอนเตเนโกรของอิตาลี
เขตผู้ว่าราชการมอนเตเนโกร | |||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ค.ศ. 1941–1943 | |||||||||
เขตผู้ว่าราชการมอนเตเนโกรใน ค.ศ. 1942 | |||||||||
เมืองหลวง | เซติเญ 42°23′22″N 18°55′23″E / 42.38944°N 18.92306°E | ||||||||
ภาษาทั่วไป | อิตาลี, เซอร์เบีย-โครเอเชีย | ||||||||
ศาสนา | อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ โรมันคาทอลิก ซุนนี | ||||||||
การปกครอง | เขตผู้ว่าราชการ | ||||||||
ผู้ว่าราชการ | |||||||||
• ค.ศ. 1941 | เซราฟีโน มัซโซลีนี[a] | ||||||||
• ค.ศ. 1941–1943 | อาเลสซันโดร ปีร์ซีโอ บีโรลี | ||||||||
• ค.ศ. 1943 | กูรีโอ บาร์บาเซตตี ดี ปรุน | ||||||||
นายกรัฐมนตรี | |||||||||
• กรกฎาคม ค.ศ. 1941 | Sekula Drljević[1] | ||||||||
ประธานคณะกรรมการแห่งชาติ | |||||||||
• ค.ศ. 1942–1943 | Blažo Đukanović | ||||||||
ยุคประวัติศาสตร์ | สงครามโลกครั้งที่สอง | ||||||||
18 เมษายน ค.ศ. 1941 | |||||||||
• ประกาศอิสรภาพ | 12 กรกฎาคม ค.ศ. 1941 | ||||||||
13 กรกฎาคม ค.ศ. 1941 | |||||||||
• ยกเลิกความเป็นอิสรภาพ | 24 กรกฎาคม ค.ศ. 1941 | ||||||||
• ก่อตั้งเขตผู้ว่าราชการ | 3 ตุลาคม ค.ศ. 1941 | ||||||||
12 กันยายน ค.ศ. 1943 | |||||||||
ประชากร | |||||||||
• ค.ศ. 1941 | 411,000 คน | ||||||||
สกุลเงิน | ดีนาร์ยูโกสลาฟ ลีรา | ||||||||
| |||||||||
ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของ | มอนเตเนโกร เซอร์เบีย |
เขตผู้ว่าราชการมอนเตเนโกรของอิตาลี (อิตาลี: Governatorato del Montenegro) เป็นดินแดนยึดครองภายใต้รัฐบาลทหารของฟาสซิสต์อิตาลีในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ดำรงอยู่ระหว่างเดือนตุลาคม ค.ศ. 1941 ถึงเดือนกันยายน ค.ศ. 1943 แม้ว่าอิตาลีจะมีความปรารถนาที่จะจัดตั้งราชอาณาจักรมอนเตเนโกรในฐานกึ่งเอกราช แต่แผนการนี้ได้ยุติลงอย่างถาวรภายหลังการก่อการกำเริบของประชาชนในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1941[2][3][4] และหลังจากการยอมจำนนของอิตาลีในเดือนกันยายน ค.ศ. 1943 กองทัพเยอรมันจึงเข้ายึดครองมอนเตเนโกรจนกระทั่งถอนทัพออกไปในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1944
การบริหาร
[แก้]ในช่วงแรกดินแดนอยู่ภายใต้การยึดครองทางทหาร ซึ่งความตั้งใจของอิตาลีในช่วงต้นนั้น คือการทำให้มอนเตเนโกรเป็นรัฐกึ่งเอกราชที่มีความเชื่อมโยงอย่างใกล้ชิดกับอิตาลี และได้มีการแต่งตั้งมัซโซลีนีเป็นกรรมาธิการเพื่อจัดการกิจการพลเรือน แต่หลังจากการประกาศเอกราชที่ล้มเหลวและการปราบปรามการจลาจลที่เกิดขึ้น บีโรลีจึงได้รับแต่งตั้งเป็นผู้ว่าราชการดินแดน[3] ซึ่งเป็นที่รู้จักกันในชื่อ "เขตผู้ว่าราชการมอนเตเนโกร" (อิตาลี: Governatorato del Montenegro)[3][5] บีโรลีและผู้สืบทอดตำแหน่งต่อมาอย่างเคานต์ กูรีโอ บาร์บาเซตตี ดี ปรุน มีอำนาจควบคุมทางทหารและพลเรือนของดินแดนอย่างเบ็ดเสร็จ[3] และในส่วนของการบริหารราชการพลเรือน ยังคงมีการใช้ระบบเขตและเทศบาลที่ใช้มาตั้งแต่สมัยยูโกสลาเวีย เพื่อหลีกเลี่ยงความโกลาหลในการบริหาร โดยอิตาลีจะเข้ามามีอำนาจแทนที่ทางการของแคว้นนั้น ๆ[6]
หมายเหตุ
[แก้]- ↑ ในฐานะข้าหลวงใหญ่
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Roberts 2007, p. 353.
- ↑ Rodogno 2006, pp. 134–136.
- ↑ 3.0 3.1 3.2 3.3 Tomasevich 1975, p. 103.
- ↑ Lemkin 2008, p. 590.
- ↑ Pavlowitch 2007, p. 113.
- ↑ Rodogno 2006, p. 101.
บรรณานุกรม
[แก้]- Burgwyn, H. James (2005). Empire on the Adriatic: Mussolini's Conquest of Yugoslavia 1941–1943. New York: Enigma Books. ISBN 978-1-929631-35-3.
- Caccamo, Francesco; Monzali, Luciano (2008). L'occupazione italiana della Iugoslavia, 1941–1943 (ภาษาอิตาลี). Florence, Italy: Le Lettere. ISBN 978-88-6087-113-8.
- Đilas, Milovan (1980). Wartime. Translated by Michael B. Petrovich. New York: Houghton Mifflin Harcourt. ISBN 978-0-15-694712-1.
- Fleming, Thomas (2002). Montenegro: The Divided Land. Rockford, Illinois: Chronicles Press. ISBN 978-0-9619364-9-5.
- Karchmar, Lucien (1987). Draža Mihailović and the Rise of the Četnik Movement, 1941–1945. New York: Garland Publishing. ISBN 978-0-8240-8027-3.
- Lemkin, Raphael (2008). Axis Rule in Occupied Europe. Clark, New Jersey: The Lawbook Exchange. ISBN 978-1-58477-901-8. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-01-14. สืบค้นเมื่อ 2016-10-15.
- Malcolm, Noel (1994). Bosnia: A Short History. New York: New York University Press. ISBN 978-0-8147-5520-4.
- Milazzo, Matteo J. (1975). The Chetnik Movement & the Yugoslav Resistance. Baltimore, Maryland: Johns Hopkins University Press. ISBN 978-0-8018-1589-8.
- Morrison, Kenneth (2009). Montenegro: A Modern History. New York: I.B. Tauris. ISBN 978-1-84511-710-8.
- Pajović, Radoje (1977). Kontrarevolucija u Crnoj Gori: Četnički i federalistički pokret 1941–1945 (ภาษาเซอร์โบ-โครเอเชีย). Cetinje, Yugoslavia: Obod.
- Pavlićević, Veselin-Mitko (2014). "Lijeve greške" Milovana Đilasa ili partijski silogizam ["Leftist errors" of Milovan Đilas, or Party Syllogism] (PDF) (ภาษาเซอร์โบ-โครเอเชีย) (Ličnost i djelo Milovana Đilasa; Zbornik radova s međunarodnog naučnog simpozijuma ed.). Nikšić: Filozofski fakultet Nikšić. ISBN 978-86-7798-082-5. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-03. สืบค้นเมื่อ 2014-07-28.
- Pavlowitch, Stevan K. (2007). Hitler's New Disorder: The Second World War in Yugoslavia. New York: Columbia University Press. ISBN 978-1-85065-895-5. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-02-13. สืบค้นเมื่อ 2016-10-15.
- Ramet, Sabrina P. (2006). The Three Yugoslavias: State-Building and Legitimation, 1918–2005. Bloomington, Indiana: Indiana University Press. ISBN 978-0-253-34656-8. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-01-12. สืบค้นเมื่อ 2016-10-15.
- Rodogno, Davide (2006). Fascism's European Empire: Italian Occupation During the Second World War. Cambridge: Cambridge University Press. ISBN 978-0-521-84515-1. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-02-15. สืบค้นเมื่อ 2020-09-19.
- Tanner, Marcus (1997). Croatia: A Nation Forged in War. New Haven, Connecticut: Yale University Press. ISBN 978-0-300-06933-4.
- Thomas, Nigel; Mikulan, Krunoslav (1995). Axis Forces in Yugoslavia 1941–45. New York: Osprey Publishing. ISBN 978-1-85532-473-2.
- Tomasevich, Jozo (1975). War and Revolution in Yugoslavia, 1941–1945: The Chetniks. Stanford, California: Stanford University Press. ISBN 978-0-8047-0857-9.
- Tomasevich, Jozo (2001). War and Revolution in Yugoslavia, 1941–1945: Occupation and Collaboration. Stanford, California: Stanford University Press. ISBN 978-0-8047-3615-2. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-01-12. สืบค้นเมื่อ 2016-10-15.
- Velkonija, Mitja (2003). Religious Separation and Political Intolerance in Bosnia-Herzegovina. College Station, Texas: Texas A&M University Press. ISBN 978-1-58544-226-3.[ลิงก์เสีย]
- Roberts, Elizabeth (2007). Realm of the Black Mountain: A History of Montenegro. Ithaca, New York: Cornell University Press. ISBN 978-0-8014-4601-6.