ข้ามไปเนื้อหา

สาธารณรัฐเซิร์บกรายินา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สาธารณรัฐเซิร์บกรายินา

Republika Srpska Krajina
Република Српска Крајина

(เซอร์เบีย)
1991–1995
ธงชาติสาธารณรัฐเซิร์บกรายินา
ธงชาติ
ตราแผ่นดินของสาธารณรัฐเซิร์บกรายินา
ตราแผ่นดิน
คำขวัญSamo Sloga Srbina Spasava
Само Слога Србина Спасава
"ความสามัคคีเท่านั้นที่ช่วยชาวเซิร์บ"
เพลงชาติBože Pravde
Боже правде
"เทพเจ้าเเห่งความยุติธรรม"
ไม่เป็นทางการ: Himna Krajini
Химна Крајини
"เพลงสรรเสริญกรายินา"
สาธารณรัฐเซิร์บกรายินาในปี ค.ศ. 1991
สาธารณรัฐเซิร์บกรายินาในปี ค.ศ. 1991
สถานะรัฐที่ไม่ได้รับการรับรอง[1]
เมืองหลวงกนีน
ภาษาทั่วไปภาษาเซอร์เบีย
ศาสนา
เซอร์เบียนออร์ทอดอกซ์
การปกครองสาธารณรัฐ
ประธานาธิบดี 
• 1991–1992
มีลัน บาบิช (คนแรก)
• 1994–1995
มีลัน มาร์ทิช (คนสุดท้าย)
นายกรัฐมนตรี 
• 1991–1992
ดูชัน เวียชทีตซา (คนแรก)
• 1995
มีลัน บาบิช (คนสุดท้าย)
สภานิติบัญญัติสมัชชาแห่งชาติ
ยุคประวัติศาสตร์สงครามยูโกสลาเวีย
17 สิงหาคม 1990
19 ธันวาคม 1991
3 พฤษภาคม 1995
8 สิงหาคม 1995
12 พฤศจิกายน 1995
พื้นที่
1991[2]17,028 ตารางกิโลเมตร (6,575 ตารางไมล์)
ประชากร
• 1991[2]
286716
• 1993[2]
435595
• 1994
430000
สกุลเงินดีนาร์กรายินา
ก่อนหน้า
ถัดไป
สาธารณรัฐสังคมนิยมโครเอเชีย
แคว้นปกครองตนเองเซิร์บแห่งกรายินา
แคว้นปกครองตนเองเซิร์บแห่งเวสเทิร์นสลาโวเนีย
แคว้นปกครองตนเองเซิร์บแห่งอีสเทิร์นสลาโวเนีย, บารันยา และเวสเทิร์นเซอร์เมีย
โครเอเชีย
อีสเทิร์นสลาโวเนีย, บารันยา และเวสเทิร์นเซอร์เมีย (ค.ศ. 1995–1998)
ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของ โครเอเชีย
แหล่งที่มาของข้อมูลพื้นที่ : [3]
แหล่งที่มาของข้อมูลประชากร : [3][4]

สาธารณรัฐเซิร์บกรายินา (บอสเนีย-โครเอเชีย-มอนเตเนโกร-เซอร์เบีย: Република Српска Крајина / Republika Srpska Krajina or РСК / RSK, pronounced [rɛpǔblika sr̩̂pskaː krâjina]), หรือเป็นที่รู้จักในชื่อ เซิร์บกรายินา[a] (Српска Крајина / Srpska Krajina) หรือเรียกง่ายๆ ว่า คราจินา, เป็นรัฐของชาวเซิร์บที่ประกาศตัวเอง[5][6] ในอาณาเขตของสาธารณรัฐโครเอเชียที่เพิ่งประกาศเอกราชจากยูโกสลาเวียและมีบทบาทในช่วงสงครามประกาศอิสรภาพโครเอเชีย แต่กรายินาไม่ได้รับการยอมรับจากนานาชาติ ชื่อ 'กรายินา' (หมายถึง 'แนวชายแดน') ถูกนำมาใช้จาก 'เขตแนวชายแดนทหาร' ของจักรวรรดิฮาพส์บวร์ก หรือออสเตรีย-ฮังการี ซึ่งมีประชากรชาวเซิร์บจำนวนมากและมีอยู่จนถึงปลายศตวรรษที่ 19 โดยรัฐบาลของสาธารณรัฐเซิร์บกรายินาได้ทำสงครามเพื่อประกาศอิสรภาพจากโครเอเชียและไปรวมชาติกับสหพันธ์สาธารณรัฐยูโกสลาเวียและเรปูบลิกาเซิร์ปสกาในบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา[7]

สาธารณรัฐเซิร์บกรายินายุติกิจกรรมและถุกยุบในปี ค.ศ. 1995 หลังถูกโครเอเชียและสาธารณรัฐบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนาโจมตีและยึดที่ทำการรัฐบาลในปฏิบัติการสตอร์ม แต่ดินแดนส่วนที่เหลืออยู่ในภาคตะวันออกของสลาโวเนียยังคงอยู่ภายใต้การบริหารของ UNTAES จนกระทั่งการรวมตัวเข้ากับโครเอเชียอย่างสันติในปี 1998 ตามข้อตกลงเออร์ดุต

อ้างอิง

[แก้]
  1. Prosecutor v. Milan Martić Judgement. p. 46. International Criminal Tribunal for the former Yugoslavia. Retrieved 13 September 2009. (On 16 March 1991 another referendum was held which asked "Are you in favour of the SAO Krajina joining the Republic of Serbia and staying in Yugoslavia with Serbia, Montenegro and others who wish to preserve Yugoslavia?". With 99.8% voting in favour, the referendum was approved and the Krajina assembly declared that "the territory of the SAO Krajina is a constitutive part of the unified state territory of the Republic of Serbia".)
  2. 2.0 2.1 "Croatia". สืบค้นเมื่อ 26 December 2014.
  3. 3.0 3.1 Klajn, Lajčo (2007). The Past in Present Times: The Yugoslav Saga. p. 199. University Press of America. ISBN 0-7618-3647-0.
  4. Svarm, Filip (15 August 1994). The Krajina Economy. Vreme News Digest Agency. Retrieved 8 July 2009.
  5. "HIC: VJESNIK, Podlistak, 16 i 17. travnja 2005., VELIKOSRPSKA TVOREVINA NA HRVATSKOM TLU: IZVORNI DOKUMENTI O DJELOVANJU 'REPUBLIKE SRPSKE KRAJINE' (XXIX.)". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 September 2015. สืบค้นเมื่อ 31 August 2015.
  6. "Godišnjica Oluje: Hrvatska slavi, Srbija žali". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 September 2015. สืบค้นเมื่อ 31 August 2015.
  7. "DOKUMENTI INSTITUCIJA POBUNJENIH SRBA U REPUBLICI HRVATSKOJ (siječanj – lipanj 1993.)", edicija "REPUBLIKA HRVATSKA I DOMOVINSKI RAT 1990.-1995. DOKUMENTI", Knjiga 7., str. 14-16, 21, 24, 35, 42, 52, 59, 103, 130, 155, 161, 180-182, 197, 351, 378, 414, 524, 605, 614, 632, 637

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]