ประตูเทียนอัน
ประตูเทียนอัน Tian'anmen | |||||||||||||||||||||||||||
![]() | |||||||||||||||||||||||||||
ชื่อภาษาจีน | |||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
อักษรจีนตัวย่อ | 天安门 | ||||||||||||||||||||||||||
อักษรจีนตัวเต็ม | 天安門 | ||||||||||||||||||||||||||
ฮั่นยฺหวี่พินอิน | Tiān'ānmén | ||||||||||||||||||||||||||
ความหมายตามตัวอักษร | "Gate of Heavenly Peace" | ||||||||||||||||||||||||||
| |||||||||||||||||||||||||||
ชื่อภาษาแมนจู | |||||||||||||||||||||||||||
อักษรแมนจู | ᠠᠪᡴᠠᡳ ᡝᠯᡥᡝ ᠣᠪᡠᡵᡝ ᡩᡠᡴᠠ | ||||||||||||||||||||||||||
เมิลเลินดอร์ฟ | abkai elhe obure duka |
ประตูเทียนอัน (จีน: 天安门) เป็นประตูใหญ่ในใจกลางเมืองปักกิ่ง ประเทศจีน เป็นประตูหน้านครจักรพรรดิแห่งปักกิ่ง ตั้งอยู่ใกล้กับเขตศูนย์กลางธุรกิจของเมือง และเป็นสัญลักษณ์ประจำชาติที่รับรู้โดยทั่วกัน
ประตูเทียนอันสร้างขึ้นครั้งแรกในช่วงราชวงศ์หมิง ในปี ค.ศ. 1420 โดยเป็นทางเข้าสู่นครจักรพรรดิ ซึ่งเป็นที่ตั้งของพระราชวังต้องห้าม ประตูเทียนอันตั้งอยู่ทางทิศเหนือของจัตุรัสเทียนอันเหมิน และมีถนนฉางอานเป็นจุดแบ่งออกจากจัตุรัส
ชื่อ[แก้]
เทียนอันเหมิน (天安门) ประกอบด้วยอักษรจีนสามตัว ได้แก่
- เทียน (天) แปลว่า ฟ้า
- อัน (安)แปลว่า ผาสุก สันติ ราบคาบ
- เหมิน (门) แปลว่า ประตู
เมื่อแปลตามตัวอักษร จะได้ความหมายว่า "ประตูแห่งสันติภาพสวรรค์"[ต้องการอ้างอิง]
ประตู[แก้]
ในสมัยราชวงศ์หมิง เดิมประตูนี้มีชื่อว่า "เฉิงเทียนเหมิน" (จีนตัวเต็ม: 承天門; จีนตัวย่อ: 承天门; พินอิน: Chéngtiānmén) มีความหมายว่า "ประตูแห่งอาณัติสวรรค์" ต่อมาได้ถูกทำลายและสร้างขึ้นใหม่หลายครั้ง ตัวประตูดั้งเดิมสร้างขึ้นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1420 โดยตั้งชื่อตามประตูของพระราชวังต้องห้ามในหนานกิง ต่อมาประตูถูกฟ้าผ่าจนไฟไหม้หมดทั้งหลังในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1457
ในปี ค.ศ. 1465 จักรพรรดิเฉิงฮว่าแห่งราชวงศ์หมิงรับสั่งให้ซื่อ กุย (自圭) เสนาบดีโยธาธิการ สร้างประตูขึ้นมาใหม่ จึงได้เปลี่ยนรูปแบบจากแบบไผฟางเดิมเป็นแบบประตูเมืองอย่างที่เห็นในปัจจุบัน
ตัวประตูได้รับความเสียหายอีกครั้งในช่วงสงครามปลายราชวงศ์หมิง เมื่อในปี ค.ศ. 1644 ประตูถูกเผาโดยกลุ่มกบฏที่นำโดย หลี่ จื้อเฉิง (李自成)
หลังจากการสถาปนาราชวงศ์ชิง มีการสร้างประตูนี้ขึ้นใหม่อีกครั้ง โดยเริ่มสร้างในปี ค.ศ. 1645 ในรัชสมัยจักรพรรดิชุ่นจื้อแห่งราชวงศ์ชิง และโปรดให้เปลี่ยนชื่อประตูเป็น "เทียนอันเหมิน" สร้างเสร็จในปี ค.ศ. 1651
ประตูได้รับการบูรณะใหม่อีกครั้งระหว่างปี ค.ศ. 1969 และ 1970 เพราะประตูดังกล่าวมีอายุมากถึง 300 ปีแล้ว และทรุดโทรมลงอย่างมาก ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการใช้งานอย่างหนักในช่วงทศวรรษที่ 1950 และ 1960 เนื่องจากประตูแห่งนี้เป็นสัญลักษณ์ประจำชาติ นายกรัฐมนตรีโจว เอินไหล จึงมีคำสั่งให้ปิดการบูรณะนี้เป็นความลับ ประตูทั้งหลังมีนั่งร้านปกคลุม และโครงการนี้มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า "การปรับปรุงใหม่" มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้รูปลักษณ์ภายนอกของประตูไม่เปลี่ยนแปลง ในขณะเดียวกันก็ต้านทานแผ่นดินไหวได้มากขึ้นและติดตั้งสิ่งอำนวยความสะดวกที่ทันสมัย เช่น ลิฟต์ น้ำประปา และระบบทำความร้อน
-
ประตูเทียนอันในปี 1901
-
ประตูเทียนอันในปี 2006
-
หลังคาประตูเทียนอัน
-
ประตูเทียนอันในตอนกลางคืน
-
ห้องรับรองบนประตูเทียนอัน
-
ประตูเทียนอันในปี 2020
การออกแบบและก่อสร้าง[แก้]
ตัวประตูและหอคอย[แก้]

ประตูเทียนอันมีความยาว 66 เมตร กว้าง 37 เมตร และมีความสูง 32 เมตร ส่วนตัวหอคอยมีความยาว 57.14 เมตร กว้าง 21.97 เมตร มีชายคาคาสองชั้นอยู่บนยอดและปูด้วยกระเบื้องเคลือบสีเหลือง มีตราแผ่นดินของสาธารณรัฐประชาชนจีนแขวนไว้ระหว่างชายคาทั้งสอง
รูปปั้นสิงโตสองตัวยืนอยู่หน้าประตู และอีกสองตัวเฝ้าสะพาน ในวัฒนธรรมจีน เชื่อว่าสิงโตจะปกป้องมนุษย์จากวิญญาณชั่วร้าย
หัวเปี่ยว (华表)[แก้]

เสาหินสองต้นเรียกว่า หัวเปี่ยว (จีนตัวย่อ: 华表; จีนตัวเต็ม: 華表; พินอิน: huábiǎo) มีสิงโตยืนอยู่บนยอด เดิมที วัตถุประสงค์ของการติดตั้งได้รับการออกแบบมาสำหรับประชาชนทั่วไปในการถวายฎีกาโดยการเขียนหรือติดคำร้องไว้บนเสา อย่างไรก็ตามเป็นเพียงการตกแต่งเท่านั้น และสื่อถึงความยิ่งใหญ่ของจักรพรรดิ
ป้ายคำขวัญ[แก้]
ด้านตะวันตกและตะวันออกของประตูมีการติดตั้งป้ายคำขวัญขนาดใหญ่ ด้านซ้ายเขียนว่า "中华人民共和国万岁" (พินอิน: Zhōnghuá Rénmín Gònghéguó wànsuì) แปลว่า "สาธารณรัฐประชาชนจีนจงเจริญ" ส่วนด้านขวาเขียนว่า "世界人民大团结万岁" (พินอิน: Shìjiè rénmín dà tuánjié wànsuì) แปลว่า "ความสามัคคีอันยิ่งใหญ่ของประชาชนโลกจงเจริญ"
แรกเริ่มนั้นป้ายด้านขวาได้ถูกเขียนว่า "中央人民政府万岁" (พินอิน: Zhōngyāng Rénmín Zhèngfǔ wànsuì) แปลว่า "รัฐบาลกลางของประชาชนจงเจริญ" สำหรับพิธีสถาปนาสาธารณรัฐประชาชนจีน
แต่ภายหลังพิธีสถาปนาสาธารณรัฐประขาชนจีนก็ได้เปลี่ยนมาเป็นใช้แบบปัจจุบัน แผ่นป้ายทั้งสองเปลี่ยนมาใช้ภาษาจีนตัวย่อแทนตัวอักษรจีนตัวเต็มในปี ค.ศ. 1960
แท่นอัฒจันทร์[แก้]
แท่นอัฒจันทร์ตั้งอยู่ทางด้านตะวันตกและด้านตะวันออกของประตู จะเปิดใช้งานในวันแรงงานสากล (1 พฤษภาคม) และวันชาติ (1 ตุลาคม) ของสาธารณรัฐประชาชนจีน และงานรัฐพิธีอื่น ๆ ของรัฐบาล ที่จัดขึ้นที่จัตุรัสเทียนอันเหมิน
ด้านหน้าของแท่นอัฒจันทร์คือคูเมืองของพระราชวังต้องห้าม ซึ่งปัจจุบันยังคงเต็มไปด้วยน้ำ และมีน้ำพุประดับไฟประดับอยู่
ภาพเหมือน[แก้]
ประวัติ[แก้]
เนื่องจากตำแหน่งของประตูเทียนอันอยู่ที่ด้านหน้าของพระราชวังต้องห้าม และเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์หลายเหตุการณ์ก็เกิดขึ้นที่จัตุรัสเทียนอันเหมิน ประตูนี้จึงมีความสำคัญทางการเมืองอย่างมาก
ในปี ค.ศ. 1925 เมื่อรัฐบาลสาธาณรัฐปกครองจีน ภาพเหมือนขนาดใหญ่ของซุน ยัตเซ็น ถูกแขวนไว้ที่ประตูหลังจากที่เขาเสียชีวิต
ในปี ค.ศ. 1945 ภาพเหมือนขนาดใหญ่ของเจียง ไคเชก ถูกแขวนไว้ที่ประตู เพื่อเป็นการเฉลิมฉลองชัยชนะเหนือญี่ปุ่น
ในวันที่ 7 กรกฎาคม ค.ศ. 1949 ภาพเหมือนขนาดใหญ่ของจู เต๋อ และเหมา เจ๋อตง ถูกแขวนเพื่อรำลึกถึงสงครามจีน–ญี่ปุ่นครั้งที่สอง
นับตั้งแต่วันที่สถาปนาสาธารณรัฐประชาชนจีนเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม ค.ศ. 1949 ภาพเหมือนขนาดใหญ่ของเหมา เจ๋อตงได้แขวนไว้ที่ประตู และจะเปลี่ยนภาพทุกปีก่อนวันชาติ
มีอยู่เพียง 1 ครั้งเท่านั้นที่นำภาพเหมือนของบุคคลอื่นมาแขวนที่ประตู คือในวันที่ 9 มีนาคม ค.ศ. 1953 เป็นภาพเหมือนของโจเซฟ สตาลิน ถูกแขวนเป็นการชั่วคราวเพื่อรำลึกถึงการเสียชีวิตของเขา
-
ภาพเหมือนของ เจียง ไคเชก ในยุคสาธารณรัฐ (ก่อนปี 1949)
-
ภาพเหมือนของโจเซฟ สตาลิน ในปี 1953
-
ภาพเหมือนของเหมา เจ๋อตง โดย เกอ เสี่ยวกวง (葛小光)
ตราแผ่นดิน[แก้]
เนื่องจากมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ ประตูเทียนอันเหมินจึงมีการแขวนตราแผ่นดินของสาธารณรัฐประชาชนจีนไว้ และตัวประตูเทียนอันเหมินก็ยังปรากฏในตราแผ่นดินสาธาณรัฐประชาชนจีนอีกด้วย

การเข้าถึง[แก้]

ประตูเทียนอันเหมินเปิดให้สาธารณชนเข้าชมทุกวันตั้งแต่ 8.30 น. ถึง 17.00 น.
รถไฟใต้ดิน[แก้]
- รถไฟใต้ดินปักกิ่ง สาย 1 มีจุดจอดที่สถานีเทียนอันเหมินตะวันตกและสถานีเทียนอันเหมินตะวันออก
รถประจำทาง[แก้]
- รถโดยสารประจำทางปักกิ่ง สาย 1, 2, 5, 52, 82, 120, ท่องเที่ยว 1, ท่องเที่ยว 2, กลางคืน 1, กลางคืน 2 และ กลางคืน 17 จอดใกล้ประตูเทียนอันเหมิน
อ้างอิง[แก้]
