พระตำหนักเฉียนชิง

พิกัด: 39°55′7.6″N 116°23′25.8″E / 39.918778°N 116.390500°E / 39.918778; 116.390500
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระตำหนักเฉียนชิง
Palace of Heavenly Purity
乾清宫
มุมมองภายนอกของพระตำหนักเฉียนชิง
แผนที่
ข้อมูลทั่วไป
ประเภทพระราชวัง
ที่ตั้งพระราชวังต้องห้าม
เมืองปักกิ่ง
ประเทศประเทศจีน
พิกัด39°55′7.6″N 116°23′25.8″E / 39.918778°N 116.390500°E / 39.918778; 116.390500
ที่ออกขุนนางในพระตำหนัก

พระตำหนักเฉียนชิง (อังกฤษ: Qianqing Palace หรือ Palace of Heavenly Purity; จีน: 乾清宫; พินอิน: qiánqīng gōng; แมนจู:ᡴᡳᠶᠠᠨ
ᠴᡳᠩ
ᡤᡠᠩ
; Möllendorff: kiyan cing gung) เป็นพระตำหนักหลังหนึ่งในตอนเหนือของพระราชวังต้องห้าม กรุงเป่ย์จิง ประเทศจีน เป็นพระตำหนักหลังใหญ่ที่สุดในบรรดาพระตำหนักสามหลังแห่งฝ่ายใน อีกสองหลัง คือ พระที่นั่งเจียวไท่ (交泰殿) และพระตำหนักคุนหนิง (坤寧宮)

พระตำหนักแห่งนี้เป็นอาคารมีจั่วสองชั้น ตั้งบนฐานหินอ่อนชั้นเดียว ในพระตำหนักแบ่งเป็น 2 ส่วน มีห้องนอน 9 ห้อง มีเตียงทั้งหมด 27 หลัง พระมหากษัตริย์ราชวงศ์หมิงจะบรรทมสลับกันไปเพื่อประโยชน์แห่งความปลอดภัย ธรรมเนียมนี้ประพฤติต่อมาถึงราชวงศ์ชิง แต่จักรพรรดิหย่งเจิ้งไม่ประสงค์จะใช้ห้องบรรทมเดียวกับจักรพรรดิคังซีพระบิดา จึงเสด็จไปประทับพระที่นั่งหย่างซิน (养心殿) พระมหากษัตริย์นับแต่นั้นก็เสด็จบรรทมที่พระตำหนักหยางซินสืบมา และเปลี่ยนพระตำหนักเฉียนชิงเป็นที่ออกขุนนาง ประชุมจฺวินจีชู่ (軍機處) และเลี้ยงโต๊ะ[1]

กลางพระตำหนักมีราชอาสน์และโต๊ะทรงอักษร[2] เหนือราชอาสน์ติดตั้งรูปมังกรขดไว้บนเพดาน และมีป้ายพระอักษร 4 ตัวที่จักรพรรดิซุ่นจื้อทรงไว้ ความว่า "เจิ้งต้ากวงหมิง" (正大光明) แปลว่า "เที่ยงตรงโปร่งใส"

นับแต่รัชกาลจักรพรรดิหย่งเจิ้ง พระมหากษัตริย์ทรงออกราชโองการลับตั้งรัชทายาทไว้สองฉบับข้อความเหมือนกัน ฉบับหนึ่งซ่อนไว้หลังป้ายพระอักษรนี้ อีกฉบับทรงพกไว้กับพระองค์เสมอ[3]

อ้างอิง[แก้]

  1. China Central Television, The Palace Museum (2005). Gugong: "II. Ridgeline of a Prosperous Age" (Documentary). China: CCTV.
  2. p 78, Yu (1984)
  3. p 51, Yang (2003)

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]