พระที่นั่งหย่างซิน

พิกัด: 39°55′06″N 116°23′22″E / 39.91835°N 116.38940°E / 39.91835; 116.38940
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระที่นั่งหย่างซิน
Hall of Mental Cultivation
ชื่อในภาษาท้องถิ่น
Yǎngxīn Diàn
养心殿
ภายนอกท้องพระโรง
ที่ตั้งพระราชวังต้องห้าม
นครใกล้สุดปักกิ่ง
พิกัด39°55′06″N 116°23′22″E / 39.91835°N 116.38940°E / 39.91835; 116.38940
สร้างเมื่อ1537
การใช้งานดั้งเดิมที่ประทับของจักรพรรดิ การปกครอง การบริหาร
สร้างใหม่ในช่วงราชวงศ์ชิง
บูรณะโดยพิพิธภัณฑ์พระราชวัง, ปักกิ่ง
สถานะสถานที่ท่องเที่ยว
ผู้ดูแลพิพิธภัณฑ์พระราชวัง, ปักกิ่ง
พระที่นั่งหย่างซินตั้งอยู่ในปักกิ่ง
พระที่นั่งหย่างซิน
ตำแหน่งที่ตั้งพระที่นั่งหย่างซิน
Hall of Mental Cultivationในปักกิ่ง

พระที่นั่งหย่างซิน (อังกฤษ: Hall of Mental Cultivation; จีนตัวย่อ: 养心殿; จีนตัวเต็ม: 養心殿; พินอิน: Yǎngxīn Diàn, แมนจู: ᠶᠠᠩ
ᠰᡳᠨ
ᡩᡳᠶᠠᠨ
yang sin diyan) เป็นอาคารในเขตพระราชฐานชั้นในของพระราชวังต้องห้าม ในปักกิ่ง ประเทศจีน ท้องพระโรงเป็นโครงสร้างไม้ที่มีโดมเพดาน และสร้างขึ้นครั้งแรกในช่วงราชวงศ์หมิง ในปี ค.ศ. 1537 และถูกสร้างขึ้นใหม่ในช่วงราชวงศ์ชิง[1] ในช่วงต้นราชวงศ์ชิงภายใต้รัชสมัยของจักรพรรดิคังซี ท้องพระโรงส่วนใหญ่ใช้เป็นห้องเครื่อสำหรับการออกแบบและผลิตวัตถุช่าง เช่น นาฬิกา[1][2][3] ตั้งแต่รัชสมัยของจักรพรรดิยงเจิ้งในช่วงศตวรรษที่ 18 ท้องพระโรงใช้เป็นที่ประทับของจักรพรรดิ[1] ในรัชสมัยของจักรพรรดิเฉียนหลงจนถึงการล่มสลายของราชวงศ์ชิง ท้องพระโรงแห่งนี้ได้กลายเป็นศูนย์กลางการบริหารและการเมืองการปกครอง[1] ในหอไออุ่นตะวันตก จักรพรรดิจะจัดการประชุมส่วนพระองค์และหารือเกี่ยวกับกิจการของบ้านเมืองกับข้าราชการระดับสูง[1] หลังจากการสิ้นพระชนม์ของจักรพรรดิเสียนเฟิงซีอันและซูสีฮองไทเฮาว่าราชการจากภายในห้องไออุ่นตะวันออก ซึ่งจะให้รัฐมนตรีเข้าเฝ้าและปกครองอยู่เบื้องหลังม่านผ้าไหมระหว่างการว่าราชการแทนจักรพรรดิถงจื้อและจักรพรรดิกวังซฺวี่ ซึ่งทั้งคู่สืบราชบัลลังก์ในฐานะเด็กในช่วงครึ่งหลังของศตวรรษที่ 19[1][4]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 Yang, Hong; Xie, Jiawei; Ji, Lifang (2018). "The Historical Information of the Decorative Polychrome Painting in the Hall of Mental Cultivation Complex, Forbidden City". Built Heritage. 2 (1): 19–38. doi:10.1186/BF03545700. ISSN 2096-3041.
  2. Curtis, Emily Byrne (2020). Chinese-Islamic works of art, 1644–1912 : a study of some Qing dynasty examples. Lü Xue, Ricardo Joppert. New York: Routledge. ISBN 978-1-003-00044-0. OCLC 1112787673.
  3. Moll-Murata, Christine (2018-08-24). "2. The Qing Central Government Institutions in Control of the Handicrafts". State and Crafts in the Qing Dynasty (1644–1911) (ภาษาอังกฤษ). Amsterdam University Press. pp. 69–108. doi:10.1515/9789048537938-006. ISBN 978-90-485-3793-8. S2CID 239392733.
  4. Zhu, Jianfei (2004). Chinese Spatial Strategies: Imperial Beijing, 1420–1911. Psychology Press. p. 125. ISBN 978-0-415-31883-9.