ไผฟาง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ไผฟาง
ภาษาจีน牌坊
ความหมายตามตัวอักษรmemorial archway gate
Pailou
อักษรจีนตัวย่อ牌楼
อักษรจีนตัวเต็ม牌樓
ความหมายตามตัวอักษรmemorial archway edifice

ไผฟาง หรือ ไผโหลว เป็นซุ้มประตูแบบสถาปัตยกรรมจีน โดยมีวิวัฒนาการมาจากโตรณะในสถาปัตยกรรมอินเดีย ซึ่งเข้ามาในจีนพร้อมกับการเผยแผ่พระพุทธศาสนา ไผฝางมีการพัฒนารูปแบบและแพร่กนะจายไปทั่วภูมิภาค ทั้งในเกาหลี, ญี่ปุ่น และเวียดนาม[1]

ศัพทมูล[แก้]

คำว่า "ไผฟาง" (จีน: 牌坊; พินอิน: páifāng) เป็นขื่อเรียกรวม ๆ ของเขตการปกครองระดับบนสุดสองระดับในเมืองของจีนโบราณ โดยขอบเขตที่ใหญ่ที่สุดในเมืองหนึ่งคือ "ฟาง" (; fāng) เทียบเท่ากับคำในภาษาอังกฤษคำว่า precinct ฟางแต่ละแห่งมีรั้วกำแพงหุ้มและมีการป้องกันอย่างแน่นหนา ในแต่ละฟางจะแบ่งออกเป็น "ไผ" (; pái; "placard") ย่อย ๆ เทียบได้กับชุมชนย่อย ๆ ในปัจจุบัน

ระบบการแบ่งการปกครองนี้มาถึงจุดที่ซับซ้อนในสมัยราชวงศ์ถัง ดั้งเดิมแล้วตำว่า "ไผฝาง" ไว้เรียกประตูเข้าแต่ละ "ฟาง" แต่ตาอมาในสมัยราชวงศ์ซ่ง ไผฟางได้เปลี่ยนไปในรูปแบบสิ่งก่อสร้างสำหรับตกแต่งเท่านั้น

ประวัติ[แก้]

โตรณะเข้าสู่เอเชียตะวันออกผ่านการเผยแผ่ศาสนาพุทธตามเส้นทางสายไหม (Silk Road transmission of Buddhism) ในจีนกลายเป็น "ไผฟาง"[2] หรือ "โทริอิ" ในญี่ปุ่น[2][3] "ฮงซัลมุน" ในเกาหลี[4] หรือแม้แต่ "เสาชิงช้า" ในกรุงเทพมหานคร[3] ทั้งหมดล้วนมีหน้าที่เดียวกัน ต่างกันเพียงลักษณะสถาปัตยกรรมและการตกแต่ง[5][6] ไผฟางนั้นพัฒนามาจากโตรณะ[7] ผสมผสานกับลักษณะสถาปัตยกรรมแบบจีน เช่น หลังคาหลายชั้น, เสาค้ำยันหลายเสา และทรงโค้งประตูแบบจีน[8][9] การดัดแปลงของโตรณะเป็นหนึ่งในตัวอย่างของการรับวัฒนธรรมอินเดียที่พบในวัฒนธรรมของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ซึ่งได้รับอิทธิพลจากภารตภิวัฒน์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และในเอเชียตะวันออกได้รับวัฒนธรรมอินเดียจากการเผยแผ่ศาสนาพุทธผ่านเส้นทางสายไหม[10][11][12][13]

รูปแบบ[แก้]

ไผฟางทางเข้าศาลเจ้าพ่อเขาใหญ่สร้างด้วยหินสีขาว ไม่มีการลงสีตกแต่ง เป็นรูปแบบไผฟางที่พบได้ทั่วไปในศาสนสถาน

ไผฟางมีรูปแบบที่หลากหลาย รูปแบบที่พบมากสร้างด้วยไม้ โดยทั่วไปเสาทาสีแดง และมีคานที่ตกแต่งอย่างละเอียดสวยงาม พร้อมทั้งมีอักษรวิจิตรจีน และหลังคาประดับด้วยกระเบื้องสีสันสดใส และประดับบนยอดด้วยสิ่งมีชีวิตตามตำนาน เช่นเดียวกับที่ใช้ประดับพระราชวังจีน นอกจากนี้ยังมีไผฟางอีกรูปแบบหนึ่งที่สร้างด้วยหินหรืออิฐ ตกแต่งด้วยสีสันหรือกระเบื้องสีต่าง ๆ ส่วนไผฟางอีกแบบที่พบมากตามศาสนสถานและสุสาน ประกอบด้วยเสาและคานหินสีขาว ปราศจากการตกแต่งด้วยสีสันหรือเครื่องตกแต่งอื่น ๆ แต่พบการแกะสลักบนไผฟาง

สำหรับภายนอกบริเวณเอเชียตะวันออก ไผฟางถือเป็นสัญลักษณ์ของชุมชนชาวจีนโพ้นทะเล (ไชน่าทาวน์) ไผฟางที่ใหญ่ที่สุดที่ตั้งอยู่นอกประเทศจีนคือ "เฟรนด์ชิพอาร์คเวย์" (Friendship Archway) ที่ ไชน่าทาวน์ วอชิงตัน ดีซี

ในอดีตมีการมอบ "ไผฟางแห่งความบริสุทธิ์" (Chastity Paifangs) ให้กับม่ายที่ไม่แต่งงานจนวาระสุดท้าย เพื่อเชิดชูความซื่อสัตย์ที่มีต่อสามีผู้ล่วงลับ

อ้างอิง[แก้]

  1. A.H. Longhurst (1995). Story Of The Stupa. Asian Educational Services. pp. 17–. ISBN 978-81-206-0160-4.
  2. 2.0 2.1 Albert Henry Longhurst (1992). The Story of the Stūpa. Asian Educational Services. p. 17. ISBN 978-81-206-0160-4.
  3. 3.0 3.1 Scheid, Bernhard. "Religion in Japan". Torii (ภาษาเยอรมัน). University of Vienna. สืบค้นเมื่อ 12 February 2010.
  4. A.H. Longhurst (1995). Story Of The Stupa. Asian Educational Services. pp. 17–. ISBN 978-81-206-0160-4.
  5. Ronald G. Knapp (2000). China's old dwellings. University of Hawaii Press. p. 85. ISBN 0-8248-2214-5.
  6. Simon Foster; Jen Lin-Liu; Sharon Owyang; Sherisse Pham; Beth Reiber; Lee Wing-sze (2010). Frommer's China. Frommers. p. 435. ISBN 0-470-52658-0.
  7. Joseph Needham, Science and Civilization in China, Vol 4 part 3, p137-138
  8. Ronald G. Knapp (2000). China's old dwellings. University of Hawaii Press. p. 85. ISBN 0-8248-2214-5.
  9. Simon Foster; Jen Lin-Liu; Sharon Owyang; Sherisse Pham; Beth Reiber; Lee Wing-sze (2010). Frommer's China. Frommers. p. 435. ISBN 0-470-52658-0.
  10. Kenneth R. Hal (1985). Maritime Trade and State Development in Early Southeast Asia. University of Hawaii Press. p. 63. ISBN 978-0-8248-0843-3.
  11. Fussman, Gérard (2008–2009). "History of India and Greater India". La Lettre du Collège de France (4): 24–25. doi:10.4000/lettre-cdf.756. สืบค้นเมื่อ 20 December 2016.
  12. Lavy, Paul (2003), "As in Heaven, So on Earth: The Politics of Visnu Siva and Harihara Images in Preangkorian Khmer Civilisation", Journal of Southeast Asian Studies, 34 (1): 21–39, doi:10.1017/S002246340300002X, สืบค้นเมื่อ 23 December 2015
  13. "Buddhism in China: A Historical Overview" (PDF). The Saylor Foundation 1. สืบค้นเมื่อ 12 February 2017.