หลี่ จื้อเฉิง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
หลี่ จื้อเฉิง
อนุสาวรีย์ของ หลี่ จื้อเฉิง
จักรพรรดิแห่งราชวงศ์ชุน
ครองราชย์ค.ศ.1644–1645
ประสูติ22 กันยายน ค.ศ.1606
หมู่บ้าน Li Jiqian, อำเภอ Yan'an, ทางตะวันออกเฉียงเหนือของมณฑลส่านซี, ราชวงศ์หมิง
สวรรคต1645 (อายุ 38–39)
ชายแดนมณฑลหูเป่ย์, มณฑลหูหนาน และมณฑลเจียงซี, ราชวงศ์ชิง
คู่อภิเษกGao Guiying
พระนามเต็ม
หลี่ จื้อเฉิง (จีน: 李自成; พินอิน: Lǐ Zìchéng), ชื่อตอนเกิด: หลี่ หงจี (จีน: 李鴻基; พินอิน: Lǐ Hóngjī)
รัชศก
Yongchang (永昌): ค.ศ.1644–1645
ราชวงศ์ราชวงศ์ชุน
หลี่ จื้อเฉิง
ภาษาจีน李自成
หลี่ หงจี
อักษรจีนตัวเต็ม李鴻基
อักษรจีนตัวย่อ李鸿基
"กษัตริย์ผู้กล้า"
อักษรจีนตัวเต็ม闖王
อักษรจีนตัวย่อ闯王

หลี่ จื้อเฉิง (จีน: 李自成; พินอิน: Lĭ Zìchéng) เป็นสมาชิกกบฏเมืองแมนแดนสันติ ในปลายยุคราชวงศ์หมิงต่อกับช่วงต้นราชวงศ์ชิง เป็นผู้เอาชนะใจราษฎรได้ส่วนใหญ่ จนได้รับฉายาว่า "กษัตริย์ผู้กล้า" ทั้ง ๆ ที่ไม่ใช่เป็นกษัตริย์[1] ทุกวันนี้ มีอนุสาวรีย์ขนาดใหญ่ของหลี่ จื้อเฉิง อยู่ที่บริเวณทางเข้าสุสานจักรพรรดิราชวงศ์หมิงและชิง กรุงปักกิ่ง

ประวัติ[แก้]

หลี่ จื้อเฉิง เกิดเมื่อวันที่ 22 กันยายน ค.ศ. 1606 โดยมีชื่อเดิมว่า หลี่ หงจี (Lĭ Hóngjī, 鴻基) ที่มณฑลส่านซี ด้วยการเป็นคนเลี้ยงแกะ จึงได้ชำนาญการขี่ม้าและยิงธนู ด้วยอายุเพียง 20 ปี

กบฏชาวนา[แก้]

ต่อมาเกิดทุกขภิกขภัยทั่วไปในมณฑลส่านซี แต่ทางการก็ยังเก็บรีดไถภาษีกับราษฎร จึงเกิดกบฏชาวนาขึ้นมา 2 กลุ่มใหญ่ ๆ โดย หลี่ จื้อเฉิง และ จางเซี่ยนจง (张献忠)โดยในระหว่างทำศึกจางเซี่ยนจงได้เคยเพลี่ยงพล้ำพ่ายแพ้ให้กับทางการ ส่วนหลี่ จื้อเฉิงในขณะทำศึก มักจะนำเอาอาหารที่ยึดได้มาแจกจ่ายให้กับผู้อดอยาก ทั้งยังประกาศให้ใช้ที่ดินทำกินได้โดยไม่เสียภาษี ทำให้มีผู้คนแห่แหนมาเข้าร่วมด้วยจนมีกองกำลังหลายหมื่นคน

ในปี ค.ศ. 1643 หลี่ จื้อเฉิงได้เข้ายึดเมืองเซียงหยาง และตั้งตนขึ้นเป็น ซินซุ่นหวัง (新順王) และเมื่อบุกยึดฉ่านซีได้ทั้งมณฑลก็ตั้งตัวเองขึ้นเป็นฮ่องเต้ โดยเรียกชื่ออาณาจักรของตนว่า ต้าซุ่น จากนั้นได้ทำตามแผนการของที่ปรึกษานาม กู้จวินเอิน ให้ใช้ฉ่านซีเป็นฐานที่มั่น บุกเข้าสู่ซีอาน จากนั้นค่อยบุกต่อไปยังปักกิ่งซึ่งถือเป็นหัวใจสำคัญของราชวงศ์หมิง

หลี่ จื้อเฉิงนำทัพบุกข้ามแม่น้ำฮวงโหบุกยึดไท่หยวน ต้าถง เซวียนฝู่ เข้าสู่ด่านยงกวนด้วยชัยชนะมาตลอดทาง กระทั่งเดือน 3 ของปี ค.ศ. 1644 ได้นำทัพเข้าปิดล้อมปักกิ่ง จนฮ่องเต้หมิงซือจงเห็นว่าจบสิ้นแล้ว จึงได้ปลงพระชนม์ตนเองด้วยการผูกคอตายที่ภูเขาเหมยซัน ชานกรุงปักกิ่ง ฮ่องเต้หมิงซือ จึงได้ว่าเป็นฮ่องเต้องค์สุดท้ายแห่งราชวงศ์หมิง

แม้หลี่ จื้อเฉิงจะสามารถยึดครองปักกิ่งไว้ได้ ทว่าแรงกดดันจากกองทัพอื่น ๆ ก็ยังไม่จบสิ้น ยังมีกำลังทหารแตกทัพของราชวงศ์หมิง กองกำลังของอู๋ซานกุ้ย (吴三桂) ที่ด่านซันไห่กวน (山海关) และกองทัพจากแมนจูจากทางตะวันออกเฉียงเหนือคอยคุกคามอยู่

หลี่ จื้อเฉิงได้ส่งหนังสือให้อู๋ซานกุ้ยยอมสวามิภักดิ์ จากนั้นก็ได้ให้อู๋เซียง บิดาของอู๋ซานกุ้ยที่อยู่ในเมืองหลวงเขียนจดหมายไปกล่อมอีกทาง อีกทั้งได้ส่งคณะทูตนำเงินทองมากมาย พร้อมหนังสือแต่งตั้งให้อู๋ซานกุ้ยขึ้นมีตำแหน่งบรรดาศักดิ์ แต่ในขณะที่อู๋ซานกุ้ยกำลังเดินทางมาเมื่อสวามิภักดิ์ต่อหลี่ จื้อเฉิง กลับได้พบกับคนรับใช้ที่หนีออกมาจากเมืองหลวงที่มาส่งข่าวว่าบัดนี้อู๋เซียงถูกจับเป็นตัวประกันและถูกริบทรัพย์สมบัติ นอกจากนั้นเฉินหยวนหยวน (陈圆圆 )อนุภรรยาของอู๋ซานกุ้ยยังถูกแม่ทัพหลิวจงหมิ่นชิงตัวไป

เหตุนี้ทำให้อู๋ซานกุ้ยตัดสินใจที่จะหันกลับไปจับมือกับตัวเอ่อกุ่น (多爾衮) แม่ทัพของแมนจู จากนั้นส่งคนให้แสร้งไปส่งข่าวยอมสวามิภักดิ์ต่อหลี่ จื้อเฉิงเพื่อถ่วงเวลาเอาไว้ก่อน ทว่าในภายหลังเมื่อหลี่ จื้อเฉิงได้ทราบข่าวว่าอู๋ซานกุ้ยสวามิภักดิ์ต่อแมนจูแล้ว จึงได้นำทัพราว 6 หมื่นเพื่อลงมาปราบปราม แต่ในยามนั้นอู๋ซานกุ้ยได้ลอบเปิดด่านให้กองทัพแมนจูยกเข้ามาอ้อมตีกองทัพของหลี่ จื้อเฉิง จนหลี่ จื้อเฉิงต้องถอยทัพกลับปักกิ่งโดยมีทัพของอู๋ซานกุ้ยไล่ตามมา หลี่ จื้อเฉิงแก้แค้นด้วยการตัดศีรษะบิดาของอู๋ซานกุ้ยเสียบประจานที่กำแพงเมืองปักกิ่ง จนทหารชิงได้เข้ายึดปักกิ่งได้สำเร็จ กองทัพหลี่ จื้อเฉิงที่พ่ายแพ้ถอยร่นไปก็ถูกโจมตีและสังหารไปในที่สุดในปี ค.ศ. 1645 เป็นอันอวสานราชวงศ์จีนที่ปกครองโดยชาวฮั่น[2]

เรื่องราววีรกรรมของหลี่ จื้อเฉิงได้ถูกเล่าขานกันต่อมามากมาย มีเรื่องเล่ากันว่า ตอนที่เขาก่อกบฏนั้น ยกทัพเข้าเมืองไคเฟิง ซึ่งขณะนั้นเขากำลังจะบุกเข้าตีเมือง ได้มีผู้ปล่อยข่าวว่า เขาเป็นบุคคลที่น่ากลัว เดินทางไปทางไหนจะมีแต่ความตาย หลี่ จื้อเฉิงได้ปลอมตัวเป็นพ่อค้าข้าวเข้ามาดูลาดเลาในเมือง หลี่ จื้อเฉิงจึงกล่าวกับชาวบ้านว่า ที่แท้หลี่ จื้อเฉิงไม่ใช่บุคคลที่น่ากลัว ซ้ำยังมีเมตตากรุณาต่อชาวบ้านอีก อย่าได้เชื่อคำเล่าลือ ผู้คนจึงเปลี่ยนใจและออกอุบายว่า ให้ทุกคนแขวนโคมแดงไว้หน้าบ้าน เมื่อหลี่ จื้อเฉิงบุกเข้ามาได้จะไว้ชีวิตและให้ความช่วยเหลือบ้านนั้น

เมื่อหลี่ จื้อเฉิงบุกเข้าไป พวกขุนนางในเมืองใช้วิธีการปล่อยน้ำให้ท่วมเมือง แต่หลี่ จื้อเฉิงได้เตรียมเรือแพไว้แล้ว และนัดแนะกับชาวบ้านเรื่องโคมแดงไว้แล้ว ซึ่งพวกบรรดาขุนนางที่ฉ้อราษฎร์บังหลวงต่างไม่มีใครรู้เรื่องนี้ หลี่ จื้อเฉิงจึงไม่ช่วยเหลือ แต่จะช่วยเฉพาะบ้านที่แขวนโคมแดงไว้หน้าบ้านเท่านั้น จนกลายมาเป็นประเพณีการแขวนโคมแดงไว้หน้าบ้านทุกวันเทศกาลสำคัญ ๆ ของจีนในปัจจุบัน เช่น ตรุษจีน เป็นต้น[1]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 หน้า 34-41. หนังสือ สนุกกับเทศกาลเฉลิมฉลอง แปลและเรียบเรียงโดย แสงจินดา กันยาทิพย์, (พ.ศ. 2541) สำนักพิมพ์ดอกหญ้า ISBN 974-604-217-3
  2. ราชวงศ์หมิง (1368-1644) - ตอนจบ[ลิงก์เสีย]