จักรพรรดิชุ่นจื้อ
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
![]() | ในบทความนี้ หรือส่วนของบทความนี้ ยังคลุมเครือว่า เนื้อหาที่ใดเป็นเรื่องจริง ที่ใดเป็นเรื่องสมมุติ (เรื่องเล่าขาน, นิยาย, ภาพยนตร์ ฯลฯ) โปรดเรียบเรียงใหม่โดยแยกแยะให้ชัดเจน ตามแนวทางการแยกเรื่องจริงกับเรื่องสมมุติ |
จักรพรรดิชุ่นจื้อ | |||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
![]() | |||||||||||||||||
ฮ่องเต้องค์ที่ 2 แห่งราชวงศ์ชิง | |||||||||||||||||
ครองราชย์ | 8 ตุลาคม ค.ศ. 1643 - 5 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1661 ( 17 ปี 120 วัน) | ||||||||||||||||
ก่อนหน้า | จักรพรรดิหวงไท่จี๋ | ||||||||||||||||
ถัดไป | จักรพรรดิคังซี | ||||||||||||||||
ฮองเฮา | จักรพรรดินีบอร์จิกิต จักรพรรดินีเสี้ยวหุ้ยจาง | ||||||||||||||||
พระราชบุตร | องค์ชายหย่งก้าน องค์ชายฝูฉวน องค์ชายเสวียนเย่ องค์ชายฉางหนิง องค์ชายฉีโซ่ว องค์ชายหลงซี องค์ชายหย่งก้าน | ||||||||||||||||
| |||||||||||||||||
พระราชบิดา | จักรพรรดิหวงไท่จี๋ | ||||||||||||||||
พระราชมารดา | จักรพรรดินีเสี้ยวจวงเหวิน | ||||||||||||||||
ประสูติ | 15 มีนาคม ค.ศ. 1638 Shengjing, แมนจูเรีย | ||||||||||||||||
สวรรคต | 5 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1661 (22 ปี) พระราชวังต้องห้าม, ปักกิ่ง, จักรวรรดิชิง | ||||||||||||||||
ฝังพระศพ | Xiaoling, Eastern Qing Tombs, Zunhua |
![]() |
คอมมอนส์ มีภาพและสื่อเกี่ยวกับ: Shunzhi Emperor |
จักรพรรดิชุ่นจื้อ (จีนตัวย่อ: 顺治; จีนตัวเต็ม: 順治; พินอิน: Shùnzhì) จักรพรรดิองค์ที่ 3 ของราชวงศ์ชิง แต่ในบางครั้งจะนับพระองค์เป็น ปฐมจักรพรรดิ ของราชวงศ์ชิง ด้วยทรงเป็นจักรพรรดิแมนจูพระองค์แรกที่ได้ประทับในพระราชวังต้องห้ามที่กรุงปักกิ่ง และราชวงศ์หมิงถึงกาลสิ้นสุดอย่างแท้จริง
มีพระนามเดิมว่า อ้ายซินเจี๋ยว์หลอ ฝูหลิน (爱新觉罗福临) ซึ่งเป็นพระโอรสคนที่ 9 ของหวงไท่จี๋ ทรงขึ้นครองราชย์เพียงพระชนมพรรษา 6 ขวบ ในปี พ.ศ. 2186 (ค.ศ. 1643) หลังการสวรรคตของจักรพรรดิหวงไถจี๋ พระราชบิดา และ เซี่ยวจวงก็เลื่อนศักดิ์ขึ้นมาเป็นไทเฮา โดยมีตัวเอ่อกุ่นที่มีศักดิ์เป็นพระปิตุลาเป็นผู้สำเร็จราชการ (摄政王) และมีเจิ้งชินหวัง (郑亲王) คอยให้การช่วยเหลือ ตั่วเอ่อกุ่นได้พยายามยึดกุมอำนาจปกครองอันแท้จริงเอาไว้ อีกทั้งยังตั้งตนเองเป็นพระราชบิดา ควบคุมกองทัพกองธงไว้ถึง 3 กองธง ในขณะที่ฮ่องเต้ปกครองอยู่เพียง 2 กองธง พระองค์ต้องอยู่ใต้การสำเร็จราชการแผ่นดินของตั่วเอ่อกุ่น พระอนุชาต่างพระมารดาของพระราชบิดา ซึ่งตั่วเอ่อกุ่นนับว่าเป็นบุคคลที่มีอิทธิพลอย่างมาก อีกทั้งยังมีสิทธิ์ที่จะได้ขึ้นครองราชย์อีกด้วย ตั่วเอ่อกุ่นได้กระทำการหลายอย่างที่จะไม่ให้พระองค์เจริญชันษามาด้วยความปรีชาสามารถ เช่น ไม่สนับสนุนให้ทรงเล่าเรียน เป็นต้น แต่ทว่า อำนาจของตั่วเอ่อกุ่นก็ถูกคานจากพระนางเสี้ยวจวงไทเฮา (孝庄太后)พระมารดา กระทั่งปี ค.ศ.1650 เมื่อตัวเอ่อกุ่นเสียชีวิตลง ชุ่นจื้อที่เริ่มหลุดจากการเป็นหุ่นเชิด ได้ประกาศราชโองการยกเลิกตำแหน่ง บรรดาศักดิ์ และริบทรัพย์ทั้งหมดของตัวเอ่อกุ่นเป็นการลงโทษในข้อหาใช้อำนาจบาตรใหญ่ในขณะที่มีชีวิตอยู่ นอกจากนั้นยังลือกันว่ามีการขุดศพของตัวเอ่อกุ่นขึ้นมาทำการตีด้วยไม้และโบยด้วยแส้อีกด้วย
หลังจากนั้น เพื่อให้อำนาจกลับคืนสู่ฮ่องเต้อย่างแท้จริง ชุ่นจื้อยังได้ทำการปลดองค์ชายและเชื้อพระวงศ์หลายคนที่เคยดูแลหน้าที่ในกระทรวงต่าง ๆ อีกทั้งเพื่อลดความขัดแย้งระหว่างชนชาติ จึงทรงมีรับสั่งให้มีการหยุดการเวนคืนที่ดินจากประชาชน ผ่อนปรนกฎหมายคนหลบหนี ผลักดันวัฒนธรรมชาวฮั่น ซึ่งการยกย่องวัฒนธรรมของชาวฮั่นกับความคิดในการปฏิรูปเพื่อให้แมนจูกับชาวฮั่นสามารถอยู่ร่วมกันของชุ่นจื้อ ได้ก่อให้เกิดความขัดแย้งกับขุนนางใหญ่จำนวนไม่น้อย
ความผิดหวังในทางการเมือง ได้ทำให้ชุ่นจื้อหันมาทุ่มเทให้กับความรักให้กับพระมเหสีต่งเอ้อ พระสนมต่งเอ้อ โดยเล่าขานกันว่า พระมเหสีต่งเอ้อเดิมเป็นน้องสะใภ้ของชุ่นจื้อ เป็นภรรยาของป๋อมู่ป๋อกั่วเอ่อ (博穆博果尔) แต่มีความสนิทสนมใกล้ชิดกับชุ่นจื้อมาก หลังป๋อกั่วเอ่อเสียชีวิตในปีชุ่นจื้อที่ 13 ฮ่องเต้ชุ่นจื้อจึงได้แต่งตั้งนางให้เป็นพระสนมของตน หลังจากเป็นสนมของชุ่นจื้อได้หนึ่งปี พระมเหสีต่งเอ้อก็ได้ให้กำเนิดพระโอรส ซึ่งเดิมจะได้รับการแต่งตั้งเป็นรัชทายาท ทว่าพระโอรสพระองค์นี้กลับเสียชีวิตไปเมื่ออายุได้เพียง 3 เดือน ทำให้พระมเหสีต่งเอ้อตรอมใจจนสิ้นพระชนม์ และได้รับการอวยยศตามหลังจากเซี่ยวจวงฮองไทเฮา ให้เป็นเสี้ยวเซี่ยนตวนจิ้งฮองเฮา
จักรพรรดิชุ่นจื้อครองราชย์ถึงปีที่ 18 (ค.ศ. 1661) ก็สวรรคตไปด้วยพระชนมายุเพียง 24 พรรษา ทว่าการสวรรคตของพระองค์กลับเป็นปริศนาถูกกล่าวขานไว้หลายรูปแบบ โดยบ้างระบุว่าพระองค์เสียพระทัยกับการสูญเสียพระสนมและพระโอรส ทำให้ร่างกายและจิตใจได้รับความกระทบกระเทือน และสิ้นพระชนม์ด้วยโรคฝีดาษ (ไข้ทรพิษ)ในปี พ.ศ. 2204 (ค.ศ. 1661) ในขณะที่บันทึกของชาวบ้านกลับระบุว่า พระองค์ทรงมีความฝักใฝ่ในพระพุทธศาสนาอย่างแรงกล้า สุดท้ายเมื่อสูญเสียพระสนมอันเป็นที่รัก จึงได้ออกผนวช ณ เขาอู่ไถ (五台山) และต่อมาพระโอรสลำดับที่ 3 ของพระองค์ ที่ประสูติแต่ พระมเหสีคัง คือ องค์ชายเสวียนเยว่ (玄燁) พระชนมายุเพียง 8 พรรษา ได้ขึ้นครองราชย์เป็นฮ่องเต้คังซีตามพระพินัยกรรมของชุ่นจื้อในนาม จักรพรรดิคังซี ซึ่งต่อมาทรงเป็นจักรพรรดิผู้ยิ่งใหญ่ของราชวงศ์ชิง และพระนางเสี้ยวจวงก็เป็นผู้อุปการะพระองค์มาโดยตลอด และได้เลื่อนพระอิสริยยศเป็นไท่หวงไทเฮา
พระบรมวงศานุวงศ์[แก้]
- พระราชบิดา: จักรพรรดิหวงไท่จี๋
- พระราชมารดา: จักรพรรดินีเสี้ยวจวงเหวิน
- พระอัครมเหสี (皇后)
- จักรพรรดินีโป๋เอ่อร์จี้จี๋เท่อ
- จักรพรรดินีเสี้ยวหุ้ยจาง (孝惠章皇后) จากสกุลโป๋เอ่อร์จี้จี๋เท่อ (博爾濟吉特)
- พระอัครชายา (妃)
- พระอัครชายาคัง (康妃) จากสกุลถงเจีย (佟佳) ภายหลังได้รับการสถาปนาเป็น จักรพรรดินีเสี้ยวคังจาง
- พระอัครชายาเสียน (贤妃) จากสกุลต่งเอ้อ (董鄂) ภายหลังได้รับการสถาปนาเป็น จักรพรรดินีเสี้ยวเซี่ยนตวนจิ้ง
- พระอัครชายาเจิน (貞妃) จากสกุลต่งเอ้อ (董鄂)
- พระอัครชายาจิ้ง (靜妃) จากสกุลโป๋เอ่อร์จี้จี๋เท่อ (博爾濟吉特)
- พระอัครชายาซูฮุ่ย (淑惠妃) จากสกุลโป๋เอ่อร์จี้จี๋เท่อ (博爾濟吉特)
- พระอัครชายากงจิ้ง (恭靖妃) จากสกุลโป๋เอ่อร์จี้จี๋เท่อ (博爾濟吉特)
- พระอัครชายาตวนชุ่น (端順) จากสกุลโป๋เอ่อร์จี้จี๋เท่อ (博爾濟吉特)
- พระอัครชายาหนิงเชวี่ย (寧愨妃) จากสกุลต่งเอ้อ (董鄂)
- พระอัครชายาเค่อ (恪妃) จากสกุลสือ (石)
- พระสนมขั้นชู่เฟย (庶妃)
- พระสนม จากสกุลมู่เค่อถู (穆克图)
- พระสนม จากสกุลปา (巴)
- พระสนม จากสกุลเฉิน (陳)
- พระสนม จากสกุลถัง (唐)
- พระสนม จากสกุลหนิ่ว (钮)
- พระสนม จากสกุลหยาง (杨)
- พระสนม จากสกุลอูซู (乌苏)
- พระสนม จากสกุลน่าหล่า (纳喇)
- พระราชโอรส
- องค์ชายหนิวหนิ่ว (牛鈕,1651–1652) พระโอรสในพระสนม สกุลปา
- องค์ชายฝูฉวน (福全,1653–1703) อู้เสี่ยนชินอ๋อง (裕憲親王,1667-1703);พระโอรสในพระชายาหนิงเชวี่ย
- องค์ชายเสวียนเยวี่ย (玄燁,1654–1722) ภายหลังเป็นจักรพรรดิ;พระโอรสในจักรพรรดินีเสี้ยวคังจาง
- องค์ชายไม่ปรากฏพระนาม (1657) หรงชินอ๋อง (榮親王);พระโอรสในพระอัครชายาเซียน
- องค์ชายฉางหนิง (常寧,1657–1703) กงชินอ๋อง (恭親王,1671-1703);พระโอรสในพระสนม สกุลเฉิน
- องค์ชายฉีโซ่ว (奇授,1659–1665) พระโอรสในพระสนม สกุลถัง
- องค์ชายหลงซี (隆禧,1660–1679) ฉุนจิ้งชินอ๋อง (純靖親王,1674-1679);พระโอรสในพระสนม สกุลหนิ่ว
- องค์ชายหย่งก้าน (永幹,1660–1667) พระโอรสในพระสนม สกุลมู่เค่อถู
- พระราชธิดา
- องค์หญิงไม่ปรากฏพระนาม (1652–1653) พระธิดาในพระสนม สกุลเฉิน
- องค์หญิงเหอซั่วกงเชวี่ยจ่างกงจวู่ (和硕恭悫长公主,1653–1685) พระธิดาของพระสนม สกุลหยาง
- องค์หญิงไม่ปรากฏพระนาม (1653–1658) พระธิดาในพระสนม สกุลปา
- องค์หญิงไม่ปรากฏพระนาม (1654–1661) พระธิดาในพระสนม สกุลอูซู
- องค์หญิงไม่ปรากฏพระนาม (1654–1660) พระธิดาในพระสนม สกุลหวัง
- องค์หญิงไม่ปรากฏพระนาม (1657–1661) พระธิดาในพระสนม สกุลน่าลา
- พระราชธิดาบุญธรรม
- องค์หญิงเหอซั่วเหอชุ่นกงจวู่ (和硕和顺公主,1648–1691) พระธิดาในองค์ชายซั่วไซ (เฉิงเจ๋อยู่ชินอ๋อง)
- องค์หญิงเหอซั่วโหรวเจียกงจวู่ (和硕柔嘉公主,1652–1673) พระธิดาในองค์ชายเยว่เล่อ (อันเหอชินอ๋อง)
- องค์หญิงกู้หลุนตวนหมิ่นกงจวู่ (固伦端敏公主,1653–1729) พระธิดาในองค์ชายจี้ตู้ (เจี่ยนฉุนชินอ๋อง)