กางเขนเหล็ก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กางเขนเหล็กแบบมาตรฐาน
รูปหล่อทูตสวรรค์บนรถม้าชูคทามีตรากางเขนเหล็กเหนือประตูบรันเดินบวร์คในกรุงเบอร์ลิน

กางเขนเหล็ก (เยอรมัน: Eisernes Kreuz, ไอเซอร์เนส ครอยซ์) เป็นเครื่องเกียรติยศทางทหาร สถาปนาขึ้นในสมัยราชอาณาจักรปรัสเซีย ซึ่งใช้เรื่อยมาในยุคจักรวรรดิเยอรมัน (ค.ศ. 1871–1918) และนาซีเยอรมนี (ค.ศ. 1933–1945) เครื่องเกียรติยศนี้เมื่อแรกเริ่มถูกสถาปนาขึ้นเป็นเหรียญอิสริยาภรณ์โดยพระเจ้าฟรีดริช วิลเฮล์มที่ 3 แห่งปรัสเซีย ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1813[1] ระหว่างสงครามนโปเลียน เหรียญอิสริยาภรณ์นี้เป็นถูกจ่ายเป็นบำเหน็จแก่ทหารในสงครามฝรั่งเศส-ปรัสเซีย, สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง, สงครามโลกครั้งที่สอง ซึ่งพลเรือนที่ร่วมปฏิบัติการทางทหารก็อาจได้รับด้วยเช่นกัน

เหรียญตรากางเขนเหล็ก

นอกจากกางเขนเหล็ก ยังมีอีกตราหนึ่งที่ชื่อว่า กางเขนดำ (Schwarzes Kreuz) ออกแบบโดยคาร์ล ฟรีดริช ชิงเกิล อาศัยเค้าโครงของตรากางเขนเหล็กของพระเจ้าฟรีดริช วิลเฮล์มที่ 3[2] ตรากางเขนดำปรากฏควบคู่กับตราเหยี่ยวดำอยู่บนธงสงครามของปรัสเซีย กางเขนดำถูกใช้เป็นตราประจำกองทัพปรัสเซียและเยอรมนีตั้งแต่ ค.ศ. 1871 จนถึง 1918 และถูกแทนที่ด้วยตรา บัลเคนครอยซ์ (Balkenkreuz) อย่างไรก็ตามในปีค.ศ. 1956 ได้มีการฟื้นฟูตรากางเขนดำมาเป็นตราประจำบุนเดิสแวร์ ซึ่งยังใช้มาจนถึงทุกวันนี้

ในค.ศ. 1980 รัฐบาลเยอรมนีตะวันตกได้สถาปนาอิสริยาภรณ์ที่มีชื่อว่า เหรียญเกียรติยศบุนเดิสแวร์ (Ehrenzeichen der Bundeswehr) ซึ่งมีลักษณะตามแบบกางเขนเหล็ก ถือเป็นการนำกางเขนเหล็กกลับมาใช้เป็นบำเหน็จความชอบเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่สิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สองในปีค.ศ. 1945

อิสริยาภรณ์กางเขนเหล็ก[แก้]

กางเขนเหล็กชั้นสอง
กขล.ชั้น2
ค.ศ.1813–1913
กขล.ชั้น2 สำหรับผู้มิใช่พลรบ
ค.ศ.1813–1918
กขล.ชั้น2
ค.ศ.1914–1939
กขล.ชั้น2
ค.ศ.1939–1945
กางเขนเหล็กชั้นหนึ่ง
กขล.ชั้น1
ค.ศ.1813–1913
กขล.ชั้น1
ค.ศ.1914–39
กขล.ชั้น1
ค.ศ.1939–45
มหากางเขนแห่งกางเขนเหล็ก
ชั้นมหากางเขน
ชั้นมหากางเขนพร้อมดารา
กางเขนอัศวินแห่งกางเขนเหล็ก
กางเขนอัศวิน
แพรแถบอีกแบบ
... ประดับด้วยใบโอ๊ก
แพรแถบอีกแบบ
... และดาบ
แพรแถบอีกแบบ
... ประดับเพชร
แพรแถบอีกแบบ
...เคลือบทอง ...
แพรแถบอีกแบบ

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "Eisernes Kreuz 1813 - 1.Klasse" (ภาษาเยอรมัน). Militaria Lexikon. สืบค้นเมื่อ 28 October 2016.
  2. Michael Nungesser, Das Denkmal auf dem Kreuzberg von Karl Friedrich Schinkel, ed. on behalf of the Bezirksamt Kreuzberg von Berlin as catalogue of the exhibition „Das Denkmal auf dem Kreuzberg von Karl Friedrich Schinkel“ in the Kunstamt Kreuzberg / Künstlerhaus Bethanien Berlin, between 25 April and 7 June 1987, Berlin: Arenhövel, 1987, pp. 22 and 29. ISBN 3-922912-19-2.