คณะเสนาธิปัตย์แห่งมอลตา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
คณะเสนาธิปัตย์บริบาล
ในนักบุญยอห์นแห่งเยรูซาเลม
แห่งโรดส์ และแห่งมอลตา

Supremus Militaris Ordo Hospitalarius
Sancti Ioannis Hierosolymitani
Rhodiensis et Melitensis
ธงชาติคณะเสนาธิปัตย์แห่งมอลตา
ธงชาติ
ตราอาร์มของคณะเสนาธิปัตย์แห่งมอลตา
ตราอาร์ม
คำขวัญ"Tuitio Fidei et Obsequium Pauperum"  
"ปกป้องศรัทธาแลอุปการผู้ยากไร้"
เพลงชาติ"Ave Crux Alba"   (Latin)
"Hail, thou White Cross"
ที่ตั้งของคณะเสนาธิปัตย์แห่งมอลตา
เมืองหลวงMagistral Palace, โรม
ภาษาราชการอิตาลี
รัฐบาล
• เจ้าชายและอัคราจารย์
John T. Dunlap
ก่อตั้ง
• ก่อตั้ง
ประมาณ ค.ศ. 1099
• ลี้ภัยจากเกาะมอลตา
ค.ศ. 1798
• ตั้งกองบัญชาการใหม่ที่โรม
ค.ศ. 1834
สกุลเงินยูโร (โดยทางการใช้เงินสกุลสคูโดของมอลตา)

คณะเสนาธิปัตย์แห่งมอลตา หรือ รัฐอธิปไตยทหารออร์เดอร์ออฟมอลตา[1] (อังกฤษ: Sovereign Military Order of Malta: SMOM) ชื่อเต็มว่า คณะเสนาธิปัตย์บริบาลในนักบุญยอห์นแห่งเยรูซาเลม แห่งโรดส์ และแห่งมอลตา (ละติน: Supremus Militaris Ordo Hospitalarius Sancti Ioannis Hierosolymitani Rhodiensis et Melitensis) เป็นคณะนักบวชคาทอลิกฝ่ายฆราวาสซึ่งตามประเพณีแล้วมีลักษณะเป็นทหาร อัศวิน และขุนนาง ภราดาจากฝรั่งเศสนามว่าเฌราร์ผู้รับพรก่อตั้งขึ้นเป็นคณะอัศวินบริบาลราว ค.ศ. 1099 ณ กรุงเยรูซาเลม คณะนักบวชนี้จึงเป็นคณะอัศวินที่เก่าแก่ที่สุดในโลกที่ยังเหลืออยู่

ความรวม[แก้]

ประเทศที่มีสัมพันธ์กับคณะเสนาธิปัตย์แห่งมอลตา
  สัมพันธ์ทางทูต
  สัมพันธ์แบบอื่น

คณะเสนาธิปัตย์แห่งมอลตา คือคณะอัศวินนักบุญยอห์นซึ่งมีถิ่นกำเนิดจากปาเลสไตน์ในช่วงสงครามครูเสดในคริสต์ศตวรรษที่ 12 ที่เหลือรอดมาจนถึงปัจจุบันนี้ พวกเขาเคยมีอธิปไตยเหนือเกาะมอลตาและเกาะโรดส์ และในช่วงเวลาหนึ่งก็สูญเสียอำนาจอธิปไตยเหนือดินแดนดังกล่าว (เนื่องจากถูกฝรั่งเศสบุกยึด) แต่ความเป็นรัฐบาลยังคงอยู่ และได้รับการยอมรับตามกฎหมายระหว่างประเทศเป็นองคภาวะอธิปไตย (sovereign entity) คณะเสนาธิปัตย์แห่งมอลตามีความสัมพันธ์ทางการทูตกับประเทศ 110 ประเทศ และมีที่นั่งในสหประชาชาติและสหภาพยุโรปในฐานะผู้สังเกตการณ์ถาวร[2]

ปัจจุบัน คณะเสนาธิปัตย์แห่งมอลตาปฏิบัติภารกิจสาธารณกุศล เช่น เวชบริบาลภายในประเทศ 120 ประเทศทั่วโลก คณะมีอัศวินประจำการราว 13,500 คน, ผู้ปฏิบัติวิชาชีพแบบได้รับเงินตอบแทน 42,000 ราย, และอาสามัครผู้ไม่ได้รับเงินตอบแทน 80,000 รายทั่วโลก

การปกครอง[แก้]

อัศวินของคณะแห่งมอลตา

ผู้นำสูงสุดของคณะถูกเรียกว่า "เจ้าชายและอัคราจารย์" (Prince and Grand Master) ซึ่งได้รับเลือกจากที่ประชุมคณะมนตรีแห่งรัฐจากสมาชิกซึ่งมีสมณศักดิ์เป็นพระคาร์ดินัล มีวาระดำรงตำแหน่งตลอดชีพ สาเหตุที่เรียกว่าเจ้าชายก็เนื่องจากว่าตำแหน่งนี้เคยมีสถานะเป็นเจ้าชายผู้คัดเลือกของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ผู้นำคณะคนปัจจุบันคือ Giacomo dalla Torre del Tempio di Sanguinetto ได้รับเลือกเป็นอัคราจารย์คนที่ 80 เมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม ค.ศ. 2018

กองบัญชาการใหญ่ของคณะตั้งอยู่ที่วังมอลตา (Palazzo Malta) กรุงโรม ประเทศอิตาลี ภายในอาคารกองบัญชาการใหญ่ได้รับสิทธิสภาพนอกอาณาเขตจากทางการอิตาลี กฎหมายอิตาลีมิอาจบังคับใช้ภายในอาคารดังกล่าว การปกครองของคณะอยู่ภายใต้ธรรมนูญกฎบัตรและประมวลกฎวินัยหมายของคณะ เขตการปกครองระดับนานาชาติแบ่งออกเป็น 6 มหาสำนัก (Grand Priory) ได้แก่ มหาสำนักโรม, มหาสำนักลอมบาร์ดีและเวนิส, มหาสำนักนาโปลีและซิซิลี, มหาสำนักโบฮีเมีย, มหาสำนักออสเตรีย และมหาสำนักอังกฤษ[3]

คณะเสนาธิปัตย์ประกอบด้วยเขต 12 เขต, สาขาประจำชาติ 48 สาขา, และคณะทูต 133 คณะ[4]

ประวัติศาสตร์[แก้]

คณะมอลตาเป็นหนึ่งในสี่นิกายของโรมันคาทอลิกที่เก่าแก่ที่สุด (อีกสามนิกายคือ Basilians, Angustinians และ Benedictines) มีลักษณะคล้ายกับองค์กรศาสนา เช่นเดียวกับคณะนักบวชอื่นอีก 4 สาขา คือ คณะอัศวินทิวทัน, คณะอัศวินเทมพลาร์, คณะนักบุญลาซารัส และคณะนักบุญทอมัส

คณะมอลตาก่อตั้งเมื่อปี ค.ศ. 1099 โดยภราดาเฌราร์ ก่อตั้งสถานบริบาลขึ้นที่กรุงเยรูซาเลมเพื่อบริบาลคณะแสวงบุญที่เดินทางมาเยรูซาเลม และขยายสาขาออกไปตามเส้นทางการแสวงบุญ ต่อมาเมื่อเกิดสงครามครูเสด สมาชิกคณะนี้ต้องติดอาวุธป้องกันตนเองและทำหน้าที่ช่วยสู้รบไปในตัวด้วย จึงเกิดตำแหน่งอัศวินขึ้นในสมัยของผู้นำที่ชื่อ Fra Raymond du Puy ในค.ศ. 1126 ในที่สุดเมื่อฝ่ายมุสลิมมีชัยชนะเหนือคริสเตียนในเยรูซาเลมและดินแดนปาเลสไตน์ ในช่วงปี ค.ศ. 1187-1291 ทำให้ฝ่ายคริสเตียนต้องถอยไปตั้งมั่นอยู่ที่ไซปรัสประมาณ 140 ปี

อ้างอิง[แก้]

  1. "ประกาศสำนักงานราชบัณฑิตยสภา เรื่อง กำหนดชื่อประเทศ ดินแดน เขตการปกครอง และเมืองหลวง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 139 (พิเศษ 205 ง). 1 กันยายน 2565.
  2. "Multilateral relations". สืบค้นเมื่อ 28 August 2020.
  3. "National Institutions". www.orderofmalta.int. Order of Malta. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 September 2016. สืบค้นเมื่อ 2 September 2016.
  4. "National Institutions". สืบค้นเมื่อ 28 August 2020.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]