กองทัพบกเดนมาร์ก
กองทัพแห่งราชอาณาจักรเดนมาร์ก | |
---|---|
Hæren | |
ตรากองทัพแห่งราชอาณาจักรเดนมาร์ก | |
ประจำการ | 17 พฤศจิกายน ค.ศ. 1614 (409 ปี 11 เดือน)[1] |
ประเทศ | ราชอาณาจักรเดนมาร์ก |
ขึ้นต่อ | สมเด็จพระราชินีนาถมาร์เกรเธอที่ 2 แห่งเดนมาร์ก เดนมาร์ก หมู่เกาะแฟโร กรีนแลนด์ |
รูปแบบ | กองทัพ |
บทบาท | สงครามภาคพื้นดิน |
กำลังรบ | ประจำการ: 25,400[2] สำรอง: 63,000 |
ขึ้นกับ | กระทรวงกลาโหมเดนมาร์ก |
ปฏิบัติการสำคัญ | สงครามสามสิบปี (1625–1629) Torstenson War (1643–1645) สงครามเหนือ (1657–1660) Scanian War (1675–1679) มหาสงครามเหนือ (1700 & 1709–1720) สงครามนโปเลียน (1807–1814) สงครามชเลสวิชครั้งที่หนึ่ง (1848–1851) สงครามชเลสวิชครั้งที่สอง (1864) การบุกครองเดนมาร์กของเยอรมนี (1940) Operation Bøllebank (1994) สงครามคอซอวอ (1998–1999) สงครามในอัฟกานิสถาน (พ.ศ. 2544–2557) สงครามอิรัก (2003–2007) |
เว็บไซต์ | เว็บไซต์ทางการ เฟสบุ๊ก ยูทูบทางการ |
ผู้บังคับบัญชา | |
Chief of Defence | พลเอก มีเคล วีกกอร์ส ฟิวด์กอร์ด |
Chief of Army Staff | พลตรี กุนนาร์ อาร์ปือ นีลเส็น |
Sergeant Major of the Army | เฮนนิง เบ็ก |
ผบ. สำคัญ | พระเจ้าคริสเตียนที่ 4 Ulrik Frederik Gyldenløve พระเจ้าเฟรเดอริกที่ 4 Carl af Hessen-Kassel Frederik af Hessen-Kassel พระเจ้าเฟรเดอริกที่ 6 |
เครื่องหมายสังกัด | |
ธงสงคราม |
กองทัพแห่งราชอาณาจักรเดนมาร์ก (เดนมาร์ก: Hæren; แฟโร: Herurin; กรีนแลนด์: Sakkutuut) เป็นหน่วยงานที่ควบคุมดูแลกองทัพบก,กองทัพเรือ และกองทัพอากาศของกองทัพแห่งราชอาณาจักรเดนมาร์ก ในช่วงสิบปีที่ผ่านมากองทัพเดนมาร์กได้รับการปรับเปลี่ยนโครงสร้างอุปกรณ์และวิธีการฝึกอบรมโดยยกเลิกบทบาทดั้งเดิมของการป้องกันการบุกรุก
โครงสร้าง
[แก้]โครงสร้างของกองทัพเดนมาร์กมีการเปลี่ยนแปลงในปี พ.ศ. 2558 ทำให้กองทัพเดนมาร์กไม่มีกองพลหรือกองกำลังสนับสนุนภายใต้การบังคับบัญชาโดยตรง กองพลสองกองมีหน้าที่เฉพาะสั่งการกองพันรบเท่านั้น เนื่องจากหน่วยสนับสนุนการรบและหน่วยสนับสนุนด้านการส่งกำลังบำรุงถูกจัดกลุ่มภายใต้ศูนย์สนับสนุนต่าง ๆ กองพลที่ 1 ประกอบด้วยกองพันรบ 4 กองพันและมีหน้าที่ส่งกำลังพลไปประจำการในต่างประเทศ กองพลที่ 2 ประกอบด้วยกองพัน 5 กองพันและมีหน้าที่ป้องกันดินแดนเดนมาร์ก ศูนย์สนับสนุนประกอบด้วย หน่วยสนับสนุนการรบ หน่วยสนับสนุนด้านการส่งกำลังบำรุงการรบ และหน่วยสนับสนุนทั่วไปของกองทัพ
ยุทธภัณฑ์
[แก้]-
ปืนกลเอ็ม 60 รุ่น เอ็ม60อี6
ปืนกลเอนกประสงค์ -
เลโอพาร์ท 2 อา5
รถถังหลัก -
โมวาก ปีรันฮา เฟา
ยานรบหุ้มเกราะ
ความสัมพันธ์ทางทหารกับไทย
[แก้]กองทัพบก
[แก้]พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงนครไชยศรีสุรเดชทรงไปศึกษาวิชาการทางทหารที่เดนมาร์กเมื่อปี พ.ศ. 2434 (ค.ศ. 1892) และทรงฝึกหัดรับราชการทหารอยู่ในกรมปืนใหญ่สนามของเดนมาร์ก เมื่อทรงสำเร็จการศึกษาทรงนำความรู้วิชาการทางทหารจากเดนมาร์กมาพัฒนากองทัพบกของไทยให้มีความทันสมัย
กองทัพเรือ
[แก้]นายทหารเรือชาวเดนมาร์กคือ นาย อองเดร ดู เปลซี เดอ ริเชอลิเออ (Andreas du Plessis de Richelieu) ได้รับราชการในกองทัพเรือไทยระหว่างปี พ.ศ. 2419–2445 (ค.ศ. 1876–1902) และได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นพระยาชลยุทธโยธิน
เชิงอรรถ และ อ้างอิง
[แก้]เชิงอรรถ
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ Nørby, Søren (2006). Det danske forsvar. København: Det historiske hus. p. 39. ISBN 87-11-11853-9.
- ↑ "The Army". Forsvaret.dk. Forsvaret. สืบค้นเมื่อ 11 เมษายน 2016.