ธงเนโท
การใช้ | ไม่ระบุ |
---|---|
สัดส่วนธง | 3:4[1] |
ประกาศใช้ | 14 ตุลาคม 2496 |
ลักษณะ | พื้นสีน้ำเงินเข้ม (แพนโทน 280) มีตราสัญลักษณ์แผ่นวงเข็มทิศสีขาว ซึ่งมีเส้นสี่เส้นกระจายจากศูนย์กลาง |
ธงเนโท (อังกฤษ: flag of NATO) ประกอบด้วยผืนธงสีน้ำเงินเข้มที่มีตราสัญลักษณ์แผ่นวงเข็มทิศ (compass rose) โดยมีเส้นสีขาวสี่เส้นแผ่ออกมาจากจุดทิศหลัก (cardinal directions) ถูกใช้งานในสามปีให้หลังจากการก่อตั้งเนโท โดยใช้เป็นธงของเนโทมาตั้งแต่วันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2496 ซึ่งสีน้ำเงินเป็นสัญลักษณ์ของมหาสมุทรแอตแลนติก ในขณะที่วงกลมหมายถึงความสามัคคี
ประวัติ
[แก้]องค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2492 หลังจากสิบสองประเทศได้ลงนามในสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือเพื่อต่อต้านภัยคุกคามที่รับรู้ได้จากสหภาพโซเวียต[2]
ธงผืนแรกที่ใช้งานโดยเนโทได้รับการเปิดตัวเมื่อวันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2494 โดยนายพล ดไวต์ ดี. ไอเซนฮาวร์ เป็นผู้ช่วยในการออกแบบธง[3] ซึ่งธงในปี พ.ศ. 2494 ประกอบด้วยผืนธงสีเขียวพร้อมกับตราของศูนย์บัญชาการทหารสูงสุดผสมชาติยุโรป (SHAPE) ซึ่งปัจจุบันก็ยังถูกใช้งานอยู่ โดยเนโทเริ่มมองหาตราสัญลักาณ์เพื่อสร้างความแตกต่างระหว่างศูนย์บัญชาการฯ ซึ่งเป็นหน่วยงานด้านนโยบายที่ถูกจัดตั้งขึ้นมาใหม่ หลักจากหารือกันมาหลายครั้ง ก็ได้ข้อสรุปว่ามีความจำเป็นที่จะต้องมีธงขององค์การที่มีตราสัญลักษณ์ขึ้นมาใหม่ และเสนอแนะต่อคณะมนตรีแอตแลนติกเหนือได้ทราบ[4]
คณะมนตรีได้กำหนดไว้ว่าตราสัญลักษณ์ดังกล่าวจะต้อง "เรียบง่ายและโดดเด่น" (simple and striking) นอกเหนือไปจากการเน้นย้ำถึง "จุดประสงค์ด้านสันติ" ของสนธิสัญญา โดยมีข้อเสนอหลายชิ้นถูกเสนอไปยังคณะมนตรีแต่ถูกกปฏิเสธ[4] จนกระทั่งในท้ายที่สุดก็ได้ตราสัญลักษณ์ของเนโทเมื่อวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2496 ซึ่งผลการคัดเลือกได้รับการประกาศโดย เฮสติ้งส์ อิสเมย์ บารอนอิสเมย์ที่ 1 – ซึ่งเป็นเลขาธิการคนแรกของเนโท – ในอีกสองสัปดาห์ต่อมา ในวันที่ 28 ตุลาคม ได้มีการอธิบายความหมายของธงและเบื้องหลังการตัดสินใจเลือกธงแบบดังกล่าว[4] ซึ่งสาเหตุที่ธงดังกล่าวถูกเลือกเนื่องจาก "เรียบง่ายและไม่น่ารังเกียจ" (simple and inoffensive)[5] อย่างไรก็ตาม ธงดังกล่าวไม่ได้รับกระแสตอบรับที่ดีนักในระดับสากล รวมถึงถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวาง เช่น จากจอห์น ทราเวอร์ส วูด สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแห่งสหรัฐ ประนามธงดังกล่าวว่าเป็น "เศษผ้าแปลกประหลาดและแปลกตา" (strange and alien rag)[6] ซึ่งเขากล่าวหลังจากเหตุการณ์ที่มีการรายงานว่าธงชาติสหรัฐถูกแทนที่ด้วยธงเนโท ในกองบัญชาการของศูนย์บัญชาการทหารสูงสุดกองกำลังพันธมิตรแอตแลนติก (Supreme Allied Commander Atlantic) ในเมืองนอร์ฟอล์ก รัฐเวอร์จิเนีย[6]
ธงแบบใหม่ถูกเชิญขึ้นสู่ยอดเสาครั้งแรกเมื่อวันที่ 9 พฤจิกายน พ.ศ. 2496 ในพิธีเปิดนิทรรศการแอตแลนติกในกรุงปารีส[4][7] อย่างไรก็ตาม ไม่ค่อยมีการรับรู้มากนักเกี่ยวกับเหตุการณ์ดังกล่าว เนื่องจากไม่ได้ถูกระบุไว้ในเอกสารของสุนทรพจน์ภายในงานนั้น[4]
สัญลักษณ์นิยม
[แก้]สีของธงมีความหมายทางวัฒนธรรม การเมือง และภูมิภาค พื้นสีน้ำเงินเข้มหมายถึงมหาสมุทรแอตแลนติก ในขณะที่วงหมายถึงความสามัคคีในหมู่รัฐสมาชิกเนโท แผ่นวงเข็มทิศเป็นสัญลักษณ์ของทิศทางที่นำไปสู่เส้นทางแห่งสันติภาพ ซึ่งเป็นเป้าหมายที่รัฐสมาชิกมุ่งหมาย โดยมันได้รับการปรับปรุงไปครั้งหนึ่ง[4][8]
ประติมากรรม "เนโทสตาร์"
[แก้]เมื่อคณะมนตรีแอตแลนติกเหนือได้ตัดสินใจเลือกกรุงบรัสเซลส์เป็นที่ตั้งถาวรในปี พ.ศ. 2512 มีคำถามเกิดขึ้นเกียวกับลานว่างบริเวณทางเข้าหลักของสำนักงาน สถาปนิกที่ปรึกษาถูกเชิญมาเพื่อคิดวิธีการตกแต่งลานบริเวณหน้าสำนักงาน ซึ่งรู้จักกันในชื่อ Cour d'Honneur ตามชื่อของผู้แทนชาวกรีก โดยสถาปนิกชาวเบลเยียมได้ออกแบบรูปทรงที่ได้รับแรงบันดาลใจมาจากเครื่องหมายของเนโท นั่นคือแผ่นวงเข็มทิศ (compass rose) ที่ถูกออกแบบอย่างสวยงาม ตัดด้วยวงกลมสองวง ที่แสดงถึงทวีปเก่าและทวีปใหม่ มันถูกสร้างจากเหล็กที่ผ่านกระบวนการออกซิไดซ์จากโรงงานเป็นสีน้ำตาลแดง โดยคณะมนตรีพึ่งพอใจแนวคิดดังกล่าวในการนำเสนอแบบจำลองของประติมากรรมในการประชุมเมื่อวันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2513 โดยประติมากรรมชิ้นนี้เป็นที่รู้จักในชื่อของ "เนโทสตาร์" (ดาวเนโท) ซึ่งเนโทสตาร์มีความสูง 7 เมตร ความกว้างระหว่าง 4.2 - 7 เมตร[9]
เดิมงบประมาณการก่อสร้างมีอยู่ประมาณ 1.5 ล้านฟรังก์เบลเยียม โดยการก่อสร้างปฏิมากรรมดังกล่าวเกิดขึ้นในช่วงกลางเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2514 มีพิธีเปิดเมื่อวันที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2514 และเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2514 โจเซฟ ลุนส์ เป็นเลขาธิการเนโทท่านแรกที่ได้ถ่ายภาพร่วมกับประติมากรรมดาวดังกล่าว ในส่วนของการย้ายประติมากรรมไปยังสำนักงานใหญ่แห่งใหม่ของเนโท เนโทสตาร์ถูกย้ายข้ามถนน Boulevard Leopold III ไปยังบ้านหลังใหม่เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2559 โดยประดับท่ามกลางการล้อมรอบของธงประเทศสมาชิกเนโท[10]
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Archived copy". nato.int. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 June 2017. สืบค้นเมื่อ 12 January 2022.
{{cite web}}
: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์) - ↑ Cavendish, Richard (1999). "The Founding of NATO". History Today. 49 (4). สืบค้นเมื่อ March 5, 2014.
- ↑ Associated Press (6 October 1951). "NATO Flag is Raised at Ike Headquarters". Cincinnati Enquirer.
- ↑ 4.0 4.1 4.2 4.3 4.4 4.5 "The Birth of the Emblem". NATO.int. North Atlantic Treaty Organization. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 12, 2016. สืบค้นเมื่อ September 12, 2016.
{{cite web}}
: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์) - ↑ "NATO: The Colors". Time. November 9, 1953. สืบค้นเมื่อ March 5, 2014.
- ↑ 6.0 6.1 "Idaho Lawmaker Raps NATO Flag". The Spokesman-Review. Associated Press. April 18, 1952. p. 12. สืบค้นเมื่อ March 5, 2014.
- ↑ "NATO Flag Flown". Toledo Blade. Reuters. November 10, 1953. p. 2. สืบค้นเมื่อ March 5, 2014.
- ↑ "Le Drapeau de L'OTAN—The Flag of NATO" (PDF). CPVA.ca. Canadian Peacekeeping Veterans Association. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2010-06-13. สืบค้นเมื่อ March 6, 2014.
- ↑ "The star sculpture". สืบค้นเมื่อ April 6, 2022.
- ↑ "NATO star moves to new HQ". สืบค้นเมื่อ April 6, 2022.
แหน่งข้อมูลอื่น
[แก้]- NATO ที่ Flags of the World (อังกฤษ)
- "A star is born". North Atlantic Treaty Organization.