บีจีสเตเดียม
ที่ตั้ง | ตำบลบึงยี่โถ อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี ประเทศไทย |
---|---|
พิกัด | 14°00′02″N 100°40′45″E / 14.000649°N 100.679028°E |
เจ้าของ | บีจี ปทุม ยูไนเต็ด |
ผู้ดำเนินการ | บีจี ปทุม ยูไนเต็ด |
ความจุ | 15,114 ที่นั่ง |
พื้นผิว | หญ้า |
ป้ายแสดงคะแนน | มี |
เปิดใช้สนาม | 7 มีนาคม พ.ศ. 2553 |
การใช้งาน | |
บีจี ปทุม ยูไนเต็ด (พ.ศ. 2553–ปัจจุบัน) ราชประชา (พ.ศ. 2563–2565) |
บีจี สเตเดียม เป็นสนามฟุตบอลหญ้าจริง ขนาด 68 x 105 เมตร สร้างขึ้นติดกับ บริษัท บางกอกกล๊าส จำกัด (มหาชน) บนถนนรังสิต-นครนายก ตำบลบึงยี่โถ อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี สำหรับใช้ในการแข่งขันฟุตบอลเกมเหย้าของสโมสรฟุตบอลบีจี ปทุม ยูไนเต็ด ในไทยลีก และเคยใช้จัดการแข่งขันระดับนานาชาติของทีมชาติไทยในบางโอกาส รวมถึงฟุตบอลถ้วยรายการสำคัญของประเทศไทย
สนามนี้มีความจุทั้งหมด 15,114 ที่นั่งหลังจากก่อสร้างอัฒจันทร์ครบ 4 ด้าน พร้อมเก้าอี้สนามกีฬามาตรฐานที่ได้รับการรับรองมาตรฐานจากสหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ (FIFA) และสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชีย (AFC) ในระดับ A
ประวัติ
[แก้]สนามแห่งนี้เดิมมีชื่อว่า ลีโอ สเตเดียม ตามชื่อผู้สนับสนุนหลักซึ่งอยู่ในเครือเดียวกับบางกอกกล๊าส มีความจุเริ่มต้นทั้งหมด 10,114 ที่นั่ง และมีอัฒจันทร์ 3 ด้าน โดยเปิดใช้งานเมื่อวันที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2553 เดิมสนามแห่งนี้เป็นสนามหญ้าเทียมทั้งหมด จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2561 จึงได้เปลี่ยนเป็นหญ้าจริงแทน
ต่อมาในวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2565 สโมสรฟุตบอลบีจี ปทุม ยูไนเต็ด ได้เปลี่ยนชื่อสนามเหย้าจาก ลีโอ สเตเดียม เป็น บีจี สเตเดียม โดยได้รับการอนุมัติจากสมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ และบริษัท ไทยลีก จำกัด[1]
ต่อมาในปี พ.ศ. 2566 ทางสโมสรได้ปรับปรุงสนามโดยเพิ่มอัฒจันทร์ฝั่งทิศตะวันออกที่ว่างไว้ ซึ่งสามารถรองรับผู้ชมได้อีกประมาณ 5,000 ที่นั่ง[2] และเปิดใช้งานครั้งแรกในการแข่งขันไทยลีก ฤดูกาล 2566–67 ที่บีจี ปทุม ยูไนเต็ด พบกับบุรีรัมย์ ยูไนเต็ด เมื่อวันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2567 ทำให้ปัจจุบัน สนามบีจี สเตเดียม มีอัฒจันทร์ครบ 4 ด้าน รองรับความจุผู้ชมได้อยู่ที่ประมาณ 15,114 ที่นั่ง[3]
การแข่งขันระดับทีมชาติ
[แก้]วันที่ | ทีม 1 | ผล | ทีม 2 | รายการ |
---|---|---|---|---|
10 ตุลาคม พ.ศ. 2562 | ไทย | 1–1 | สาธารณรัฐคองโก | เกมกระชับมิตร[4] |
27 มีนาคม พ.ศ. 2565 | ไทย | 1–0 | ซูรินาม | เกมกระชับมิตร[5] |
31 พฤษภาคม พ.ศ. 2565 | ไทย | 1–2 | บาห์เรน | เกมกระชับมิตร[6] |
15 มิถุนายน พ.ศ. 2566 | ไทย | 2–1 | ลาว | ฟุตบอลชิงแชมป์เอเชีย รุ่นอายุไม่เกิน 17 ปี 2023 รอบแรก |
18 มิถุนายน พ.ศ. 2566 | ไทย | 3–0 | มาเลเซีย | |
21 มิถุนายน พ.ศ. 2566 | ไทย | 1–0 | เยเมน | |
25 มิถุนายน พ.ศ. 2566 | ไทย | 1–4 | เกาหลีใต้ | ฟุตบอลชิงแชมป์เอเชีย รุ่นอายุไม่เกิน 17 ปี 2023 รอบก่อนรองชนะเลิศ |
เหตุการณ์สำคัญ
[แก้]- ช้าง เอฟเอคัพ 2562 รอบชิงชนะเลิศ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562 ระหว่าง การท่าเรือ และ ราชบุรี มิตรผล
- รีโว่ ลีกคัพ 2564–65 รอบชิงชนะเลิศ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2565 ระหว่าง บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด และ พีที ประจวบ
อ้างอิง
[แก้]- ↑ บีจี ปทุม ยูไนเต็ด เปลี่ยนชื่อสนามเหย้าเป็น บีจี สเตเดี้ยม
- ↑ ครบ 4 ด้าน! บีจี ปทุม สร้างอัฒจันทร์เพิ่มอาจทันเลกสองซีซั่นใหม่
- ↑ "อัฒจรรย์ ใหม่ บีจี ปทุมฯ เสร็จเรียบร้อยประเดิมรับมือบุรีรัมย์วันที่ 3 เม.ย.นี้". สยามกีฬารายวัน. สยามสปอร์ตซินดิเคท. 15 มีนาคม 2024. สืบค้นเมื่อ 3 เมษายน 2024.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "ธีรศิลป์คัมแบ็ค! นิชิโนะประกาศ 23 แข้งช้างศึกอุ่นคองโก, ดวลยูเออี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-09-27. สืบค้นเมื่อ 2019-09-27.
- ↑ ทีมชาติไทย อุ่นเครื่องฟีฟ่าเดย์ ดวล เนปาล-ซูรินาม พร้อมแจงเงื่อนไขสุดสำคัญ
- ↑ ฟุตบอลอุ่นเครื่องตามปฏิทิน ฟีฟ่าเดย์ ทีมชาติไทย พ่าย บาห์เรน 1-2
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- ข้อมูลสนาม เก็บถาวร 2016-03-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน