ข้ามไปเนื้อหา

ดราก้อนบอล ไดมะ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ดราก้อนบอล ไดมะ
ドラゴンボールDAIMA
(Doragon Bōru Daima)
แนว
สร้างโดยอากิระ โทริยามะ
อนิเมะโทรทัศน์
กำกับโดย
  • โยชิทากะ ยาชิมะ (ผู้กำกับ)
  • อายะ โคมากิ (ผู้กำกับซีรีส์)
เขียนบทโดย
  • อากิระ โทริยามะ (เรื่อง)
  • ยูโกะ คากิฮาระ (ผู้แต่งบทและเนื้อเรื่อง)
ดนตรีโดยโคสุเกะ ยามาชิตะ
สตูดิโอ
ถือสิทธิ์โดย
เครือข่ายฟูจิทีวี
ฉาย 11 ตุลาคม พ.ศ. 2567 – ปัจจุบัน
ตอน10

ดราก้อนบอล ไดมะ (ญี่ปุ่น: ドラゴンボールDAIMAโรมาจิDoragon Bōru Daimaทับศัพท์: Dragon Ball Daima) เป็นชื่ออนิเมะโทรทัศน์ชุดของญี่ปุ่นที่ผลิตโดย โทเอแอนิเมชัน ซึ่งเป็นผลงานอนิเมะทางโทรทัศน์ชุดที่หกในแฟรนไชส์ ดราก้อนบอล และเป็นผลงานลำดับที่สองและสุดท้ายที่เขียนโดยผู้สร้างแฟรนไชส์ อากิระ โทริยามะ ซึ่งเสียชีวิตในเดือนมีนาคม ปี พ.ศ. 2567 ออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2567 ทาง ฟูจิทีวี

เนื้อเรื่อง

[แก้]

เกิดหลังจากที่โกคูปราบจอมมารบูได้สำเร็จทันที หลังกลายร่างเป็นตัวเองในเวอร์ชันมินิอย่างเป็นปริศนา โกคูและเพื่อนๆ จึงเดินทางมุ่งหน้าไปยังโลกปีศาจเพื่อสืบหาความจริงและหาวิธีเปลี่ยนกลับเป็นร่างเดิม

ตัวละคร

[แก้]

ตัวละครหลัก

[แก้]
ซุน โกคู (孫悟空) / ซุน โกคู (มินิ) (孫悟空(ミニ))
เบจิต้า (ベジータ) / เบจิต้า (มินิ) (ベジータ(ミニ))
พิคโกโร่ (ピッコロ) / พิคโกโร่ (มินิ) (ピッコロ(ミニ))
ไคโอชิน (界王神) / ไคโอชิน (มินิ) (界王神(ミニ))
บูลม่า (ブルマ) / บูลม่า (มินิ) (ブルマ(ミニ))

ผู้เกี่ยวข้องกับโลกปีศาจ

[แก้]
กลอริโอ (グロリオ)
แพนซี่ (パンジ)
ลูกสาวของราชาคาดัน ผู้ปกครองโลกปีศาจที่ 3 อายุ 82 ปี
ไฮบิส (ハイビス)
ผู้ติดตามของราชาคาดัน
โกมา (ゴマー)
ผู้นำของโลกปีศาจคนปัจจุบัน ต่อจากดาบูร่า
เดกุส (デゲス)
น้องชายของไคโอชิน ชาวกรินด์เพศชาย ผู้ติดตามราชาโกมา
ด็อกเตอร์ อารินส์ (ドクター・アリンス)
พี่สาวของไคโอชินและเดกุส ชาวกรินด์เพศหญิง นักวิทยาศาสตร์
เนวา (ネバ)
ชาวนาเม็กจากโลกปีศาจ ร่างกายคล้ายวัยชรา มีพลังในการฟื้นคืนสภาพดราก้อนบอลได้รวดเร็ว
ท่านวาร์ป (ワープさま) / ท่านวาร์ปจิ๋ว (小ワープさま)
ราชาคาดัน (カダン王)
ผู้ปกครองโลกปีศาจที่ 3 พ่อของแพนซี่
ทามะกามิ นัมเบอร์ ทรี (タマガミ・ナンバー・スリー)
ผู้คุ้มครองดราก้อนบอล 3 ดาวจากโลกปีศาจที่ 3 มีอาวุธประจำตัวคือค้อนยักษ์
มหาแม่มด มาร์บะ (大魔女マーバ)
จอมมารคู (魔人クウ, มาจินคู)
จอมมารที่อารินส์และมาร์บะสร้างขึ้นมาโดยใช้ส่วนผสมเพิ่มเติมคือเมล็ดไซไบแมน ร่างกายสีเขียว
ทามะกามิ นัมเบอร์ วัน (タマガミ・ナンバー・ワン)
ผู้คุ้มครองดราก้อนบอล 1 ดาวจากโลกปีศาจที่ 1 มีอาวุธประจำตัวคือดาบยักษ์

ผู้เกี่ยวข้องกับเทพ

[แก้]
เด็นเด้ (デンデ) / เด็นเด้ (มินิ) (デンデ(ミニ))
มิสเตอร์ โปโป้ (ミスター・ポポ) / มิสเตอร์ โปโป้ (มินิ) (ミスター・ポポ(ミニ))

ชาวโลก

[แก้]
คุริริน (クリリン) / คุริริน (มินิ) (クリリン(ミニ))
หยำฉา (ヤムチャ) / หยำฉา (มินิ) (ヤムチャ(ミニ))
จีจี้ (チチ) / จีจี้ (มินิ) (チチ(ミニ))
ผู้เฒ่าเต่า (亀仙人) / ผู้เฒ่าเต่า (มินิ) (亀仙人(ミニ))
ซุน โกเท็น (孫悟天) / ซุน โกเท็น (มินิ) (孫悟天(ミニ))
ทรังคซ์ (トランクス) / ทรังคซ์ (มินิ) (トランクス(ミニ))
มนุษย์ดัดแปลงหมายเลข 18 (人造人間18号) / มนุษย์ดัดแปลงหมายเลข 18 (มินิ) (人造人間18号(ミニ))
มารอน (マーロン) / มารอน (มินิ) (マーロン(ミニ))
มิสเตอร์ ซาตาน (ミスター・サタン) / มิสเตอร์ ซาตาน (มินิ) (ミスター・サタン(ミニ))
ราชาปีศาจวัว (牛魔王) / ราชาปีศาจวัว (มินิ) (牛魔王(ミニ))
ปูอัล (プーアル) / ปูอัล (มินิ) (プーアル(ミニ))
อูลอน (ウーロン) / อูลอน (มินิ) (ウーロン(ミニ))

ตัวละครอิ่นๆ

[แก้]
จอมมารบู (魔人ブウ) / จอมมารบู (มินิ) (魔人ブウ(ミニ))
คิบิโตะ (キビト) / คิบิโตะ (มินิ) (キビト(ミニ))

การผลิต

[แก้]

เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2566 โทเอแอนิเมชัน ได้ประกาศในงาน นิวยอร์กคอมิคอน ว่า อนิเมะ เรื่องใหม่ชื่อ ดราก้อนบอล ไดมะ จะออกฉายในฤดูใบไม้ร่วงปี พ.ศ. 2567[1] โดย อากิระ โทริยามะ ผู้สร้าง ดราก้อนบอล ได้รับการระบุว่ามีส่วนร่วมในการทำงานผลงานนี้มากกว่าเรื่องที่ผ่านมา และได้รับเครดิตในตัวอย่างทีเซอร์ สำหรับการสร้างผลงานต้นฉบับ การเขียนเรื่อง และการออกแบบตัวละคร[1] ในงานแถลงข่าวได้ให้เครดิตกับเขาในส่วนการออกแบบยานพาหนะ สัตว์ประหลาด และตัวละครในฉากหลัง รวมถึงการตั้งชื่อเรื่องด้วย[2] โทริยามะ ได้ให้ข้อความกับการประชุม Comic Con โดยอธิบายว่าแม้คำว่า "DAIMA", ไดมะ หรือ ไดม่า จะเป็นคำที่แต่งขึ้น แต่ในภาษาญี่ปุ่นจะเขียนว่า "大魔"[1] อากิโอะ อิโยคุ ผู้บริหารซีรีส์ของ ดราก้อนบอล กล่าวว่าซีรีส์นี้ใช้เวลาในการพัฒนานานถึงห้าปี แต่เพิ่งตัดสินใจเลือกชื่อเรื่องเมื่อเดือนที่ผ่านมา[3] ซึ่งยังกล่าวเพิ่มเติมในภายหลังว่า โทริยามะ "ได้ร่างเรื่องทั้งหมดขึ้น" โดย อิโยคุ ได้อธิบายว่ามี "ความรู้สึกของการผจญภัยที่เข้มข้นและการต่อสู้มากมาย"[4]

ตัวอย่างที่สองที่มุ่งเน้นไปที่ โกคู ถูกปล่อยออกมาในงาน Dragon Ball Games Battle Hour เมื่อวันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2567[5] ภาพประกอบตัวละครที่ โทริยามะ สร้างขึ้นสำหรับอนิเมะ รวมถึงตัวละครใหม่ ๆ ถูกแสดงระหว่างการถ่ายทอดสดของงานนี้ด้วย[5] โทริยามะ เสียชีวิตเมื่อวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2567[6] หนึ่งสัปดาห์หลังจากนั้น ข้อความที่เขาส่งมายังงาน พ.ศ. 2567 โตเกียว อนิเมะ อวอร์ดส์ เฟสติวัล เพื่อรับรางวัล ไลฟ์ไทม์ อะชีฟเมนต์ อวอร์ดส์ ได้ถูกแสดงให้เห็นที่งานดังกล่าว ในข้อความนี้เขาเปิดเผยว่า ดราก้อนบอล ไดมะ ถูกวางแผนให้เป็นอนิเมะต้นฉบับที่เขาจะไม่เกี่ยวข้องตั้งแต่แรก "แต่เนื่องจากผมให้คำแนะนำไปบ้างเล็กน้อย ผมจึงได้เข้ามามีส่วนร่วมอย่างลึกซึ้งโดยไม่รู้ตัว"[7][8]

ภาพหลักที่มีตัวละครหลายตัวพร้อมคำโปรยว่า "ยินดีต้อนรับสู่การผจญภัยครั้งยิ่งใหญ่!" และตัวอย่างที่สามถูกปล่อยออกมาเมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม ซึ่งเผยว่ารายการจะออกอากาศในเดือนตุลาคม[9] เมื่อวันที่ 2 กันยายน ฟูจิเทเลวิชัน ประกาศรายละเอียดการออกอากาศที่เฉพาะเจาะจง รวมถึงวันที่เริ่มต้นในวันที่ 10 ตุลาคม และยืนยันว่าตอนทั้งหมดของเรื่องได้เสร็จสมบูรณ์แล้ว[10] สองวันต่อมา มีการปล่อยตัวอย่างที่สี่และภาพหลักที่สองซึ่งมีตัวละครเพิ่มอีกสองตัวจากภาพแรก และเปลี่ยนคำโปรยเป็น "ยินดีต้อนรับสู่โลกปีศาจ!" ตัวอย่างนี้ยังเผยรายชื่อนักพากย์ที่ประกอบด้วย ยูมิโกะ โคบายาชิ รับบทเป็น ไคโอชิน, โคกิ อูจิยามะ รับบทเป็น กลอริโอ และ ฟัยรูซ ไอ รับบทเป็น แพนซี่ นอกจากนี้ยังมีการเผยแพร่เพลงธีมของรายการอีกด้วย[11] บทของ โชตาโร โมริกุโบะ รับบทเป็น โกมา, จุงยะ เอโนกิ รับบทเป็น เดเกซึ และ โยโกะ ฮิกาซะ รับบทเป็น ด็อกเตอร์ อารินส์ ถูกประกาศโดยเว็บไซต์ทางการของแฟรนไชส์เมื่อวันที่ 10 กันยายน[12]

ดนตรีประกอบ

[แก้]

ในส่วนเพลงประกอบได้นำ เซดด์ โปรดิวเซอร์ชาวเยอรมันได้เข้ามาร่วมงานเพลงประกอบของภาคนี้ เนื่องจากเขาเป็นแฟนคลับตัวยงของดราก้อนบอล โดยเพลงเปิดของเรื่องยูกิโนะโจ โมริกล่าวว่าแม้ว่าเขาจะกังวลเกี่ยวกับการเขียนเพลงให้กับเรืองนี้อีกครั้ง แต่โทริยามะก็ได้นำความตื่นเต้นใหม่ ๆ มาสู่ผลงานด้วยการเปลี่ยนทิศทางจาก "การต่อสู้" เป็น "การผจญภัย"[13] และเพลงปิดได้นำ AI มาเป็นส่วนร่วมในการแต่งเพลงนี้

แคสติ้ง

[แก้]

ในส่วนเรื่องนักพากย์ตัวละครร่างมินิได้เปลี่ยนคนพากย์ใหม่ทั้งหมด ยกเว้น มาซาโกะ โนซาวะ ผู้ให้เสียงซง โกคูที่ยังให้เสียงตัวละครนี้เหมือนเดิม[14] โดยก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม ได้มีประกาศผู้ที่ให้เสียงหยำฉาคนใหม่คือ เรียวตะ ซูซูกิ แทน โทรุ ฟุรุยะ จากประเด็นข่าวอื้อฉาว [15]

ทีมงาน

[แก้]

ในนิตยาสารวีจัมป์ ฉบับเดือนมกราคม พ.ศ. 2567 ที่วางจำหน่ายเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2566 ได้ประกาศชื่อทีมงานหลักของ ดราก้อนบอล ไดมะ และยืนยันว่า มาซาโกะ โนซาวะ จะกลับมาให้เสียง ซง โกคู อีกครั้ง[16] โยชิทากะ ยาชิมะ (ผู้กำกับแอนิเมชันของ ดราก้อนบอล ซูเปอร์) และ อายะ โคมากิ (ผู้กำกับ วันพีช) ได้รับทำหน้าที่เป็นผู้กำกับของอนิเมะเรื่องนี้ ในขณะที่ ยูโกะ คากิฮาระ (ลามู ทรามวัยจากต่างดาว) ได้รับหน้าที่ในการเขียนบทและเนื้อเรื่อง[16] คัตสึโยชิ นากาสึรุ ซึ่งเคยทำงานใน ดราก้อนบอล, ดราก้อนบอล Z และ ดราก้อนบอล GT ได้รับหน้าที่ปรับแต่งการออกแบบตัวละครของ โทริยามะ ให้เหมาะกับการสร้างแอนิเมชัน[16]

เพลงประกอบ

[แก้]
เพลงเปิดเรื่อง
เนื้อร้อง ยูกิโนะโจ โมริ[13], ทำนอง KEEN & Anton Zaslavski[17], ร้องโดย Zedd feat. C&K
ในตอนที่ 1 ใช้เป็นเพลงปิดของเรื่อง
เพลงปิดเรื่อง
  • "NAKAMA"
เนื้อร้อง AI, ทำนอง AI & Anton Zaslavski[12], ร้องโดย Zedd feat. AI

การออกอากาศ

[แก้]

ดราก้อนบอล ไดมะ ออกอากาศทุกวันศุกร์ เวลา 23:40 น. ทางฟูจิทีวี ออกอากาศเมื่อวันที่ 11 ตุลาคม ค.ศ. 2024[18] ในตอนแรกมีความยาวมากกว่าตอนปกติ 10 นาที[19]

ในช่วงก่อนออกอากาศ ได้มีการฉายรอบปฐมทัศน์ระดับโลกที่ โตเกียวบิ๊กไซต์ เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2567 ในงาน ดราก้อนบอล ไดมัตสึริ ซึ่งจัดขึ้นเพื่อเฉลิมฉลองครบรอบ 40 ปีของดราก้อนบอล ตอนแรกของซีรีส์ถูกฉายทั้งหมด 3 รอบต่อวัน โดยมีนักพากย์เข้าร่วมในสองรอบแรก[19]

ในส่วนของสตรีมมิงแอพครันชีโรล ได้เผยแพร่ลงเมื่อวันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2567[20] โดยรับชมทั่วโลกยกเว้นส่วนทวีปเอเชียตะวันออก, ยุโรป และตะวันออกกลาง นอกจากนี้ ฮูลู ก็เริ่มสตรีมในวันเดียวกันในสหรัฐอเมริกา ในขณะที่ เน็ตฟลิกซ์ เผยแพร่ในทวีปเอเชียเมื่อวันที่ 14 ตุลาคม และสตรีมทั่วโลกเมื่อวันที่ 18 ตุลาคม[21][22]

รายชื่อตอน

[แก้]
ตอนที่ ชื่อตอน ญี่ปุ่น ออกอากาศ
1 "การสมรู้ร่วมคิด"
(インボウ) 
11 ตุลาคม 2567
2 "กลอริโอ"
(グロリオ) 
18 ตุลาคม 2567
3 "ไดมะ"
(ダイマ) 
25 ตุลาคม 2567
4 "ช่างพูด"
(シャベリ) 
1 พฤศจิกายน 2567
5 "แพนซี่"
(パンジ) 
8 พฤศจิกายน 2567
6 "สายฟ้า"
(イナジマ) 
15 พฤศจิกายน 2567
7 "ปลอกคอ"
(クビワ) 
22 พฤศจิกายน 2567
8 "ทามะกามิ"
(タマガミ) 
29 พฤศจิกายน 2567
9 "หัวขโมย"
(トウゾク) 
6 ธันวาคม 2567
10 "มหาสมุทร"
(ウナバラ) 
13 ธันวาคม 2567
11 "ตำนาน"
(デンセツ) 
20 ธันวาคม 2567
12  27 ธันวาคม 2567
13  3 มกราคม 2568
14  10 มกราคม 2568

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]

หมายเหตุ

[แก้]

เชิงอรรถ

[แก้]

ข้อมูลที่มา

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 Mateo, Alex (2023-10-12). "Toei Animation Announces New Dragon Ball Daima Anime (Updated With Comment)". Anime News Network. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 18, 2023. สืบค้นเมื่อ 2024-09-04.
  2. "Set for Fall 2024 Release: The All-new Anime Series "Dragon Ball DAIMA"". Anime News Network. 2023-10-13. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 13, 2023. สืบค้นเมื่อ 2024-09-04.
  3. ドラゴンボールのエグゼクティブプロデューサー伊能昭夫さん、新作に自信「想像を超えるアクションはちゃんと用意」. Chunichi Shimbun (ภาษาญี่ปุ่น). 2023-10-14. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 30, 2024. สืบค้นเมื่อ 2024-09-03.
  4. 野沢雅子:新作「ドラゴンボールDAIMA」 悟空を演じ「うれしい」 鳥山明さんへ思いを込めたかめはめ波. Mantan Web (ภาษาญี่ปุ่น). 2024-03-11. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 12, 2024. สืบค้นเมื่อ 2024-09-03.
  5. 5.0 5.1 Dempsey, Liam (2024-01-28). "Dragon Ball Daima Anime Reveals New Goku Character Trailer". Crunchyroll. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 29, 2024. สืบค้นเมื่อ 2024-09-03.
  6. Speed, Jessica (2024-03-08). "Dragon Ball creator Akira Toriyama dies at 68". The Japan Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2024-03-08. สืบค้นเมื่อ 2024-09-03.
  7. Garbutt, Emily (2024-09-04). "Akira Toriyama's final Dragon Ball anime show, which he contributed to before his death, gets a new trailer". GamesRadar+. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 5, 2024. สืบค้นเมื่อ 2024-09-04.
  8. Taniguchi, Riuichi (2023-03-08). 【追悼・鳥山明さん】日本のカルチャーを世界的人気に導いた『ドラゴンボール』の功績. Real Sound (ภาษาญี่ปุ่น). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 20, 2024. สืบค้นเมื่อ 2024-09-04.
  9. Pineda, Rafael Antonio (2024-07-19). "Dragon Ball Daima Anime's Trailer Reveals October Premiere Date". Anime News Network. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 4, 2024. สืบค้นเมื่อ 2024-09-04.
  10. Echebiri, Makuochi (2024-09-02). "'Dragon Ball Daima' FINALLY Sets Release Date". Collider. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 6, 2024. สืบค้นเมื่อ 2024-09-06.
  11. Pineda, Rafael Antonio (2024-09-03). "Dragon Ball Daima Anime's Trailer Reveals More Cast, Opening Song". Anime News Network. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 12, 2024. สืบค้นเมื่อ 2024-09-04.
  12. 12.0 12.1 Loo, Egan (2024-09-09). "Dragon Ball Daima Anime Unveils More Cast, Ending Song Artists". Anime News Network. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 10, 2024. สืบค้นเมื่อ 2024-09-10.
  13. 13.0 13.1 "Dragon Ball DAIMA Unveiling the second main visual and main trailer! Announcing the voice casting for new characters!! Plus, the opening theme is a super collaboration!". Dragon Ball Official Site. Shueisha. 2024-09-04. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 4, 2024. สืบค้นเมื่อ 2024-09-03.
  14. "「ドラゴンボールDAIMA」小さくなったブルマやベジータのキャスト12人明らかに". コミックナタリー. 2024-10-19. สืบค้นเมื่อ 2024-10-21.
  15. Hodgkins, Crystalyn (2024-10-04). "Ryōta Suzuki Replaces Tōru Furuya as Yamcha in Dragon Ball Daima TV Anime". Anime News Network. สืบค้นเมื่อ 2024-10-06.
  16. 16.0 16.1 16.2 Tai, Anita (2023-11-20). "Dragon Ball Daima Anime Series Reveals Staff". Anime News Network. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 8, 2024. สืบค้นเมื่อ 2024-09-04.
  17. フジテレビ系「ドラゴンボールDAIMA」オープニング主題歌 作詞. Yukinojo Mori Official Site (ภาษาญี่ปุ่น). Amuse Inc. 2024-09-05. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 12, 2024. สืบค้นเมื่อ 2024-09-10.
  18. Harding, Daryl (2024-09-02). "Dragon Ball Daima TV Anime Starts October 11 With Extended 1st Episode". Crunchyroll. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 12, 2024. สืบค้นเมื่อ 2024-09-03.
  19. 19.0 19.1 Hodgkins, Crystalyn (2024-09-02). "Dragon Ball Daima Anime Premieres on October 11". Anime News Network. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 12, 2024. สืบค้นเมื่อ 2024-09-03.
  20. Loo, Egan (September 12, 2024). "Crunchyroll to Stream Dragon Ball Daima Anime on October 11". Anime News Network. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 12, 2024. สืบค้นเมื่อ September 12, 2024.
  21. "October 2024". Hulu. สืบค้นเมื่อ October 4, 2024.
  22. Pineda, Rafael Antonio (October 4, 2024). "Netflix to Stream Dragon Ball Daima Anime in Asia on October 14, Globally on October 18". Anime News Network. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 4, 2024. สืบค้นเมื่อ October 4, 2024.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]