งานศึกษาวิกิพีเดียทางวิชาการ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ตั้งแต่วิกิพีเดียตั้งขึ้นได้ไม่กี่ปี ก็มีงานศึกษาวิกิพีเดียทางวิชาการจำนวนมากที่ตีพิมพ์ในวรรณกรรมที่ทบทวนโดยผู้รู้เสมอกัน การวิจัยแบ่งได้ออกเป็นสองหมวดคือ หมวดแรกวิเคราะห์การสร้างและความเชื่อถือได้ของเนื้อหาสารานุกรม หมวดสองตรวจสอบประเด็นทางสังคม เช่นการใช้สอยและการดูแลระบบ งานศึกษาเหล่านี้ทำได้ง่ายเพราะฐานข้อมูลของวิกิพีเดียสามารถดาวน์โหลดได้โดยไม่ต้องขออนุญาต[1]

เนื้อหา[แก้]

การสร้าง[แก้]

ผู้แก้ไขส่วนน้อยสร้างเนื้อหาที่คงยืนส่วนมาก[แก้]

ในวรรณกรรมทรงอิทธิพลที่ทบทวนโดยผู้รู้เสมอกัน[2] ซึ่งหนังสือพิมพ์รายวันอังกฤษเดอะการ์เดียนได้กล่าวถึง[3] ทีมนักวิจัยหกท่านจากมหาวิทยาลัยมินนิโซตา (สหรัฐ) ได้วัดความสัมพันธ์ระหว่างจำนวนการแก้ไขกับจำนวนการดูคำที่ผู้เขียนนั้น ๆ เขียน โดยวัดเป็นจำนวนการดูคำที่ผู้เขียนหนึ่ง ๆ เพิ่มขึ้นในบทความ ซึ่งเรียกว่า persistent word views (PWV) ผู้เขียนงานวิชาการอธิบายหลักการนับไว้ว่า "แต่ละครั้งที่ดูบทความ คำแต่ละคำก็ได้ดูด้วย เมื่อดูคำที่เขียนโดยผู้เขียน ก ผู้เขียนก็จะได้รับเครดิตเป็นหนึ่ง PWV (เรียกว่าเป็นคะแนนต่อจากนี้)" จำนวนการดูบทความประมาณจากบันทึกของเว็บเซิร์ฟเวอร์

นักวิจัยวิเคราะห์ 25 ล้านล้านคะแนน (1012) ที่ให้กับผู้ใช้ลงทะเบียนระหว่าง 1 กันยายน 2002 จนถึง 31 ตุลาคม 2006 ที่สุดของระยะนี้ ผู้แก้ไขมากสุดระดับ 1/10 (นับจำนวนแก้ไข) ได้คะแนนร้อยละ 86, ผู้แก้ไขมากสุด 1/100 ได้คะแนนร้อยละ 70 และผู้แก้ไขมากสุด 1/1000 (จำนวน 4,200 คน) ได้คะแนนร้อยละ 44 ซึ่งเท่ากับค่าวัดเกือบครึ่งหนึ่งตามงานศึกษานี้ ผู้แก้ไขมากสุด 10 คนแรก (ตามคะแนนดังว่า) ได้คะแนนเพียงแค่ร้อยละ 2.6 และเพียง 3 คนเท่านั้นที่มีจำนวนการแก้ไขในท๊อป 50 จากข้อมูลนี้ นักวิจัยได้อนุมานความสัมพันธ์ดังต่อไปนี้คือ

การเพิ่มแชร์ของ PWV เพิ่มขึ้นอย่างซูเปอร์ชี้กำลัง (super-exponentially) ตามลำดับจำนวนการแก้ไข กล่าวอีกอย่างก็คือ ผู้แก้ไขอภิชน (คือคนที่แก้ไขมากสุด) มอบคุณประโยชน์ให้ "มากกว่า" ที่ปกติจะได้ตามความสัมพันธ์แบบเลขชี้กำลัง

งานศึกษายังได้วิเคราะห์ผลของบอต[A]ต่อเนื้อหา ตามจำนวนการแก้ไข บอตเป็นเจ้าวิกิพีเดีย ผู้ใช้ 9 คนในท๊อป 10 และ 20 คนในท๊อป 50 เป็นบอต แต่ตามลำดับคะแนน PWV บอต 2 บอตเท่านั้นที่อยู่ในท๊อป 50 โดยไม่มีเลยในท๊อป 10

ตามการเพิ่มอิทธิพลของผู้แก้ไขท๊อป 1/1000 ตามลำดับคะแนน PWV งานศึกษาได้ฟันธงว่า

... ผู้แก้ไขบ่อย ๆ ควบคุมสิ่งที่คนเห็นเมื่อมาเยี่ยมวิกิพีเดียและ ... การควบคุม/ความเป็นเจ้าเช่นนี้ก็กำลังเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ

การแจกแจงงานและลำดับชั้นทางสังคม[แก้]

วรรณกรรมที่ทบทวนโดยผู้รู้เสมอกันให้ข้อสังเกตว่า สังคมวิกิพีเดียมีลำดับชั้นเพราะมีชนชั้น "ผู้ดูแลระบบ/แอดมิน"[A] งานนี้เสนอว่า การจัดลำดับชั้นเช่นนี้อาจมีประโยชน์ในบางเรื่อง แต่ก็ระบุว่าผู้ดูแลระบบและผู้ใช้อื่น ๆ มีอำนาจและสถานะที่ไม่เท่ากันอย่างชัดเจน[4]

เมื่อวิเคราะห์ประวัติการแก้ไขวิกิพีเดียอังกฤษทั้งหมดจนถึงเดือนกรกฎาคม 2006 งานศึกษาเดียวกันระบุว่า อิทธิพลการแก้ไขเนื้อหาของผู้ดูแลระบบได้ลดลงเรื่อย ๆ ตั้งแต่ปี 2003 เมื่อผู้ดูแลระบบแก้ไขเนื้อหาในอัตราร้อยละ 50 เทียบกับปี 2006 ที่ร้อยละ 10 นี่เกิดแม้จำนวนการแก้ไขเฉลี่ยต่อผู้ดูแลระบบจะเพิ่มขึ้นเป็น 5 เท่าในช่วงเวลาเดียวกัน ปรากฏการณ์นี้นักวิจัยได้ตั้งชื่อว่า "rise of the crowd" (กำเนิดชุมนุมชน) การวิเคราะห์ที่วัดจำนวนคำที่เขียนแทนที่จำนวนการแก้ไขก็มีรูปแบบคล้าย ๆ กัน

เพราะผู้ดูแลระบบต่าง ๆ กันมากในเรื่องจำนวนการแก้ไข งานศึกษาจึงแบ่งผู้ใช้ตามจำนวนการแก้ไขด้วย ผลสำหรับ "ผู้แก้ไขอภิชน/อีลิต" คือผู้ใช้ที่แก้ไขมากกว่า 10,000 ครั้ง ใกล้เคียงกับที่พบในผู้ดูแลระบบ ยกเว้นว่า จำนวนคำที่เปลี่ยนโดยผู้ใช้อภิชนยังตามทันจำนวนการเปลี่ยนแปลงของผู้ใช้ใหม่ แม้จำนวนการแก้ใขของผู้ใช้ใหม่ก็ยังเติบโตในสัดส่วนที่เร็วกว่า ผู้ใช้อภิชนได้เครดิตสำหรับการแก้ไขร้อยละ 30 ในปี 2006 งานศึกษาสรุปว่า

แม้อิทธิพลของพวกเขาจะโรยลงในปีที่ผ่านมาไม่นานนี้ ผู้ใช้อภิชนก็ยังปรากฏกว่ามอบงานใหญ่พอดูให้แก่วิกิพีเดีย อนึ่ง การแก้ไขของผู้ใช้อภิชนดูจะมีแก่นสาร คือ พวกเขาไม่เพียงแค่แก้คำผิดหรือเปลี่ยนแบบการอ้างอิง ...

ความเชื่อถือได้[แก้]

เอกสารงานประชุมทางปรัชญาด้านวิธีการให้เหตุผลปี 2010 ได้ประเมินว่า ความเชื่อถือได้ของวิกิพีเดียมาจากคุณค่าทางญาณวิทยา หรือว่ามาจากคุณค่าเกี่ยวกับความใช้ได้ แล้วสรุปว่า แม้ผู้อ่านอาจไม่สามารถประเมินความรู้และความเชี่ยวชาญ (ซึ่งเป็นคุณค่าทางญาณวิทยา) ของผู้เขียนบทความหนึ่ง ๆ แต่ก็อาจประเมินความหลงใหลของผู้เขียน และวิธีการสื่อสารที่ทำความหลงใหลนั้นให้ปรากฏ ซึ่งเป็นเหตุผลให้เชื่อถือ[5]

รายละเอียดก็คือ ผู้เขียนเอกสารได้อ้างว่า วิกิพีเดียเชื่อถือไม่ได้เพราะความเชี่ยวชาญของเอกบุคคล เพราะความรู้ของคนโดยรวม ๆ หรือแม้แต่เพราะประสบการณ์ที่ทำให้รู้สึกว่าเชื่อถือได้ในอดีต นี่ก็เพราะความนิรนามหรือการใช้นามแฝงป้องกันไม่ให้ประเมินความรู้ของผู้เขียนได้ และวัฒนธรรมต่อต้านผู้เชี่ยวชาญของวิกิพีเดียก็ทำให้เรื่องนี้แก้ไขได้ยาก การแก้ไขวิกิพีเดียโดยมากยังจำกัดอยู่ในวงผู้แก้ไขที่เป็นอภิชน โดยไม่ได้ประมวล "ปัญญาของชุมชน" ซึ่งในบางกรณีก็ทำคุณภาพของบทความให้ตกลงเสียเอง ประสบการณ์ส่วนตัวในอดีตบวกกับงานศึกษาเชิงประสบการณ์ รวมทั้งเหตุการณ์ก่อการโต้แย้งของวิกิพีเดียในอดีต (รวม Seigenthaler biography controversy [en]) อาจทำให้สรุปได้ว่า วิกิพีเดียโดยทั่วไปเชื่อถือไม่ได้ ดังนั้น ปัจจัยทางญาณวิทยาเหล่านี้จึงไม่เป็นเหตุผลให้ใช้วิกิพีเดีย

ผู้เขียนเอกสารต่อมาจึงเสนอเหตุผลให้เชื่อถือวิกิพีเดียอาศัยคุณค่าเกี่ยวกับความใช้ได้ ซึ่งอาจกล่าวอย่างคร่าว ๆ ว่ามีสองปัจจัย ปัจจัยแรกคือ ขนาดและกิจกรรมมหาศาลในวิกิพีเดียเป็นเครื่องระบุว่า ผู้แก้ไขบทความมุ่งมั่นให้ความรู้แก่ชาวโลก ปัจจัยที่สองคือ การพัฒนานโยบาย แนวปฏิบัติ สถาบัน และเทคโนโลยีที่โปร่งใส นอกเหนือจากกิจกรรมมหาศาลที่มองเห็นได้ ช่วยคลายความเคลือบแคลงใจในเรื่องต่าง ๆ ที่บุคคลอาจมีในการเชื่อวิกิพีเดีย ความเคลือบแคลงที่ยกขึ้นรวมทั้ง นิยามว่าอะไรคือความรู้ การป้องกันการแก้ไขอย่างบิดเบือนของกลุ่มบุคคลที่ไม่มีความมุ่งมั่นเช่นกัน การแก้ไขความเสียหายต่อบทความให้ถูกต้อง การควบคุมและการเพิ่มพูนคุณภาพของบทความ

ภูมิศาสตร์[แก้]

งานวิจัยของสถาบันอินเทอร์เน็ตของมหาวิทยาลัยออกซฟอร์ดได้แสดงว่า จนถึงปลายปี 2009 บทความวิกิพีเดียที่ติดพิกัด (คือที่ใช้แม่แบบ Coord [en]) ตลอดทุกภาษา ครอบคลุมสถานที่ประมาณ 500 ล้านแห่งในโลก แต่ก็มีการแจกแจงทางภูมิศาสตร์ที่ไม่เสมอกัน บทความโดยมากเกี่ยวกับทวีปอเมริกาเหนือ ยุโรป และเอเชียตะวันออก โดยไม่ครอบคลุมเขตภูมิศาสตร์ขนาดใหญ่ในประเทศกำลังพัฒนา รวมทั้งแอฟริกาโดยมาก[6]

การประมวลภาษาธรรมชาติ[แก้]

เนื้อหาที่เป็นถ้อยคำและลำดับชั้นอันเป็นโครงร่างบทความของวิกิพีเดียได้กลายเป็นแหล่งความรู้สำคัญอย่างหนึ่งสำหรับนักวิจัยในการประมวลภาษาธรรมชาติและปัญญาประดิษฐ์ ในปี 2007 นักวิจัยที่สถาบันเทคโนโลยีเทคนิออน-อิสราเอลได้พัฒนาเทคนิคที่เรียกว่า Explicit Semantic Analysis (การวิเคราะห์ความหมายชัดแจ้ง)[7] ซึ่งใช้ความรู้เกี่ยวกับโลกที่ได้จากวิกิพีเดียอังกฤษ ระบบสร้างตัวแทนทางแนวคิดโดยใช้คำและตัวบทโดยอัตโนมัติ ซึ่งสามารถใช้คำนวณความคล้ายคลึงกันระหว่างคำกับคำและตัวบทกับตัวบท

ส่วนนักวิจัยที่แล็บประมวลผลความรู้แพร่หลาย (Ubiquitous Knowledge Processing Lab) ที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีดาร์มชตัทแห่งประเทศเยอรมนีได้ใช้ความรู้เกี่ยวกับภาษาและโลกที่อยู่ในวิกิพีเดียและวิกิพจนานุกรมเพื่อสร้างฐานความรู้เกี่ยวกับภาษาคล้ายกับทรัพยากรที่ผู้เชี่ยวชาญได้สร้างเช่น WordNet[B][9] ผู้เชี่ยวชาญชาวเยอรมันคู่หนึ่งได้สร้างขั้นตอนวิธีเพื่อระบุความสัมพันธ์ระหว่างคำต่าง ๆ โดยตรวจวิกิพีเดียอังกฤษอาศัยการจัดหมวดหมู่ของบทความ แล้วสรุปว่า วิกิพีเดียได้สร้าง "อนุกรมวิธานที่สามารถแข่งขันกับ WordNet ในงานประมวลผลทางภาษา"[10]

ข้อวิจารณ์เกี่ยวกับเนื้อหา[แก้]

ข้อมูลเกี่ยวกับสุขภาพ[แก้]

ข้อมูลสุขภาพในวิกิพีเดียอังกฤษเป็นที่นิยมเพราะเสิร์ชเอนจินและเว็บเพจที่แสดงผลของเสิร์ชเอนจินมักแสดงลิงก์ไปยังบทความของวิกิพีเดีย[11] มีการประเมินอย่างเป็นอิสระเรื่องคุณภาพของข้อมูลสุขภาพที่มีในวิกิพีเดีย และตรวจว่าใครเข้าดูข้อมูล มีงานศึกษาในเรื่องจำนวนคนบวกข้อมูลทางประชากรศาสตร์ของบุคคลที่หาข้อมูลทางสุขภาพในวิกิพีเดีย ขอบเขตทางข้อมูลสุขภาพที่มี และคุณภาพของข้อมูล[12]

แม้วิกิพีเดียจะเป็นแหล่งข้อมูลทางสุขภาพที่นิยมมากที่สุดอย่างหนึ่ง[13] แต่ก็มีข้อเสียบ้าง (โดยไม่ได้กล่าวไว้ในที่นี้)

ด้านสังคม[แก้]

ข้อมูลทางประชากรศาสตร์[แก้]

งานศึกษาปี 2007 ของบริษัทฮิตไวส์ (Hitwise)[C] ที่ตีพิมพ์ในนิตยสารไทม์[14] พบว่า ชายกับหญิงเข้าเยี่ยมวิกิพีเดียเท่า ๆ กัน แต่ผู้แก้ไขร้อยละ 60 เป็นชาย

ส่วนเว็บไซต์ WikiWarMonitor ซึ่งดำเนินการโดยมหาวิทยาลัยอเมริกันและมหาวิทยาลัยอังกฤษ ได้ทุนจากคณะกรรมาธิการยุโรป และมุ่งระงับสงครามแก้ไขในวิกิพีเดีย ได้ตีพิมพ์ผลงานต่อไปนี้

นโยบายและแนวทาง[แก้]

งานศึกษาเชิงพรรณนา[19] ได้วิเคราะห์นโยบายและแนวปฏิบัติ[A]ของวิกิพีเดียอังกฤษจนถึงเดือนกันยายน 2007 แล้วระบุค่าสถิติสำคัญจำนวนหนึ่งเกี่ยวกับ

  • นโยบายทางการ 44 ข้อ
  • แนวปฏิบัติ 248 ข้อ

แม้นโยบายสั้น ๆ เช่น "ปล่อยวางกฎทั้งหมด" ก็มีการอภิปรายและการอธิบายให้ชัดเจนเป็นจำนวนมาก คือ

แม้นโยบาย "ปล่อยวางกฎทั้งหมด" เองจะยาวเพียงแค่ 16 คำ (ในภาษาอังกฤษ) แต่หน้าที่อธิบายว่านโยบายหมายความว่าอะไรก็ยาวถึง 500 คำ และส่งผู้อ่านไปยังเอกสารอื่น ๆ อีก 7 บทความ มีการอภิปรายมากกว่า 8,000 คำโดยหน้าได้เปลี่ยนไปมากกว่า 100 ครั้งในช่วงเวลาน้อยกว่าปี

งานศึกษาได้ให้ตัวอย่างการขยายนโยบายหลักบางอย่างตั้งแต่เริ่มขึ้น คือ[A]

การเล่นอำนาจ[แก้]

นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยวอชิงตันและเอชพีแล็บ (แล็บของบริษัทฮิวเลตต์-แพคการ์ด) ได้ร่วมมือทำงานศึกษาที่ทบทวนโดยผู้รู้เสมอกันในปี 2007[20] ได้ตรวจดูว่านโยบายวิกิพีเดียนำไปใช้อย่างไร และผู้แก้ไขทำงานร่วมกันให้ได้ความเห็นพ้องได้อย่างไร งานศึกษาตรวจตัวอย่างหน้าพูดคุยที่มีความเคลื่อนไหวอยู่ด้วยการวิเคราะห์เชิงปริมาณ ใช้ฐานข้อมูลวิกิพีเดียภาษาอังกฤษเดือนพฤศจิกายน 2006 ได้ตรวจหน้าพูดคุย 250 หน้าที่อยู่ในส่วนหางของกราฟการแจกแจง คือ เป็นหน้าพูดคุยเพียงอัตราร้อยละ 0.3 แต่มีจำนวนการแก้ไขหน้าพูดคุยถึงร้อยละ 28.4 และที่สำคัญยิ่งกว่านั้นก็คือ มีลิงก์ไปยังหน้านโยบายในอัตราร้อยละ 51.1 จากประวัติของหน้าตัวอย่าง งานศึกษาตรวจดูแต่เดือนที่แก้ไขมาก ซึ่งเรียกว่าส่วนวิกฤติ (critical sections) คือเป็นเดือนต่อ ๆ กันที่ทั้งบทความและหน้าพูดคุยกำลังแก้โดยมีจำนวนสำคัญ

งานศึกษานิยามค่าวัดแล้ววัดความแพร่หลายของการอ้างนโยบาย ส่วนวิกฤติหนึ่ง ๆ จัดว่า "หนักด้วยนโยบาย" (policy-laden) ถ้ามีเรื่องนโยบายอย่างน้อยเป็นทวีคูณของค่าเฉลี่ย บทความหนึ่ง ๆ จะมีค่าระบุ 3 อย่าง คือ

ค่าต่าง ๆ ของตัวระบุ 3 อย่างนี้แบ่งบทความออกเป็น 8 หมวดที่ใช้ชักตัวอย่าง งานศึกษาตั้งใจจะวิเคราะห์ส่วนวิกฤติ 9 ส่วนจากหมวดตัวอย่างแต่ละหมวด แต่ก็เลือกส่วนวิกฤติได้แค่ 69 ส่วน (ไม่ใช่ 72 ส่วน) เพราะมีบทความแค่ 6 บทความ (ไม่ใช่ 9 บทความ) ที่เป็นบทความคัดสรรด้วย ก่อการโต้เถียงด้วย และหนักด้วยนโยบายด้วย

งานศึกษาพบว่า นโยบายไม่ได้ประยุกต์ใช้อย่างสม่ำเสมอ เพื่อแสดงตัวอย่างที่เฉพาะ จากสิ่งที่ได้ค้นพบซึ่งกว้างกว่า รายงานได้แสดงตัวอย่าง 2 ตัวอย่างจากหน้าพูดคุยของวิกิพีเดียเพื่อแสดงความแตกต่าง

ค่าเฉลี่ย...ไม่จัดว่าเป็นงานค้นคว้าต้นฉบับดอกหรือ? [ผช3]
มันดูเหมือนจะไม่ใช่เช่นนั้นสำหรับผม มันดูเหมือนว่า งานค้นคว้าต้นฉบับได้ทำโดย[องค์กรของรัฐ] หรือผมจะพลาดอะไรไปสักอย่าง? [ผช4]
ถ้า[องค์กรของรัฐ]ไม่ได้ตีพิมพ์ค่าเฉลี่ย เราคำนวณมันก็จะเป็นงานค้นคว้าต้นฉบับ หรือไม่ใช่? ผมไม่แน่ใจ [ผช3]
ไม่ใช่ ทำไมมันถึงจะเป็น? การประมาณค่านอกช่วงจากข้อมูลที่มีอยู่แล้วไม่ใช่งานค้นคว้าต้นฉบับ [ผช5]
จาก WP:NOR "บทความไม่ควรมีการวิเคราะห์หรือการสังเคราะห์ใหม่ ๆ ซึ่งอาร์กิวเมนต์ แนวคิด ข้อมูล ไอเดีย และข้อความที่มุ่งผลักดันจุดยืน" ถ้ามันมีค่าอะไร ๆ [ผช4]

  • นี่เป็นการอภิปราย (แปล) ที่ได้ใช้การนิรนัยเชิงตรรกะ (logical deduction) เป็นข้อหักล้างนโยบายงานค้นคว้าต้นฉบับ

ความคิดของคุณเป็นงานค้นคว้าต้นฉบับ (WP:OR) ผมสามารถแสดงอย่างสบาย ๆ ซึ่งบทความวิชาการที่กล่าวว่า ลัทธิต่อต้านอำนาจนิยมไม่ใช่หลักของ Panism คุณกำลังสังเคราะห์ไอเดียสารพัดอย่างตรงนี้ตามมุมมองของคุณ [ผช6]
การให้เหตุผลแบบนิรนัยธรรมดา ๆ ไม่ใช่งานค้นคว้าต้นฉบับ Panism ต่อต้านอำนาจนิยมโดยธรรมชาติ ดังนั้น ระบบเศรษฐกิจเชิงอำนาจนิยมจึงไม่สามารถเป็น Panist คุณไม่เห็นด้วยกับอะไร ข้อตั้งหรือข้อสรุป? [ผช7]

งานศึกษาอ้างว่า ความคลุมเครือเช่นนี้ทำให้เล่นอำนาจได้ง่าย ๆ และได้ระบุการเล่นอำนาจ 7 อย่างตามระเบียบวิธีทางสังคมศาสตร์คือ grounded theory รวมทั้ง

  • ขอบเขตของบทความ (ว่าอะไรเป็นเรื่องนอกประเด็นบทความ)
  • ความเห็นพ้องในอดีต (การตัดสินใจในอดีตแสดงว่าเป็นเรื่องเด็ดขาดและไร้ผู้ค้าน)
  • อำนาจในการตีความ (กลุ่มในชุมชนที่อ้างว่ามีอำนาจในการตีความมากกว่ากลุ่มอื่น)
  • ความชอบธรรมของผู้เขียน (เพราะความเชี่ยวชาญเป็นต้น)
  • การคุกคามด้วยการลงโทษ (ด้วยการบล็อกผู้ใช้เป็นต้น)
  • ข้อปฏิบัติในหน้าอื่น ๆ (คือจัดหน้าอื่น ๆ ว่าเป็นแบบอย่างที่ควรทำตาม)
  • ความชอบธรรมของแหล่งอ้างอิง (กล่าวแย้งความเชื่อถือได้ของแหล่งอ้างอิงที่กำลังคัดค้านเป็นต้น)

เพราะเนื้อที่ไม่พอ งานศึกษาได้แสดงรายละเอียดของการเล่นอำนาจเพียง 4 อย่างแรกที่ทำผ่านการตีความนโยบาย แต่ก็แสดงการใช้อำนาจอีกแบบที่ได้วิเคราะห์ คือ การละเมิดนโยบายแบบโต้ง ๆ ที่ได้ให้อภัยเพราะผลงานของผู้ใช้มีคุณค่าสูงแม้จะไม่เคารพกฎเกณฑ์

ขอบเขตของบทความ[แก้]

งานศึกษาพิจารณาว่านโยบายของวิกิพีเดียคลุมเครือเกี่ยวกับขอบเขตของบทความ มีตัวอย่างที่นำมาแสดงคือ

...ความเห็นพ้องเป็นเรื่องเหลวไหลเพราะความจริงอยู่ข้างผม ผมยังมีการแนะนำของวิกิพีเดียขอให้กล้า การลบเนื้อความเกี่ยวกับโรมันคาทอลิก...
มุมมองของ paleocentrism ไม่เพียงไม่ถูกต้อง แต่ยังละเมิดนโยบายวิกิพีเดีย:มุมมองที่เป็นกลาง... การลบหรือการตอนเนื้อความ[เช่นนี้]ละเมิดนโยบายวิกิพีเดียหลายอย่างคือ มุมมองที่เป็นกลาง ขอให้กล้า... ถ้าพวกคุณต้องการบทความที่มีเพียงแต่ทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์ในเรื่อง paleocentrism คุณน่าจะเขียนบทความเอง [ผช12]
พวกผมจริง ๆ ได้เขียนบทความเกี่ยวกับ paleocentrism ที่เป็นเพียงทฤษฎีวิทยาทางศาสตร์เท่านั้นก่อนที่คุณจะมา... เห็นได้ชัดว่าคุณเป็นคนใหม่ [ผช12][E]
... การโต้เถียงตามความเข้าใจของนโยบายมุมมองที่เป็นกลางและขอให้กล้าของคุณค่อนข้างน่าหัวเราะ คล้าย ๆ กับเด็กพึ่งจบมัธยมถกเถียงประเด็นกฎหมายรัฐธรรมนูญ สิ่งเหล่านี้เป็นหลักที่มีความหมายลงตัวแล้ว คนที่อยู่นี่เป็นปี ๆ เข้าใจพวกมันดีกว่าคุณมาก คุณจึงไม่สามารถใช้พวกมันเป็นอาวุธอย่างมีประสิทธิภาพในการโต้เถียงนี้ [ผช13]
วิกิพีเดียไม่ใช่สารานุกรมที่เป็นรูปเล่ม เราไม่จำเป็นต้องอัดประเด็นทุก ๆ อย่างเข้าในบทความหลัก และไม่จำเป็นต้องจัดว่าไม่สมบูรณ์ถ้าไม่อัด... [ผช14]
... หน้าลิงก์ว่าวิกิพีเดียไม่ใช่สารานุกรมที่เป็นรูปเล่มกล่าวเป็นปฐมเลยว่า วิกิพีเดีย "เป็น" สารานุกรม สารานุกรมจริง ๆ เช่น สารานุกรมบริแทนนิกาก็มีส่วนย่อยเกี่ยวกับ paleocentrism รวมทั้งผลทางสังคม ทางการเมือง และทางปรัชญา [ผช12]
ดังที่อธิบายในลิงก์วิกิพีเดียไม่ใช่สารานุกรมที่เป็นรูปเล่ม บทความวิกิพีเดียควรแสดงข้อความย่อเกี่ยวกับเรื่องสำคัญที่เป็นหลักในเรื่องหนึ่ง ๆ สำหรับนักชีววิทยาเช่นคุณเอง เรื่องสำคัญของ paleocentrism อาจไม่ใช่ผลทางสังคม แต่สำหรับสังคมที่เหลือ มันเป็น[ผช12]
... สิ่งที่คุณพูดถึงไม่ใช่ paleocentrism เรื่องหลัก ๆ ของ paleocentrism ก็คือการเกิดการสมดุลเป็นคาบ ๆ, คลื่นเปลี่ยนรูปโลก, airation เหล่านี้เป็นประเด็นจริง ๆ ที่เกี่ยวกับกระบวนการ paleocentrism เอง ประเด็นทางสังคมที่คุณกล่าวถึงเป็น "เรื่องรอบ ๆ" ไม่ใช่ "เรื่องหลัก" เป็นเรื่อง "เกี่ยวกับ" เป็นเรื่อง "ห้อมล้อม" แต่ "ไม่ใช่ paleocentrism" [ผช15]

งานศึกษาตีความคำโต้แย้งที่ดุเดือดเหล่านี้ว่า

การต่อสู้เกี่ยวกับขอบเขตบทความเช่นนี้ก็ยังเกิดแม้ในสิ่งแวดล้อมไฮเปอร์ลิงก์ก็เพราะชื่อบทความเป็นเรื่องสำคัญ เพราะบทความ "paleocentrism" ย่อมเด่นกว่า และคนอ่านก็มีโอกาสเห็นมากกว่าบทความ "ผลทางสังคมของ paleocentrism"

ความเห็นพ้องในอดีต[แก้]

งานศึกษาให้ข้อสังเกตว่า ความเห็นพ้องในวิกิพีเดียไม่มีวันจบ เพราะอาจเปลี่ยนไปเมื่อไรก็ได้ งานศึกษาพบว่า ความไม่ชัดเจนเช่นนี้ก่อการเล่นอำนาจ และทำการต่อสู้เป็นรุ่น ๆ เพื่อความเห็นพ้องให้เป็นส่วนของการต่อสู้ความเป็นเจ้าของบทความ

ในทางปฏิบัติแล้ว ... มักจะมีเจ้าของหน้าโดยพฤตินัย หรือมีกลุ่มผู้แก้ไขที่กำหนดเนื้อความของบทความ ความเห็นพ้องในอดีตของคนกลุ่มนี้อาจยกว่าเป็นเรื่องโต้แย้งไม่ได้ อำพรางการเล่นอำนาจที่ต้องทำเพื่อสร้างความเห็นพ้อง ประเด็นก็คือความชอบธรรมของความเห็นพ้องในอดีต เพราะผู้ร่วมงานระยะยาวย่อมไม่อยากเสียเวลาโต้เถียงประเด็นที่ตนพิจารณาว่าจบแล้ว การชี้ความเห็นพ้องในอดีตก็เหมือนกับการลิงก์ไปยังนโยบายต่าง ๆ เป็นวิธีรับมือกับพฤติกรรมเกรียน ในนัยตรงกันข้าม ผู้ใช้ใหม่หรือผู้ร่วมงานแบบนาน ๆ มาทีหนึ่งก็มักจะรู้สึกว่ามุมมองของตนไม่ได้พิจารณาในการโต้เถียงครั้งก่อน ๆ และต้องการจะยกปัญหาเดิมขึ้นอีก

งานศึกษาใช้ตัวอย่างการอภิปรายนี้เพื่อแสดงการต่อสู้ที่เป็นไปอย่างต่อเนื่อง

สิ่งที่กล่าวเหล่านี้ [ของ ผช17] ได้พิจารณาอย่างละเอียดแล้ว มันเหมือนกับเกมตีหัวตุ่น พวกเขาลองด้วยวิธีหนึ่ง แล้วถูกปฏิเสธ ก็จะลองด้วยวิธีที่สอง ซึ่งก็ถูกปฏิเสธ แล้วลองวิธีที่สาม ซึ่งก็ถูกปฏิเสธ แล้วก็จะลองวิธีที่หนึ่งอีก [ผช18]
มันน่าสนใจที่จะดูว่ามีผู้ใช้ต่าง ๆ กันจำนวนเท่าไรที่พยายามร่วมงานในบทความนี้และขยายมุมมองอีกมุมหนึ่ง แล้วเพียงแต่ถูกขับไล่ไปโดยบุคคลที่เชื่อใน [การแบ่งเป็นสองพวกแบบคลุมจักรวาล] เหมือนกับเป็นความเชื่อทางศาสนา ทำไมคุณไม่พิจารณาบ้างว่า บางทีพวกเขาก็พูดถูกแล้ว และว่า [ผช19], [ผช20] และพวกคุณที่เหลือต่างขับผู้แก้ไขอื่น ๆ ไปจากบทความนี้ด้วยการผลักดันมุมมองแบบหนักมือโดยมีสิทธิผู้ดูแลระบบของคุณ? [ผช21]

อำนาจในการตีความ[แก้]

ตัวอย่างหนึ่งแสดงให้เห็นว่า ผู้ดูแลระบบได้ลบล้างความเห็นพ้องแล้วลบบัญชีของผู้ใช้คนหนึ่งซึ่งเป็นผู้ป่วยที่ป่วยด้วยโรคซึ่งยังไม่ได้ชื่อ (เรียกว่า Frupism ในงานศึกษา) ผู้ดูแลระบบได้ทำเช่นนี้เมื่อบทความกำลังได้เสนอให้เป็นบทความคัดสรร

ความชอบธรรมของผู้เขียน[แก้]

การใช้อำนาจชนิดนี้แสดงด้วย[ผช24]ที่อ้างผลงานในอดีตเพื่อโต้เถียงผู้ร่วมงานอีกคนหนึ่งผู้กล่าวหา[ผช24]ว่า ทำให้งานเสียเปล่าและทำงานให้ยุ่งเหยิง (disruptive)

งั้นหรือ คุณหมายความว่า "ผม" คอยวนเวียนเพียงเพื่อชี้เรื่องความไร้คุณภาพของบทความที่เขียนสำหรับวิกิพีเดีย? โปรดกรุณาดูจำนวนการแก้ไขของผมอีกสักครั้ง!! LOL ผมแก้ไขเกินกว่า 7,000 ครั้งแล้ว... ตามที่คุณรู้ ผมสามารถเคลมเครดิตสำหรับการเขียนบทความคัดสรรในด้านปรัชญา 2 ใน 6 บทความโดยเริ่มต้นจากเอกสารเปล่า [ผช24]

ผลงานของผู้ใช้มีคุณค่าสูง[แก้]

งานศึกษาพบว่า มีผู้ร่วมงานที่ละเมิดนโยบายอย่างสม่ำเสมอและอย่างสำเร็จโดยไม่ถูกลงโทษ

[ผช24]ได้แข่งขันชิงอำนาจในรูปแบบ "ไม่ฉันก็คุณ" แบบโต้ง ๆ คือ ถ้าการกระทำของ[ผช25]ยังดำเนินต่อไป เขาจะลาออก ... การกระทำเช่นนี้ชัดเจนว่าละเมิดนโยบายความเป็นเจ้าของบทความ ความสุภาพต่อผู้ร่วมงานอื่น ๆ และการปฏิบัติต่อผู้ใช้ใหม่ ในฐานเป็นผู้ใช้ใหม่ [ผช25]อาจไม่รู้นโยบายเหล่านี้ แต่[ผช26]รู้แน่ ๆ การทำเป็นมองไม่เห็น[ของผช26]เกิดเพราะ[ผช24]เป็นผู้ร่วมงานที่มีคุณค่าในบทความทางปรัชญาผู้ชี้จุดนี้อย่างไม่อาย เพราะมีผู้ร่วมงานน้อยที่ตั้งใจสร้างเนื้อหาคุณภาพสูงอย่างสม่ำเสมอ ชุมชนวิกิพีเดียยอมอดทนต่อการใช้ในทางผิด ๆ และการละเมิดนโยบายถ้าได้ผลงานที่มีคุณค่า...

ขอโทษเถอะครับ แต่นั่นไม่ตอบคำถามนั่นเลย ผมอยากจะรู้ว่าอะไรที่[ผช25]เสนอซึ่งใช้ไม่ได้ การไม่มีแหล่งอ้างอิงของเขาเป็นต้น เป็นข้อบกพร่องแน่นอน แต่นั่นเป็นเหตุที่ผมหาให้แหล่งหนึ่ง (ในหัวข้อย่อยที่ 8 คือ Enquiry) [ผช26]

...
ประเด็นนี้ได้กล่าวถึงแล้วในบทความ อาจจะต้องขยายมันบ้าง ผมสามารถทำเองได้อย่างสบาย ๆ เมื่อมีเวลา มีเรื่องอื่นไหมครับ ? คุณสนับสนุนแนวความคิดแข่งขันของ[ผช25]ด้วยหรือไม่ว่าบทความนี้เขียนไม่ดี ว่าจำเป็นต้องปรับปรุงใหม่ตั้งแต่หัวจนถึงท้าย สิ่งไร้สาระไร้ความหมายที่เขาพยายามเติมด้านบน หรืองานค้นคว้าต้นฉบับอันอื่นที่เขาได้เขียนลงในหน้านี้? โดยแท้จริงแล้ว มีสองพวกในเรื่องนี้ บทความนี้ควรถูกยึดโดยคนความคิดประหลาดเช่นคนชื่ออะไรนั่น หรือไม่ควร ถ้าควรแล้ว ผมขอไป คุณสามารถสนับสนุนผมหรือไม่สนับสนุน จุดยืนของคุณอยู่ที่ไหน?... [ผช24]
มันไม่มีทางจินตนาการอย่างไร ๆ เลยได้ว่า ผมสนับสนุนมุมมองว่าบทความนี้ไม่ดี จริง ๆ ผมไม่เห็นด้วยกับอะไรหลายอย่างที่[ผช25]กล่าวในหน้านี้ที่อื่น ๆ ผมเสียใจจริง ๆ ถ้านี่ทำให้คุณอารมณ์เสีย [ผช26]

การได้เป็นผู้ดูแลระบบ[แก้]

ในปี 2008 นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยคาร์เนกีเมลลอน (สหรัฐ)[21] ได้สร้างแบบจำลองโพรบิต (probit model)[F] ของผู้แก้ไขวิกิพีเดียภาษาอังกฤษที่ได้ผ่านกระบวนการทบทวนเพื่อเป็นผู้ดูแลระบบได้อย่างสำเร็จ โดยใช้เพียงข้อมูลอภิพันธุ์ของวิกิพีเดียรวมทั้งความย่อการแก้ไข แบบจำลองนี้พยากรณ์ผู้ได้การเสนอชื่อที่ประสบผลสำเร็จอย่างแม่นยำในอัตราร้อยละ 74.8

งานศึกษาให้ข้อสังเกตว่า แม้จะมีการคัดค้านความเช่นนี้ แต่ "ในด้านหลาย ๆ ด้าน การได้รับเลือกเป็นผู้ดูแลเป็นการเลื่อนตำแหน่ง ซึ่งแยกแกนนำผู้เป็นอภิชนจากชุมชนผู้แก้ไขจำนวนมากอื่น ๆ" ดังนั้น งานศึกษานี้จึงได้ใช้กระบวนการ policy capturing[23] ซึ่งในจิตวิทยาสังคม เป็นวิธีเปรียบเทียบลักษณะต่าง ๆ ที่สำคัญเพียงแต่พูดกับลักษณะอื่น ๆ ที่จริง ๆ ทำให้ได้เลื่อนตำแหน่งงาน

อัตราการเลื่อนตำแหน่งที่สำเร็จรวม ๆ กันได้ลดลงจากร้อยละ 75 ในปี 2005 เหลือร้อยละ 53 ในปี 2006 จนเหลือร้อยละ 42 ในปี 2007 อัตราความล้มเหลวที่สูงขึ้น ๆ เช่นนี้ให้เหตุว่า ผู้ดูแลระบบที่ได้เลื่อนตำแหน่งเร็ว ๆ นี้ต้องผ่านมาตรฐานที่สูงขึ้น ซึ่งได้รับการสนับสนุนโดยหลักฐานโดยเรื่องเล่าจากงานศึกษาอีกงานหนึ่ง[24] ซึ่งอ้างอิงผู้ดูแลระบบรุ่นต้น ๆ ผู้แสดงข้อสงสัยว่า ตนจะผ่านเกณฑ์มาตรฐานเช่นนี้หรือไม่ถ้าการเลือกตั้งของตนได้ทำเร็ว ๆ นี้ เพราะเหตุนี้ งานศึกษาจึงอ้างว่า

กระบวนการที่ผู้ก่อตั้งวิกิพีเดียเองครั้งหนึ่งเคยจัดว่า "ไม่ใช่เรื่องใหญ่ [en]" (no big deal) ได้กลายเป็นเรื่องใหญ่พอควร

การเพิ่ม/ลดโอกาสได้ตำแหน่งผู้ดูแลระบบสำหรับปัจจัยต่าง ๆ ต่อหน่วย
เลขในวงเล็บไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (ที่p<.05)
ปัจจัย ปี 2006-2007 ก่อนปี 2006
การเสนอชื่อแต่ละครั้งในอดีต -14.7% -11.1%
เดือนแต่ละเดือนหลังจากเริ่มแก้ไขเป็นครั้งแรก 0.4% (0.2%)
การแก้ไขบทความทุก ๆ 1,000 ครั้ง 1.8% (1.1%)
การแก้ไขนโยบายวิกิพีเดียทุก ๆ 1,000 ครั้ง 19.6% (0.4%)
การแก้ไขบทความโครงการวิกิ ทุก ๆ 1,000 ครั้ง 17.1% (7.2%)
การแก้ไขหน้าพูดคุยทุก ๆ 1,000 ครั้ง 6.3% 15.4%
การแก้ไขหน้า คอต./การไกล่เกลี่ยข้อพิพาท [en]/มารยาทแต่ละครั้ง -0.1% -0.2%
คะแนนความหลากหลายแต่ละคะแนน (ดูข้อความต่อไป) 2.8% 3.7%
อัตราการระบุว่าเป็นการแก้ไขเล็กน้อยในความย่อการแก้ไขทุก ๆ ร้อยละ 1 0.2% 0.2%
อัตราการเขียนความย่อการแก้ไขทุก ๆ ร้อยละ 1 0.5% 0.4%
การเขียนขอบคุณในความย่อการแก้ไขแต่ละครั้ง 0.3% (0.0%)
การแก้โดยระบุเหตุเป็นมุมมองที่ไม่เป็นกลางแต่ละครั้ง 0.1% (0.0%)
การแจ้งผู้ดูแลระบบ/การแก้ไข Noticeboards [en] แต่ละครั้ง -0.1% (0.2%)

อาจเป็นเรื่องผิดคาดว่า การเสนอชื่อเป็นผู้ดูแลระบบหลายครั้งหลายคราวกลับมีผลลบต่อการได้รับตำแหน่ง คือความพยายามแต่ละครั้งมีโอกาสประสบความสำเร็จน้อยกว่าคราวที่แล้วในอัตราร้อยละ 14.8 เวลาที่ได้ร่วมงานกับวิกิพีเดียมีผลดีเพียงเล็กน้อยต่อการได้รับเลือก

ข้อสำคัญที่งานค้นพบอย่างหนึ่งก็คือการแก้ไขนโยบายวิกิพีเดียหรือโครงการวิกิ มีค่าเป็น 10 เท่าของการแก้ไขบทความ ข้อสังเกตอีกอย่างก็คือผู้ได้การเสนอชื่อที่มีประสบการณ์ใน "ส่วน" ต่าง ๆ หลายส่วนของระบบมีโอกาสได้รับเลือกมากกว่า ซึ่งวัดเป็น คะแนนความหลากหลาย (diversity) คือการนับส่วนต่าง ๆ ที่ผู้แก้ไขได้ร่วมทำงาน

งานศึกษาได้แบ่ง "ส่วน" วิกิพีเดียออกเป็น 16 ส่วน รวมทั้ง บทความ หน้าคุยของบทความ หน้าเกี่ยวกับการลบบทความ/หมวดหมู่/หรือแม่แบบ หน้าทบทวนการย้อนการลบ เป็นต้น (ดูงานวิจัยสำหรับรายการทั้งหมด) ยกตัวอย่างเช่น ผู้ใช้ที่ได้แก้บทความ หน้าผู้ใช้ของตน และโพ้สต์ครั้งหนึ่งในหน้าทบทวนการย้อนการลบก็จะได้ความหลายหลาก 3 คะแนน การแก้ไขเพิ่มในส่วนอื่น ๆ ใดก็ได้มีสหสัมพันธ์กับโอกาสได้ตำแหน่งผู้ดูแลระบบเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.8

การระบุว่าเป็นการแก้ไขเล็กน้อยก็ช่วยด้วย แม้นักวิจัยจะพิจารณาว่า นี่อาจเป็นเพราะการแก้ไขเล็กน้อยมีสหสัมพันธ์กับประสบการณ์ โดยเทียบกัน การแก้ไขแต่ละครั้งที่หน้าของ คอต. หรือคณะไกล่เกลี่ยข้อพิพาท หรือการปรึกษาเรื่องมารยาท ซึ่งล้วนเป็นหน้าที่ใช้ระงับข้อพิพาท กลับลดโอกาสประสบผลสำเร็จร้อยละ 0.1 การโพสต์ไปที่กระดานปิดประกาศถามเรื่องนโยบาย (noticeboards) [en] ก็มีผลลบเช่นกัน งานศึกษาระบุว่านี่เป็นหลักฐานแสดงว่า ผู้มีส่วนร่วมเพิ่มความรุนแรงหรือทำให้ยืดยาวซึ่งข้อพิพาทมีโอกาสได้เป็นแอดมินน้อยลง

การขอบคุณหรืออะไรเช่นกันในความย่อการแก้ไข และการชี้ว่าเป็นการแก้ไขมุมมองที่ไม่เป็นกลาง (เพียงในความย่อการแก้ไข เพราะงานศึกษาวิเคราะห์เพียงข้อมูลอภิพันธุ์เท่านั้น) แต่ละครั้งมีผลบวกเล็กน้อย คือเพิ่มโอกาสร้อยละ 0.3 และ 0.1 ว่าจะได้ตำแหน่งในระหว่างปี 2006-2007 แม้จะไม่มีนัยสำคัญทางสถิติก่อนหน้านั้น

ปัจจัยบางอย่างพบว่าไม่สำคัญหรือสำคัญอย่างมากก็นิดหน่อยคือ

  • การแก้ไขหน้าผู้ใช้ (รวมทั้งของตนเอง) ไม่ได้ช่วย และที่ค่อนข้างหน้าแปลกก็คือ การแก้ไขหน้าคุยกับผู้ใช้ก็ไม่มีผลเช่นกัน
  • การต้อนรับผู้ใช้ใหม่หรือการใช้คำว่า "please" (โปรด/กรุณา) ในความย่อการแก้ไขก็ไม่มีผล
  • การร่วมกันสร้างความเห็นพ้อง เช่น ในการลงคะแนนเพื่อเลือกตั้งผู้ดูแลหรือในสภากาแฟ ก็ไม่ได้เพิ่มโอกาสการได้ตำแหน่งเช่นกัน แต่งานศึกษาก็ยอมรับว่า ได้ใช้ค่าวัดเชิงปริมาณไม่ใช่เชิงคุณภาพ
  • การระงับการก่อกวนวัดโดยการแก้ไขรายชื่อการก่อกวนก็ไม่มีผลเช่นกัน การแก้ไขทุก ๆ พันครั้งที่ใช้วิธีการย้อนโดยประการต่าง ๆ มีสหสัมพันธ์เชิงบวก (7%) กับตำแหน่งผู้ดูแลระหว่างปี 2006-2007 แต่ก็ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติยกเว้นถ้าจะลดค่า p < .1 ที่น่าสับสนก็คือ ก่อนปี 2006 จำนวนการย้อนมีสหสัมพันธ์เชิงลบ (-6.8%) กับการได้ตำแหน่ง และก็ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติแม้เมื่อค่า p < .1 นี่อาจเป็นเพราะการตั้งนโยบายกฎย้อนสามครั้งในปี 2006 เพื่อลดจำนวนการย้อน (คือการเพิ่มจำนวนการย้อนก่อนหน้ากฎย้อนสามครั้งอาจเป็นส่วนของสงครามแก้ไข แต่หลังจากนั้น อาจไม่ใช่)

งานศึกษาเสนอว่าความแปรผันของผลการได้ตำแแหน่งร้อยละ 25 ที่อธิบายไม่ได้อาจมาจากปัจจัยที่ไม่ได้วัด เช่น คุณภาพการแก้ไขหรือการร่วมมือประสานงานนอกเว็บไซต์ เช่น ในบัญชีจ่าหน้าลับที่รายงานในเว็บไซต์ข่าวและความเห็น The Register[25] งานศึกษาสรุปว่า

การสร้างข้อความจำนวนมากไม่พอให้ได้ "เลื่อนตำแหน่ง" ในวิกิพีเดีย การแก้ไขบทความของผู้ได้การเสนอชื่อเป็นตัวพยากรณ์ความสำเร็จที่ไม่ดี ผู้ได้การเสนอชื่อต้องแสดงพฤติกรรมเป็นผู้จัดการยิ่งขึ้น ประสบการณ์หลายหลากและการร่วมพัฒนานโยบายและโครงการวิกิเป็นตัวพยากรณ์ที่ดีกว่าในการได้ตำแหน่ง นี่สมกับสิ่งที่ได้เคยพบว่า วิกิพีเดียเป็นอำมาตยาธิปไตย/ระบบข้าราชการ[19] และการประสานงานกันได้เพิ่มขึ้นอย่างสำคัญ[26][27] ... การร่วมงานในนโยบายวิกิพีเดียและโครงการวิกิไม่ใช่ตัวพยากรณ์การได้เป็นผู้ดูแลระบบก่อนปี 2006 ซึ่งแสดงว่าชุมชนโดยรวม ๆ เริ่มให้ความสำคัญกับการสร้างนโยบายและประสบการณ์การจัดระเบียบเหนือการประสานงานในระดับบทความ

งานวิจัยต่อมาในปี 2011 ของนักวิจัยอีกทีมหนึ่ง[28] ตรวจสอบเหตุผลของบุคคลเมื่อช่วยเลือกผู้ดูแลระบบ ซึ่งพบว่า การตัดสินใจจะขึ้นกับการตีความร่วมกันของหลักฐานที่พบในวิกิและกับปฏิสัมพันธ์กับคนอื่น ๆ ในอดีต

วิกิพีเดียในการศึกษา[แก้]

แม้ครูอาจารย์จะไม่ค่อยเต็มใจให้ใช้วิกิพีเดียเป็นส่วนของการบ้าน แต่ก็พบว่านักเรียนนักศึกษาที่แก้ไขวิกิพีเดีย (ในงานวิจัยเป็นวิกิพีเดียภาษาฮีบรู) สนใจในการเรียนเพิ่ม ได้ผลงานเพิ่ม ปรับปรุงการเรียนและการพัฒนาตน และเพิ่มทำงานร่วมกับคนทั้งในพื้นที่และในระดับนานาประเทศ[29]

การเรียนรู้ของเครื่อง[แก้]

ขั้นตอนวิธีการสืบหาความรู้เชิงความหมายโดยอัตโนมัติและโดยใช้การเรียนรู้ของเครื่องได้ใช้เพื่อ "ดึงข้อมูลที่เครื่องแปลผลได้โดยมีค่าใช้จ่ายและความซับซ้อนค่อนข้างน้อย"[30] ดีบีพิเดีย[G]ได้ใช้เนื้อหามีโครงสร้าง (structured content) ที่ดึงมาจากกล่องข้อมูลของวิกิพีเดียภาษาต่าง ๆ ด้วยขั้นตอนวิธีการเรียนรู้ของเครื่องเพื่อสร้างทรัพยากรเป็นข้อมูลลิงก์ (linked data) ภายในเว็บเชิงความหมาย[33]

สถิติการดูวิกิพีเดียและพฤติกรรมมนุษย์[แก้]

ในงานศึกษาหนึ่งที่ตีพิมพ์ในวารสารวิทยาศาสตร์ PLoS ONE[34] นักวิชาการจากสถาบันอินเทอร์เน็ตแห่งออกซฟอร์ด (OII) และผู้ร่วมงานจากมหาวิทยาลัยเซนทรัลยุโรเปียน (CEU) ได้แสดงว่า สถิติการดูหน้าเกี่ยวกับภาพยนตร์มีสหสัมพันธ์ที่ดีกับรายได้ภาพยนตร์ พวกเขาได้พัฒนาแบบจำลองคณิตศาสตร์ที่พยากรณ์รายได้ภาพยนตร์โดยวิเคราะห์จำนวนดูหน้าบวกกับจำนวนการแก้ไขและจำนวนผู้แก้ไข (เป็นเอกบุคคล) หน้าเกี่ยวกับภาพยนตร์ แม้แบบจำลองนี้จะได้พัฒนาโดยใช้ข้อมูลของวิกิพีเดียอังกฤษ แต่วิธีการที่ใช้เป็นอิสระจากภาษา จึงสามารถใช้กับภาษาอื่น ๆ และใช้กับผลิตภัณฑ์อื่น ๆ นอกเหนือจากภาพยนตร์[35]

ในงานศึกษาอีกงานหนึ่งที่ตีพิมพ์ในวารสารวิทยาศาสตร์ Scientific Reports ในปี 2013[36] ทีมนักวิชาการได้แสดงว่า การเปลี่ยนแปลงจำนวนการดูหน้าบทความวิกิพีเดียอังกฤษเกี่ยวกับการเงินสัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลงขนาดใหญ่ในตลาดหลักทรัพย์สหรัฐ[37][38]

เชิงอรรถ[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 หมายเหตุ - ให้สังเกตว่า เนื้อความในที่นี้เกี่ยวกับวิกิพีเดียภาษาอื่น ไม่ใช่ภาษาไทย แต่บทความนี้ลิงก์กับนโยบายและแนวทางปฏิบัติภาษาไทยเพื่อให้เข้าใจได้ง่ายแม้อาจไม่เป็นประเด็นโดยตรง อนึ่ง ประเด็นที่กล่าวเกี่ยวกับวิกิพีเดียภาษาอื่น ๆ ก็อาจแก้ไขหรือลบไปแล้ว
  2. WordNet เป็นฐานข้อมูลวิเคราะห์ศัพท์สำหรับภาษาอังกฤษ[8] ซึ่งจัดกลุ่มคำภาษาอังกฤษเป็นกลุ่มไวพจน์ที่เรียกว่า synsets, ให้นิยามสั้น ๆ และตัวอย่างการใช้คำ และระบุความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มไวพจน์เช่นนี้ จึงมองได้ว่าเป็นพจนานุกรมและอรรถาภิธานรวม ๆ กัน แม้ผู้ใช้จะเข้าถึงข้อมูลได้ผ่านเว็บ ผู้ใช้หลักก็เป็นโปรแกรมวิเคราะห์บทอัตโนมัติและปัญญาประดิษฐ์
  3. ฮิตไวส์ (Hitwise) เป็นบริษัทที่วัดพฤติกรรมของผู้ใช้คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ แท็บเล็ต และสมาร์ทโฟน ให้ข้อมูลแนวโน้มเกี่ยวกับพฤติกรรมของผู้เยี่ยมเว็บไซต์ พฤติกรรมการหาข้อมูล สร้างโพรไฟล์ของผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์และของเว็บไซต์ และวัดส่วนครองตลาดของเว็บไซต์ ซึ่งช่วยบริษัทต่าง ๆ ให้ใช้วิธีทางการตลาดซึ่งเหมาะสมที่สุด และปรับปรุงประสิทธิภาพการรณรงค์ทางการตลาด
  4. รวมวิกิพีเดียภาษาเช็ก อังกฤษ ฮังการี เปอร์เซีย สเปน และโรมาเนีย โดยต่อมาทิ้งภาษาโรมาเนียเพราะไร้หน้าที่มีการพิพาทเพียงพอ[15]
  5. ตัวระบุผู้ใช้ตามงานศึกษา[20] แม้ดูเหมือนไม่น่าจะใช่
  6. ในสาขาสถิติ แบบจำลองโพรบิต (probit model) เป็นการถดถอย (regression) ชนิดหนึ่งที่ตัวแปรตาม (dependent variable) มีค่าแค่สองค่า เช่น แต่งงานแล้วหรือยังไม่ได้แต่ง ชื่ออังกฤษเป็นคำควบมาจากคำว่า probability และ unit[22] จุดประสงค์ของแบบจำลองก็เพื่อประเมินความน่าจะเป็นที่การสังเกตการณ์ดูลักษณะโดยเฉพาะ ที่จะตกลงอยู่ในหมวดใดหมวดหนึ่ง อนึ่ง นี่เป็นแบบจำลองการจัดหมวดหมู่แบบทวิภาคชนิดหนึ่ง
  7. ดีบีพิเดีย (DBpedia, "DB" ย่อมาจากคำว่า database คือฐานข้อมูล) เป็นโครงการสกัดเนื้อหาที่มีโครงสร้างจากข้อมูลวิกิพีเดีย โดยเข้าถึงได้ผ่านเวิลด์ไวด์เว็บ[31] ซึ่งช่วยให้ผู้ใช้สามารถสอบความสัมพันธ์และลักษณะต่าง ๆ ของทรัพยากรวิกิพีเดีย รวมทั้งลิงก์ไปยังชุดข้อมูลอื่น ๆ[32]

อ้างอิง[แก้]

  1. S - tuckman, Jeff; Purtilo, James (2009). Measuring the wikisphere. Proceedings of the 5th International Symposium on Wikis and Open Collaboration. p. 1. doi:10.1145/1641309.1641326. ISBN 978-1-60558-730-1.
  2. Priedhorsky, Reid; Chen, Jilin; Lam, Snider (Tony); Panciera, Katherine; Terveen, Loren; Austin, Shane (2007). "Creating, Destroying, and Restoring Value in Wikipedia" (PDF). Proceedings of the 2007 international ACM conference on Supporting group work. Conference on Supporting Group Work. ACM Press. pp. 259–268. doi:10.1145/1316624.1316663. ISBN 978-1-59593-845-9. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-01-31.
  3. Baker, Nicholson (2008-04-10). "How I fell in love with Wikipedia". The Guardian. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-08-24. สืบค้นเมื่อ 2010-11-29.
  4. Chi, Ed; Kittur, Aniket; Pendleton, Bryan A.; Suh, Bongwon; Mytkowicz, Todd (2007-01-31). "Power of the Few vs. Wisdom of the Crowd: Wikipedia and the Rise of the Bourgeoisie" (PDF). Computer/Human Interaction 2007 Conference. Association for Computing Machinery. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2007-08-24. สืบค้นเมื่อ 2017-04-23.
  5. Goodwin, Jean. (2010). The authority of Wikipedia . (archived) In Juho Ritola (Ed.), Argument cultures: Proceedings of OSSA 09, CD-ROM (pp. 1-21), Windsor, ON: Ontario Society for the Study of Argumentation.
  6. Graham, Mark (2009-11-12). "Mapping the Geographies of Wikipedia Content". Mark Graham: Blog. ZeroGeography. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-12-08. สืบค้นเมื่อ 2009-11-16.
  7. Gabrilovich, Evgeniy; Markovitch, Shaul (2007). "Computing Semantic Relatedness using Wikipedia-based Explicit Semantic Analysis". Proceedings of IJCAI. Morgan Kaufmann Publishers Inc. pp. 1606–1611. CiteSeerX 10.1.1.76.9790.
  8. Miller, GA; Beckwith, R; Fellbaum, CD; Gross, D; Miller, K (1990). "WordNet: An online lexical database". Int. J. Lexicograph. 3 (4): 235–244.
  9. Zesch, Torsten; Müller, Christoph; Gurevych, Iryna (2008). "Extracting Lexical Semantic Knowledge from Wikipedia and Wiktionary" (PDF). Proceedings of the Conference on Language Resources and Evaluation (LREC). เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-19.
  10. Strube, M; Ponzetto, SP (2006). WikiRelate! Computing semantic relatedness using Wikipedia psu.edu (PDF). Proceedings of the National Conference. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-03-24.
  11. Laurent, M. R.; Vickers, T. J. (2009). "Seeking Health Information Online: Does Wikipedia Matter?". Journal of the American Medical Informatics Association. 16 (4): 471–479. doi:10.1197/jamia.M3059. PMC 2705249. PMID 19390105.
  12. Heilman, JM; Kemmann, E; Bonert, M; Chatterjee, A; Ragar, B; Beards, GM; Iberri, DJ; Harvey, M; Thomas, B; Stomp, W; Martone, MF; Lodge, DJ; Vondracek, A; de Wolff, JF; Liber, C; Grover, SC; Vickers, TJ; Meskó, B; Laurent, MR (2011-01-31). "Wikipedia: a key tool for global public health promotion". Journal of Medical Internet Research. 13 (1): e14. doi:10.2196/jmir.1589. PMC 3221335. PMID 21282098.
  13. Heilman, James M; West, Andrew G (2015). "Wikipedia and Medicine: Quantifying Readership, Editors, and the Significance of Natural Language". Journal of Medical Internet Research. 17 (3): e62. doi:10.2196/jmir.4069. ISSN 1438-8871. PMID 25739399. PMC 4376174 .
  14. Tancer, Bill (2007-04-25). "Who's Really Participating in Web 2.0". Time Magazine. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-04-30. สืบค้นเมื่อ 2007-04-30.
  15. Sumi, R.; Yasseri, T.; Rung, A.; Kornai, A.; Kertesz, J. (2011-10-01). "Edit Wars in Wikipedia". 2011 IEEE Third Int'l Conference on Privacy, Security, Risk and Trust and 2011 IEEE Third Int'l Conference on Social Computing. pp. 724–727. arXiv:1107.3689. doi:10.1109/PASSAT/SocialCom.2011.47. ISBN 978-1-4577-1931-8 – โดยทาง IEEE Xplore.
  16. Szolnoki, Attila; Yasseri, Taha; Sumi, Robert; Kertész, János (2012). "Circadian Patterns of Wikipedia Editorial Activity: A Demographic Analysis". PLoS ONE. 7 (1): e30091. doi:10.1371/journal.pone.0030091. ISSN 1932-6203.
  17. Török, J; Iñiguez, G; Yasseri, T; San Miguel, M; Kaski, K; Kertész, J (2013). "Opinions, Conflicts, and Consensus: Modeling Social Dynamics in a Collaborative Environment". Physical Review Letters. 110 (8): 088701. arXiv:1207.4914. Bibcode:2013PhRvL.110h8701T. doi:10.1103/PhysRevLett.110.088701. PMID 23473207. cited
    • Ratkiewicz, Jacob; Fortunato, Santo; Flammini, Alessandro; Menczer, Filippo; Vespignani, Alessandro (2010). "Characterizing and Modeling the Dynamics of Online Popularity". Physical Review Letters. 105 (15). doi:10.1103/PhysRevLett.105.158701. ISSN 0031-9007.
    • Szolnoki, Attila; Yasseri, Taha; Sumi, Robert; Rung, András; Kornai, András; Kertész, János (2012). "Dynamics of Conflicts in Wikipedia". PLoS ONE. 7 (6): e38869. doi:10.1371/journal.pone.0038869. ISSN 1932-6203.
  18. Yasseri, T; Spoerri, A; Graham, M; Kertész, J (2014). "The most controversial topics in Wikipedia: A multilingual and geographical analysis". ใน Fichman, P; Hara, N (บ.ก.). Global Wikipedia: International and cross-cultural issues in online collaboration. Lanham, Maryland: Rowman and Littlefield Press. arXiv:1305.5566. ISBN 978-0-8108-9101-2. OCLC 1026054095.
  19. 19.0 19.1 Butler, Brian; Joyce, Elisabeth; Pike, Jacqueline (2008). Don't look now, but we've created a bureaucracy. Proceedings of the Twenty-sixth Annual CHI Conference on Human Factors in Computing Systems - CHI '08. p. 1101. doi:10.1145/1357054.1357227. ISBN 978-1-60558-011-1.
  20. 20.0 20.1 Kriplean, Travis; Beschastnikh, Ivan; McDonald, David W.; Golder, Scott A. (2007). Community, consensus, coercion, control. Proceedings of the 2007 International ACM Conference on Conference on Supporting Group Work - GROUP '07. p. 167. doi:10.1145/1316624.1316648. ISBN 978-1-59593-845-9.
  21. Burke, Moira; Kraut, Robert (2008). Taking up the Mop: Identifying Future Wikipedia Administrators. Proceedings of the Twenty-sixth Annual CHI Conference Extended Abstracts on Human Factors in Computing Systems - CHI '08. p. 3441. doi:10.1145/1358628.1358871. ISBN 978-1-60558-012-8.
  22. Oxford English Dictionary, 3rd ed. s.v. probit (article dated June 2007): Bliss, C. I. (1934). "The Method of Probits". Science. 79 (2037): 38-39. PMID 17813446. doi:10.1126/science.79.2037.38. "These arbitrary probability units have been called ‘probits’."
  23. Stumpf, S. A.; London, M. (1981). "Capturing rater policies in evaluating candidates for promotion". The Academy of Management Journal. 24 (4): 752–766. doi:10.2307/256174. JSTOR 256174.
  24. Forte, A., and Bruckman, A. Scaling consensus: Increasing decentralization in Wikipedia governance. Proc. HICSS 2008.
  25. Metz, Cade. "Secret mailing list rocks Wikipedia". The Register. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-12-04.
  26. Kittur, Aniket; Suh, Bongwon; Pendleton, Bryan A.; Chi, Ed H. (2007). He says, she says: conflict and coordination in Wikipedia. Proceedings of the SIGCHI Conference on Human Factors in Computing. pp. 453–462. doi:10.1145/1240624.1240698. ISBN 978-1-59593-593-9.
  27. Viegas, Fernanda B.; Wattenberg, Martin; Kriss, Jesse; van Ham, Frank (2007). "Talk Before You Type: Coordination in Wikipedia". 40th Annual Hawaii International Conference on System Sciences: 575–582. CiteSeerX 10.1.1.210.1057. doi:10.1109/HICSS.2007.511.
  28. Derthick, K., P. Tsao, T. Kriplean, A. Borning, M. Zachry, and D. W. McDonald (2011). Collaborative Sensemaking during Admin Permission Granting in Wikipedia. In A.A. Ozok and P. Zaphiris (Eds.): Online Communities, HCII 2011, LNCS 6778, pp. 100-109.
  29. Hertz, Tehila (2018). "Wikishtetl: Commemorating Jewish Communities that Perished in the Holocaust through the Wikipedia Platform". Quest. 13. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-07-11.
  30. Baeza-Yates, Ricardo; King, Irwin, บ.ก. (2009). Weaving services and people on the World Wide Web. Springer. ISBN 978-3-642-00569-5. LCCN 2009926100.
  31. Bizer, Christian; Lehmann, Jens; Kobilarov, Georgi; Auer, Soren; Becker, Christian; Cyganiak, Richard; Hellmann, Sebastian (September 2009). "DBpedia - A crystallization point for the Web of Data" (PDF). Web Semantics: Science, Services and Agents on the World Wide Web. 7 (3): 154–165. CiteSeerX 10.1.1.150.4898. doi:10.1016/j.websem.2009.07.002. ISSN 1570-8268. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2017-08-10. สืบค้นเมื่อ 11 December 2015.
  32. "Komplett verlinkt — Linked Data" (ภาษาเยอรมัน). 3sat.de. 2009-06-19. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-01-06. สืบค้นเมื่อ 2009-11-10.
  33. Yu, Liyang (2011). A Developer's Guide to the Semantic Web. Springer. doi:10.1007/978-3-642-15970-1. ISBN 978-3-642-15969-5.
  34. Mestyán, Márton; Yasseri, Taha; Kertész, János (2013). "Early Prediction of Movie Box Office Success Based on Wikipedia Activity Big Data". PLoS ONE. 8 (8): e71226. arXiv:1211.0970. Bibcode:2013PLoSO...871226M. doi:10.1371/journal.pone.0071226. PMC 3749192. PMID 23990938.
  35. "Wikipedia buzz predicts blockbuster movies' takings weeks before release". The Guardian. 2012-11-08. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-04-17. สืบค้นเมื่อ 2013-09-02.
  36. Moat, Helen Susannah; Curme, Chester; Avakian, Adam; Kenett, Dror Y; Stanley, H Eugene; Preis, Tobias (2013). "Quantifying Wikipedia Usage Patterns Before Stock Market Moves". Scientific Reports. 3: 1801. Bibcode:2013NatSR...3E1801M. doi:10.1038/srep01801. PMC 3647164.
  37. "Wikipedia's crystal ball". Financial Times. 2013-05-10. สืบค้นเมื่อ 2013-08-10.
  38. Shubber, Kadhim (2013-05-08). "Wikipedia page views could predict stock market changes". Wired.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-06-23. สืบค้นเมื่อ 2013-08-10.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]