การประชุมว่าด้วยการส่งเสริมปฏิสัมพันธ์และมาตรการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจระหว่างประเทศ
Conference on Interaction and Confidence Building Measures in Asia (CICA) | |
---|---|
![]() | |
สำนักเลขาธิการ | ![]() |
สมาชิก | |
ผู้นำ | |
• เลขาธิการ | ![]() |
สถาปนา | 14 กันยายน พ.ศ. 2542 |
เว็บไซต์ s-cica.org |
การประชุมว่าด้วยการส่งเสริมปฏิสัมพันธ์และมาตรการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจระหว่างประเทศในภูมิภาคเอเชีย[4] (Conference on Interaction and Confidence-Building Measures in Asia, CICA) เป็นเวทีสนทนาระหว่างรัฐบาลเพื่อเสริมสร้างความร่วมมือในการส่งเสริมสันติภาพ ความมั่นคง และเสถียรภาพในเอเชีย บนพื้นฐานของการยอมรับว่ามีความเชื่อมโยงระหว่างสันติภาพและความมั่นคงในเอเชียและในส่วนอื่น ๆ ของโลกอย่างใกล้ชิด ประเด็นหลักของการประชุมคือความสำคัญที่แบ่งแยกไม่ได้ของความมั่นคง การริเริ่มร่วมกัน และปฏิสัมพันธ์ที่เป็นประโยชน์ร่วมกันของรัฐขนาดเล็กและขนาดใหญ่[5]
แนวคิดในการจัดประชุม CICA ได้รับการเสนอครั้งแรกในการประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติสมัยที่ 47 โดยนูร์ซุลตัน นาซาร์บายิฟ ประธานาธิบดีคาซัคสถานเมื่อวันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2535 และมีกระบวนการฉลองครบรอบ 25 ปีของ CICA เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2560[5]
ภูมิหลัง[แก้]

ข้อเสนอสำหรับการประชุม CICA ได้รับการตอบรับจากหลายประเทศในเอเชีย มีการจัดการประชุมในประเทศต่าง ๆ ที่สนใจในช่วงเวลาเจ็ดปีเพื่อหารือเกี่ยวกับรูปแบบการประชุม CICA และร่างเอกสารพื้นฐาน
การประชุมครั้งแรกของ CICA ในระดับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ จัดขึ้นเมื่อวันที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2542 โดยมีประเทศสมาชิก 15 ประเทศเข้าร่วม ปฏิญญาว่าด้วยหลักการชี้นำความสัมพันธ์ระหว่างประเทศสมาชิก CICA (The Declaration on Principles Guiding Relations between CICA Member States) ได้รับการรับรองในการประชุมครั้งนี้
การประชุมสุดยอด CICA ครั้งแรกจัดขึ้นเมื่อวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2545 โดยมี 16 ประเทศสมาชิกเข้าร่วม โดยข้อบัญญัติอัลมาเตอ (Almaty Act) ซึ่งเป็นกฎบัตรของ CICA ได้รับการรับรอง แรงผลักดันสำหรับการประชุมครั้งนี้มาจากการโจมตีของผู้ก่อการร้ายในเหตุการณ์ 9/11 ในปีก่อนหน้า ดังนั้นการต่อต้านการก่อการร้ายจึงกลายเป็นประเด็นสำคัญสำหรับการประชุมครั้งนั้นและก็ยังได้ดำเนินการผ่านการประชุมครั้งต่อ ๆ ไป[6]
ในการประชุมระดับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศครั้งที่สองในปี พ.ศ. 2547 ได้มีการนำบัญชีมาตรการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจ และขั้นตอนปฏิบัติของ CICA (CICA Catalogue of Confidence-Building Measures and CICA Rules of Procedures) มาใช้ ในการประชุมสุดยอด CICA ครั้งที่ 2 ในปี พ.ศ. 2549 ที่ประชุมได้มีการยอมรับประเทศไทยและเกาหลีใต้เป็นสมาชิกใหม่ และจัดตั้งสำนักเลขาธิการถาวร ในการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศครั้งที่ 3 ในปี พ.ศ. 2551 จอร์แดนและสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ได้รับการยอมรับเป็นสมาชิกใหม่ ในการประชุมสุดยอด CICA ครั้งที่ 3 ในปี พ.ศ. 2553 ตุรกีเข้ารับตำแหน่งประธานที่ประชุม CICA ต่อจากคาซัคสถาน การประชุมสุดยอดครั้งที่ 3 ยังยอมรับอิรักและเวียดนามเป็นสมาชิกใหม่และรับรองอนุสัญญา CICA บาห์เรนและกัมพูชาได้รับการยอมรับเข้าร่วม CICA ในปี พ.ศ. 2554 บังกลาเทศและกาตาร์ได้เข้าร่วมในปี พ.ศ. 2557 ศรีลังกาในปี พ.ศ. 2561 และคูเวตในปี พ.ศ. 2565[7]
หลักการพื้นฐาน[แก้]
ประกอบด้วย ความเท่าเทียมกันและการเคารพในสิทธิอธิปไตยของสมาชิก การยุติความขัดแย้งอย่างสันติ ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม การไม่แทรกแซงกิจการภายในและเคารพบูรณภาพแห่งดินแดนของรัฐสมาชิก การลดอาวุธและการควบคุมอาวุธ การเคารพสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐาน[8]
มาตรการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจ[แก้]
ตามข้อบัญญัติอัลมาเตอ[9] การดำเนินการตามมาตรการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจ ได้รับการยอมรับว่าเป็นเครื่องมือหลักในการบรรลุเป้าหมายของ CICA ในบัญชีการดำเนินการแบ่งออกเป็นห้าหมวดหมู่ได้แก่ มิติทางการทหารและการเมือง การต่อสู้กับความท้าทายและภัยคุกคามใหม่ ๆ มิติทางเศรษฐกิจ มิติด้านสิ่งแวดล้อม และมิติด้านมนุษยธรรม ประเทศสมาชิกของ CICA สามารถใช้มาตรการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจโดยสมัครใจบนพื้นฐานในระดับทวิภาคีหรือพหุภาคี
วาระการประชุม[แก้]
การประชุมสุดยอด เป็นองค์กรบริหารสูงสุดของ CICA การประชุมสุดยอดจะจัดขึ้นทุก ๆ สี่ปี[10] เพื่อดำเนินการปรึกษาหารือ ประเมินความคืบหน้า และจัดลำดับความสำคัญของหัวข้อการประชุม
การประชุมของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ จัดขึ้นทุก ๆ สี่ปี (สองปีหลังจากการประชุมสุดยอด) เป็นเวทีหลักสำหรับการปรึกษาหารือและพิจารณากิจกรรมทุกประเด็นของ CICA
การประชุมของคณะกรรมการเจ้าหน้าที่อาวุโส จะเรียกประชุมตามความจำเป็นแต่อย่างน้อยปีละครั้ง โดยเฉพาะหลังจากมีมติในที่ประชุมระดับรัฐมนตรี เพื่อหารือเกี่ยวกับประเด็นของที่ประชุมในปัจจุบัน กำกับดูแลกิจกรรมของคณะทำงานพิเศษ และประสานงานการประชุมระดับอื่น ๆ
การประชุมของคณะทำงานเฉพาะกิจ จะศึกษาประเด็นเฉพาะ ดำเนินงานที่ได้รับมอบหมาย และส่งรายงานไปยังคณะกรรมการเจ้าหน้าที่อาวุโส
การประชุมของผู้เชี่ยวชาญ จะพัฒนาร่างแนวคิดและแผนปฏิบัติการเพื่อดำเนินการตามมาตรการสร้างความเชื่อมั่นเฉพาะของ CICA ตามความจำเป็นโดยการตัดสินใจของรัฐสมาชิก หรือประสานงานมาตรการสร้างความเชื่อมั่นบางอย่างร่วมกัน
การประชุมเฉพาะทาง โดยการมีส่วนร่วมของรัฐมนตรีอื่นหรือหน่วยงานและองค์กรระดับชาติที่มีอำนาจของประเทศสมาชิก ประชุมตามคำแนะนำของคณะกรรมการเจ้าหน้าที่อาวุโส เพื่อหารือเกี่ยวกับปัญหาที่มีลักษณะเฉพาะและปัญหาทางเทคนิค
สมาชิกภาพ[แก้]
- รัฐสมาชิก[1] (28)
- รัฐผู้สังเกตการณ์[2] (9)
- องค์การผู้สังเกตการณ์[3] (5)
- รัฐในเอเชียที่ไม่ใช่สมาชิกและไม่ใช่ผู้สังเกตการณ์ (17)
ประธานที่ประชุม[แก้]
เลขาธิการ[แก้]
เลขาธิการ (ผู้อำนวยการบริหาร จนถึงตุลาคม 2565) ดำรงตำแหน่งหัวหน้าสำนักเลขาธิการ ได้รับการแต่งตั้งจากที่ประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ[14] มีระยะเวลาดำรงตำแหน่ง 4 ปี
ผู้อำนวยการบริหาร:
- จานดอส อาซานอฟ (Жандос Ануарович Асанов, พ.ศ. 2549–2551)
- ดุลัต บาคิเชฟ (Бакишев Дулат Хангереевич, พ.ศ. 2551–2553)
- ชินาร์ อัลเดมีร์ (Mehmet Çınar Aldemir, พ.ศ. 2553–2557)
- กง เจี้ยนเหว่ย์ (宫建伟, พ.ศ. 2557–2561)
- ฮาบิบุลโล มีร์โซโซดา (Хабибулло Мирзозода, พ.ศ. 2561–2563)
- ไครัต ซารืยไบ (Кайрат Шораевич Сарыбай, พ.ศ. 2563–2565)
เลขาธิการ:
- ไครัต ซารืยไบ (พ.ศ. 2565– )
องค์การพันธมิตร[แก้]
ประกอบด้วย สมัชชาประชาชนคาซัคสถาน (АНК), องค์การความร่วมมือทางเศรษฐกิจ (ОЭС), องค์การความร่วมมือเซี่ยงไฮ้ (SCO), โครงสร้างต่อต้านการก่อการร้ายระดับภูมิภาคขององค์การความร่วมมือเซี่ยงไฮ้ (RATS SCO) และสำนักงานว่าด้วยยาเสพติดและอาชญากรรมแห่งสหประชาชาติ (UNODC)[15]
ดูเพิ่ม[แก้]
- กรอบความร่วมมือเอเชีย (Asia Cooperation Dialogue)
- องค์การความร่วมมือเซี่ยงไฮ้ (SCO)
- การประชุมเอเชีย–ยุโรป (ASEM)
อ้างอิง[แก้]
- ↑ 1.0 1.1 "Official web-sites of the Ministries of Foreign Affairs of the CICA Member States". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 พฤษภาคม 2021. สืบค้นเมื่อ 18 พฤษภาคม 2021.
- ↑ 2.0 2.1 "Observer States" (ภาษาอังกฤษ). CICA. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 พฤษภาคม 2021. สืบค้นเมื่อ 18 พฤษภาคม 2021.
- ↑ 3.0 3.1 Организации-наблюдатели [Observer Organizations] (ภาษารัสเซีย). CICA. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 พฤษภาคม 2021. สืบค้นเมื่อ 18 พฤษภาคม 2021.
- ↑ "การประชุมว่าด้วยการส่งเสริมปฏิสัมพันธ์และมาตรการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจระหว่างประเทศในภูมิภาคเอเชีย". กรมเอเชียใต้ ตะวันออกกลางและแอฟริกา กระทรวงการต่างประเทศ. ธันวาคม 2013.
- ↑ 5.0 5.1 "Conference on Interaction and Confidence Building Measures in Asia (CICA): what's in the name?". astanatimes.com.
- ↑ "What is CICA (and Why Does China Care About It)?". thediplomat.com.
- ↑ "Qatar, Bangladesh join CICA". People's Daily. 20 พฤษภาคม 2014. สืบค้นเมื่อ 20 พฤษภาคม 2014.
- ↑ АӨСШК Сыртқы істер министрлерінің алтыншы кездесуі [The sixth meeting of the Ministers of Foreign Affairs of the CSTO]. Embassy of the Republic of Kazakhstan in the Kingdom of the Netherlands.
- ↑ Официальные документы СВМДА [CICA official documents]. CICA. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 พฤษภาคม 2021. สืบค้นเมื่อ 18 พฤษภาคม 2021.
- ↑ Wu Zurong (26 พฤษภาคม 2014). "CICA: Success and Challenge". China-US Focus.
- ↑ Amreyev, Baghdad. "Kazakhstan launches global initiative". Hurriyet Daily News. สืบค้นเมื่อ 10 มิถุนายน 2010.
- ↑ Kılıç, Gülay. "What can Turkey get out of CICA?". Hurriyet Daily News. สืบค้นเมื่อ 10 มิถุนายน 2010.
- ↑ "Kazakhstan takes over CICA Chairmanship for 2020-2022". KAZINFORM. สืบค้นเมื่อ 24 กันยายน 2020.
- ↑ "Secretariat". CICA. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 พฤษภาคม 2014. สืบค้นเมื่อ 15 ตุลาคม 2022.
- ↑ Партнерские организации [Partner organizations]. CICA. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 พฤษภาคม 2021. สืบค้นเมื่อ 18 พฤษภาคม 2021.
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
- CICA เว็บไซต์อย่างเป็นทางการ
- คำอธิบาย CICA เก็บถาวร 2010-05-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ที่เว็บไซต์ทางการของกระทรวงการต่างประเทศคาซัคสถาน