ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กองทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติกำลังแจกจ่ายอาหารที่มีแคลอรีสูงในระหว่างสถานการณ์ฉุกเฉินที่โกมา สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก เมื่อ ค.ศ. 2008
เด็กหญิงชาวอัฟกานิสถานคนหนึ่งกอดหมีเท็ดดี้ของเธอซึ่งเธอได้รับที่คลินิกการแพทย์ที่ค่ายคลาร์คในจังหวัดโคสต์
การบรรยายของเทอา ฮิลฮ็อสท์ (มหาวิทยาลัยเอรัสมุส) เรื่องความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม

ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม (อังกฤษ: Humanitarian aid) คือความช่วยเหลือด้านสิ่งของและโลจิสติกส์สำหรับผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือ ซึ่งมักจะเป็นความช่วยเหลือระยะสั้นจนกว่ารัฐบาลและสถาบันอื่น ๆ จะเข้ามาช่วยเหลือในระยะยาว ในบรรดาคนที่ต้องการความช่วยเหลือ ได้แก่ ผู้ไร้ที่อยู่, ผู้ลี้ภัย และผู้ประสบภัยจากภัยธรรมชาติ, สงคราม และความอดอยาก ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมคือความช่วยเหลือด้านสิ่งของหรือด้านลอจิสติกส์เพื่อวัตถุประสงค์ด้านมนุษยธรรม โดยทั่วไปในการตอบสนองต่อความพยายามด้านมนุษยธรรมรวมถึงภัยธรรมชาติและภัยพิบัติที่มนุษย์สร้างขึ้น วัตถุประสงค์หลักของการช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมคือการช่วยชีวิต, บรรเทาความทุกข์ และรักษาศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ดังนั้นจึงอาจแตกต่างจากความช่วยเหลือเพื่อการพัฒนา ซึ่งพยายามที่จะแก้ไขปัจจัยทางสังคมเศรษฐศาสตร์ที่อาจนำไปสู่วิกฤตหรือภาวะฉุกเฉิน มีการอภิปรายในเรื่องการเชื่อมโยงความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและความพยายามในการพัฒนา ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากการประชุมสุดยอดด้านมนุษยธรรมโลกใน ค.ศ. 2016 อย่างไรก็ตาม แนวทางดังกล่าวถูกมองในเชิงวิพากษ์โดยผู้ปฏิบัติงาน[1]

ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมมีวัตถุประสงค์เพื่อบรรเทาทุกข์ในระยะสั้นให้กับผู้ประสบภัยจนกว่ารัฐบาลและสถาบันอื่น ๆ จะสามารถบรรเทาทุกข์ได้ในระยะยาว ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมถือว่า "เป็นการแสดงออกพื้นฐานของคุณค่าสากลของความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันระหว่างผู้คนและความจำเป็นทางศีลธรรม"[2] ซึ่งความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมมาจากชุมชนในหรือต่างประเทศก็ได้ ในการเข้าถึงชุมชนระหว่างประเทศ สำนักงานเพื่อการประสานงานด้านมนุษยธรรม (OCHA)[3] ของสหประชาชาติ (UN) มีหน้าที่รับผิดชอบในการประสานงานการตอบสนองต่อเหตุฉุกเฉิน โดยให้ข้อมูลต่อสมาชิกหลายคนของคณะกรรมการประจำระหว่างหน่วยงาน ซึ่งสมาชิกมีหน้าที่ในการบรรเทาทุกข์ในกรณีฉุกเฉิน หน่วยงานของสหประชาชาติ 4 แห่งที่มีบทบาทหลักในการให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม ได้แก่ โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP), สำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (UNHCR), กองทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ (UNICEF) และโครงการอาหารโลก (WFP)[4]

อ้างอิงจากสถาบันพัฒนาโพ้นทะเล ซึ่งเป็นสถาบันการวิจัยในลอนดอน ที่ผลการวิจัยได้รับการเผยแพร่ในเดือนเมษายน ค.ศ. 2009 ในเอกสาร "การให้ความช่วยเหลือในสภาพแวดล้อมที่ไม่ปลอดภัย: อัปเดต ค.ศ. 2009" ปีที่อันตรายที่สุดสำหรับผู้ให้ความช่วยเหลือในประวัติศาสตร์ของมนุษยธรรมนิยมคือ ค.ศ. 2008 ซึ่งพนักงานช่วยเหลือ 122 คนถูกสังหารและ 260 คนถูกทำร้ายร่างกาย ส่วนประเทศที่ถือว่าปลอดภัยน้อยที่สุดคือโซมาเลียและอัฟกานิสถาน[5] ใน ค.ศ. 2014 กลุ่มวิจัยการดำเนินงานช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมรายงานว่าประเทศที่เกิดเหตุการณ์สูงสุด ได้แก่ อัฟกานิสถาน, สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก, สาธารณรัฐแอฟริกากลาง, เซาท์ซูดาน, ซูดาน, ซีเรีย, ปากีสถาน, โซมาเลีย, เยเมน และเคนยา[6]

ประวัติ[แก้]

ต้นกำเนิด[แก้]

จุดเริ่มต้นของการจัดระเบียบความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมระหว่างประเทศสามารถสืบย้อนไปถึงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 เรื่องราวต้นกำเนิดที่รู้จักกันดีที่สุดของความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมที่เป็นทางการคืออ็องรี ดูว์น็อง นักธุรกิจชาวสวิสและนักเคลื่อนไหวทางสังคม ซึ่งเมื่อเห็นการทำลายล้างและการละทิ้งทหารที่บาดเจ็บอย่างไร้มนุษยธรรมจากยุทธการที่ซอลเฟรีโนในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1859 ซึ่งได้ยกเลิกแผนการของเขา และเริ่มต้นการตอบสนองบรรเทา[7]

ความพยายามด้านมนุษยธรรมที่มีมาก่อนงานของอ็องรี ดูว์น็อง ได้แก่ การช่วยเหลือของอังกฤษแก่ประชากรที่มีปัญหาในทวีปและในประเทศสวีเดนช่วงสงครามนโปเลียน[8][9] และการรณรงค์บรรเทาทุกข์ระหว่างประเทศช่วงทุพภิกขภัยครั้งใหญ่ในไอร์แลนด์ในคริสต์ทศวรรษ 1840[10][11] ส่วนใน ค.ศ. 1854 เมื่อสงครามไครเมียเริ่มต้นขึ้น[12] ฟลอเรนซ์ ไนติงเกล และทีมพยาบาล 38 คนของเธอได้มาถึงโรงพยาบาลค่ายทหารแห่งสคูทารีซึ่งมีทหารป่วยและบาดเจ็บหลายพันคน[13] ไนติงเกลและทีมของเธอเฝ้าดูโรงพยาบาลทหารที่ขาดแคลน ซึ่งได้พยายามรักษาสุขอนามัยและตอบสนองความต้องการของผู้ป่วย[12] โดยทหารเสียชีวิตด้วยโรคร้ายมากกว่าบาดแผลจากการสู้รบถึงสิบเท่า[14] ไข้รากสาดใหญ่, ไข้รากสาดน้อย, อหิวาตกโรค และโรคบิดพบได้บ่อยในโรงพยาบาลทหาร[14] ไนติงเกลและทีมของเธอได้จัดตั้งห้องครัว, ห้องซักรีด และสุขอนามัยที่เพิ่มขึ้น ซึ่งต่อมา มีพยาบาลเข้ามาช่วยเหลือมากขึ้น และโรงพยาบาลทั่วไปที่สคูทารีสามารถดูแลผู้ป่วยได้ 6,000 คน[13]

การช่วยเหลือของไนติงเกลยังคงมีอิทธิพลต่อความพยายามช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องการใช้สถิติ รวมถึงการวัดการตายและการเจ็บป่วยของไนติงเกล ไนติงเกลได้ใช้หลักการของวิทยาศาสตร์และสถิติใหม่เพื่อวัดความก้าวหน้าและวางแผนสำหรับโรงพยาบาลของเธอ[14] เธอเก็บบันทึกจำนวนและสาเหตุการตายเพื่อปรับปรุงสภาพในโรงพยาบาลอย่างต่อเนื่อง[15] การค้นพบของเธอคือในทหารทุก ๆ 1,000 นาย มี 600 นายเสียชีวิตจากโรคติดต่อและโรคติดเชื้อ[16] เธอทำงานเพื่อปรับปรุงสุขอนามัย, โภชนาการ และน้ำสะอาด และลดอัตราการเสียชีวิตจาก 60 เปอร์เซ็นต์ เป็น 42 เปอร์เซ็นต์ และเป็น 2.2 เปอร์เซ็นต์[16] การปรับปรุงทั้งหมดเหล่านี้เป็นเสาหลักของการแทรกแซงด้านมนุษยธรรมสมัยใหม่ เมื่อเธอกลับมายังบริเตนใหญ่ เธอได้รณรงค์ให้ก่อตั้งคณะกรรมาธิการด้านสุขภาพของกองทัพบก[15] เธอสนับสนุนให้ใช้สถิติและคอกซ์คอมบ์เพื่อแสดงความต้องการของผู้ที่อยู่ในลักษณะความขัดแย้ง[15][17] ส่วนกรณีของอ็องรี ดูว์น็อง แม้จะมีประสบการณ์เพียงเล็กน้อยหรือไม่มีเลยในฐานะแพทย์ แต่เขาก็ทำงานร่วมกับอาสาสมัครในท้องที่เพื่อช่วยเหลือทหารที่ได้รับบาดเจ็บจากทุกฝ่ายในสงคราม รวมทั้งผู้เสียชีวิตจากออสเตรีย, อิตาลี และฝรั่งเศส ในทุกวิถีทางที่เขาสามารถทำได้ รวมทั้งการจัดหาอาหาร, น้ำ และเวชภัณฑ์ เรื่องราวที่เด่นชัดของเขาเกี่ยวกับความทุกข์ทรมานอันใหญ่หลวงที่เขาพบเห็น ซึ่งเขียนไว้ในหนังสือของเขาเรื่อง “ความทรงจำเรื่องที่ซอลเฟรีโน" ได้กลายเป็นตำราพื้นฐานสำหรับมนุษยธรรมสมัยใหม่[18]

ความทรงจำเรื่องที่ซอลเฟรีโนของดูว์น็องได้เปลี่ยนแปลงโลกในลักษณะที่ไม่มีใครคาดไม่ถึงหรือชื่นชมจริง ๆ ในเวลานั้น ในการเริ่มต้น ดูว์น็องสามารถปลุกเร้าอารมณ์ผู้อ่านของเขาอย่างลึกซึ้งได้โดยนำการต่อสู้และความทุกข์ทรมานเข้ามาในเหย้าเรือนของพวกเขา โดยให้พวกเขาเข้าใจถึงสภาพสงครามป่าเถื่อนในปัจจุบัน และการรักษาทหารหลังจากที่พวกเขาได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิต นับว่าเรื่องราวเหล่านี้ได้ผันแปรเส้นทางของประวัติศาสตร์[19] นอกเหนือจากนี้ ในประสบการณ์สองสัปดาห์ของเขาในการดูแลทหารที่ได้รับบาดเจ็บจากทุกเชื้อชาติ ดูว์น็องได้กำหนดเสาหลักทางแนวคิดที่สำคัญโดยไม่ได้ตั้งใจ ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ และกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ: โดยความเสมอภาคและความเป็นกลาง[20] ดูว์น็องใช้ความคิดเหล่านี้และได้แนวคิดที่แยบยลอีกสองแนวคิดที่จะเปลี่ยนแปลงการปฏิบัติของสงครามอย่างลึกซึ้ง ประการแรก ดูว์น็องจินตนาการถึงการสร้างสมาคมสงเคราะห์อาสาสมัครถาวร เหมือนกับกลุ่มบรรเทาทุกข์เฉพาะกิจที่เขาประสานงานในซอลเฟรีโนเพื่อช่วยเหลือทหารที่ได้รับบาดเจ็บ ประการต่อไป ดูว์น็องเริ่มพยายามที่จะเรียกร้องให้มีการทำสนธิสัญญาที่จะรับประกันการคุ้มครองทหารที่ได้รับบาดเจ็บรวมถึงทุกคนที่พยายามจะมาช่วยพวกเขา[21]

หลังจากเผยแพร่ข้อความพื้นฐานของเขาใน ค.ศ. 1862 ความก้าวหน้าได้เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วสำหรับดูว์น็อง รวมถึงความพยายามของเขาในการสร้างสังคมสงเคราะห์อย่างถาวรและกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ การก่อตัวในขั้นต้นของคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศเริ่มเป็นรูปเป็นร่างใน ค.ศ. 1863 เมื่อสมาคมสงเคราะห์สาธารณะแห่งเจนีวาได้จัดตั้งคณะอนุกรรมการถาวรที่เรียกว่า "คณะกรรมการระหว่างประเทศเพื่อการให้ความช่วยเหลือผู้บาดเจ็บในสถานการณ์สงคราม" ซึ่งประกอบด้วยพลเมืองเจนีวาห้าคน คณะกรรมการชุดนี้รับรองวิสัยทัศน์ของดูว์น็องในการทำให้บุคลากรทางการแพทย์เป็นกลางโดยนิตินัยในการตอบสนองต่อทหารที่ได้รับบาดเจ็บ[22][23] การประชุมที่เป็นส่วนประกอบของคณะกรรมการชุดนี้ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1863 ได้สร้างรากฐานตามกฎหมายของคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศตามมติเกี่ยวกับสังคมระดับชาติ, การดูแลผู้บาดเจ็บ ส่วนเครื่องแสดงของพวกเขา และที่สำคัญที่สุดคือความเป็นกลางที่ขาดไม่ได้ของรถพยาบาล, โรงพยาบาล, บุคลากรทางการแพทย์ และผู้บาดเจ็บเอง[24] นอกเหนือจากนี้ เพื่อเสริมสร้างการปฏิบัติด้านมนุษยธรรม สมาคมสงเคราะห์สาธารณะแห่งเจนีวาได้จัดการประชุมขึ้นระหว่างวันที่ 8 ถึง 22 สิงหาคม ค.ศ. 1864 ที่สำนักงานเทศบาลเมือง โดยมี 16 รัฐที่มีความหลากหลาย รวมทั้งรัฐบาลหลายแห่งของยุโรป, จักรวรรดิออตโตมัน, สหรัฐอเมริกา (USA), บราซิล และเม็กซิโก[25] การประชุมทางการฑูตครั้งนี้มีความพิเศษ ไม่ได้เกิดจากจำนวนหรือสถานะของผู้เข้าร่วม แต่เป็นเพราะความมุ่งหมายของการประชุม วัตถุประสงค์ของการประชุมครั้งนี้ไม่เหมือนกับการประชุมทางการฑูตหลายครั้งก่อนหน้า โดยจุดประสงค์ของการประชุมครั้งนี้ไม่ใช่เพื่อบรรลุข้อตกลงหลังจากความขัดแย้งหรือเพื่อไกล่เกลี่ยระหว่างผลประโยชน์ที่เป็นปฏิปักษ์ ซึ่งแท้จริงการประชุมครั้งนี้เป็นการวางกฎเกณฑ์สำหรับอนาคตของความขัดแย้งโดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อปกป้องบริการทางการแพทย์และผู้บาดเจ็บในการสู้รบ[26]

อนุสัญญาเจนีวาที่มีชื่อเสียงครั้งแรกได้ลงนามเมื่อวันที่ 22 สิงหาคม ค.ศ. 1864 ซึ่งไม่เคยมีมาก่อนในประวัติศาสตร์ที่มีสนธิสัญญาส่งผลกระทบอย่างมากต่อการที่ฝ่ายที่ทำสงครามมีส่วนร่วมกับอีกฝ่ายหนึ่ง[27] ผู้อยู่อาศัยของอนุสัญญาดังกล่าวระบุถึงความเป็นกลางของบริการทางการแพทย์ ซึ่งรวมถึงโรงพยาบาล, รถพยาบาล และบุคลากรที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนข้อกำหนดในการดูแลและปกป้องผู้ป่วยและผู้บาดเจ็บในระหว่างความขัดแย้ง และบางสิ่งที่มีความสำคัญเชิงสัญลักษณ์โดยเฉพาะต่อคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ ซึ่งคือเครื่องหมายกาชาด[28] โดยเป็นครั้งแรกในสมัยปัจจุบัน ที่ได้รับการยอมรับจากการเลือกรัฐที่เป็นตัวแทนของสงคราม ว่าสงครามมีขอบเขต ส่วนความสำคัญได้เพิ่มขึ้นตามเวลาในการแก้ไขและดัดแปลงอนุสัญญาเจนีวาใน ค.ศ. 1906, 1929 และ 1949 นอกจากนี้ สนธิสัญญาเพิ่มเติมยังได้ให้ความคุ้มครองแก่เรือพยาบาล, เชลยศึก และที่สำคัญที่สุดต่อพลเรือนในช่วงสงคราม[29]

ทั้งนี้ คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศดำรงอยู่มาจนถึงทุกวันนี้ในฐานะผู้พิทักษ์กฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ และเป็นหนึ่งในผู้ให้บริการความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมที่ใหญ่ที่สุดในโลก[30]

ภาพพิมพ์ร่วมสมัยแสดงการแบ่งเบาบรรเทาทุกข์ในเพลลารี เขตมัทราส จากนิตยสารอิลลัสเตรเตดลอนดอนนิวส์ (ค.ศ. 1877)

ตัวอย่างอีกตัวอย่างหนึ่งได้เกิดขึ้นเพื่อตอบสนองต่อทุพภิกขภัยทางภาคเหนือของประเทศจีน ค.ศ. 1876–1879 ซึ่งเกิดจากภัยแล้งที่เริ่มขึ้นในภาคเหนือของจีนใน ค.ศ. 1875 และนำไปสู่ความล้มเหลวในการเพาะปลูกในปีต่อ ๆ ไป โดยมีผู้เสียชีวิตมากถึง 10 ล้านคนจากทุพภิกขภัยดังกล่าว[31] ซึ่งทิโมธี ริชาร์ด มิชชันนารีชาวอังกฤษ ได้เรียกร้องความสนใจจากนานาชาติถึงทุพภิกขภัยในมณฑลชานตงในฤดูร้อน ค.ศ. 1876 และเรียกร้องเงินจากชุมชนต่างชาติในเซี่ยงไฮ้เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัย ในไม่ช้า คณะกรรมการบรรเทาทุพภิกขภัยของมณฑลชานตงก็ได้รับการจัดตั้งขึ้นด้วยการมีส่วนร่วมของนักการทูต, นักธุรกิจ, คณะมิชชันนารีนิกายโปรเตสแตนต์ และนิกายโรมันคาทอลิก[32] เพื่อต่อสู้กับทุพภิกขภัย โดยมีการจัดตั้งเครือข่ายระหว่างประเทศขึ้นเพื่อขอรับเงินบริจาค ความพยายามเหล่านี้นำมาซึ่งเงิน 204,000 เหลี่ยง ซึ่งเทียบเท่ากับ 7–10 ดอลลาร์ในราคาเงิน ค.ศ. 2012[33]

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. Sid Johann Peruvemba, Malteser International (31 May 2018). "Why the nexus is dangerous". D+C Development and Cooperation. สืบค้นเมื่อ 13 August 2018.
  2. "The State of Art of Humanitarian Action, (PDF). EUHAP" (PDF). euhap.eu. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 15 February 2017. สืบค้นเมื่อ 28 April 2018.
  3. "OCHA". www.unocha.org. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 March 2018. สืบค้นเมื่อ 28 April 2018.
  4. "Deliver Humanitarian Aid". www.un.org. 7 December 2014. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 March 2018. สืบค้นเมื่อ 28 April 2018.
  5. "Archived copy" (PDF). เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 19 September 2011. สืบค้นเมื่อ 2010-12-13.{{cite web}}: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์)
  6. "Highest incident contexts (2012–2018)". Aid Worker Security Database. Humanitarian Outcomes. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 September 2015. สืบค้นเมื่อ 11 December 2015.
  7. Haug, Hans. "The Fundamental Principles of the International Red Cross and Red Crescent Movement" (PDF). สืบค้นเมื่อ 2019-11-01.
  8. Götz, Norbert (2014). "Rationales of Humanitarianism: The Case of British Relief to Germany, 1805–1815". Journal of Modern European History. 12 (2): 186–199. doi:10.17104/1611-8944_2014_2_186. S2CID 143227029.
  9. Götz, Norbert (2014). "The Good Plumpuddings' Belief: British Voluntary Aid to Sweden During the Napoleonic Wars". International History Review. 37 (3): 519–539. doi:10.1080/07075332.2014.918559.
  10. Kinealy, Christine (2013). Charity and the Great Hunger in Ireland: The Kindness of Strangers. London: Bloomsbury.
  11. Götz, Norbert; Brewis, Georgina; Werther, Steffen (2020). Humanitarianism in the Modern World: The Moral Economy of Famine Relief. Cambridge: Cambridge University Press. doi:10.1017/9781108655903. ISBN 9781108655903.
  12. 12.0 12.1 Hosein Karimi, Negin Masoudi Alavi. Florence Nightingale: The Mother of Nursing. Nurs Midwifery Stud. 2015 Jun;4(2)
  13. 13.0 13.1 Joseph H. Choate. What Florence Nightingale Did for Mankind. Am J Nurs. 1911 Feb;11(5):346–57.
  14. 14.0 14.1 14.2 Elizabeth Fee, Mary E. Garofalo. Florence Nightingale and the Crimean War.
  15. 15.0 15.1 15.2 Understanding Uncertainty. Florence Nightingale and the Crimean War.
  16. 16.0 16.1 Hosein Karimi, Negin Masoudi Alavi. Florence Nightingale: The Mother of Nursing. Nurs Midwifery Stud. 2015 Jun;4(2).
  17. Forsythe, David. The Humanitarians: The International Committee of the Red Cross. (New York: Cambridge University Press, 2005), 15.
  18. Barnett, Michael, and Weiss, Thomas. Humanitarianism in Question: Politics, Power, Ethics. (New York: Cornell University Press, 2008), 101.
  19. Bugnion, Francois. "Birth of an Idea: The Founding of the International Committee of the Red Cross and of the International Red Cross and Red Crescent Movement: From Solferino to the Original Geneva Convention (1859–1864)." International Review of the Red Cross 94 (2013): 1306.
  20. Bugnion, Francois. "Birth of an Idea: The Founding of the International Committee of the Red Cross and of the International Red Cross and Red Crescent Movement: From Solferino to the Original Geneva Convention (1859–1864)." International Review of the Red Cross 94 (2013): 1303
  21. ugnion, Francois. "Birth of an Idea: The Founding of the International Committee of the Red Cross and of the International Red Cross and Red Crescent Movement: From Solferino to the Original Geneva Convention (1859–1864)." International Review of the Red Cross 94 (2013): 1300
  22. Forsythe, David. The Humanitarians: The International Committee of the Red Cross. (New York: Cambridge University Press, 2005), 17.
  23. Bugnion, Francois. "Birth of an Idea: The Founding of the International Committee of the Red Cross and of the International Red Cross and Red Crescent Movement: From Solferino to the Original Geneva Convention (1859–1864)." International Review of the Red Cross 94 (2013): 1311
  24. Bugnion, Francois. "Birth of an Idea: The Founding of the International Committee of the Red Cross and of the International Red Cross and Red Crescent Movement: From Solferino to the Original Geneva Convention (1859–1864)." International Review of the Red Cross 94 (2013): 1320.
  25. Bugnion, Francois. "Birth of an Idea: The Founding of the International Committee of the Red Cross and of the International Red Cross and Red Crescent Movement: From Solferino to the Original Geneva Convention (1859–1864)." International Review of the Red Cross 94 (2013): 1323.
  26. Bugnion, Francois. "Birth of an Idea: The Founding of the International Committee of the Red Cross and of the International Red Cross and Red Crescent Movement: From Solferino to the Original Geneva Convention (1859–1864)." International Review of the Red Cross 94 (2013): 1324
  27. Bugnion, Francois. "Birth of an Idea: The Founding of the International Committee of the Red Cross and of the International Red Cross and Red Crescent Movement: From Solferino to the Original Geneva Convention (1859–1864)." International Review of the Red Cross 94 (2013): 1325
  28. Bugnion, Francois. "Birth of an Idea: The Founding of the International Committee of the Red Cross and of the International Red Cross and Red Crescent Movement: From Solferino to the Original Geneva Convention (1859–1864)." International Review of the Red Cross 94 (2013):1325
  29. Bugnion, Francois. "Birth of an Idea: The Founding of the International Committee of the Red Cross and of the International Red Cross and Red Crescent Movement: From Solferino to the Original Geneva Convention (1859–1864)." International Review of the Red Cross 94 (2013):1326
  30. "Who we are". International Committee of the Red Cross (ภาษาอังกฤษ). 2014-07-28. สืบค้นเมื่อ 2020-01-27.
  31. Edgerton-Tarpley, Kathryn, "Pictures to Draw Tears from Iron" "Archived copy" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 18 May 2016. สืบค้นเมื่อ 2013-12-25.{{cite web}}: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์), accessed 25 December 2013
  32. Janku, Andrea (2001) "The North-China Famine of 1876–1879: Performance and Impact of a Non-Event." In: Measuring Historical Heat: Event, Performance, and Impact in China and the West. Symposium in Honour of Rudolf G. Wagner on His 60th Birthday. Heidelberg, 3–4 November, pp. 127–134
  33. China Famine Relief Fund. Shanghai Committee (1879). The great famine : [Report of the Committee of the China Famine Relief Fund]. Cornell University Library. Shanghai : American Presbyterian Mission Press.

บรรณานุกรม[แก้]

  • James, Eric (2008). Managing Humanitarian Relief: An Operational Guide for NGOs. Rugby: Practical Action.
  • Minear, Larry (2002). The Humanitarian Enterprise: Dilemmas and Discoveries. West Hartford, CT: Kumarian Press. ISBN 1-56549-149-1.
  • Waters, Tony (2001). Bureaucratizing the Good Samaritan: The Limitations of Humanitarian Relief Operations. Boulder: Westview Press.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

บทวิจารณ์ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม[แก้]